นิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวนิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หากพูดถึงอาชีพนักประชาสัมพันธ์ หรือ พีอาร์ น้องๆ อาจจะคิดว่าเป็นอาชีพเบื้องหน้าที่คอยต้อนรับและให้ข้อมูลลูกค้าอยู่เคาท์เตอร์ หรือคนที่คอยแนะนำผลิตภัณฑ์ให้กับคนทั่วไป แต่นั่นเป็นการเข้าใจผิดอย่างมากต่ออาชีพนี้เลยค่ะ เพราะแท้จริงแล้ว นักประชาสัมพันธ์ คือผู้ทำงานอยู่เบื้องหลัง เป็นผู้วางแผนการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหา สร้างกลยุทธ์ และใช้เครื่องมือประชาสัมพันธ์เพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจที่ดีต่อกับองค์กร เรียกว่าแทบทุกองค์กรตั้งแต่ระดับเล็กไปจนถึงพรรคการเมืองขนาดใหญ่ระดับประเทศจำเป็นต้องมีนักประชาสัมพันธ์ที่มีทักษะและความสามารถไว้คอยส่งเสริมให้องค์กรประสบความสำเร็จได้
ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นภาควิชาที่เก่าแก่ที่สุดของคณะนิเทศศาสตร์ สำหรับน้องๆ ที่สนใจเรียนการประชาสัมพันธ์ที่นี่ ต้องสอบเข้ามาในคณะนิเทศศาสตร์แบบรวมก่อน โดยในปี 1 จะเรียนรายวิชาพื้นฐานทั่วไปด้านนิเทศศาสตร์ เช่น ภาษาอังกฤษ การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น สถิติ ปรัชญา จิตวิทยา รวมกันทั้งคณะโดยไม่แยกภาควิชาค่ะ จากนั้นในปี 2 จึงจะได้เลือกเรียนวิชาเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์ และเรียนลึกทางด้านนี้ไปจนจบปี 4 โดยรายวิชาที่น้องๆ ต้องเรียน มีทั้ง ประเด็นปัญหาสังคม กาทำประชามติ วิจัย การรณรงค์ การประชาสัมพันธ์และการสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ การวางแผน เทคนิคและการใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชนสัมพันธ์และการจัดการข่าวสาร เป็นต้น และน้องๆ จะได้ไปฝึกงานหลังจากจบปี 3 เทอม 2 ค่ะ
สิ่งสำคัญสำหรับน้องๆ ที่อยากจะเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องมีนอกเหนือจากความรู้และทักษะที่ได้เรียนมา คือ การเป็นนักจัดการ ชอบแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่น อดทน และมีความยืดหยุ่น โดยสิ่งเหล่านี้น้องๆ จะเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ทั้งการทำกิจกรรมและการฝึกงาน เพราะงานประชาสัมพันธ์เป็นงานที่มีความท้ายทายสูง ต้องเจอกับคน สถานการณ์ และรูปแบบการทำงานที่หลากหลายอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นคุณสมบัติเหล่านี้จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องใช้ในการทำงาน เมื่อเรียนจบ น้องๆ สามารถทำงานในหน่วยงานหรือสายงานสำหรับนักประชาสัมพันธ์ ได้หลากหลาย อย่างเช่น เอเยนซีประชาสัมพันธ์ หน่วยงานของรัฐบาล บริษัทเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงภาคธุรกิจต่างๆ และสามารถประกอบธุรกิจด้านสื่ออื่นๆ เช่น การจัดทำสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ ได้ด้วย
จบมาทำงานอะไร
นักประชาสัมพันธ์ นักโฆษณา นักวางแผนการสื่อสาร หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (แบบปกติ)
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ยนสะสม (GPAX) 5 เทอม 2.75 ขึ้นไป
- ผลคะแนนสอบ GAT
- ผลคะแนนสอบ PAT1 (คณิตสาศตร์) และ PAT 7.1-7.4 (ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน)
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
รูปแบบที่ 1
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
รูปแบบที่ 2
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT7.1 (ภาษาฝรั่งเศส), PAT7.2 (ภาษาเยอรมัน), PAT7.3 (ภาษาญี่ปุ่น), PAT7.4 (ภาษาจีน) 20%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
168, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21, 000 บาท/เทอม
5 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 9.6 ดีเยี่ยม
นิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
“สู้สุดใจ เพื่อไปให้ถึงฝัน”
ในสนามสอบที่ใกล้จะถึงนี้ จะตั้งใจสอบให้ได้มากที่สุด เพื่อเข้านิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ให้ได้ครับ ^_^
ณัฐพล
นักเรียน
31 ส.ค. 60 09:06 น.
“นิเทศจุฬาฯ คือความฝัน”
อยากเข้านิเทศ จุฬา ค่ะ จะพยายามอย่างเต็มที่ที่สุด แต่ก็แอบกลัว ไม่รู้วาคะแนนรับเข้าจะสูงมากแค่ไหน
รชิดา พนัสนันท์
บุคคลทั่วไป
05 ต.ค. 59 15:04 น.
นิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวนิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หากพูดถึงอาชีพนักประชาสัมพันธ์ หรือ พีอาร์ น้องๆ อาจจะคิดว่าเป็นอาชีพเบื้องหน้าที่คอยต้อนรับและให้ข้อมูลลูกค้าอยู่เคาท์เตอร์ หรือคนที่คอยแนะนำผลิตภัณฑ์ให้กับคนทั่วไป แต่นั่นเป็นการเข้าใจผิดอย่างมากต่ออาชีพนี้เลยค่ะ เพราะแท้จริงแล้ว นักประชาสัมพันธ์ คือผู้ทำงานอยู่เบื้องหลัง เป็นผู้วางแผนการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหา สร้างกลยุทธ์ และใช้เครื่องมือประชาสัมพันธ์เพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจที่ดีต่อกับองค์กร เรียกว่าแทบทุกองค์กรตั้งแต่ระดับเล็กไปจนถึงพรรคการเมืองขนาดใหญ่ระดับประเทศจำเป็นต้องมีนักประชาสัมพันธ์ที่มีทักษะและความสามารถไว้คอยส่งเสริมให้องค์กรประสบความสำเร็จได้
ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นภาควิชาที่เก่าแก่ที่สุดของคณะนิเทศศาสตร์ สำหรับน้องๆ ที่สนใจเรียนการประชาสัมพันธ์ที่นี่ ต้องสอบเข้ามาในคณะนิเทศศาสตร์แบบรวมก่อน โดยในปี 1 จะเรียนรายวิชาพื้นฐานทั่วไปด้านนิเทศศาสตร์ เช่น ภาษาอังกฤษ การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น สถิติ ปรัชญา จิตวิทยา รวมกันทั้งคณะโดยไม่แยกภาควิชาค่ะ จากนั้นในปี 2 จึงจะได้เลือกเรียนวิชาเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์ และเรียนลึกทางด้านนี้ไปจนจบปี 4 โดยรายวิชาที่น้องๆ ต้องเรียน มีทั้ง ประเด็นปัญหาสังคม กาทำประชามติ วิจัย การรณรงค์ การประชาสัมพันธ์และการสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ การวางแผน เทคนิคและการใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชนสัมพันธ์และการจัดการข่าวสาร เป็นต้น และน้องๆ จะได้ไปฝึกงานหลังจากจบปี 3 เทอม 2 ค่ะ
สิ่งสำคัญสำหรับน้องๆ ที่อยากจะเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องมีนอกเหนือจากความรู้และทักษะที่ได้เรียนมา คือ การเป็นนักจัดการ ชอบแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่น อดทน และมีความยืดหยุ่น โดยสิ่งเหล่านี้น้องๆ จะเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ทั้งการทำกิจกรรมและการฝึกงาน เพราะงานประชาสัมพันธ์เป็นงานที่มีความท้ายทายสูง ต้องเจอกับคน สถานการณ์ และรูปแบบการทำงานที่หลากหลายอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นคุณสมบัติเหล่านี้จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องใช้ในการทำงาน เมื่อเรียนจบ น้องๆ สามารถทำงานในหน่วยงานหรือสายงานสำหรับนักประชาสัมพันธ์ ได้หลากหลาย อย่างเช่น เอเยนซีประชาสัมพันธ์ หน่วยงานของรัฐบาล บริษัทเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงภาคธุรกิจต่างๆ และสามารถประกอบธุรกิจด้านสื่ออื่นๆ เช่น การจัดทำสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ ได้ด้วย
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ยนสะสม (GPAX) 5 เทอม 2.75 ขึ้นไป
- ผลคะแนนสอบ GAT
- ผลคะแนนสอบ PAT1 (คณิตสาศตร์) และ PAT 7.1-7.4 (ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน)
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
รูปแบบที่ 1
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
รูปแบบที่ 2
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT7.1 (ภาษาฝรั่งเศส), PAT7.2 (ภาษาเยอรมัน), PAT7.3 (ภาษาญี่ปุ่น), PAT7.4 (ภาษาจีน) 20%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
นิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสาขานี้ เป็นผู้ที่มึความสามารถในการใช้ภาษาติดต่อสื่อสาร มีความรู้ด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษอย่างดี มีความคิดสร้างสรรค์ รักการอ่าน การเขียน มีความรู้กว้างขวาง สนใจในการศึกษาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทันต่อเหตุการณ์ มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงออก ช่างสังเกตมีบุคลิกที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
เทียบเท่า (อาชีวะ)
มีความคิดสร้างสรรค์ รักการอ่าน การเขียน มีความรู้กว้างขวาง
สนใจในการศึกษาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทันต่อเหตุการณ์
มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงออก ช่างสังเกตมีบุคลิกที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี
5 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 9.6 ดีเยี่ยม
นิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
ในสนามสอบที่ใกล้จะถึงนี้ จะตั้งใจสอบให้ได้มากที่สุด เพื่อเข้านิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ให้ได้ครับ ^_^
ณัฐพล
อยากเข้านิเทศ จุฬา ค่ะ จะพยายามอย่างเต็มที่ที่สุด แต่ก็แอบกลัว ไม่รู้วาคะแนนรับเข้าจะสูงมากแค่ไหน
รชิดา พนัสนันท์
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ