นิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการแสดง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นคณะยอดนิยมตลอดกาลของน้องๆ ม.ปลายสายศิลป์ที่อยากเรียนด้านสื่อสารหรือนิเทศศาสตร์ โดยคณะนิเทศฯ ประกอบไปด้วย 5 ภาค 7 สาขาวิชา หนึ่งในสาขาที่ใครหลายคนสนใจมาก ก็คือ สาขาวิชาสื่อสารการแสดง แต่เรียนการแสดง ไม่จำเป็นว่าจบแล้วน้องๆ จะต้องไปเป็นนักแสดงเท่านั้นนะคะ เพราะสาขานี้เน้นศึกษาเกี่ยวกับศิลปะการแสดง โดยมีความรู้ด้านการสื่อสารเป็นพื้นฐาน นอกจากจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในส่วนประกอบของการแสดงแล้วยังต้องศึกษาเทคนิคของการสร้างสื่อต่างๆ หรือพูดง่ายๆ คือแสดงอย่างไรให้คนดูเข้าใจในตัวละคร เน้นการทำละครอย่างไรให้คนดูเข้าใจมากที่สุด เขียนบทอย่างไรให้เล่าเรื่องได้ง่าย คนดูไม่งง เพื่อสื่อสารและก่อให้เกิดผลลัพธ์หรือข้อคิดกับคนดูได้ดีที่สุดนั่นเอง
ในส่วนการเรียนการสอนนั้น ในปี 1-2 น้องๆ ทุกคนจะได้เรียนรวมกันทั้งคณะค่ะ เรียนพื้นฐานวิชาทางนิเทศศาสตร์เหมือนกัน เช่น การสื่อสารมวนชนและนิเทศศาสตร์เบื้องต้น การสื่อข่าว การเขียนข่าว พื้นฐานการประชาสัมพันธ์และโฆษณา หลักและการปฏิบัติทางวาทนิเทศ ภาษาเพื่อการสื่อสาร เป็นต้น จากนั้นนิสิตจะได้เลือกสาขาเฉพาะตามความสนใจของเมื่อขึ้นปี 3 โดยจะได้เรียนทฤษฎีสื่อสารการแสดง การบริหารจัดการการแสดง วรรณกรรมการแสดง การเขียนบท การวิจารณ์การแสดง และการฝึกงานอาชีพทางสื่อสารการแสดง เพราะได้ลองทำกิจกรรมและผ่านการเรียนบางส่วนของหลายสาขาวิชามาแล้วตอนปี 1 และ 2 การเลือกสาขาวิชาเฉพาะตอนปี 3 จะดีตรงที่จะช่วยให้น้องๆ สามารถคิดทบทวนและค้นหาตัวเองได้ว่า จริงๆ ชอบเรียนอะไร อยากจบไปประกอบอาชีพด้านไหน
โดยน้องๆ ที่จบคณะนี้สามารถทำงานในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารหรือสื่อมวลชนได้เกือบทุกสาขา ขึ้นอยู่กับความสามารถ ทักษะ และความสนใจของแต่ละคนเอง เพราะว่าการเรียนและกิจกรรมในคณะจะช่วยสอนให้น้องๆ รู้จักขั้นตอนและวิธีการทำงานในหลากหลายด้าน และสาขาสื่อสารการแสดงก็เช่นกัน น้องๆ สามารถประกอบอาชีพได้ทั้ง นักออกแบบเพื่อการแสดง นักแสดง ครูสอนการแสดง ผู้คัดเลือกนักแสดง ผู้กำกับการแสดง ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ บทละครภาพยนตร์ หรือนักการสื่อสารประจำสำนักงานต่างๆ เป็นต้น
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- มีกิจกรรมสำคัญและมีชื่อเสียง คือ ละครนิเทศฯ จุฬา
จบมาทำงานอะไร
นักออกแบบเพื่อการแสดง นักแสดง ครูสอนการแสดง ผู้คัดเลือกนักแสดง ผู้กํากับการแสดงหรือผู้ช่วยผู้กำกับการแสดง ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ บทละครภาพยนตร์ และอาชีพอื่นๆ ที่ต้องใช้ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (แบบปกติ)
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 เทอม 2.75 ขึ้นไป
- ผลคะแนนสอบ GAT 40%
- ผลคะแนนสอบ PAT1 (คณิตสาศตร์) 60% หรือ PAT 7.1-7.4 (ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน) 60%
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
รูปแบบที่ 1
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
รูปแบบที่ 2
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT7.1 (ภาษาฝรั่งเศส), PAT7.2 (ภาษาเยอรมัน), PAT7.3 (ภาษาญี่ปุ่น), PAT7.4 (ภาษาจีน) 20%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
168, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21, 000 บาท/เทอม
6 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.3 ดีมาก
นิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
อมรวรรณ
นักเรียน
19 ม.ค. 61 20:42 น.
อมิตา
นักเรียน
28 พ.ย. 60 18:29 น.
นิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการแสดง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นคณะยอดนิยมตลอดกาลของน้องๆ ม.ปลายสายศิลป์ที่อยากเรียนด้านสื่อสารหรือนิเทศศาสตร์ โดยคณะนิเทศฯ ประกอบไปด้วย 5 ภาค 7 สาขาวิชา หนึ่งในสาขาที่ใครหลายคนสนใจมาก ก็คือ สาขาวิชาสื่อสารการแสดง แต่เรียนการแสดง ไม่จำเป็นว่าจบแล้วน้องๆ จะต้องไปเป็นนักแสดงเท่านั้นนะคะ เพราะสาขานี้เน้นศึกษาเกี่ยวกับศิลปะการแสดง โดยมีความรู้ด้านการสื่อสารเป็นพื้นฐาน นอกจากจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในส่วนประกอบของการแสดงแล้วยังต้องศึกษาเทคนิคของการสร้างสื่อต่างๆ หรือพูดง่ายๆ คือแสดงอย่างไรให้คนดูเข้าใจในตัวละคร เน้นการทำละครอย่างไรให้คนดูเข้าใจมากที่สุด เขียนบทอย่างไรให้เล่าเรื่องได้ง่าย คนดูไม่งง เพื่อสื่อสารและก่อให้เกิดผลลัพธ์หรือข้อคิดกับคนดูได้ดีที่สุดนั่นเอง
ในส่วนการเรียนการสอนนั้น ในปี 1-2 น้องๆ ทุกคนจะได้เรียนรวมกันทั้งคณะค่ะ เรียนพื้นฐานวิชาทางนิเทศศาสตร์เหมือนกัน เช่น การสื่อสารมวนชนและนิเทศศาสตร์เบื้องต้น การสื่อข่าว การเขียนข่าว พื้นฐานการประชาสัมพันธ์และโฆษณา หลักและการปฏิบัติทางวาทนิเทศ ภาษาเพื่อการสื่อสาร เป็นต้น จากนั้นนิสิตจะได้เลือกสาขาเฉพาะตามความสนใจของเมื่อขึ้นปี 3 โดยจะได้เรียนทฤษฎีสื่อสารการแสดง การบริหารจัดการการแสดง วรรณกรรมการแสดง การเขียนบท การวิจารณ์การแสดง และการฝึกงานอาชีพทางสื่อสารการแสดง เพราะได้ลองทำกิจกรรมและผ่านการเรียนบางส่วนของหลายสาขาวิชามาแล้วตอนปี 1 และ 2 การเลือกสาขาวิชาเฉพาะตอนปี 3 จะดีตรงที่จะช่วยให้น้องๆ สามารถคิดทบทวนและค้นหาตัวเองได้ว่า จริงๆ ชอบเรียนอะไร อยากจบไปประกอบอาชีพด้านไหน
โดยน้องๆ ที่จบคณะนี้สามารถทำงานในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารหรือสื่อมวลชนได้เกือบทุกสาขา ขึ้นอยู่กับความสามารถ ทักษะ และความสนใจของแต่ละคนเอง เพราะว่าการเรียนและกิจกรรมในคณะจะช่วยสอนให้น้องๆ รู้จักขั้นตอนและวิธีการทำงานในหลากหลายด้าน และสาขาสื่อสารการแสดงก็เช่นกัน น้องๆ สามารถประกอบอาชีพได้ทั้ง นักออกแบบเพื่อการแสดง นักแสดง ครูสอนการแสดง ผู้คัดเลือกนักแสดง ผู้กำกับการแสดง ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ บทละครภาพยนตร์ หรือนักการสื่อสารประจำสำนักงานต่างๆ เป็นต้น
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 เทอม 2.75 ขึ้นไป
- ผลคะแนนสอบ GAT 40%
- ผลคะแนนสอบ PAT1 (คณิตสาศตร์) 60% หรือ PAT 7.1-7.4 (ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน) 60%
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
รูปแบบที่ 1
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
รูปแบบที่ 2
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT7.1 (ภาษาฝรั่งเศส), PAT7.2 (ภาษาเยอรมัน), PAT7.3 (ภาษาญี่ปุ่น), PAT7.4 (ภาษาจีน) 20%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
นิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการแสดง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นจอมปราชญ์ รอบรู้ศิลปะวิทยาทุกด้าน ทรงได้รับยกย่อง ในฐานะผู้ริเริ่มนำวิทยาการสมัยใหม่ มาสู่คนไทย และได้ทรงปรับเปลี่ยนพิธีการต่างๆเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า พระองค์ทรงสนพระทัยด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ การใช้การสื่อสารในหลายช่องทาง เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้ชาติไทยรอดพ้นการเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตก พระองค์ทรงใช้กุศโลบายทางด้านการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารโน้มน้าวใจให้ประเทศตะวันตกเชื่อถือในตัวพระองค์ และสยามประเทศ ว่าเป็นประเทศที่มีอารยธรรมเจริญ รุ่งเรืองมาช้านานมีวัฒนธรรม ที่ดีงามและสามารถปรับตัว เข้ากับวัฒนธรรมตะวันตกได้ พระองค์ได้เล็งเห็นความสำคัญ ของภาษาอังกฤษได้สนับสนุน ให้พระราชโอรสและพระราชธิดาได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารที่จะรู้เท่าทันชาติตะวันตก และเป็นสื่อทางวัฒนธรรมที่สำคัญ นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เปิดการสื่อสารระหว่างพระเจ้าแผ่นดินกับราษฎร โดยทำเป็นประกาศต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน อันเป็นการเปลี่ยนแปลงการสื่อสารไปจากดั้งเดิม
ภาควิชามีเป้าหมายที่จะผลิตบัณฑิตที่จบสาขาวิชานี้ให้มีความสามารถในการพัฒนาตนเองในการสื่อสาร เป็นผู้เชี่ยวชาญในการสื่อสาร (communication specialist) เป็นผู้ที่สามารถนำเสนอหรืออกแบบสาร (message designer) และยังมีความรู้ความเข้าใจในสาระของการบริหารกิจกรรม (speech activities) ในรูปแบบต่างๆ
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ในองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และประกอบวิชาชีพอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งดังนี้ งานด้านการเป็นผู้พูด/ผู้นำเสนอ, งานด้นวาทนิพนธ์และหารใช้วาทศิลป์สร้างสรรค์การเขียนต่างๆ, งานบริหารวาทกิจกรรมต่างๆ, งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, งานวิเคราะห์และพัฒนาระบบการสื่อสารในองค์กร, งานประสานความสัมพันธ์และความร่วมมือ และงานสื่อกลางการเจรจา
วิเคราะห์ข้อมูล U-Review Score
โดย AdmissionPremium.com
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
เทียบเท่า (อาชีวะ)
6 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.3 ดีมาก
นิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
น่าสนใจ
อมรวรรณ
ดี
อมิตา
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ