“ตลาดงานไอที 2020 บนเศรษฐกิจดิจิทัล” คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม : Exclusive Talk
เรามีโอกาสได้คุยกับ ผศ.ดร. ธนา สุขวารี คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เกี่ยวกับเรื่องตลอดงานด้านไอทีที่มีความเกี่ยวเนื่องกันกับความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของโลก ที่กำลังเดินไปทิศทางเดียวกันใน 4 กรอบสำคัญ อันได้แก่ คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing), อภิมหาข้อมูล (Big Data), โมบายเทคโนโลยี (Mobile Technology) และ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things) พร้อมพูดคุยถึงการเรียนการสอนในคณะที่ต้องปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
อนาคตของตลาดงานด้านไอทีจะเป็นอย่างไร?
ตลาดงานเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพราะฉะนั้นตลาดงานจะเปลี่ยนตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ในโลกปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เป็น Mega Trends ใหญ่ๆ อยู่ 4 เทคโนโลยี 4 กรอบนี้จะเป็นตัวขับเคลื่อน เมื่อมันมีการเปลี่ยนแปลงตลาดมันก็จะเปลี่ยนไปตาม
คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)
สิ่งแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วคือ คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) เราจะเห็นนะครับว่าเทคโนโลยีคลาวด์นั้นใกล้ตัวมาก เพียงแต่ว่าผู้ใช้นั้นอาจไม่รู้ตัว เพราะใช้มันอยู่ทุกวัน คลาวด์เองมีส่วนที่เป็นการจัดเก็บข้อมูลที่เราเรียกว่า คลาวด์สตอเรจ (cloud storage) เช่น Dopbox อีเมล หรือบริการของ Google ทั้งหลายก็อยู่บนคลาวด์หมด การใช้งานก็ง่าย การดูแลก็ง่าย อันนี้ทำให้ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจต่ำลง มันจึงเป็นสิ่งแรกเลยที่ทำให้ทุกอย่างของโลกกำลังเปลี่ยนไป
อภิมหาข้อมูล (Big Data)
ตัวที่สองคือ Big Data ซึ่งอันที่จริงมันเกิดขึ้นมาได้ประมาณ 3 -4 ปีแล้ว ทุกวันนี้มีข้อมูลที่ถูกผลิตขึ้นมาตลอดเวลา ผมใช้คำว่า “ตลอดเวลา” ไม่ว่าเราจะใช้งาน facebook, line, IG หรืออัพโหลดคลิปลง YouTube สิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลทั้งหมด และมันเกิดขึ้นตลอดเวลา เราวัดหน่อยกันเป็นวินาที วินาทีหนึ่งเราผลิตกันได้ในระดับเทระไบต์ (Terabyte) เพราะฉะนั้นจึงมีข้อมูลมหาสาร เราจึงใช้คำว่า Big Data แต่ปัญหาก็คือ เราจะเอาข้อมูลพวกนี้มาใช้ได้อย่างไร จึงมีเทคโนโลยีที่จะไปย่อยข้อมูลเหล่านี้ เพื่อเอาไปประยุคใช้กับแต่ละธุรกิจ แต่ละเรื่องที่ต่างกัน
โมบายเทคโนโลยี (Mobile Technology)
เทคโนโลยีตัวที่สามที่เราจะพูดถึงมีมานานพอสมควรแล้ว แต่ยังมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโลกอยู่ นั้นคือโมบายเทคโนโลยี แม้ทุกวันนี้อุปกรณ์ที่ติดอยู่กับที่จะยังมีอยู่ แต่จำนวนและการใช้งานลดลงมาก ปัจจุบันตื่นนอนเราก็ต้องหยิบโทรศัพท์ก่อน ก่อนนอนก็ต้องดูอีก เราติดอยู่กับมันตลอดเวลา แม้แต่ธุรกิจโฆษณาเราก็จะเห็นว่าเปลี่ยนแปลงตามไปอยู่กับอุปกรณ์เหล่านี้มากขึ้นแล้ว
อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things)
ส่วนตัวที่สี่เป็นเรื่องของการเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกันเรียกว่า Internet of Things หรือ IoT ทุกอย่างในโลกใบนี้มันต่อเชื่อมกันหมดด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นการเชื่อมโยงกับทุกอย่างเพื่อให้การใช้ชีวิตของเราง่ายขึ้น สามารถสังเกต และควบคุมทุกอย่างของเราได้จากระยะไกล IoT ที่จริงแล้วเป็นเรื่องทางเทคนิคว่าจะทำอย่างไรให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) สามารถเชื่อมโยง หรือส่งข้อมูลที่เราต้องการไปยังส่วนแสดงผลได้
ถ้าเราเป็นนักเรียน เราจะต้องเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร?
ถ้าอยากเป็นคนที่เข้ามาอยู่ในแวดวงไอทีต้องถามตัวเองก่อนว่า “เราอยากทำอะไร” ถ้าชอบการควบคุมอุปกรณ์ แนะว่าให้ไปทางสาย IoT การต่อเชื่อมอุปกรณ์กับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แล้วก็ดึงข้อมูลเอามาแปลผล เอามาใช้ ในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่เดิมจะเป็นการเรียนออกแบบวงจร ให้นักศึกษามีความรู้ด้านงานระบบ รู้เรื่องการออกแบบ รู้เรื่องระบบไฟฟ้า และการผลิตซอฟท์แวร์เข้าไปควบคุมฮาร์ดแวร์ แต่ตอนนี้มีการต่อยอดขึ้นไปอีกขั้น ด้วยการเรียนรู้ระบบ IoT ด้วย
ถ้ามีความสนใจด้าน Big data ต้องมีความรู้ด้านการวิเคราะห์ การย่อยข้อมูล แล้วก็เอาข้อมูลนั้นไปใช้ ต้องเรียนในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพราะจะได้เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาระบบ และการสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาเพื่อเอาข้อมูลนั้นไปใช้
ส่วนใครที่สนใจด้านโมบายเทคโนโลยีนั้น อันที่จริงมันแทบจะแทรกไปในทุกเรื่องอยู่แล้ว เพราะโมบายเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานของการเชื่อมต่อกับงานระบบ ที่เป็นระบบขององค์กร ระบบของการใช้งานในชีวิตประจำวัน ฉะนั้นมันจะอยู่ในสาขาที่เกี่ยวกับการพัฒนางานระบบ เช่น สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็ได้
ส่วนคลาวด์จะมีความซับซ้อนของตัวมันเองอยู่ข้างใน เพียงแต่เวลาใช้มันดูง่าย เราเห็นประโยชน์ของมันง่าย ขึ้นอยู่กับว่าเราจะบริหารจัดการระบบที่เรียกว่าคลาวด์อย่างไร เมื่อมีคลาวด์เราต้องเปลี่ยนจากงานระบบที่ติดอยู่กับตัวองค์กร กลายมาเป็นระบบที่อยู่กับคลาวด์ ถ้าเราอยากจะเรียน อยากจะทำงานด้านนี้ ซึ่งต้องบริการคนจำนวนมากที่ใช้งานคลาวด์อยู่ เราต้องเรียนในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และยังมีความต้องการอีกด้านหนึ่ง ในฝั่งของธุรกิจยังต้องการคนที่มีความรู้ ความเข้าใจงานไอที และเข้าใจธุรกิจ เช่น การทำมาร์เก็ตติ้งออนไลน์ เพราะฉะนั้นต้องมีคนที่เข้าใจว่าเวลาที่เราจะสร้างธุรกิจบนพื้นที่ออนไลน์ จะต้องทำอย่างไร จึงต้องมีสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่โฟกัสด้านนี้โดยเฉพาะ
วันนี้ และอนาคตของคนไอที
ผมคิดว่าวันนี้ถือเป็นโอกาสของคนไอที เพราะความต้องการบุคลากรด้านไอทีมีสูงมาก จากหลายๆ ผลสำรวจบอกเราแล้วว่าความต้องการบุคลากรด้านไอทีไม่เคยหลุดออกจาก Top 3 และค่าจ้างก็สูง อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าคนไอทีจะมีอิสระมากขึ้น เราได้ยินคำว่า Tech Startup บ่อยขึ้นเรื่อยๆ หมายความว่าคนไอทีสามารถพัฒนาตนเองให้กลายมาเป็นผู้ประกอบการ โดยใช้เครื่องมือที่เป็นไอทีไปทำธุรกิจ ซึ่งอันนี้กำลังเป็นเทรดของโลก
อนาคตของตลาดงานด้านไอทีจะเป็นอย่างไร?
ตลาดงานเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพราะฉะนั้นตลาดงานจะเปลี่ยนตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ในโลกปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เป็น Mega Trends ใหญ่ๆ อยู่ 4 เทคโนโลยี 4 กรอบนี้จะเป็นตัวขับเคลื่อน เมื่อมันมีการเปลี่ยนแปลงตลาดมันก็จะเปลี่ยนไปตาม
คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)
สิ่งแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วคือ คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) เราจะเห็นนะครับว่าเทคโนโลยีคลาวด์นั้นใกล้ตัวมาก เพียงแต่ว่าผู้ใช้นั้นอาจไม่รู้ตัว เพราะใช้มันอยู่ทุกวัน คลาวด์เองมีส่วนที่เป็นการจัดเก็บข้อมูลที่เราเรียกว่า คลาวด์สตอเรจ (cloud storage) เช่น Dopbox อีเมล หรือบริการของ Google ทั้งหลายก็อยู่บนคลาวด์หมด การใช้งานก็ง่าย การดูแลก็ง่าย อันนี้ทำให้ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจต่ำลง มันจึงเป็นสิ่งแรกเลยที่ทำให้ทุกอย่างของโลกกำลังเปลี่ยนไป
อภิมหาข้อมูล (Big Data)
ตัวที่สองคือ Big Data ซึ่งอันที่จริงมันเกิดขึ้นมาได้ประมาณ 3 -4 ปีแล้ว ทุกวันนี้มีข้อมูลที่ถูกผลิตขึ้นมาตลอดเวลา ผมใช้คำว่า “ตลอดเวลา” ไม่ว่าเราจะใช้งาน facebook, line, IG หรืออัพโหลดคลิปลง YouTube สิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลทั้งหมด และมันเกิดขึ้นตลอดเวลา เราวัดหน่อยกันเป็นวินาที วินาทีหนึ่งเราผลิตกันได้ในระดับเทระไบต์ (Terabyte) เพราะฉะนั้นจึงมีข้อมูลมหาสาร เราจึงใช้คำว่า Big Data แต่ปัญหาก็คือ เราจะเอาข้อมูลพวกนี้มาใช้ได้อย่างไร จึงมีเทคโนโลยีที่จะไปย่อยข้อมูลเหล่านี้ เพื่อเอาไปประยุคใช้กับแต่ละธุรกิจ แต่ละเรื่องที่ต่างกัน
โมบายเทคโนโลยี (Mobile Technology)
เทคโนโลยีตัวที่สามที่เราจะพูดถึงมีมานานพอสมควรแล้ว แต่ยังมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโลกอยู่ นั้นคือโมบายเทคโนโลยี แม้ทุกวันนี้อุปกรณ์ที่ติดอยู่กับที่จะยังมีอยู่ แต่จำนวนและการใช้งานลดลงมาก ปัจจุบันตื่นนอนเราก็ต้องหยิบโทรศัพท์ก่อน ก่อนนอนก็ต้องดูอีก เราติดอยู่กับมันตลอดเวลา แม้แต่ธุรกิจโฆษณาเราก็จะเห็นว่าเปลี่ยนแปลงตามไปอยู่กับอุปกรณ์เหล่านี้มากขึ้นแล้ว
อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things)
ส่วนตัวที่สี่เป็นเรื่องของการเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกันเรียกว่า Internet of Things หรือ IoT ทุกอย่างในโลกใบนี้มันต่อเชื่อมกันหมดด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นการเชื่อมโยงกับทุกอย่างเพื่อให้การใช้ชีวิตของเราง่ายขึ้น สามารถสังเกต และควบคุมทุกอย่างของเราได้จากระยะไกล IoT ที่จริงแล้วเป็นเรื่องทางเทคนิคว่าจะทำอย่างไรให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) สามารถเชื่อมโยง หรือส่งข้อมูลที่เราต้องการไปยังส่วนแสดงผลได้
ถ้าเราเป็นนักเรียน เราจะต้องเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร?
ถ้าอยากเป็นคนที่เข้ามาอยู่ในแวดวงไอทีต้องถามตัวเองก่อนว่า “เราอยากทำอะไร” ถ้าชอบการควบคุมอุปกรณ์ แนะว่าให้ไปทางสาย IoT การต่อเชื่อมอุปกรณ์กับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แล้วก็ดึงข้อมูลเอามาแปลผล เอามาใช้ ในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่เดิมจะเป็นการเรียนออกแบบวงจร ให้นักศึกษามีความรู้ด้านงานระบบ รู้เรื่องการออกแบบ รู้เรื่องระบบไฟฟ้า และการผลิตซอฟท์แวร์เข้าไปควบคุมฮาร์ดแวร์ แต่ตอนนี้มีการต่อยอดขึ้นไปอีกขั้น ด้วยการเรียนรู้ระบบ IoT ด้วย
ถ้ามีความสนใจด้าน Big data ต้องมีความรู้ด้านการวิเคราะห์ การย่อยข้อมูล แล้วก็เอาข้อมูลนั้นไปใช้ ต้องเรียนในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพราะจะได้เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาระบบ และการสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาเพื่อเอาข้อมูลนั้นไปใช้
ส่วนใครที่สนใจด้านโมบายเทคโนโลยีนั้น อันที่จริงมันแทบจะแทรกไปในทุกเรื่องอยู่แล้ว เพราะโมบายเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานของการเชื่อมต่อกับงานระบบ ที่เป็นระบบขององค์กร ระบบของการใช้งานในชีวิตประจำวัน ฉะนั้นมันจะอยู่ในสาขาที่เกี่ยวกับการพัฒนางานระบบ เช่น สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็ได้
ส่วนคลาวด์จะมีความซับซ้อนของตัวมันเองอยู่ข้างใน เพียงแต่เวลาใช้มันดูง่าย เราเห็นประโยชน์ของมันง่าย ขึ้นอยู่กับว่าเราจะบริหารจัดการระบบที่เรียกว่าคลาวด์อย่างไร เมื่อมีคลาวด์เราต้องเปลี่ยนจากงานระบบที่ติดอยู่กับตัวองค์กร กลายมาเป็นระบบที่อยู่กับคลาวด์ ถ้าเราอยากจะเรียน อยากจะทำงานด้านนี้ ซึ่งต้องบริการคนจำนวนมากที่ใช้งานคลาวด์อยู่ เราต้องเรียนในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และยังมีความต้องการอีกด้านหนึ่ง ในฝั่งของธุรกิจยังต้องการคนที่มีความรู้ ความเข้าใจงานไอที และเข้าใจธุรกิจ เช่น การทำมาร์เก็ตติ้งออนไลน์ เพราะฉะนั้นต้องมีคนที่เข้าใจว่าเวลาที่เราจะสร้างธุรกิจบนพื้นที่ออนไลน์ จะต้องทำอย่างไร จึงต้องมีสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่โฟกัสด้านนี้โดยเฉพาะ
วันนี้ และอนาคตของคนไอที
ผมคิดว่าวันนี้ถือเป็นโอกาสของคนไอที เพราะความต้องการบุคลากรด้านไอทีมีสูงมาก จากหลายๆ ผลสำรวจบอกเราแล้วว่าความต้องการบุคลากรด้านไอทีไม่เคยหลุดออกจาก Top 3 และค่าจ้างก็สูง อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าคนไอทีจะมีอิสระมากขึ้น เราได้ยินคำว่า Tech Startup บ่อยขึ้นเรื่อยๆ หมายความว่าคนไอทีสามารถพัฒนาตนเองให้กลายมาเป็นผู้ประกอบการ โดยใช้เครื่องมือที่เป็นไอทีไปทำธุรกิจ ซึ่งอันนี้กำลังเป็นเทรดของโลก