วิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร
มหาวิทยาลัยสยาม
Summary
9.03
รีวิววิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม
น้องๆ คนไหนที่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ เช่น เคมี ชีวะ และมีความสนใจเกี่ยวกับการแปรรูปอาหาร แต่พลาดหวังในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐต่างๆ หากน้องมีความมุ่งมั่นและรู้ตัวว่าชอบในสิ่งนั้นจริง ไม่ว่าจะเรียนที่ไหนก็ช่วยให้เราเรียนรู้ได้ดีและสำเร็จการศึกษามาประกอบอาชีพตามที่หวังได้เช่นกัน โดยสาขาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต ระดับปริญญาตรี 4 ปี จะเป็นอีกหนึ่งสาขาที่จะช่วยตอบโจทย์ให้น้องๆได้ค่ะ
ที่นี่จะเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการอาหาร โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนในห้องเรียนทั้งสิ้น 3 ปี น้องๆ จะได้รับความรู้ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น กระบวนการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การถนอมรักษาคุณค่าทางโภชนาการ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร การจัดการกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพในโรงงานแปรรูปอาหาร การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งเพื่อจำหน่าย เป็นต้น และในปีสุดท้ายจะได้เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา(ฝึกงาน) เป็นเวลา 4 เดือน เพื่อเรียนรู้การทำงาน พร้อมได้รับเงินเดือนจากสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ
อุตสาหกรรมอาหาร เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลกเป็นลำดับต้นๆ และสำหรับประเทศไทย ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และ SME มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นน้องๆ ที่จบการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีการอาหาร จึงเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน อาชีพที่บัณฑิตสามารถทำได้ มีทั้ง ฝ่ายการผลิต ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเป็นนักวิจัย นักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเป็นเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านอาหาร
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เปิดสอนมายาวนาน หลักสูตรทันสมัย ผ่านการรับรองมาตรฐาน
- มีประกันสมรรถนะของการศึกษา เตรียมความพร้อมให้นักศึกษาพร้อมเข้าสู่การอาชีพ (อบรมการประกันคุณภาพอาหาร GMP, HACCP และ ISO 22000 พร้อมได้รับประกาศนียบัตรใช้สมัครงานได้ทันที)
- มีทุนการศึกษาของรัฐบาล (กยศ. กรอ.) รองรับค่าใช้จ่ายของสาขาวิชานี้ได้ตลอดทุกปีการศึกษา
- งานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยสยาม และหน่วยงานภายนอก อาทิเช่น สำนักส่งเสริมและพัฒนาการวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
จบมาทำงานอะไร
นักการผลิต, ผู้ตรวจสอบคุณภาพและประกันคุณภาพ, นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์, นักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว (รายได้ 15, 000-20, 000 บาท/เดือน)
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง
- นักเรียนที่สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- สมัครด้วยตนเองที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม อาคาร 14 ชั้น 1 ห้อง 14-106 เลขที่ 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160
- สมัครทางอีเมล์ sci2@siam.edu
ระบบแอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
280, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
35, 000 บาท/เทอม
6 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.6 ดีมาก
วิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม ดีไหม?
“ค่าเทอมแพงมากสำหรับเรา”
😂
สุปวีณ์
นักเรียน
07 ธ.ค. 60 11:36 น.
ยอดแก้ว
นักเรียน
14 ส.ค. 60 16:33 น.
“ควรจะให้เด็กฝึกงานทุกชั้นปี”
การทำอาหารก็ควรจะฝึกมือบ่อยๆ การเรียนเกี่ยวกับอาหารก็เหมือนกันควรจะทำแบบเดียวกัน เพื่อความชำนาญของเด็กๆ
ธนัชพร จรัสวรชิต
บุคคลทั่วไป
30 ก.ย. 59 14:39 น.
“เทรนด์อาชีพในอนาคตเลย”
เมื่อคนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น อาหารการกินจึงมีความสำคัญในอนาคต
มะลิสา ธิรเดชาภร
บุคคลทั่วไป
20 ก.ย. 59 12:26 น.
วิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร
มหาวิทยาลัยสยาม
รีวิววิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม
น้องๆ คนไหนที่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ เช่น เคมี ชีวะ และมีความสนใจเกี่ยวกับการแปรรูปอาหาร แต่พลาดหวังในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐต่างๆ หากน้องมีความมุ่งมั่นและรู้ตัวว่าชอบในสิ่งนั้นจริง ไม่ว่าจะเรียนที่ไหนก็ช่วยให้เราเรียนรู้ได้ดีและสำเร็จการศึกษามาประกอบอาชีพตามที่หวังได้เช่นกัน โดยสาขาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต ระดับปริญญาตรี 4 ปี จะเป็นอีกหนึ่งสาขาที่จะช่วยตอบโจทย์ให้น้องๆได้ค่ะ
ที่นี่จะเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการอาหาร โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนในห้องเรียนทั้งสิ้น 3 ปี น้องๆ จะได้รับความรู้ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น กระบวนการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การถนอมรักษาคุณค่าทางโภชนาการ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร การจัดการกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพในโรงงานแปรรูปอาหาร การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งเพื่อจำหน่าย เป็นต้น และในปีสุดท้ายจะได้เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา(ฝึกงาน) เป็นเวลา 4 เดือน เพื่อเรียนรู้การทำงาน พร้อมได้รับเงินเดือนจากสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ
อุตสาหกรรมอาหาร เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลกเป็นลำดับต้นๆ และสำหรับประเทศไทย ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และ SME มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นน้องๆ ที่จบการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีการอาหาร จึงเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน อาชีพที่บัณฑิตสามารถทำได้ มีทั้ง ฝ่ายการผลิต ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเป็นนักวิจัย นักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเป็นเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านอาหาร
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- มีประกันสมรรถนะของการศึกษา เตรียมความพร้อมให้นักศึกษาพร้อมเข้าสู่การอาชีพ (อบรมการประกันคุณภาพอาหาร GMP, HACCP และ ISO 22000 พร้อมได้รับประกาศนียบัตรใช้สมัครงานได้ทันที)
- มีทุนการศึกษาของรัฐบาล (กยศ. กรอ.) รองรับค่าใช้จ่ายของสาขาวิชานี้ได้ตลอดทุกปีการศึกษา
- งานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยสยาม และหน่วยงานภายนอก อาทิเช่น สำนักส่งเสริมและพัฒนาการวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- นักเรียนที่สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- สมัครด้วยตนเองที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม อาคาร 14 ชั้น 1 ห้อง 14-106 เลขที่ 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160
- สมัครทางอีเมล์ sci2@siam.edu
ระบบแอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร
มหาวิทยาลัยสยาม
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
1. ฝ่ายการผลิต
2. ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ
3. ฝ่ายประกันคุณภาพ
4. ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
ตลอดจนเป็นนักวิจัย และนักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน), บริษัท BETAGRO GROUP, บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว และในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีกฎหมายควบคุม ที่กำหนดให้โรงงานอาหาร จะต้องมีนักเทคโนโลยีการอาหาร ที่มีใบประกอบวิชาชีพนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร เป็นผู้ควบคุมโรงงานด้วย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการอาหาร ไปใช้ในการทำงาน ประกอบอาชีพ วิจัยคิดค้นและเป็นผู้ประกอบการ
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 33 หน่วยกิต แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มวิชา ดังนี้
1. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จำนวน 9 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ จำนวน 6 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ จำนวน 3 หน่วยกิต
4. กลุ่มวิชาภาษา จำนวน 15 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะสาขา จำนวน 98 หน่วยกิต แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มวิชา ดังนี้
1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 42 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ จำนวน 50 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาชีพเลือก จำนวน 6 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต
• ประกันสมรรถนะของการศึกษา เตรียมความพร้อมให้นักศึกษาพร้อมเข้าสู่การอาชีพ (อบรมการประกันคุณภาพอาหาร GMP, HACCP และ ISO 22000 พร้อมได้รับประกาศนียบัตรใช้สมัครงานได้ทันที)
• มีกิจกรรมพัฒนานักศึกษาทั้งทางวิชาการ วิชาชีพ และเน้นทักษะให้นักศึกษามีภาวะผู้นำ
• ทุนการศึกษาของรัฐบาล (กยศ. กรอ.) รองรับค่าใช้จ่ายของสาขาวิชานี้ได้ตลอดทุกปีการศึกษา
• งานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยสยาม และหน่วยงานภายนอก อาทิเช่น สำนักส่งเสริมและพัฒนาการวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ข้อเสนอทุน : ได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบียนเรียนเต็มจำนวน ระยะเวลา 4 ปี
คุณสมบัติของผู้สมัคร
จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 โปรแกรมวิทยาศาสตร์หรือเทียบเท่า
มีผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA.) 3.50 ขึ้นไป
มีความประพฤติดี เรียบร้อย และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
เงื่อนไขของผู้สมัคร
มีผลการเรียนระดับอุดมศึกษา คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA.) 3.25 ขึ้นไป ทุกภาคการศึกษา
เข้าร่วมกิจกรรมของสาขาวิชาและคณะวิชา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกิจกรรมที่จัดขึ้น
2. ทุนเรียนดีประเภทที่ 2 จำนวน 2 ทุน
ข้อเสนอทุน : ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษา จำนวน 40,000 บาท โดยสนับสนุนภาคการศึกษาละ 5,000 บาทระยะเวลา 4 ปี
คุณสมบัติของผู้สมัคร
จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 โปรแกรมวิทยาศาสตร์หรือเทียบเท่า
มีผลการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA.) 3.00 ขึ้นไป
มีความประพฤติดี เรียบร้อย และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
เงื่อนไขของผู้สมัคร
มีผลการเรียนระดับอุดมศึกษา คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA.) 3.00 ขึ้นไป ทุกภาคการศึกษา
เข้าร่วมกิจกรรมของสาขาวิชาและคณะวิชา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกิจกรรมที่จัดขึ้น
หมายเหตุ : เกณฑ์การคัดเลือก สำหรับทุนเรียนดีประเภท 1 และ 2ในกรณีที่มีผู้สมัครทุนเรียนดีประเภทที่ 1 และ 2 มากกว่าจำนวนทุนที่กำหนด ผู้สมัครจะต้องผ่านการคัดเลือกจากอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยพิจารณาจากเกณฑ์ ดังนี้
- ผลการสอบวัดความรู้ทางวิชาการ ที่จัดสอบโดยภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร และต้องผ่านเกณฑ์คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
- พิจารณาจาก Portfolioของผู้สมัคร (ด้านการเข้าร่วมกิจกรรม, ด้านความสามารถพิเศษ เป็นต้น)
3. ทุนประเภททั่วไป ไม่จำกัดจำนวนทุน
ข้อเสนอทุน : ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษา จำนวน 15,000 บาท โดยสนับสนุนภาคการศึกษาละ 5,000 บาทระยะเวลา 3 ภาคการศึกษา
คุณสมบัติของผู้สมัคร
จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 โปรแกรมวิทยาศาสตร์หรือเทียบเท่า
มีผลการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA.) 2.50 ขึ้นไป
มีความประพฤติดี เรียบร้อย และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
เงื่อนไขของผู้สมัคร
มีผลการเรียนระดับอุดมศึกษา คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA.) 2.50 ขึ้นไป ทุกภาคการศึกษา
เข้าร่วมกิจกรรมของสาขาวิชาและคณะวิชา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกิจกรรมที่จัดขึ้น
สำเร็จการศึกษา ม.6
เฉลี่ยต่อเทอม 35,000 บาท
สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย ( FoSTAT) และบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ได้สนับสนุนการจัดแข่งขันตอบปัญหาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารขึ้น เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ภายใต้ชื่อ FoSTAT - Nestlé Quiz Bowl โดยจะมีทีมผู้เข้าแข่งขันจากสถาบันระดับอุดมศึกษาทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่มีการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์การอาหารจากทั่วประเทศ เข้าร่วมประลองความรู้ความสามารถ เพื่อชิงถ้วยรางวัลเกียรติยศจาก ฯพณฯ องคมนตรี ซึ่งในปี พ.ศ. 2558 ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ได้ส่งตัวแทนนักศึกษา จำนวน 4 คน เข้าร่วมการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร (FoSTAT- Nestlé Quiz Bowl 2015) ในวันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน 2558 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมกรุงเทพ (ไบเทค) พบว่าตัวแทนของนักศึกษาผ่านรอบชิงชนะเลิศ โดยสามารถคว้ารางวัลที่ 6 มาครองได้อย่างงดงาม ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ มีสถาบันที่มีการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางอาหารเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 70 ทีม
นักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานวิจัย ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3
นักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ได้รับรางวัลชมเชยจากการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 (ASTC 2015) ภายใต้สาระสำคัญ “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” ระหว่างวันที่ 28-29 พฤษภาคม พ.ศ.2558 ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยเป็นการเสนอผลวิจัย/ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
1. ฝ่ายการผลิต
2. ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ
3. ฝ่ายประกันคุณภาพ
4. ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
ตลอดจนเป็นนักวิจัย และนักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน), บริษัท BETAGRO GROUP, บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว และในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีกฎหมายควบคุม ที่กำหนดให้โรงงานอาหาร จะต้องมีนักเทคโนโลยีการอาหาร ที่มีใบประกอบวิชาชีพนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร เป็นผู้ควบคุมโรงงานด้วย
เป็นผู้มีทักษะและกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ รวมถึงสามารถสื่อสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ได้
เป็นผู้มีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน ได้แก่ ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยสารสนเทศ
เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถดำรงตนในสังคมได้อย่างเหมาะสม
มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม
6 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.6 ดีมาก
วิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม ดีไหม?
😂
สุปวีณ์
เยี่ยมเลยๆ
ยอดแก้ว
การทำอาหารก็ควรจะฝึกมือบ่อยๆ การเรียนเกี่ยวกับอาหารก็เหมือนกันควรจะทำแบบเดียวกัน เพื่อความชำนาญของเด็กๆ
ธนัชพร จรัสวรชิต
เมื่อคนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น อาหารการกินจึงมีความสำคัญในอนาคต
มะลิสา ธิรเดชาภร
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ