หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต (PE)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Engineering Program in Production Engineering (PE)
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมการผลิต)
ชื่อย่อ
วศ.บ. (วิศวกรรมการผลิต)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม
Bachelor of Engineering (Production Engineering)
ชื่อย่อ
B.Eng. (Production Engineering)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ระบบการผลิตและทักษะการแก้ไขปัญหาในด้านกระบวนการผลิต อาทิเช่น การเรียนรู้ทฤษฎีเชิงลึกและปฏิบัติเครื่องจักรกลอัตโนมัติในการผลิตชิ้นส่วน เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ การเรียนรู้ทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในการผลิต การออกแบบแม่พิมพ์เพื่อผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพในโรงงานอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีวัสดุวิศวกรรม รวมทั้งทักษะภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารในองค์กร
จุดเด่นของหลักสูตร
1. หลักสูตรตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยยึดหลักการเรียนการสอนแบบโมโนซุคุริ (Monodzukuri) ทางด้านการออกแบบและการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ของชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (CAD/CAM/CAE) และทางด้านการฝึกปฏิบัติการใช้งานเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้จริงในภาคอุตสาหกรรม เช่น CNC Machining Center, CNC Turning Machine, Electric Discharge Machine (EDM) และ Wire Cut Machine, Coordinate Measuring Machine (CMM), Surface Roughness Measuring Machine, Roundness Mesuring Machine, Industrial Robot, เทคโนโลยีการออกแบบแม่พิมพ์และวัสดุวิศวกรรม เป็นต้น
2. หลักสูตรมีการเรียน การสอน ทางด้านการบริหารจัดการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพแบบญี่ปุ่นในโรงงานอุตสาหกรรมบริการต่าง ๆ เช่น ระบบการผลิตแบบโตโยต้า เป็นต้น
3. เนื้อหาและองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมการผลิตตรงตามเกณฑ์ของสภาวิศวกรที่สามารถยื่นขอใบรับรองประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) ได้ในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ทางด้านวิศวกรรมการผลิต
โอกาสหลังสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตสาขาวิศวกรรมการผลิต (PE) สามารถทำงานได้หลากหลายสาขาอาชีพทางด้านวิศวกรรมทั้งภาครัฐและเอกชนในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น วิศวกรฝ่ายวิจัยพัฒนาและการออกแบบ วิศวกรการผลิต วิศวกรฝ่ายควบคุมคุณภาพ วิศวกรฝ่ายวางแผนการผลิต วิศวกรฝ่ายขาย เป็นต้น และสามารถทำงานนอกสายงานวิศวกร เช่น ด้านการจัดการระบบขนส่ง รวมไปถึงการประกอบธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น และศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และการบริหารจัดการ เช่น วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมอวกาศยาน บริหารธุรกิจ การจัดการอุตสาหกรรม เป็นต้น
โครงสร้างหลักสูตร
แผนการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต (PE) เลือกสหกิจศึกษา
แผนการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต (PE) เลือกฝึกงานและทำโครงงาน
ดูรายละเอียดหลักสูตร คลิกที่นี่
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการผลิต
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการผลิต สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ก่อตั้งมากจาก ความร่วมมือร่วมใจ และความเสียสละของกลุ่มบุคคลที่เคยไปศึกษาและฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. โดยมี ฯพณฯ สมหมาย ฮุนตระกูล เป็นประธานคณะกรรมการก่อตั้ง และได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจาก อาจารย์โงอิจิ โฮซุมิ อดีตประธานคณะกรรมการสมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น-โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆแก่บุคลากรไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการดำเนินงานของส.ส.ท.มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และสร้างชื่อเสียงในหลายด้าน เริ่มเปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2550 ในหลักสูตรต่างๆ ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ที่เน้นเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม สารสนเทศและการบริหารจัดการที่จำเป็นสำหรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความชัดเจนในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ และมีทักษะความสามารถในการสื่อสารภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ สู่ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ มีความใกล้ชิดและได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ในญี่ปุ่น เช่น MEXT, JTECS, JETRO, AOTS, JICA, และ JF เป็นต้น สถาบันการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นให้ความร่วมมือ มอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาเรียนดี นอกจากนี้ในด้านการเรียนการสอนสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นสถาบันเดียวที่ให้นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ได้เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาบังคับ โดยก่อนที่นักศึกษาจะจบหลักสูตรต้องผ่านการทดสอบการวัดระดับภาษาญี่ปุ่นของสถาบันฯ
โดยทางสาชาวิศวกรรมการผลิตเน้นการเรียนการสอนที่จะให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ระบบการผลิตและทักษะการแก้ไขปัญหาในด้านกระบวนการผลิต เช่น การเรียนรู้ทฤษฎีเชิงลึกและปฏิบัติเครื่องจักรกลอัตโนมัติในการผลิตชิ้นส่วน เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในการผลิต การออกแบบแม่พิมพ์เพื่อผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพในโรงงานอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีวัสดุวิศวกรรม รวมทั้งทักษะภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารในองค์กร
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- มีเครื่องมือในการเรียนการสอนที่ทันสมัย
- นักศึกษาที่นี่มีทักษะในด้านภาษาไทยและภาษาที่สาม เช่น ภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน
- เนื้อหาและองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมการผลิตตรงตามเกณฑ์ของสภาวิศวกรที่สามารถยื่นขอใบรับรองประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.)
- มีความพร้อมในด้านคณาจารย์ผู้สอนและความร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่น ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์จากภาคอุตสาหกรรม
- สาขาวิศวกรรมการผลิต (PE) เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานศาสตร์ด้านเทคโนโลยีการผลิตเข้ากับศาสตร์ด้านการบริหาร จัดการ
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- กำลังศึกษาชั้นม.6 หรือเทียบเท่า
- มีเกรดเเฉลี่ยรวม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 3.00
- สามารถสมัครผ่านอาจารย์แนะแนว
ระบบรับตรง โครงการสอบตรงและชิงทุน (กรกฎาคม-พฤศจิกายน)
- กำลังศึกษาชั้นม.6 หรือเทียบเท่า
- สมัครผ่านเว็ปไซต์ www.tni.ac.th หรือสมัครด้วยตัวเอง ที่สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซ.พัฒนาการ 37 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ
แอดมิชชันตรงของทางมหาวิทยาลัย
- สำเร็จการศึกษาชั้นม.6 หรือเทียบเท่า
- มีผลคะแนนสอบ GAT , PAT ตามทีทางมหาวิทยาลัยกำหนด
- สมัครผ่านเว็ปไซต์ www.tni.ac.th หรือสมัครด้วยตัวเอง ที่สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซ.พัฒนาการ 37 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการผลิต
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
ความโดดเด่นของหลักสูตรวิศวกรรมการผลิตผู้เรียนจะได้รับความรู้ทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในด้านเครื่องจักรเครื่องมือกล และมีความรู้ในด้านกระบวนการผลิตอาทิ ระบบ TPS TPM TQM ตลอดจนมีความรู้ภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษในระดับสื่อสารทำงานได้
ดูบทความ วิศวกรรมการผลิต เรียนรู้การออกแบบและเทคโนโลยีเครื่องจักรกลอัตโนมัติจากญี่ปุ่น
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
จุดเด่นของหลักสูตร
- มีความพร้อมในด้านคณาจารย์ผู้สอนและความร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่น ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์จากภาคอุตสาหกรรม
- สาขาวิศวกรรมการผลิต (PE) เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานศาสตร์ด้านเทคโนโลยีการผลิตเข้ากับศาสตร์ด้านการบริหาร จัดการ โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ระบบการผลิตและทักษะการแก้ไขปัญหาในด้านกระบวนการผลิตต่างๆ อาทิเช่น การเรียนรู้ทฤษฏีเชิงลึกและฝึกปฏิบัติเครื่องจักรกลอัตโนมัติในการผลิตชิ้นส่วนในโรงงานอุตสาหกรรม การเรียนรู้ทฤษฏีและฝึกปฏิบัติการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในการผลิต การออกแบบแม่พิมพ์เพื่อผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบและการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการบริหารจัดการการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพในโรงงานอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมบริการต่างๆ เช่น Toyota Production System (TPS), TPM, TQM เป็นต้น
- นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยยึดหลักการเรียนการสอนแบบโมโนซุคุริ (Monodzukuri) ทางด้านการออกแบบและการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ของชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (CAD/CAM/CAE) และทางด้านการฝึกปฏิบัติการใช้งานเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้จริงในภาคอุตสาหกรรม เช่น CNC Machining Center, CNC Turning Machine, Electric Discharge Machine (EDM) และ Wire Cut Machine, Coordinate Measuring Machine (CMM), Surface Roughness Measuring Machine, Roundness Measuring Machine, Industrial Robot เป็นต้น
- เนื้อหาและองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมการผลิตตรงตามเกณฑ์ของสภาวิศวกรที่สามารถยื่นขอใบรับรองประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) ได้ในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ทางด้านวิศวกรรมการผลิต
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Engineering Program in Production Engineering (PE)
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมการผลิต)
ชื่อย่อ วศ.บ. (วิศวกรรมการผลิต)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Bachelor of Engineering (Production Engineering)
ชื่อย่อ B.Eng. (Production Engineering)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ระบบการผลิตและทักษะการแก้ไขปัญหาในด้านกระบวนการผลิต อาทิเช่น การเรียนรู้ทฤษฎีเชิงลึกและปฏิบัติเครื่องจักรกลอัตโนมัติในการผลิตชิ้นส่วน เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ การเรียนรู้ทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในการผลิต การออกแบบแม่พิมพ์เพื่อผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพในโรงงานอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีวัสดุวิศวกรรม รวมทั้งทักษะภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารในองค์กร
จุดเด่นของหลักสูตร
1. หลักสูตรตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยยึดหลักการเรียนการสอนแบบโมโนซุคุริ (Monodzukuri) ทางด้านการออกแบบและการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ของชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (CAD/CAM/CAE) และทางด้านการฝึกปฏิบัติการใช้งานเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้จริงในภาคอุตสาหกรรม เช่น CNC Machining Center, CNC Turning Machine, Electric Discharge Machine (EDM) และ Wire Cut Machine, Coordinate Measuring Machine (CMM), Surface Roughness Measuring Machine, Roundness Mesuring Machine, Industrial Robot, เทคโนโลยีการออกแบบแม่พิมพ์และวัสดุวิศวกรรม เป็นต้น
2. หลักสูตรมีการเรียน การสอน ทางด้านการบริหารจัดการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพแบบญี่ปุ่นในโรงงานอุตสาหกรรมบริการต่าง ๆ เช่น ระบบการผลิตแบบโตโยต้า เป็นต้น
3. เนื้อหาและองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมการผลิตตรงตามเกณฑ์ของสภาวิศวกรที่สามารถยื่นขอใบรับรองประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) ได้ในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ทางด้านวิศวกรรมการผลิต
โอกาสหลังสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตสาขาวิศวกรรมการผลิต (PE) สามารถทำงานได้หลากหลายสาขาอาชีพทางด้านวิศวกรรมทั้งภาครัฐและเอกชนในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น วิศวกรฝ่ายวิจัยพัฒนาและการออกแบบ วิศวกรการผลิต วิศวกรฝ่ายควบคุมคุณภาพ วิศวกรฝ่ายวางแผนการผลิต วิศวกรฝ่ายขาย เป็นต้น และสามารถทำงานนอกสายงานวิศวกร เช่น ด้านการจัดการระบบขนส่ง รวมไปถึงการประกอบธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น และศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และการบริหารจัดการ เช่น วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมอวกาศยาน บริหารธุรกิจ การจัดการอุตสาหกรรม เป็นต้น
โครงสร้างหลักสูตร
แผนการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต (PE) เลือกสหกิจศึกษา
แผนการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต (PE) เลือกฝึกงานและทำโครงงาน
ดูรายละเอียดหลักสูตร คลิกที่นี่
1. ประเภทโควตาโรงเรียน เปิดรับสมัครระหว่างเดือน กรกฎาคม - กันยายน (สำหรับผู้ที่มีเกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป)
2. ประเภทสอบตรง-ชิงทุนการศึกษา 50 ทุน ในช่วงระหว่างเดือน กรกฎาคม - พฤศจิกายน และสถาบันฯ เปิดรับสมัครสอบตรงรอบที่ 2 สำหรับนักเรียนที่พลาดโอกาสในการสมัครสอบตรงรอบแรก โดยมีกำหนดเปิดรับสมัครในระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
3. ประเภทยื่นคะแนน GAT / PAT (Admission ตรง) ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
สำเร็จการศึกษา ม.6
วิทย์ - คณิต
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
เทียบเท่า (กศน.)
สำเร็จการศึกษา ม.6
6 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 7.6 ดี
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการผลิต สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ดีไหม?
😃😃
กนกวรรณ
อยากเรียนวิศวะะะ มีหลายอย่างน่าสนใจมากก
สุวพร
เป็น ม.ของเอกชนไทยที่รัฐของญี่ปุ่นสนับสนุกเพราะงั้งเลยไม่จำกัดว่าจะเรียนสายไหมดูที่คุณสามารถสอบได้ไหม เท่าที่รู้มานะครับ มเอกชนส่วนมากจะรับไม่เกี่ยวกับว่าจบอะไรมา
นัท
คณะนี้เรียนเน้นคณิตมากมัยค่ะ
ธัญญรัตน์
เห็นว่าตรงรายละเอียดการรับสมัครไม่ได้บอกไว้ว่าต้องสายวิทย์-คณิตเท่านั้น แสดงว่าสายศิลป์หรือปวช.ก็สอบได้เหรอครับ?
พศิน ปุณมนัส
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ