รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งขึ้นมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปีพ.ศ. 2510 ในส่วนของภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และ โลหะวิทยามีโครงการจะเปิดภาคฯ มาตั้งแต่ปี 2513 โดยได้งบประมาณด้านครุภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องมือต่างๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ด้วยความอนุเคราะห์จากกรมทรัพยากรธรณีและศูนย์อุตสาหกรรมเหมืองแร่อนุมัติให้บุคลากรมาช่วยสอน อีกทั้งคุณเรืองศักดิ์ วัชรพงศ์ ผู้จัดการบริษัท อาร์ เอส เอสโซซีเอ็ตเต็ด คอนซิลแทนต์ จำกัด มาช่วยสอนด้วย
นอกจากนั้นภาควิชาฯ ยังมีโครงการที่จะมีความร่วมมือในระดับบัณฑิตศึกษากับ Department of Materials Science and Engineering, Massachusetts Institute of Technology(MIT), Northwestern University, CaseWestern Reserve University, USA, Department of Materials Science, Liverpool University, UK. , Research Institute of Multidisciplinary for Advanced Materials Processing, Tohoku University, Japan เป็นต้น นอกจากนี้มีโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศแล้ว ปัจจุบันภาควิชาฯ ยังมีความร่วมมือทางวิชาการกับวิศวกรรมเหมืองแร่อีก 2 สถาบัน คือ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยการเรียนการสอนของที่นี่นั้น เป็นหลักสูตร 4 ปี ในปีที่ 1 น้องๆจะได้เรียนวิชาพื้นฐานเหมือนตอนมัธยม จากนั้นจะเรียนเขียนแบบวิศวกรรม, กลศาสตร์วิศวกรรม, การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ปี 2 มีรายวิชากลศาสตร์ของไหล, กระบวนการผลิตขั้นพื้นฐาน, พื้นฐานวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ, ธรณีวิทยาทั่วไป, วัสดุวิศวกรรม, อุณหพลศาสตร์ของวัสดุ, กลศาสตร์วิศวกรรม, กลศาสตร์ของแข็ง, การทำเหมืองและการออกแบบเหมืองผิวดิน, แร่และหิน, เคมีสำหรับวิศวกรเหมืองแร่และวัสดุ ในส่วนของปี 3 มีวิชาปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกลเบื้องต้น, การสำรวจ, การทำเหมืองและการออกแบบเหมืองใต้ดิน , การแต่งแร่, เคมีวิเคราะห์, หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นและการประยุกต์ใช้, ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น, หลักมูลวิศวกรรมไฟฟ้า, การสำรวจในงานวิศวกรรมเหมืองแร่, การประยุกต์ไมโครคอมพิวเตอร์ในงานเหมืองแร่, เศรษฐธรณีวิทยา, โลหกรรมเคมี และในปีสุดท้ายนั้นจะมีเรียนการวางแผนและออกแบบเหมืองแร่, กฎหมายสำหรับวิศวกรเหมืองแร่, ธรณีเทคนิค, เศรษฐศาสตร์เหมืองแร่, การจัดการสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลภาวะในอุตสาหกรรมแร่และวัสดุ ซึ่งในการฝึกงานนั้นน้องๆ สามารถเลือกได้ว่าจะฝึกภาคฤดูร้อนของปี 3 หรือในภาคเรียนสุดท้ายของการศึกษา ซึ่งจะสลับกับการมำโครงการวิศวกรรมเหมืองแร่
ภาระกิจหลักของภาควิชาฯ นอกจากการเรียนการสอนดังกล่าวแล้ว ยังมีการวิจัย ซึ่งปัจจุบันภาควิชาฯ มีกลุ่มวิจัยทางด้านเหมืองแร่และสิ่งแวดล้อม (Mining and Environmental Research Group, MERG) และกลุ่มวิจัยวัสดุ (Materials Research Group, MRG) ซึ่งมีกลุ่มย่อย ดังนี้ คือ ทีมเซรามิกและวัสดุผสม ทีมโลหะและวัสดุผง ทีมยางและผลิตภัณฑ์ ทีมวัสดุนาโน ทีมวัสดุชีวการแพทย์ ทีมวัสดุรีไซเคิล และทีมวิจัยน้ำ และได้ดำเนินงานวิจัยในโครงการต่างๆ ตามความสนใจของท้องถิ่นและความ เชี่ยวชาญของคณาจารย์ โดยเน้นการปฏิบัติในด้านการสำรวจออกแบบเหมืองหิน การวิจัยโลหะกรรมวัสดุผง โลหะบัดกรีไร้สารตะกั่ว การเคลือบผิววัสดุที่ทำความสะอาดง่าย วิจัยกระบวนการใหม่ๆ
จบมาทำงานอะไร
หน่วยงานรัฐบาล เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม ( กรมทรัพยากรธรณี ), กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทเหมืองแร่และโรงแต่งแร่ต่างๆ ทั่วประเทศและในอินโดจีน ( ลาว พม่า เวียดนาม ), โรงงานปูนซิเมนต์, บริษัทที่ขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ, บริษัทก่อสร้างที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้วัตถุระเบิดสำหรับการทำถนนผ่านภูเขาและการเจาะอุโมงค์การสร้างเขื่อน, เหมืองหิน, งานขายเครื่องจักรกลหนัก เป็นต้น
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, บริษัทสำรวจปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง โครงการเรียนดี (กรกฎาคม-สิงหาคม)
- กำลังศึกษาชั้นม.6 แผนการเรียนวิทย์-คณิต
- มีผลการเรียนเฉลี่ยรวม GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75 โดยเกรดเฉลี่ยในรายวิชาภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า2.75
ระบบรับตรง โควตา 14จังหวัด ในเขตภาคใต้
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นม.6 ทุกแผนแผนการเรียน ในเขต 14จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี
- ผ่านการทดสอบของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์http://www.entrance.psu.ac.th/
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
144, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
18, 000 บาท/เทอม
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งขึ้นมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปีพ.ศ. 2510 ในส่วนของภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และ โลหะวิทยามีโครงการจะเปิดภาคฯ มาตั้งแต่ปี 2513 โดยได้งบประมาณด้านครุภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องมือต่างๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ด้วยความอนุเคราะห์จากกรมทรัพยากรธรณีและศูนย์อุตสาหกรรมเหมืองแร่อนุมัติให้บุคลากรมาช่วยสอน อีกทั้งคุณเรืองศักดิ์ วัชรพงศ์ ผู้จัดการบริษัท อาร์ เอส เอสโซซีเอ็ตเต็ด คอนซิลแทนต์ จำกัด มาช่วยสอนด้วย
นอกจากนั้นภาควิชาฯ ยังมีโครงการที่จะมีความร่วมมือในระดับบัณฑิตศึกษากับ Department of Materials Science and Engineering, Massachusetts Institute of Technology(MIT), Northwestern University, CaseWestern Reserve University, USA, Department of Materials Science, Liverpool University, UK. , Research Institute of Multidisciplinary for Advanced Materials Processing, Tohoku University, Japan เป็นต้น นอกจากนี้มีโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศแล้ว ปัจจุบันภาควิชาฯ ยังมีความร่วมมือทางวิชาการกับวิศวกรรมเหมืองแร่อีก 2 สถาบัน คือ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยการเรียนการสอนของที่นี่นั้น เป็นหลักสูตร 4 ปี ในปีที่ 1 น้องๆจะได้เรียนวิชาพื้นฐานเหมือนตอนมัธยม จากนั้นจะเรียนเขียนแบบวิศวกรรม, กลศาสตร์วิศวกรรม, การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ปี 2 มีรายวิชากลศาสตร์ของไหล, กระบวนการผลิตขั้นพื้นฐาน, พื้นฐานวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ, ธรณีวิทยาทั่วไป, วัสดุวิศวกรรม, อุณหพลศาสตร์ของวัสดุ, กลศาสตร์วิศวกรรม, กลศาสตร์ของแข็ง, การทำเหมืองและการออกแบบเหมืองผิวดิน, แร่และหิน, เคมีสำหรับวิศวกรเหมืองแร่และวัสดุ ในส่วนของปี 3 มีวิชาปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกลเบื้องต้น, การสำรวจ, การทำเหมืองและการออกแบบเหมืองใต้ดิน , การแต่งแร่, เคมีวิเคราะห์, หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นและการประยุกต์ใช้, ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น, หลักมูลวิศวกรรมไฟฟ้า, การสำรวจในงานวิศวกรรมเหมืองแร่, การประยุกต์ไมโครคอมพิวเตอร์ในงานเหมืองแร่, เศรษฐธรณีวิทยา, โลหกรรมเคมี และในปีสุดท้ายนั้นจะมีเรียนการวางแผนและออกแบบเหมืองแร่, กฎหมายสำหรับวิศวกรเหมืองแร่, ธรณีเทคนิค, เศรษฐศาสตร์เหมืองแร่, การจัดการสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลภาวะในอุตสาหกรรมแร่และวัสดุ ซึ่งในการฝึกงานนั้นน้องๆ สามารถเลือกได้ว่าจะฝึกภาคฤดูร้อนของปี 3 หรือในภาคเรียนสุดท้ายของการศึกษา ซึ่งจะสลับกับการมำโครงการวิศวกรรมเหมืองแร่
ภาระกิจหลักของภาควิชาฯ นอกจากการเรียนการสอนดังกล่าวแล้ว ยังมีการวิจัย ซึ่งปัจจุบันภาควิชาฯ มีกลุ่มวิจัยทางด้านเหมืองแร่และสิ่งแวดล้อม (Mining and Environmental Research Group, MERG) และกลุ่มวิจัยวัสดุ (Materials Research Group, MRG) ซึ่งมีกลุ่มย่อย ดังนี้ คือ ทีมเซรามิกและวัสดุผสม ทีมโลหะและวัสดุผง ทีมยางและผลิตภัณฑ์ ทีมวัสดุนาโน ทีมวัสดุชีวการแพทย์ ทีมวัสดุรีไซเคิล และทีมวิจัยน้ำ และได้ดำเนินงานวิจัยในโครงการต่างๆ ตามความสนใจของท้องถิ่นและความ เชี่ยวชาญของคณาจารย์ โดยเน้นการปฏิบัติในด้านการสำรวจออกแบบเหมืองหิน การวิจัยโลหะกรรมวัสดุผง โลหะบัดกรีไร้สารตะกั่ว การเคลือบผิววัสดุที่ทำความสะอาดง่าย วิจัยกระบวนการใหม่ๆ
จบมาทำงานอะไร
หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทเหมืองแร่และโรงแต่งแร่ต่างๆ ทั่วประเทศและในอินโดจีน ( ลาว พม่า เวียดนาม ), โรงงานปูนซิเมนต์, บริษัทที่ขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ, บริษัทก่อสร้างที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้วัตถุระเบิดสำหรับการทำถนนผ่านภูเขาและการเจาะอุโมงค์การสร้างเขื่อน, เหมืองหิน, งานขายเครื่องจักรกลหนัก เป็นต้น
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, บริษัทสำรวจปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
สมัครเรียนทำอย่างไร
- กำลังศึกษาชั้นม.6 แผนการเรียนวิทย์-คณิต
- มีผลการเรียนเฉลี่ยรวม GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75 โดยเกรดเฉลี่ยในรายวิชาภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า2.75
ระบบรับตรง โควตา 14จังหวัด ในเขตภาคใต้
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นม.6 ทุกแผนแผนการเรียน ในเขต 14จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี
- ผ่านการทดสอบของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์http://www.entrance.psu.ac.th/
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ ม.สงขลานครินทร์ เป็นหลักสูตร 4 ปี กำหนดจำนวนรวมของหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 148 หน่วยกิต โดยมีการเรียนการสอนทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เช่น การวางแผนออกแบบ และควบคุมการทำเหมืองแร่ กระบวนการผลิตสินแร่ และกระบวนการแยกแร่ รวมไปถึงงานโลหกรรม และวัสดุศาสตร์ นอกจากนี้วิศวกรเหมืองแร่ต้องมีความรู้ทางด้านธรณีวิทยา โลหะวิทยา เทคโนโลยีปิโตรเลียมและ ก๊าซธรรมชาติ
วิศวกรเหมืองแร่ ทำงานเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากอุตสาหกรรมแร่ ทั้งในด้านการจัดการและเทคโนโลยี
ที่ใช้ในการแก้ไขโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มนุษย์ให้ความสนใจกันสูงมาก ผู้มีความรู้ในด้านนี้จึงเป็น
ซึ่งผู้ที่เหมาะสมที่สุดจะช่วยแก้ปัญหา คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแร่โดยตรงนั่นคือ วิศวกรเหมืองแร่
ดังนั้นผู้ที่จบหลักสูตรวิศวกรรมเหมืองแร่ นอกจากจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านวิชาชีพเป็นอย่างดีแลัว ยังสามารถทำรายงานสิ่งแวดล้อมได้ จิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อม สามารถประยุกต์ความรู้ และคอมพิวเตอร์กับงานในอาชีพได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นผู้ที่มีการสื่อสารดี ใฝ่รู้ มีจริยธรรม และสามารถพัฒนาตนเอง พัฒนางานและพัฒนาประเทศได้
วิเคราะห์ข้อมูล U-Review Score
โดย AdmissionPremium.com
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
วิศวกรรมเหมืองแร่
หน่วยรัฐบาล
กระทรวงอุตสาหกรรม ( กรมทรัพยากรธรณี )
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานเอกชน
บริษัทเหมืองแร่และโรงแต่งแร่ต่างๆ ทั่วประเทศและในอินโดจีน ( ลาว พม่า เวียดนาม ) เช่น เหมืองทองคำ ตะกั่ว สังกะสี ถ่านหิน
ยิบซั่ม เฟลด์สปาร์ โดไมท์ แบไรท์ ดินดำ บอลเคลย์ ดินขาว และโรงงานผลิตผงคาร์บอเนต และปูนขาว ปูนไฮเดรต
และ Precipitated limestone เป็นต้น
โรงปูนซิเมนต์ต่างๆ ( บริษัท ปูนทีพีไอ ปูนเอเซีย ปูนซิเมนต์ไทย ปูนซิเมนต์นครหลวง ชลประทานซีเมนต์
และบริษัทปูนซิเมนต์ขนาดเล็ก เช่น สระบุรีซิเมนต์ เป็นต้น )
โรงถลุงและการแปรรูปโลหะ
บริษัทที่ขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ
บริษัทก่อสร้างที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้วัตถุระเบิดสำหรับการทำถนนผ่านภูเขาและการเจาะอุโมงค์ การสร้างเขื่อน
เหมืองหิน ( ปัจจุบันเหมืองหินจำเป็นต้องใช้วิชาการมากขึ้น เพื่อดูแลการระเบิดหิน การย่อยและคัดขนาด
โดยไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนรอบข้าง )
งานขายเครื่องจักรกลหนัก ขายวัตถุระเบิด และงาน
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
บริษัทสำรวจปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
20,000 บาท
- ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เราต้องมีความรู้ความเข้าใจความซับซ้อนทางคณิตศาสตร์ เพื่อนำมาช่วยในการวิเคราะห์ตัวงาน และออกแบบแนวทางในการแก้ปัญหา
- ความสามารถทางเครื่องจักรกล เราต้องมีความเข้าใจเครื่องกลเป็นอย่างดี เพราะหากเราไม่เข้าใจอุปกรณ์ที่จะช่วยเราทำงานแล้ว การทำงานของเราอาจจะไม่ราบรื่นเท่าที่ควร
- การทำงานเป็นทีม ความรู้ความสามารถส่วนบุคคลอาจไม่เพียงพอ เพราะการทำงานที่ดี และสำเร็จไปได้ด้วยดีนั้น เราจำเป็นต้องทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดี ต้องรับรู้และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วยเช่นกัน
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ