วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ วิศวกรปิโตรเลียม ” แค่ได้ยินชื่อก็รู้เลยนะคะว่าต้องเป็นอาชีพที่ท้าทาย น่าภูมิใจ และมีความสำคัญเป็นอย่างมากกับอุตสาหกรรมพลังงานซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในชีวิตมนุษย์อย่างน้ำมันและก๊าซ วิศวกรปิโตรเลียม คือผู้ทำงานเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ขุดเจาะน้ำมันหรือก๊าชธรรมชาติขึ้นมาจากแหล่งกักเก็บ ลักษณะงานมีทั้งภาคออกแบบ ศึกษา วางแผน และออกภาคสนาม ปัจจุบันในประเทศไทยมีแค่ไม่กี่สถาบันเท่านั้นที่เปิดสอนสาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม และหนึ่งในนั้นคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ของจุฬาฯ ก็ถือว่าเป็นอันดับ 1 ในการผลิตวิศวกรปิโตรเลียมออกสู่อุตสาหกรรมนี้
สำหรับน้องๆ ที่สนใจสาขานี้ ที่จุฬาฯ ต้องสอบเข้าคณะวิศวกรรมทั่วไปก่อนนะคะ เมื่อจบปี1 จึงจะได้เลือกภาควิชาก่อนขึ้นปี 2 ซึ่งภาควิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม เป็นภาคที่การแข่งขันสูงมากถึงมากที่สุด มีคนอยากเรียนเยอะ แต่ภาคนี้รับคนน้อย และคนที่จะเข้าเรียนได้ก็เกรดสูงๆ กันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นน้องคนไหนอยากเรียนจริงๆ ต้องทำเกรดให้ดีตั้งแต่ปี 1 นะคะ อาจจะต้อง 3.50 กันเลยเพื่อความมั่นใจ โดยสิ่งที่น้องๆจะได้เรียนในภาควิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม เช่น ธรณีวิทยาทั่วไป ธรณีวิทยาของแหล่งปิโตรเลียม การออกแบบหลุมปิโตรเลียม วิธีการเจาะ การลงอุปกรณ์ที่ใช้ในหลุม การวิเคราะห์ข้อมูล การผลิตและเทคนิคที่ใช้ การคำนวณการไหลของปิโตรเลียมในท่อผลิตและท่อส่ง รวมถึงเรียนรู้ลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของปิโตรเลียมและแหล่งกักเก็บ เป็นต้น หรือเรียกง่ายๆ ว่าเรียนตั้งแต่วิธีการนำทรัพยากรปิโตรเลียมขึ้นมาจากใต้ดิน วิเคราะห์แหล่ง การขุดเจาะ ไปจนถึงกระบวนการผลิตและนำไปใช้ค่ะ
เมื่อเรียนจบ วิศวกรปิโตรเลียมจะทำงานได้ 2 ทางนะคะ คือ ขึ้นแท่นขุดเจาะ จะได้ออกทะเล คุมงาน แอบรู้มาว่าเวลาเดินทางไปแท่นเค้าจะนั่งเรือหรือนั่งเฮลิคอปเตอร์ไปด้วยนะ และทางที่ 2 คือ อยู่โรงกลั่นหรือหอกลั่น คือจะทำงานสำนักงานบนฝั่งค่ะ ทำงานวางแผน แปลข้อมูล วิเคราะห์ เป็นหลัก เพราะเป็นสาขาวิชาที่ค่อนข้างขาดแคลน เมื่อถึงช่วงฝึกงาน น้องๆ หลายคนจะมีบริษัทมาจองตัวล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนจบกันเลยทีเดียว และเมื่อจบการศึกษา น้องๆ สามารถทำงานให้กับหน่วยงานราชการต่างๆ ได้ทั้ง กองเชื้อเพลิง กรมทรัพยากรธรณี กรมพลังงานทหาร อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือบริษัทเอกชนที่สำคัญต่างๆ เช่น ปตท.สำรวจและผลิต, Thai Shell, Unocal, Chevron และบริษัทเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมน้ำมัน บริษัทจำพวก service companies เช่น Schlumberger, Halliburton, Baker Hugh, BJ Service, Scientific Drilling และอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น และแน่นอนว่าเงินเดือนของวิศวกรปิโตรเลียมต้องสูงมาก ไม่อย่างนั้นคง โดยสถิติที่ผ่านมาอยู่ที่ 25, 000 - 35, 000 บาท สำหรับเงินเดือนเริ่มต้น นี่ไม่รวมเงินสวัสดิการพิเศษอื่นๆ ที่แต่ละบริษัทให้นะคะ
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นอันดับ 1 ของประเทศสาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม
- เป็นสาขาที่ขาดแคลน เป็นที่ต้องการของตลาดงานอยู่ตลอด
- วิศวกรปิโตรเลียม ถูกจัดอันดับให้เป็นวิศวกรที่มีรายได้สูงที่สุดในแขนงวิศวกรรมศาสตร์
- มี connection กับบริษัทรายใหญ่เช่น ปตท.สำรวจและผลิต, Thai Shell, Unocal, Chevron เป็นต้น
จบมาทำงานอะไร
เป็นวิศวกรปิโตรเลียมให้กับ หน่วยงานราชการ ได้แก่ กองเชื้อเพลิง กรมทรัพยากรธรณี, กรมพลังงานทหาร, อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือบริษัทน้ำมัน ได้แก่ ปตท. สำรวจและผลิต, Thai Shell, Unocal, Chevron และบริษัทเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมน้ำมัน บริษัทจำพวก service companies ได้แก่ Schlumberger, Halliburton, Baker Hugh, BJ Service, Scientific Drilling และอื่นๆ เงินเดือนเริ่มต้นที่ 25, 000 - 35, 000 บาทไม่รวมค่าสวัสดิการต่างๆ ที่บริษัทให้เพิ่ม
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (แบบปกติ)
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ ผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 อันดับ
- มีผลคะแนนการทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา ที่สทศ. จัดสอบ รวมทุกวิชา 51% (ถ้ามี)
- ผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ชั้น ม.6
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) 5 หรือ 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.50
- ผลคะแนนสอบ GAT 20%
- ผลคะแนนสอบ PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
- ผลคะแนนสอบ PAT3 (วิศวกรรมศาสตร์) 60%
- สมัครทางอินเทอร์เนต www.atc.chula.ac.th
ระบบรับตรง (แบบพิเศษ)
1. โครงการโอลิมปิกวิชาการเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
- ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าค่ายฝึกอบรมโอลิมปิกวิชาการฯ (สอวน.) เพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งคณิตศาสตร์-วิทยาศาสาตร์ โอลิมปิกระหว่างประเทศ
- สมัครทางอินเทอร์เนต www.atc.chula.ac.th
2. โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ฯ เข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX)ไม่ต่ำกว่า 2.50
- ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน ตามรายชื่อประกาศของ สวทช.
- สมัครทางอินเทอร์เนต www.atc.chula.ac.th
* ผู้สนใจสามารถเลือกสมัครได้เพียง 1 โครงการ
แอดมิชชัน
- ผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ชั้น ม.6
- GPAX 5 หรือ 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.50 (20%)
- GAT 15%
- PAT2 (คณิตศาสตร์) 15%
- PAT3 (วิศวกรรมศาสตร์) 20%
-O-NET 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
168, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21, 000 บาท/เทอม
6 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 6.6 ปานกลาง
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ วิศวกรปิโตรเลียม ” แค่ได้ยินชื่อก็รู้เลยนะคะว่าต้องเป็นอาชีพที่ท้าทาย น่าภูมิใจ และมีความสำคัญเป็นอย่างมากกับอุตสาหกรรมพลังงานซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในชีวิตมนุษย์อย่างน้ำมันและก๊าซ วิศวกรปิโตรเลียม คือผู้ทำงานเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ขุดเจาะน้ำมันหรือก๊าชธรรมชาติขึ้นมาจากแหล่งกักเก็บ ลักษณะงานมีทั้งภาคออกแบบ ศึกษา วางแผน และออกภาคสนาม ปัจจุบันในประเทศไทยมีแค่ไม่กี่สถาบันเท่านั้นที่เปิดสอนสาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม และหนึ่งในนั้นคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ของจุฬาฯ ก็ถือว่าเป็นอันดับ 1 ในการผลิตวิศวกรปิโตรเลียมออกสู่อุตสาหกรรมนี้
สำหรับน้องๆ ที่สนใจสาขานี้ ที่จุฬาฯ ต้องสอบเข้าคณะวิศวกรรมทั่วไปก่อนนะคะ เมื่อจบปี1 จึงจะได้เลือกภาควิชาก่อนขึ้นปี 2 ซึ่งภาควิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม เป็นภาคที่การแข่งขันสูงมากถึงมากที่สุด มีคนอยากเรียนเยอะ แต่ภาคนี้รับคนน้อย และคนที่จะเข้าเรียนได้ก็เกรดสูงๆ กันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นน้องคนไหนอยากเรียนจริงๆ ต้องทำเกรดให้ดีตั้งแต่ปี 1 นะคะ อาจจะต้อง 3.50 กันเลยเพื่อความมั่นใจ โดยสิ่งที่น้องๆจะได้เรียนในภาควิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม เช่น ธรณีวิทยาทั่วไป ธรณีวิทยาของแหล่งปิโตรเลียม การออกแบบหลุมปิโตรเลียม วิธีการเจาะ การลงอุปกรณ์ที่ใช้ในหลุม การวิเคราะห์ข้อมูล การผลิตและเทคนิคที่ใช้ การคำนวณการไหลของปิโตรเลียมในท่อผลิตและท่อส่ง รวมถึงเรียนรู้ลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของปิโตรเลียมและแหล่งกักเก็บ เป็นต้น หรือเรียกง่ายๆ ว่าเรียนตั้งแต่วิธีการนำทรัพยากรปิโตรเลียมขึ้นมาจากใต้ดิน วิเคราะห์แหล่ง การขุดเจาะ ไปจนถึงกระบวนการผลิตและนำไปใช้ค่ะ
เมื่อเรียนจบ วิศวกรปิโตรเลียมจะทำงานได้ 2 ทางนะคะ คือ ขึ้นแท่นขุดเจาะ จะได้ออกทะเล คุมงาน แอบรู้มาว่าเวลาเดินทางไปแท่นเค้าจะนั่งเรือหรือนั่งเฮลิคอปเตอร์ไปด้วยนะ และทางที่ 2 คือ อยู่โรงกลั่นหรือหอกลั่น คือจะทำงานสำนักงานบนฝั่งค่ะ ทำงานวางแผน แปลข้อมูล วิเคราะห์ เป็นหลัก เพราะเป็นสาขาวิชาที่ค่อนข้างขาดแคลน เมื่อถึงช่วงฝึกงาน น้องๆ หลายคนจะมีบริษัทมาจองตัวล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนจบกันเลยทีเดียว และเมื่อจบการศึกษา น้องๆ สามารถทำงานให้กับหน่วยงานราชการต่างๆ ได้ทั้ง กองเชื้อเพลิง กรมทรัพยากรธรณี กรมพลังงานทหาร อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือบริษัทเอกชนที่สำคัญต่างๆ เช่น ปตท.สำรวจและผลิต, Thai Shell, Unocal, Chevron และบริษัทเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมน้ำมัน บริษัทจำพวก service companies เช่น Schlumberger, Halliburton, Baker Hugh, BJ Service, Scientific Drilling และอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น และแน่นอนว่าเงินเดือนของวิศวกรปิโตรเลียมต้องสูงมาก ไม่อย่างนั้นคง โดยสถิติที่ผ่านมาอยู่ที่ 25, 000 - 35, 000 บาท สำหรับเงินเดือนเริ่มต้น นี่ไม่รวมเงินสวัสดิการพิเศษอื่นๆ ที่แต่ละบริษัทให้นะคะ
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นสาขาที่ขาดแคลน เป็นที่ต้องการของตลาดงานอยู่ตลอด
- วิศวกรปิโตรเลียม ถูกจัดอันดับให้เป็นวิศวกรที่มีรายได้สูงที่สุดในแขนงวิศวกรรมศาสตร์
- มี connection กับบริษัทรายใหญ่เช่น ปตท.สำรวจและผลิต, Thai Shell, Unocal, Chevron เป็นต้น
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ ผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 อันดับ
- มีผลคะแนนการทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา ที่สทศ. จัดสอบ รวมทุกวิชา 51% (ถ้ามี)
- ผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ชั้น ม.6
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) 5 หรือ 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.50
- ผลคะแนนสอบ GAT 20%
- ผลคะแนนสอบ PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
- ผลคะแนนสอบ PAT3 (วิศวกรรมศาสตร์) 60%
- สมัครทางอินเทอร์เนต www.atc.chula.ac.th
ระบบรับตรง (แบบพิเศษ)
1. โครงการโอลิมปิกวิชาการเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
- ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าค่ายฝึกอบรมโอลิมปิกวิชาการฯ (สอวน.) เพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งคณิตศาสตร์-วิทยาศาสาตร์ โอลิมปิกระหว่างประเทศ
- สมัครทางอินเทอร์เนต www.atc.chula.ac.th
2. โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ฯ เข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX)ไม่ต่ำกว่า 2.50
- ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน ตามรายชื่อประกาศของ สวทช.
- สมัครทางอินเทอร์เนต www.atc.chula.ac.th
* ผู้สนใจสามารถเลือกสมัครได้เพียง 1 โครงการ
แอดมิชชัน
- ผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ชั้น ม.6
- GPAX 5 หรือ 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.50 (20%)
- GAT 15%
- PAT2 (คณิตศาสตร์) 15%
- PAT3 (วิศวกรรมศาสตร์) 20%
-O-NET 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
เป็นสาขาของวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฮโดรคาร์บอน, ซึ่งอาจเป็นน้ำมันดิบหรือเป็นก๊าซธรรมชาติ การสำรวจและการผลิตจะถือว่าอยู่ในภาค "ต้นน้ำ" ของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ. การสำรวจ, โดยนักวิทยาศาสตร์โลก, และวิศวกรรมปิโตรเลียมเป็นสองสาขาใต้ผิวโลกหลักของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ, ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มสูงสุดของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไฮโดรคาร์บอนจากอ่างเก็บกักใต้ดิน ธรณีวิทยาปิโตรเลียมและธรณีฟิสิกส์มุ่งเน้นไปที่การให้คำอธิบายที่คงที่ของหินอ่างเก็บกักไฮโดรคาร์บอน, ในขณะที่วิศวกรรมปิโตรเลียมมุ่งเน้นไปที่การประมาณของปริมาณที่สามารถกู้คืนได้ของทรัพยากรนี้โดยใช้ความเข้าใจในรายละเอียดของพฤติกรรมทางกายภาพของน้ำมัน, น้ำและก๊าซที่อยู่ในหินที่มีรูพรุนที่ความดันสูงมาก
2. บริษัทน้ำมัน ได้แก่ ปตท. สำรวจและผลิต, Thai Shell, Unocal, Chevron
3. บริษัทเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมน้ำมัน บริษัทจำพวก service companies ได้แก่ Schlumberger, Halliburton, Baker Hugh, BJ Service, Scientific Drilling และอื่น ๆ
6 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 6.6 ปานกลาง
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ