U-Review

"เรียนภาคบรรณฯ มธ. รู้ทันด้านไอทีไม่มีตกงาน" รีวิวสาขาบรรณารักษศาสตร์ : U-Review

        หากพูดวิชาชีพบรรณารักษ์ หลายคนคงจะนึกถึงคนที่ทำงานในห้องสมุด ดูแลและจัดระบบหนังสือภายในห้องสมุด และให้บริการอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาใช้บริการ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในห้องสมุดมากขึ้น หนังสือที่เป็นรูปเล่มก็เปลี่ยนกลายเป็นหนังสืออิเลคทรอนิคส์หรือ E-book ที่เราเห็นกันมากขึ้นในปัจจุบัน

       ภาคบรรณารักษศาสตร์ (อ่านว่า บัน-นา-รัก-สะ-สาด) เป็นภาควิชาที่ถูกเปิดสอนภายใต้คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจะเรียนตึกคณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ถ้าเอาตามจุดประสงค์ของภาควิชาคือต้องการผลิตนักศึกษาเพื่อเป็นบรรณารักษ์ แต่ในปัจจุบันห้องสมุดได้เปลี่ยนไปแล้ว  ภาพพจน์แบบเก่าก็จะหมดไปด้วย แนวคิดเด็กรุ่นใหม่ก็จะคิดค้นวิธีที่จะคอยชักจูงให้คนเข้าห้องสมุดมากขึ้น เอาเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องเพื่อความทันสมัยและสะดวกต่อการค้นคว้าในห้องสมุดความรู้มันเลยแตกแขนงไปได้เรื่อยๆ ในปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่ที่จบไปจึงมีทักษะรอบด้านสามารถไปประกอบวิชาชีพอื่น เช่น ทำงานด้านเอกสาร สารบัญงานบรรณาธิการต่างๆในงานพิมพ์ หรืองานที่เกี่ยวกับเอกสารตามสำนักงานต่างๆ

       หลักสูตรการเรียนของภาคบรรณฯ ในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งทางภาคได้เพิ่มวิชาทางด้านสารสนเทศ คือวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์ขึ้นมาหลายตัวเป็นวิชาเลือก เช่น การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิชาชีพสารสนเทศ พื้นฐานการจัดการข้อมูลสำรับห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ การสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ โปรแกรมประยุกต์สำหรับสำนักงาน เป็นต้น
       ภาคบรรณฯ ม.ธรรมศาสตร์ ไม่มีโครงการรับตรงมีแต่แอดมิสชั่นอย่างเดียวซึ่งในแต่ละปีจะรับนักศึกษาเข้ามาเรียนแค่ประมาณ 30 คนเท่านั้น คุณสมบัติสำหรับคนที่จะเข้ามาเรียนสายนี้จะต้องมีความละเอียด เพราะอย่างในวิชาที่เรียนจะมีการจัดหมวดหมู่หนังสือด้วย การแยกประเภทหนังสือจึงเป็นส่วนสำคัญเพราะจะทำให้ผู้ที่มาค้นคว้าหาเจอได้ง่าย  เพราะฉะนั้นต้องเป็นเด็กที่ค่อนข้างจะละเอียดรอบคอบจึงตรงกับคุณสมบัติตามที่ภาควิชาต้องการ ต้องเป็นคนที่รักการอ่านหนังสือบ้าง แต่ไม่ถึงที่ต้องนั่งอ่านทั้งวัน เพราะเมื่อจบไปน้องๆ อาจจะได้ออกไปทำงานส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ในห้องสมุด เช่น เจ้าหน้าที่บริการงานทั่วไป นักวิชาการสารสนเทศ หรือทำงานในศูนย์สารสนเทศขององค์กรต่างๆ การอ่านหนังสือจึงเป็นคุณสมบัติประกอบเท่านั้น 

       ในด้านอาชีพเมื่อจบไปหลายคนคงกังวลแน่ ว่าเรียนภาคบรรณารักษศาสตร์ จบไปก็ต้องทำงานบรรณารักษ์ได้อย่างเดียวแน่เลย และแต่ละปีมีคนจบเป็นหมื่นเป็นแสนคงจะแย่งงานกันทำ ต้องกลายเป็นคนตกงานทันทีที่เรียนจบ ในส่วนนี้ ผศ.ไพโรจน์ เอี่ยมชัยมงคล ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ได้ให้คำตอบว่า “ ประเด็นแรกที่อยากจะบอกคือ แต่ละปีมีหอสมุดหลายๆ ที่รวมทั้งที่ธรรมศาสตร์ด้วย อยากให้เด็กที่จบจากเราไปทำงานด้วย ซึ่งเด็กที่จบจากเราไป ก็ได้กระจัดกระจายไปทำงานได้หลายอย่าง ทำงานบรรณารักษ์บ้าง บางส่วนก็ไปทำงานอย่างอื่นบ้าง และใครที่เรียนบรรณารักษ์ไม่มีตกงาน มันเปิดรับตลอดเพราะทดแทนคนเก่าที่เกษียรไป บรรณารักษ์ขาดแคลน อันนี้ขอยืนยันว่าเรื่องตกงานคงไม่มีแน่นอน ประเด็นที่สอง ในหลายๆ ที่วิชาชีพบรรณารักษ์ให้เงินเดือนสูงกว่าสาขาวิชาอื่นและหากเป็นบรรณารักษ์ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ถือว่าเป็นอาชีพราชการที่ค่อนข้างมั่นคง และเงินเดือนอาจสูงกว่าเอกชนบางแห่งด้วย มันไม่ใช่งานที่จำเจ แค่เรารู้จักปรับเปลี่ยนตามให้ทันเทคโนโลยีเพราะฉะนั้นห้องสมุดต้องปรับตัว เพื่อเข้าหาผู้ใช้ด้วย

       จะว่าไปแล้วอาชีพทางบรรณารักษ์นั้นก็เสมือนเป้นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของทุกอาชีพนะ เพราะทุกอาชีพต้องค้นหาข้อมูล บรรณารักษ์ช่วยแนะนำ มีเทคนิคต่างๆ ในการค้นหาข้อมูล และปัจจุบันห้องสมุดกลายเป็น e-library แล้ว จึงเป็นเหตุผลที่นี่ให้นักศึกษาบรรณารักษ์เรียนด้านไอทีมากขึ้น  
 

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผศ.ไพโรจน์ เอี่ยมชัยมงคล ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

M.Econ. (Business Economics) เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนสาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจในระดับมหาบัณฑิต ...

M.Eng. (Electrical and Information Engineering) วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ ...

M.A. (Linguistics) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รายวิชาในหลักสูตรภาษาศาสตร์ ได้มีการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตวิเคราะห์ภาษาได้อย่างหลากหลาย ...