วิทยาลัยการบินและคมนาคม สาขาการจัดการความปลอดภัยการบิน
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Summary
8.37
รีวิว วิทยาลัยการบินและคมนาคม สาขาการจัดการความปลอดภัยการบิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ย้อนกลับไปเมื่อ 7 - 8 ปีที่แล้ว เมื่อประเทศไทยเปิดสนามบินสุวรรณภูมิขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการก้าวสู่การเปิดกว้างทางการบินอย่างจริงจัง ทำให้มีความต้องการในตลาดแรงงานทั้ง ช่างเครื่อง นักบิน บุคลากรการบินและภาคพื้นในด้านต่างๆ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยการบินต่างๆ ที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเครื่องบินไม่เหมือนระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ที่จะสามารถจอดนิ่งๆ อยู่บนถนนหรือในทะเลได้หากเกิดเหตุขัดข้องขึ้นมา ณ ขณะนั้น มหาวิทยาลัยศรีปทุมจึงได้จัดตั้ง วิทยาลัยการบินและคมนาคม และเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการขยายไปสู่การคมนาคมด้านอื่นๆ เช่น การขนส่งทางรางด้วย ไม่เพียงเฉพาะการบินเท่านั้น เพราะปัจจุบันการขนส่งทางราง อาทิ รถไฟฟ้าหรือรถไฟความเร็วสูงก็ได้ขยายตัวเข้ามาเช่นกัน
วิทยาลัยการบินและคมนาคม (College of Aviation & Transportation) มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้สร้างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการความปลอดภัยการบิน ซึ่งเป็นสาขาที่มีความต้องการในตลาดแรงงานการบินที่สูงมาก เป็นการเรียนรู้เรื่องของการจัดการความปลอดภัยด้านการบิน, มาตรฐานการบินระหว่างประเทศ, อุตุนิยมวิทยาการบิน, ระบบการควบคุมการจราจรทางอากาศ, หลักการบินเบื้องต้น, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบิน ตลอดจนระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการทางการบิน
การเรียนการสอนของหลักสูตรในปีที่ 1 น้องๆ จะได้เจอกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน อาทิ เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมีประยุกต์การบิน ระบบเครื่องช่วยการเดินอากาศ ในเทอมที่ 1 หลังจากนั้นเทอม 2 จะเริ่มเข้มข้นขึ้น เป็นการเรียนหลักความปลอดภัยการบิน ปูทางเพื่อเข้าสู่ปีที่ 2 ที่เป็นวิชาคณะฯ วิชาการเฉพาะการบินและคมนาคมทั้งสิ้น เรียนไปเรื่อยๆ จนถึงปีที่ 4 ซึ่งเป็นปีที่น้องๆ จะต้องตัดสินใจเลือกว่าตัวเองจะเรียนต่อทางด้านไหนเฉพาะเจาะจง โดยจะมีกลุ่มวิชาให้เลือก 3 กลุ่ม คือ
1.) นักบินพาณิชย์ มีให้น้องๆ ได้เลือกว่าจะเป็น นักบินส่วนบุคคล (Private Pilot License : PPL) หรือ นักบินพาณิชย์ (Commercial Pilot Licence : CPL) โดยการเรียนต่อนักบิน น้องๆ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนอกเหนือหลักสูตรอีกด้วยตัวเอง
2.) การจัดการท่าอากาศยาน
3.) การส่งกำลังบำรุงหรือโลจิสติกส์ทางอากาศ
ทางมหาวิทยาลัยศรีปทุม รับรองนักศึกษาที่จบจากที่นี่ไปไม่มีตกงานอย่างแน่นอน เนื่องจากตลาดแรงงานด้านการบินกว้างมาก รวมไปถึงสนามบินภายในประเทศหลายแห่ง อีกทั้งสาขาการจัดการความปลอดภัยการบิน ยังไม่มีมหาวิทยาลัยใดเปิดสอนมาก่อน อีกทั้งมหาวิทยาลัยได้ป้อนบุคลากรเข้าสู่ตลาดนี้โดยตรง ขอเพียงแค่น้องๆ กล้าที่จะลงมือทำและมีความตั้งใจในการเรียน โอกาสแห่งความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลน้องๆ อย่างแน่นอนค่ะ
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เรียนสาขานี้สามารถเบนเข็มไปเป็นนักบินได้ โดยไม่ต้องไปเรียนใหม่ ตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
- ได้รับความร่วมมือจาก สถาบันการบินพลเรือน, เวชศาสตร์การบินของกองทัพอากาศ, บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ฯลฯ ในการส่งนักศึกษาเข้าทดสอบเพื่อเตรียมความพร้อม
จบมาทำงานอะไร
งานด้านนิรภัยการบินของกรมการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย, งานด้านความปลอดภัยการบินของบริษัทวิทยุการบิน, เอเจนซี่รับ-ส่งสินค้าทางอากาศ, งานด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ, งานด้านการบริหาร, ระดับต้นของสายการบิน, งานด้านบริหารระดับต้นท่าอากาศยาน, งานด้านความปลอดภัยการบินในท่าอากาศยาน สายการบิน และภาคพื้นดินขององค์กรภาครัฐและเอกชน ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาระดับ ม.6 หรือเทียบเท่า
- สมัครผ่านทางเว็บไซต์ http://www.spu.ac.th/apply หรือ สมัครด้วยตนเองที่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน ศูนย์รับสมัคร (อาคาร 11 ชั้น 2) ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
316,300 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
25, 450 บาท/เทอม
9 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
วิทยาลัยการบินและคมนาคม สาขาการจัดการความปลอดภัยการบิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ดีไหม?
พลอยไพลิน
นักเรียน
05 ต.ค. 60 22:45 น.
“ถ้าเรื่องการบิน ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ”
จากการค้นข้อมูลและศึกษาทางด้านการบินนั้น พบว่าความปลอดภัยจำเป็นต่อทางด้านการบินเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่าง นักบิน ต้องรับผิดชอบผู้โดยสารทั้งลำ ความปลอดภัยต้องมาก่อน
วีรภัทร เกศะรักษ์
นักศึกษา
26 พ.ค. 60 13:45 น.
“บุคลากรขาดแคลนอย่างมาก”
เรียนจบแล้วไปสมัครงานเป็น นักบินสายการบิน นักบินส่วนบุคคล เจ้าหน้าที่การบริหารจัดการมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยการบิน การจัดการท่าอากาศยานและการขนส่งทางอากาศ
Vuthibhatra Chansarn
ผู้ปกครอง
13 มี.ค. 60 00:15 น.
“หลักสูตรนี้ตอบโจทย์แก้ปัญหาการบินของชาติ การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการบิน”
การศึกษาในมหาวิทยาลัย 3 ปี ในปีที่ 4 แยก 3 สาขา นักบิน - สนามบินและ cargo - safety มีฝึกงานสหกิจ นศ.ที่เลือกเรียนเป็นนักบินในปีที่ 4 ต้องจ่ายค่าเรียนการบินเพิ่มอีก 2.1 - 2.4 ล้านบาท แบ่งจ่ายได้ไม่เกิน 3 งวด ให้กับโรงเรียนการบิน
Vuthibhatra Chansarn
ผู้ปกครอง
13 มี.ค. 60 00:08 น.
“หลักสูตรนี้ตอบโจทย์แก้ปัญหาการบินของชาติ การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการบิน”
หลักสูตรผ่านมาตรฐานการรับรองจาก สกอ.แล้วเมื่อ 15 ก.พ.60
นศ.สามารถใช้สิทธิ์กู้ยืมกองทุน กยศ.ได้
Vuthibhatra Chansarn
ผู้ปกครอง
13 มี.ค. 60 00:01 น.
“หลักสูตรนี้ตอบโจทย์แก้ปัญหาการบินของชาติ การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการบิน”
การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยด้านธุรกิจอุตสาหกรรมการบิน
Vuthibhatra Chansarn
ผู้ปกครอง
12 มี.ค. 60 23:57 น.
“ขึ้นปี 4 ถ้าจะเรียนต่อเพื่อเป็น นักบิน ต้องจ่ายเพิ่มเองอีก งง”
พอขึ้นปี 4 จะมี 3 สาขาย่อยให้เลือกเรียนได้ใช่มั้ย และการเรียนต่อนักบิน นักเรียนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนอกเหนือหลักสูตรอีก คือยังไงครับ อันนี้งงมาก สรุปเรียนสาขานี้ถึงแค่ 3 ปี ถ้าต่อปี 4 โดยเลือกแผนนักบิน ก็ต้องเสียค่าอะรแล้วเรียนที่ไหนยังไงต่ออีก แล้วถ้าเลือกอีก 2 สาขาที่เหลือคือไม่ต้องเสียเพิ่มก็เรียนจบ 4 ปีสาขาการจัดการปกติเหรอ
สิงหรัถ เกื้อกูลกัน
บุคคลทั่วไป
04 ต.ค. 59 15:29 น.
“สรุปว่าเรียนจบแล้วทำงานอะไรครับ”
อ่านข้อมูลการเรียนของหลักสูตร ผมไม่เข้าใจว่าพอจบปี 4 แล้วก็ต้องเลือกเรียนต่อ 3 สาขาเฉพาะอีกเหรอครับกว่าจะได้ทำงาน หรือยังไง รบกวนด้วยครับ
Hussadin Din
บุคคลทั่วไป
04 ต.ค. 59 15:23 น.
วิทยาลัยการบินและคมนาคม สาขาการจัดการความปลอดภัยการบิน
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
รีวิว วิทยาลัยการบินและคมนาคม สาขาการจัดการความปลอดภัยการบิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ย้อนกลับไปเมื่อ 7 - 8 ปีที่แล้ว เมื่อประเทศไทยเปิดสนามบินสุวรรณภูมิขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการก้าวสู่การเปิดกว้างทางการบินอย่างจริงจัง ทำให้มีความต้องการในตลาดแรงงานทั้ง ช่างเครื่อง นักบิน บุคลากรการบินและภาคพื้นในด้านต่างๆ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยการบินต่างๆ ที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเครื่องบินไม่เหมือนระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ที่จะสามารถจอดนิ่งๆ อยู่บนถนนหรือในทะเลได้หากเกิดเหตุขัดข้องขึ้นมา ณ ขณะนั้น มหาวิทยาลัยศรีปทุมจึงได้จัดตั้ง วิทยาลัยการบินและคมนาคม และเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการขยายไปสู่การคมนาคมด้านอื่นๆ เช่น การขนส่งทางรางด้วย ไม่เพียงเฉพาะการบินเท่านั้น เพราะปัจจุบันการขนส่งทางราง อาทิ รถไฟฟ้าหรือรถไฟความเร็วสูงก็ได้ขยายตัวเข้ามาเช่นกัน
วิทยาลัยการบินและคมนาคม (College of Aviation & Transportation) มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้สร้างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการความปลอดภัยการบิน ซึ่งเป็นสาขาที่มีความต้องการในตลาดแรงงานการบินที่สูงมาก เป็นการเรียนรู้เรื่องของการจัดการความปลอดภัยด้านการบิน, มาตรฐานการบินระหว่างประเทศ, อุตุนิยมวิทยาการบิน, ระบบการควบคุมการจราจรทางอากาศ, หลักการบินเบื้องต้น, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบิน ตลอดจนระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการทางการบิน
การเรียนการสอนของหลักสูตรในปีที่ 1 น้องๆ จะได้เจอกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน อาทิ เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมีประยุกต์การบิน ระบบเครื่องช่วยการเดินอากาศ ในเทอมที่ 1 หลังจากนั้นเทอม 2 จะเริ่มเข้มข้นขึ้น เป็นการเรียนหลักความปลอดภัยการบิน ปูทางเพื่อเข้าสู่ปีที่ 2 ที่เป็นวิชาคณะฯ วิชาการเฉพาะการบินและคมนาคมทั้งสิ้น เรียนไปเรื่อยๆ จนถึงปีที่ 4 ซึ่งเป็นปีที่น้องๆ จะต้องตัดสินใจเลือกว่าตัวเองจะเรียนต่อทางด้านไหนเฉพาะเจาะจง โดยจะมีกลุ่มวิชาให้เลือก 3 กลุ่ม คือ
1.) นักบินพาณิชย์ มีให้น้องๆ ได้เลือกว่าจะเป็น นักบินส่วนบุคคล (Private Pilot License : PPL) หรือ นักบินพาณิชย์ (Commercial Pilot Licence : CPL) โดยการเรียนต่อนักบิน น้องๆ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนอกเหนือหลักสูตรอีกด้วยตัวเอง
2.) การจัดการท่าอากาศยาน
3.) การส่งกำลังบำรุงหรือโลจิสติกส์ทางอากาศ
ทางมหาวิทยาลัยศรีปทุม รับรองนักศึกษาที่จบจากที่นี่ไปไม่มีตกงานอย่างแน่นอน เนื่องจากตลาดแรงงานด้านการบินกว้างมาก รวมไปถึงสนามบินภายในประเทศหลายแห่ง อีกทั้งสาขาการจัดการความปลอดภัยการบิน ยังไม่มีมหาวิทยาลัยใดเปิดสอนมาก่อน อีกทั้งมหาวิทยาลัยได้ป้อนบุคลากรเข้าสู่ตลาดนี้โดยตรง ขอเพียงแค่น้องๆ กล้าที่จะลงมือทำและมีความตั้งใจในการเรียน โอกาสแห่งความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลน้องๆ อย่างแน่นอนค่ะ
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- ได้รับความร่วมมือจาก สถาบันการบินพลเรือน, เวชศาสตร์การบินของกองทัพอากาศ, บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ฯลฯ ในการส่งนักศึกษาเข้าทดสอบเพื่อเตรียมความพร้อม
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาระดับ ม.6 หรือเทียบเท่า
- สมัครผ่านทางเว็บไซต์ http://www.spu.ac.th/apply หรือ สมัครด้วยตนเองที่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน ศูนย์รับสมัคร (อาคาร 11 ชั้น 2) ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิทยาลัยการบินและคมนาคม สาขาการจัดการความปลอดภัยการบิน
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีความพร้อมในการผลิตบัณฑิตทางด้านการบิน มีความพร้อมทั้งด้านอาจารย์ผู้สอน สถานที่ อุปกรณ์การสอน และแหล่งฝึกปฏิบัติ ได้พิจารณาและเห็นว่า การเปิดดำเนินการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและทักษะเชิงวิชาการในด้านการบินในระดับสูง สามารถนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านการบิน สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาวิชาชีพ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและประเทศชาติ เพื่อเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางตามนโยบายของประเทศ อันจะช่วยสังคมและส่งเสริมพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจของประเทศให้มีความมั่นคงและเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่มาตรฐานกำหนด
ก. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 9-13 หน่วยกิต
ค. กลุ่มสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 5-13 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาเฉพาะด้าน 97 หน่วยกิต
ก. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 33 หน่วยกิต
ข. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 46 หน่วยกิต
ค. กลุ่มวิชาชีพเลือก 18 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รวม 133 หน่วยกิต
รายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม
- งานด้านความปลอดภัยการบินในท่าอากาศยาน สายการบิน ภาคพื้น และบริษัทวิทยุการบิน
- งานด้านความปลอดภัยในอาคารหรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่
- ตัวแทน รับ-ส่งสินค้าทางอากาศ
- งานด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ
- งานด้านการบริหารระดับต้นของสายการบิน
- งานด้านการบริหารระดับต้นของท่าอากาศยาน
- งานด้านการบิน (นักบินพานิชย์)
ฯลฯ
9 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
วิทยาลัยการบินและคมนาคม สาขาการจัดการความปลอดภัยการบิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ดีไหม?
❤️
พลอยไพลิน
จากการค้นข้อมูลและศึกษาทางด้านการบินนั้น พบว่าความปลอดภัยจำเป็นต่อทางด้านการบินเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่าง นักบิน ต้องรับผิดชอบผู้โดยสารทั้งลำ ความปลอดภัยต้องมาก่อน
วีรภัทร เกศะรักษ์
เรียนจบแล้วไปสมัครงานเป็น นักบินสายการบิน นักบินส่วนบุคคล เจ้าหน้าที่การบริหารจัดการมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยการบิน การจัดการท่าอากาศยานและการขนส่งทางอากาศ
Vuthibhatra Chansarn
การศึกษาในมหาวิทยาลัย 3 ปี ในปีที่ 4 แยก 3 สาขา นักบิน - สนามบินและ cargo - safety มีฝึกงานสหกิจ นศ.ที่เลือกเรียนเป็นนักบินในปีที่ 4 ต้องจ่ายค่าเรียนการบินเพิ่มอีก 2.1 - 2.4 ล้านบาท แบ่งจ่ายได้ไม่เกิน 3 งวด ให้กับโรงเรียนการบิน
Vuthibhatra Chansarn
หลักสูตรผ่านมาตรฐานการรับรองจาก สกอ.แล้วเมื่อ 15 ก.พ.60 นศ.สามารถใช้สิทธิ์กู้ยืมกองทุน กยศ.ได้
Vuthibhatra Chansarn
การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยด้านธุรกิจอุตสาหกรรมการบิน
Vuthibhatra Chansarn
พอขึ้นปี 4 จะมี 3 สาขาย่อยให้เลือกเรียนได้ใช่มั้ย และการเรียนต่อนักบิน นักเรียนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนอกเหนือหลักสูตรอีก คือยังไงครับ อันนี้งงมาก สรุปเรียนสาขานี้ถึงแค่ 3 ปี ถ้าต่อปี 4 โดยเลือกแผนนักบิน ก็ต้องเสียค่าอะรแล้วเรียนที่ไหนยังไงต่ออีก แล้วถ้าเลือกอีก 2 สาขาที่เหลือคือไม่ต้องเสียเพิ่มก็เรียนจบ 4 ปีสาขาการจัดการปกติเหรอ
สิงหรัถ เกื้อกูลกัน
อ่านข้อมูลการเรียนของหลักสูตร ผมไม่เข้าใจว่าพอจบปี 4 แล้วก็ต้องเลือกเรียนต่อ 3 สาขาเฉพาะอีกเหรอครับกว่าจะได้ทำงาน หรือยังไง รบกวนด้วยครับ
Hussadin Din
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ