วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยสยาม
Summary
9.20
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสยาม
สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เริ่มดำเนินการเรียนการสอนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2532 หลักสูตรที่นี่เน้นให้น้องๆ ว่าที่วิศวกร กล้าคิด กล้าแสดงออก สามารถสร้างสรรค์พัฒนาแนวความคิดและแก้ปัญหาในทางวิศวกรรมได้เป็นอย่างดี รวมถึงเป็นวิศวกรที่ทันต่อโลกธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติสามารถสอบผ่านได้รับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมจากสภาวิศวกร และมีความสามารถเพื่อไปศึกษาหรือประกอบอาชีพต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อเข้าเรียนที่นี่ น้องๆ ว่าที่วิศวกรจะได้ฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการทางไฟฟ้าที่ทันสมัย อาทิ ห้องปฏิบัติการเครื่องจักรกลไฟฟ้า ห้องวิจัยและปฏิบัติการวิศวกรรมหุ่นยนต์ ห้องวิจัยและปฏิบัติการไฟเบอร์ออพติกส์ โดยสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าของที่นี่ จะมีแขนงวิชาเอกให้น้องๆ เลือก 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรไฟฟ้ากำลัง หลักสูตรไฟฟ้าสื่อสาร และที่เพิ่มมาใหม่ล่าสุดคือหลักสูตรระบบราง โดยแขนงวิชาไฟฟ้ากำลัง น้องๆ จะได้เรียน ระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้า การอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม ระบบการส่งจ่ายพลังงาน การออกแบบ มาตรฐาน และการติดตั้งระบบไฟฟ้า เป็นต้น ในส่วนแขนงวิชาไฟฟ้าสื่อสาร เหมาะสำหรับน้องๆ ที่ชอบเกี่ยวกับระบบสื่อสาร เครือข่าย วิศวกรรมไมโครเวฟ การสื่อสารแบบดิจิตอล ใยแก้วนำแสง รวมถึงการสื่อสารดาวเทียม
และหลักสูตรระบบราง แน่นนอนว่าน้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับ วิศวกรรมระบบราง ทั้ง ระบบควบคุมการขนส่ง กลยุทธ์การบริหารการขนส่งด้วยระบบราง อุปกรณ์ควบคุมทางอุตสาหกรรม และระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม ซึ่งหลักสูตรระบบรางนี้ถือว่าจะเป็นอีกสาขาวิชาที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้น้องๆ วิศวกรเพื่อจบออกไปทำงานเกี่ยวกับระบบคมนาคมแบบราง (รถไฟฟ้า) ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมในประเทศและต่างประเทศ นอกจากหลักสูตรภาคทฤษฎีแล้ว ทางคณะฯ ได้เตรียมระบบการทำงานของรถไฟฟ้าในปัจจุบันมาให้นักศึกษาได้ศึกษา และทดลองก่อนที่จะออกไปฝึกปฏิบัติงานจริง (สหกิจศึกษา) เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้จากประสบการณ์จริง เมื่อเรียนจบสามารถทำงานได้ทันที
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นวิศวกรไฟฟ้ามีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
- วิศวกรมีทักษะพิเศษด้านระบบควบคุมอัตโนมัติทั้งสามแขนงวิชา
- ในระหว่างเรียนได้ปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการผ่านโครงการสหกิจศึกษาทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ทันที่เมื่อจบการศึกษา
จบมาทำงานอะไร
วิศวกรไฟฟ้ากําลัง, วิศวกรระบบราง, วิศวกรเมคคาทรอนิกส์, วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร, วิศวกรที่ปรึกษา, วิศวกรโครงการ, วิศวกรออกแบบ, ผู้รับเหมางานระบบ, ธุรกิจส่วนตัว ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
รับตรง
- สำเร็จการศึกษาม.6 วิทย์ - คณิตฯ ศิลป์ - คำนวณ หรือ ปวช. หรือเทียบเท่า
- สําเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่าในสาขาที่เกี่ยวข้อง
- ผ่านการสอบคัดเลือกตามข้อกําหนดของมหาวิทยาลัยสยาม
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 15%
- PAT1 (ความถนัดทางคณิตศาสตร์) 15%
- PAT3 (ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์) 20%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
280, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
30, 000 - 35, 000 บาท/เทอม
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยสยาม
ผลงานของสาขา
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
9.50
ความพร้อมของห้องปฎิบัติการและอุปกรณ์การเรียน
9.50
ความร่วมมือกับองค์กรภายนอก
9.00
สภาพแวดล้อมของสถานที่เรียน
9.00
ความน่าสนใจ (คะแนนจากผู้ใช้)
8.00
ได้รับการรับรองจาก
สกอ. สภาวิชาชีพ.
Summary
U-Review Score
9.20
สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เริ่มเปิดดำเนินการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 เป็นต้นมา หลักสูตรมุ่งเน้นในการผลิตวิศวกรที่มีความรู้ มีความอดทน สามารถสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ และแก้ปัญหาในทางวิศวกรรมได้ โดยเน้นให้นักศึกษามีความรู้ทางด้านไฟฟ้า กำลัง การออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า การควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ทางสื่อสารโทรคมนาคม นักศึกษาจะมีโอกาสฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการทางไฟฟ้าที่ทัน สมัย อาทิ ห้องปฏิบัติการเครื่องจักรกลไฟฟ้า ห้องวิจัยและปฏิบัติการวิศวกรรมหุ่นยนต์ ห้องวิจัยและปฏิบัติการไฟเบอร์ออพติกส์
จุดมุ่งหมายของการศึกษาหลักสูตรนี้ เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษาทันต่อโลกธุรกิจ โดย มุ่งเน้นในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ การเรียนการสอนเน้นการมีส่วน ร่วมในชั้นเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษากล้าคิด กล้าแสดงออกและสามารถพัฒนาแนว ความคิดต่างๆได้ดี
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
วิศกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)
ชื่อสาขา
วิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)
ชื่อปริญญา
วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า) (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า)
รายละเอียด
สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เริ่มเปิดดำเนินการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 เป็นต้นมา หลักสูตรมุ่งเน้นในการผลิตวิศวกรที่มีความรู้ มีความอดทน สามารถสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ และแก้ปัญหาในทางวิศวกรรมได้ โดยเน้นให้นักศึกษามีความรู้ทางด้านไฟฟ้า กำลัง การออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า การควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ทางสื่อสารโทรคมนาคม นักศึกษาจะมีโอกาสฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการทางไฟฟ้าที่ทัน สมัย อาทิ ห้องปฏิบัติการเครื่องจักรกลไฟฟ้า ห้องวิจัยและปฏิบัติการวิศวกรรมหุ่นยนต์ ห้องวิจัยและปฏิบัติการไฟเบอร์ออพติกส์
จุดมุ่งหมายของการศึกษาหลักสูตรนี้ เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษาทันต่อโลกธุรกิจ โดย มุ่งเน้นในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ การเรียนการสอนเน้นการมีส่วน ร่วมในชั้นเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษากล้าคิด กล้าแสดงออกและสามารถพัฒนาแนว ความคิดต่างๆได้ดี
เนื้อหาวิชา
- แขนงวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง เรียนเกี่ยวกับระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้า ระบบการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า การออกแบบระบบไฟฟ้า มาตรฐานและการติดตั้งระบบไฟฟ้า การอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน อุปกรณ์ควบคุมทางอุตสาหกรรม ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม
- แขนงวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร เรียนเกี่ยวกับระบบสื่อสาร การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย วิศวกรรมไมโครเวฟ การสื่อสารแบบดิจิตอล การสื่อสารใยแก้วนำแสง ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ การสื่อสารดาวเทียม
- แขนงวิศวกรรมระบบรางและเมคคาทรอนิกส์ เรียนเกี่ยวกับ วิศวกรรมระบบราง ระบบควบคุมการขนส่งด้วยระบบราง กลยุทธ์การบริหารการขนส่งด้วยระบบราง อุปกรณ์ควบคุมทางอุตสาหกรรม ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 148 หน่วยกิต
คุณสมบัติ
- เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) สายวิทยาศาสตร์หรอเทียบเท่า หรือได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ( ปวช. ) หรือเทียบเท่า
- เป็นผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าในสาขาที่ เกี่ยวข้องรับเข้าศึกษาด้วยวิธีการเทียบโอนรายวิชา โดยการเทียบโอนให้เป็นไปตามตามระเบียบ มหาวิทยาลัยสยาม ว่าด้วยการศึกษาไม่สูงกว่าระดับปริญญาตรีและให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
- ผ่านการสอบคัดเลือกตามข้อกําหนดของมหาวิทยาลัยสยาม
สิ่งใหม่ จุดเด่น จุดแตกต่าง
ผลิตวิศวกรไฟฟ้าที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และมีทักษะพิเศษด้านระบบควบคุมอัตโนมัติทั้งสามแขนงวิชา ในระหว่างเรียนได้ปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการผ่านโครงการสหกิจศึกษาทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ทันที่เมื่อจบการศึกษา
แผนการเรียน
วิทย์ - คณิต
ศิลป์ - คำนวณ
เทียบเท่า (อาชีวะ)
สำเร็จการศึกษา ม.6
ได้รับการรับรองจาก
สกอ. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
สภาวิชาชีพ.
ผลงานและรางวัล
การวิจัยระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่ออนาคตประเทศไทย (High-speed train system research for the future of Thailand)
ระบบรถไฟฟ้าได้ถูกศึกษา ออกแบบ และสร้างเป็นแบบจำลองทางวิศวกรรม เพื่อใช้เป็นประโยชน์สำหรับการสาธิตเชิงแนวคิดในการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการก่อสร้างขนส่งมวลชนด้วยระบบราง สำหรับรถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบ คือ 1) ระบบรถไฟฟ้าที่ถูกขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ประเภทหมุนรอบตัวเองแบบดั้งเดิมหมุนล้อรถที่เกี่ยวข้องให้วิ่งไปบนรางเดินรถ และ 2) ระบบรถไฟฟ้าที่ถูกขับดันด้วยมอเตอร์เหนี่ยวนำประเภทเชิงเส้นแบบด้านเดียวชนิดขดลวดปฐมภูมิสั้นสมัยใหม่ ซึ่งไม่มีส่วนหมุนที่จะหมุนล้อรถ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า รถไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์เหนี่ยวนำประเภทเชิงเส้นฯ มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงกว่าและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ถูกต้องและทันสมัยสำหรับผู้บริหารระดับสูงที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบโครงการดังกล่าว สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาและตัดสินใจที่ดีขึ้นได้ในโครงการก่อสร้างขนส่งมวลชนด้วยระบบรางที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง
ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่ออนาคตประเทศไทย” นำเสนอในงานนิทรรศการวิชาการ รร. จปร.
ระบบรางรถไฟฟ้าความเร็วสูงแบบไฮบริด (Hybrid-Type Railway System)
ผลงานวิจัยเรื่องระบบรางรถไฟฟ้าความเร็วสูงแบบไฮบริด ของอ.จักรกฤษณ์ จันทร์เขียว ได้รับรางวัล ชนะเลิศ (รางวัลที่ 1) ในการแข่งขันประกวดสิ่งประดิษฐ์โครงการ Innovation Technology 2015 จัดโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
อาชีพ
- วิศวกรไฟฟ้ากําลัง
- วิศวกรระบบราง
- วิศวกรเมคคาทรอนิกส์
- วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร
- วิศวกรที่ปรึกษา
- วิศวกรโครงการ
- วิศวกรออกแบบ
- ผู้รับเหมางานระบบ
- ธุรกิจส่วนตัว
เส้นทางอาชีพและความก้าวหน้า
แขนงวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง สามารถทำงานในการไฟฟ้าทั้งสามส่วนคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นวิศวกรไฟฟ้าที่สามารถ ออกแบบ อนุมัติแบบ ควบคุมงานการติดตั้งระบบไฟฟ้าของอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบธุรกิจรับเหมางานระบบไฟฟ้า วิศวกรประจำโรงงานทำหน้าที่ดูแลระบบไฟฟ้า ติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องจักรไฟฟ้าภายในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
แขนงวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร สามารถทำงานเป็นวิศวกรในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบสื่อสารทั้งในภาครัฐและเอกชน เป็นวิศวกร ออกแบบ ติดตั้งและดูแลระบบสื่อสารเคเบิลไยแก้ว ระบบไมโครเวฟ ระบบสื่อสารดาวเทียม ระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่มีสถานีทวนสัญญาณอยู่ทั่วประเทศ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ
แขนงวิศวกรรมระบบรางและเมคคาทรอนิกส์ สามารถทำงานเป็นวิศวกรในบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ (รถไฟฟ้า MRT) บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( รถไฟฟ้า BTS ) โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง การรถไฟแห่งประเทศไทยและเป็นวิศวกรไฟฟ้าที่มีความรู้ด้านระบบควบคุมอัตโนมัติสามารถทำงานเป็นวิศวกรในอุตสาหกรรมที่เครื่องจักรทำงานด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรผลิตไอซีและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์และมอนิเตอร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
เงินเดือนเริ่มต้นสำหรับบัณฑิตจบใหม่เฉลี่ยประมาณ 18,000 บาท
เทรนด์อาชีพในอนาคตตรงกับ
เทรนด์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
โอกาสงานในอาเซียน
เป็นหนึ่งในอาชีพเสรีในอาเซียน
2 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสยาม ดีไหม?
“ขนาดของห้องปฏิบัติการ”
ห้องปฏิบัติการและการจำลองการทำงานของระบบ ไม่รู้สึกเล็กไปหร่อคะ จะได้รับความรู้ในการทำงานของระบบรางจริงๆหรือป่าว?
สโรชา อุทัยรัตนา
บุคคลทั่วไป
30 ก.ย. 59 15:08 น.
“จบสายศิลป์ก็เรียนวิศวะได้”
เปิดโอกาสให้เด็กสายศิลป์ได้เข้าเรียน
นวลกมล โชติรัตน์
บุคคลทั่วไป
20 ก.ย. 59 14:35 น.
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยสยาม
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสยาม
เมื่อเข้าเรียนที่นี่ น้องๆ ว่าที่วิศวกรจะได้ฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการทางไฟฟ้าที่ทันสมัย อาทิ ห้องปฏิบัติการเครื่องจักรกลไฟฟ้า ห้องวิจัยและปฏิบัติการวิศวกรรมหุ่นยนต์ ห้องวิจัยและปฏิบัติการไฟเบอร์ออพติกส์ โดยสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าของที่นี่ จะมีแขนงวิชาเอกให้น้องๆ เลือก 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรไฟฟ้ากำลัง หลักสูตรไฟฟ้าสื่อสาร และที่เพิ่มมาใหม่ล่าสุดคือหลักสูตรระบบราง โดยแขนงวิชาไฟฟ้ากำลัง น้องๆ จะได้เรียน ระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้า การอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม ระบบการส่งจ่ายพลังงาน การออกแบบ มาตรฐาน และการติดตั้งระบบไฟฟ้า เป็นต้น ในส่วนแขนงวิชาไฟฟ้าสื่อสาร เหมาะสำหรับน้องๆ ที่ชอบเกี่ยวกับระบบสื่อสาร เครือข่าย วิศวกรรมไมโครเวฟ การสื่อสารแบบดิจิตอล ใยแก้วนำแสง รวมถึงการสื่อสารดาวเทียม
และหลักสูตรระบบราง แน่นนอนว่าน้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับ วิศวกรรมระบบราง ทั้ง ระบบควบคุมการขนส่ง กลยุทธ์การบริหารการขนส่งด้วยระบบราง อุปกรณ์ควบคุมทางอุตสาหกรรม และระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม ซึ่งหลักสูตรระบบรางนี้ถือว่าจะเป็นอีกสาขาวิชาที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้น้องๆ วิศวกรเพื่อจบออกไปทำงานเกี่ยวกับระบบคมนาคมแบบราง (รถไฟฟ้า) ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมในประเทศและต่างประเทศ นอกจากหลักสูตรภาคทฤษฎีแล้ว ทางคณะฯ ได้เตรียมระบบการทำงานของรถไฟฟ้าในปัจจุบันมาให้นักศึกษาได้ศึกษา และทดลองก่อนที่จะออกไปฝึกปฏิบัติงานจริง (สหกิจศึกษา) เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้จากประสบการณ์จริง เมื่อเรียนจบสามารถทำงานได้ทันที
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- วิศวกรมีทักษะพิเศษด้านระบบควบคุมอัตโนมัติทั้งสามแขนงวิชา
- ในระหว่างเรียนได้ปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการผ่านโครงการสหกิจศึกษาทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ทันที่เมื่อจบการศึกษา
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จการศึกษาม.6 วิทย์ - คณิตฯ ศิลป์ - คำนวณ หรือ ปวช. หรือเทียบเท่า
- สําเร็จการศึกษา ปวส. หรือเทียบเท่าในสาขาที่เกี่ยวข้อง
- ผ่านการสอบคัดเลือกตามข้อกําหนดของมหาวิทยาลัยสยาม
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 15%
- PAT1 (ความถนัดทางคณิตศาสตร์) 15%
- PAT3 (ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์) 20%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยสยาม
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
จุดมุ่งหมายของการศึกษาหลักสูตรนี้ เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษาทันต่อโลกธุรกิจ โดย มุ่งเน้นในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ การเรียนการสอนเน้นการมีส่วน ร่วมในชั้นเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษากล้าคิด กล้าแสดงออกและสามารถพัฒนาแนว ความคิดต่างๆได้ดี
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
จุดมุ่งหมายของการศึกษาหลักสูตรนี้ เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษาทันต่อโลกธุรกิจ โดย มุ่งเน้นในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ การเรียนการสอนเน้นการมีส่วน ร่วมในชั้นเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษากล้าคิด กล้าแสดงออกและสามารถพัฒนาแนว ความคิดต่างๆได้ดี
- แขนงวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร เรียนเกี่ยวกับระบบสื่อสาร การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย วิศวกรรมไมโครเวฟ การสื่อสารแบบดิจิตอล การสื่อสารใยแก้วนำแสง ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ การสื่อสารดาวเทียม
- แขนงวิศวกรรมระบบรางและเมคคาทรอนิกส์ เรียนเกี่ยวกับ วิศวกรรมระบบราง ระบบควบคุมการขนส่งด้วยระบบราง กลยุทธ์การบริหารการขนส่งด้วยระบบราง อุปกรณ์ควบคุมทางอุตสาหกรรม ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 148 หน่วยกิต
- เป็นผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าในสาขาที่ เกี่ยวข้องรับเข้าศึกษาด้วยวิธีการเทียบโอนรายวิชา โดยการเทียบโอนให้เป็นไปตามตามระเบียบ มหาวิทยาลัยสยาม ว่าด้วยการศึกษาไม่สูงกว่าระดับปริญญาตรีและให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
- ผ่านการสอบคัดเลือกตามข้อกําหนดของมหาวิทยาลัยสยาม
ศิลป์ - คำนวณ
เทียบเท่า (อาชีวะ)
สำเร็จการศึกษา ม.6
สภาวิชาชีพ.
ระบบรถไฟฟ้าได้ถูกศึกษา ออกแบบ และสร้างเป็นแบบจำลองทางวิศวกรรม เพื่อใช้เป็นประโยชน์สำหรับการสาธิตเชิงแนวคิดในการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการก่อสร้างขนส่งมวลชนด้วยระบบราง สำหรับรถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบ คือ 1) ระบบรถไฟฟ้าที่ถูกขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ประเภทหมุนรอบตัวเองแบบดั้งเดิมหมุนล้อรถที่เกี่ยวข้องให้วิ่งไปบนรางเดินรถ และ 2) ระบบรถไฟฟ้าที่ถูกขับดันด้วยมอเตอร์เหนี่ยวนำประเภทเชิงเส้นแบบด้านเดียวชนิดขดลวดปฐมภูมิสั้นสมัยใหม่ ซึ่งไม่มีส่วนหมุนที่จะหมุนล้อรถ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า รถไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์เหนี่ยวนำประเภทเชิงเส้นฯ มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงกว่าและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ถูกต้องและทันสมัยสำหรับผู้บริหารระดับสูงที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบโครงการดังกล่าว สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาและตัดสินใจที่ดีขึ้นได้ในโครงการก่อสร้างขนส่งมวลชนด้วยระบบรางที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง
ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่ออนาคตประเทศไทย” นำเสนอในงานนิทรรศการวิชาการ รร. จปร.
ระบบรางรถไฟฟ้าความเร็วสูงแบบไฮบริด (Hybrid-Type Railway System)
ผลงานวิจัยเรื่องระบบรางรถไฟฟ้าความเร็วสูงแบบไฮบริด ของอ.จักรกฤษณ์ จันทร์เขียว ได้รับรางวัล ชนะเลิศ (รางวัลที่ 1) ในการแข่งขันประกวดสิ่งประดิษฐ์โครงการ Innovation Technology 2015 จัดโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- วิศวกรระบบราง
- วิศวกรเมคคาทรอนิกส์
- วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร
- วิศวกรที่ปรึกษา
- วิศวกรโครงการ
- วิศวกรออกแบบ
- ผู้รับเหมางานระบบ
- ธุรกิจส่วนตัว
แขนงวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร สามารถทำงานเป็นวิศวกรในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบสื่อสารทั้งในภาครัฐและเอกชน เป็นวิศวกร ออกแบบ ติดตั้งและดูแลระบบสื่อสารเคเบิลไยแก้ว ระบบไมโครเวฟ ระบบสื่อสารดาวเทียม ระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่มีสถานีทวนสัญญาณอยู่ทั่วประเทศ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ
แขนงวิศวกรรมระบบรางและเมคคาทรอนิกส์ สามารถทำงานเป็นวิศวกรในบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ (รถไฟฟ้า MRT) บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( รถไฟฟ้า BTS ) โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง การรถไฟแห่งประเทศไทยและเป็นวิศวกรไฟฟ้าที่มีความรู้ด้านระบบควบคุมอัตโนมัติสามารถทำงานเป็นวิศวกรในอุตสาหกรรมที่เครื่องจักรทำงานด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรผลิตไอซีและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์และมอนิเตอร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น
2 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสยาม ดีไหม?
ห้องปฏิบัติการและการจำลองการทำงานของระบบ ไม่รู้สึกเล็กไปหร่อคะ จะได้รับความรู้ในการทำงานของระบบรางจริงๆหรือป่าว?
สโรชา อุทัยรัตนา
เปิดโอกาสให้เด็กสายศิลป์ได้เข้าเรียน
นวลกมล โชติรัตน์
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ