"วิศวกรรมสาขาใหม่ เรียนสร้างงาน สร้างอนาคต ในยุคเศรษฐกิจดิจิตอล" รีวิวสาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร : U-Review

ด้วยเหตุนี้เองมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมหลักหลายสาขา โดยเฉพาะวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร คอมพิวเตอร์ และ IT จึงเห็นความสำคัญในการที่จะสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศชาติ ประจวบเหมาะกับเมื่อปีที่แล้วทางรัฐบาลก็มีนโยบาย

สาขาวิศวกรรมสารสนเทศ และการสื่อสารสำหรับเศรษฐกิจดิจิตอลมีเอกลักษณ์ชัดเจน คือ ความคิดสร้างสรรค์ในการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ แอพพลิเคชั่น และ IT ภายใต้คอนเซ็ปต์ที่ต้องการสร้างเด็กให้เป็นเป็ด คือมีความรู้ที่กว้าง แต่ต้องโฟกัสเรื่องของการพัฒนา IT อย่างเต็มที่ ฉะนั้นนอกจากนักศึกษาจะต้องเรียนในเรื่องของการสื่อสารโทรคมนาคม ต้องมีความรู้โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยในการใช้เครือข่าย มีความรู้ด้าน IT และมีความรู้ด้านแอพพลิเคชั่นแล้ว นักศึกษาจะต้องได้เรียนเรื่องของเศรษฐศาสตร์ การสร้างมูลค่า เรียนเรื่องวิธีคิด และที่สำคัญ เรื่องของการออกแบบนวัตกรรม ที่จะสอนให้นักศึกษาคิดเป็น คิดนอกกรอบ คิดได้อย่างหลากหลาย ต้องคิดให้แปลกประหลาด แต่มีอิมแพค นักศึกษาจากสาขานี้จึงสามารถทำงานได้ครอบคลุมทั้งในงานวิศวกรรมดั้งเดิม อย่างวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ บริษัทคอมพิวเตอร์ บริษัทเทคโนโลยี บริษัทไอที ไปจนถึงการทำงานในบริษัทที่เป็น startup ที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศ และแอพพลิเคชั่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ตลอดจนการสร้างงานด้วยตนเอง “ ฉะนั้นเราสร้างเป็ด แต่เป็นเป็ดที่ติดอาวุธ สามารถพัฒนาตนเองให้อยู่ในด้านไหนก็ได้ ใน sector ไหนก็ได้ในภาคธุรกิจ แต่สุดท้ายเขาจะไปอยู่ตรงไหนก็ขึ้นอยู่กับความชอบของเขา” ดร.อธิคม กล่าว

ทางสาขาวิศวกรรมสารสนเทศ และการสื่อสารสำหรับเศรษฐกิจดิจิตอล ยึดถือแนวทางในการเรียนการสอนที่ว่า เราจะทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย โดยการใช้ตัวช่วยอย่างซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น หรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น เมื่อนักศึกษาต้องเรียนคณิตศาสตร์

ด้วยความที่หลักสูตรถูกออกแบบมาให้นักศึกษา ต้องเรียนในวิชาที่เป็นภาคปฏิบัติการและการทำแลปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่ทางคณะจะขาดไม่ได้เลย คือห้องปฏิบัติการ เช่น

เป็นห้องปฏิบัติการที่ประกอบด้วยอุปกรณ์โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ เช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่อสาร เครือข่าย LAN อุปกรณ์สื่อสารเครือข่ายไร้สาย Wi-Fi RFID Sensors networks เป็นต้น ห้องนี้จะใช้ในการจำลองระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม การทดลองระบบเครือข่ายโทรคมนาคมพื้นฐาน และการทดลองระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ห้องปฏิบัติการระบบโทรคมนาคม (Telecommunication System Laboratory)
ใช้สำหรับการทดลองด้านการวิเคราะห์สัญญาณ และระบบการสื่อสารข้อมูลพื้นฐาน การรับส่งข้อมูลทั้งแบบอนาลอกและแบบดิจิตอล ภายในห้องปฏิบัติการประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย มากกว่า 30 เครื่อง ทุกเครื่องเชื่อมต่อกันผ่านระบบเครือข่าย

ห้องวิจัยการสื่อสารเชิงแสง (Optical Communication Research Lab)
เป็นห้องวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบสื่อสารด้วยเส้นใยแก้วและอุปกรณ์ทางด้านการสื่อสารเชิงแสง และยังใช้เป็นห้องปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้าย และนักศึกษาปริญญาโทที่สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีเส้นใยแก้วและระบบสื่อสารด้วยเส้นใยแก้วนำแสงด้วย
นอกจากนี้ยังมีห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสร้างโดรน

ในส่วนของการฝึกงานนักศึกษาจะต้องมีชั่วโมงฝึกงานช่วงปิดเทอมของปี 3 และการฝึกงานแบบสหกิจศึกษาอีก 1 เทอม โดยสาขามีความร่วมมือกับบริษัทซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทด้านโทรคมนาคม และเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น tot, cat เป็นต้น และยังมีบริษัทด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดกลาง และขนาดเล็กอีกหลายแห่ง
จากทั้งหมดที่กล่าวมาก็พอจะเป็นข้อพิสูจน์ได้แล้วว่า สาขาวิศวกรรมสารสนเทศ และการสื่อสารสำหรับเศรษฐกิจดิจิตอล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นสาขาเกิดใหม่ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างงานได้ด้วยตนเอง และนักศึกษาที่จบจากสาขานี้ ยังจะเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความรู้ทางด้านวิศวกรรม มีความสามารถที่จะพัฒนานวัตกรรมอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ สามารถที่จะขับเคลื่อนวงการเทคโนโลยี และไอทีของประเทศไทยไปสู่อนาคตได้อีกด้วย