วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์
มหาวิทยาลัยรังสิต
Summary
8.42
รีวิววิทยาลัยนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ละครหรือภาพยนตร์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสื่อที่ทุกคนอยู่กับมันตลอดเวลา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าไม่มีใครไม่เคยดูหนังหรือละคร เพราะสิ่งเหล่านี้คือสื่อที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่ายมากๆ
นิเทศศาสตร์ถือเป็นอีกหนึ่งคณะในฝันของใครหลายๆคนที่รักในการถ่ายภาพ ดูหนัง ดูละคร หรืออยากเป็นผู้ประกาศข่าว นักข่าว นักเขียน พิธีกรรายการโทรทัศน์ ไปจนถึงผู้ที่ทำงานเบื้องหลังอย่างผู้กำกับ นักเขียนบท และโปรดิวเซอร์
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ถือว่าเป็นหลักสูตรนิเทศศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดระดับประเทศเลยก็ว่าได้ เพราะที่นี่ได้ผลิตบัณฑิตที่มีชื่อเสียงในวงการอย่างเช่น ชมพู่ อารยา , ณเดช คูคิมิยา , สายป่าน อภิญญา เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างนักศึกษาที่เรียนภาพยนตร์กับนักศึกษาที่เรียนในสาขาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์นั้นคือ ในขณะที่การเรียนภาพยนตร์จะทำให้มีความสามารถที่รอบด้านในการสร้างภาพยนตร์ แต่นักศึกษาที่เรียนในสาขาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์นั้นจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการเขียนบทและการกำกับโดยเฉพาะ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่รู้ตัวอยู่แล้วว่าชอบเล่าเรื่อง อยากเป็นผู้กำกับ อยากเป็นนักเขียนบท ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและต้องอินไปกับมัน
ในส่วนของการเรียนการสอนในสาขาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ในช่วงปี 1 นั้นจะเป็นการเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีทั้งหมด และในช่วงปี 2 จะเริ่มจากการเขียนบทภาพยนตร์สั้น แล้วเริ่มเอาข่าว หนังสือ มาเขียนเป็นบทดัดแปลง ไปจนถึงการเขียนบทภาพยนตร์แบบยาว และการทำไวรัลที่จะสอนว่าทำอย่างไรให้คนดู ในปี3 น้องๆก็ได้เรียนการวิจารณ์ภาพยนตร์ และเรียนวิชาที่ต่อมากจากปีที่2 รวมถึงการทำวิจัยทางการสื่อสารเพื่อเป็นตัวช่วยในการผลิตผลงาน อีกส่วนที่ทำให้สาขาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์น่าสนใจและโดดเด่นเอามากๆ คือ ที่นี่นั้นมีโรงภาพยนตร์สำหรับการเรียนในวิชาการวิจารณ์ภาพยนตร์ วิชาทฤษฎีเกี่ยวกับภาพยนตร์ ไปจนถึงการฉายภาพยนตร์ของนักศึกษาปีที่ 4 ที่ทำ Thesis ด้วย
ตั้งแต่มีการเริ่มใช้ทีวีดิจิตอลอย่างเป็นทางการในประเทศไทย วงการสื่อก็สามารถขยายใหญ่ขึ้นได้อย่างรวดเร็วมาก รวมไปถึงช่องทางที่เป็น Channel Online ด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตลาดงานที่จะรองรับนักศึกษาที่จบด้านนิเทศศาสตร์นั้นกว้างมากๆ
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- มีโรงภาพยนตร์เป็นของตัวเอง
- มีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ครบครันและทันสมัย
- มีอาจารย์พิเศษที่มากความสามารถอย่าง สายป่าน อภิญญา
- มีพันธมิตรกับช่อง 3 ที่มีความต้องการบุคลากรด้านนี้โดยเฉพาะ
จบมาทำงานอะไร
ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้กำกับละครโทรทัศน์, นักเขียนบทภาพยนตร์, นักเขียนบทละครโทรทัศน์, นักเขียนบทให้กับสื่อแอนิเมชั่นและ New Media, ทำงานในวงการภาพยนตร์ โทรทัศน์ โฆษณา และสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับและการเขียนบท
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (ตุลาคม-สิงหาคม)
- สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 ทุกแผนการเรียน , ปวช. , ปวส.
- สมัครด้วยตนเองที่ทางมหาวิทยาลัยรังสิต
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
350, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
35, 000 บาท/เทอม
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์
มหาวิทยาลัยรังสิต
ผลงานของสาขา
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
8.50
ความพร้อมของห้องปฎิบัติการและอุปกรณ์การเรียน
9.00
ความร่วมมือกับองค์กรภายนอก
9.00
สภาพแวดล้อมของสถานที่เรียน
8.50
Summary
U-Review Score
8.42
แผนการเรียนจะเริ่มสร้างไอเดียความคิดใหม่ๆขึ้นมาก่อนและสนับสนุนให้นักศึกษาคิดแนวคิดใหม่ๆตลอด 4 ปีของการศึกษา ตามแนวคิดของสาขาที่อยากให้นักศึกษาคิดนอกกรอบ และสามารถเล่าเรื่องทุกประเภทได้สนุก น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ซีรี่ย์ หรือละครโทรทัศน์
โดยสอนให้เล่าเรื่องด้วยภาพ เล่าเรื่องโดยอาศัยทฤษฎีเล่าเรื่องต่างๆ (วิชาทฤษฎีเรื่องเล่า) แล้วค่อยๆเรียนในวิชาที่เริ่มสอนการเขียนบท ให้เรียนรู้วิธีการเล่าเรื่อง ตัวละครและภาพผ่านตัวอักษรก่อน (วิชาเขียนบท, วิชาเขียนบทดัดแปลง, วิชาหลักจิตวิทยาในการเขียนบท)
เมื่อเล่าเรื่องเป็นแล้วการเรียนจะเข้าสู่ศาสตร์ของการกำกับ (วิชากำกับภาพยนตร์, วิชากำกับละครโทรทัศน์) โดยนักศึกษาจะเรียนรู้การทำงานกับนักแสดง เพื่อใช้ศักยภาพของนักแสดงอย่างถึงที่สุด เรียนรู้วิธีการทำงานกับตำแหน่งอื่นๆในกองถ่าย เช่น การทำงานกับผู้กำกับภาพ การทำงานกับผู้กำกับศิลป์ การทำงานกับโปรดิวเซอร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานในตำแหน่งผู้กำกับอย่างเข้าใจ และเล่าเรื่องในแต่ละส่วนของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
สาขาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ ถือว่าเป็นการเปิดสาขาเน้นศาสตร์นี้เป็นสาขาแรกในประเทศไทย ด้วยแนวคิดที่จะผลิตบุคลากรที่สามารถทำงานเขียนบทและงานกำกับได้จริงในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด
มีความน่าสนใจดังนี้
1. เน้นที่กลไกการผลิตภาพยนตร์ขนาดสั้นและยาว และซีรี่ย์ที่ฉายทางโทรทัศน์หรือสื่อออนไลน์ ในแง่ของการเขียนบทและการกำกับ
2. เน้นการกำกับ การทำงานกับนักแสดง การทำงานในฐานะผู้กำกับ โดยสามารถใช้การเล่าเรื่องได้อย่างมีผลต่อคนดูมากที่สุด
3. เน้นการเขียนบทภาพยนตร์สั้นและยาว บทซีรี่ย์ทั้งแบบสั้นและยาว การทำละครโทรทัศน์
4. เน้นการทำงานตามหลักสากล มีแบบแผนที่เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศได้
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะนิเทศศาสตร์ (Communication Arts)
ชื่อสาขา
วิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ (Film and Television Writing and Directing)
ชื่อปริญญา
นศ.บ. (การเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์) (นิเทศศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์))
รายละเอียด
หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 135 หน่วยกิต
แผนการเรียนจะเริ่มสร้างไอเดียความคิดใหม่ๆขึ้นมาก่อนและสนับสนุนให้นักศึกษาคิดแนวคิดใหม่ๆตลอด 4 ปีของการศึกษา ตามแนวคิดของสาขาที่อยากให้นักศึกษาคิดนอกกรอบ และสามารถเล่าเรื่องทุกประเภทได้สนุก น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ซีรี่ย์ หรือละครโทรทัศน์
โดยสอนให้เล่าเรื่องด้วยภาพ เล่าเรื่องโดยอาศัยทฤษฎีเล่าเรื่องต่างๆ (วิชาทฤษฎีเรื่องเล่า) แล้วค่อยๆเรียนในวิชาที่เริ่มสอนการเขียนบท ให้เรียนรู้วิธีการเล่าเรื่อง ตัวละครและภาพผ่านตัวอักษรก่อน (วิชาเขียนบท, วิชาเขียนบทดัดแปลง, วิชาหลักจิตวิทยาในการเขียนบท)
เมื่อเล่าเรื่องเป็นแล้วการเรียนจะเข้าสู่ศาสตร์ของการกำกับ (วิชากำกับภาพยนตร์, วิชากำกับละครโทรทัศน์) โดยนักศึกษาจะเรียนรู้การทำงานกับนักแสดง เพื่อใช้ศักยภาพของนักแสดงอย่างถึงที่สุด เรียนรู้วิธีการทำงานกับตำแหน่งอื่นๆในกองถ่าย เช่น การทำงานกับผู้กำกับภาพ การทำงานกับผู้กำกับศิลป์ การทำงานกับโปรดิวเซอร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานในตำแหน่งผู้กำกับอย่างเข้าใจ และเล่าเรื่องในแต่ละส่วนของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
เนื้อหาวิชา
วิชาชีพบังคับมีดังนี้:
FWD 111 การภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เบื้องต้น
(Introduction to Film and Television Drama)
FWD 112 ทฤษฎีเรื่องเล่า
(Narrative Theories)
FWD 131 การแสดงเพื่อภาพยนตร์และละครโทรทัศน์*
(Acting for Film and Television Drama)
FWD 211 ทฤษฎีจิตวิทยาสำหรับการเขียนบท
(Psychology for Advanced Scriptwriting)
FWD 221 การเขียนบทภาพยนตร์ 1
(Film Screenwriting I)
FWD 222 การเขียนบทละครโทรทัศน์ 1
(Television Drama Scriptwriting I)
FWD 223 การเขียนบทดัดแปลงเพื่อภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ 1 (Writing Adapted Film Screenplay and Television Drama Script I)
FWD 231 การกำกับภาพยนตร์ 1
(Directing for Film I)
FWD 311 การวิจารณ์ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์
(Film and Television Drama Criticism)
FWD 321 การเขียนบทภาพยนตร์ 2
(Film Screenwriting II)
FWD 322 การเขียนบทดัดแปลงเพื่อภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ 2
(Writing Adapted Film Screenplay and Television Drama Script II)
FWD 323 การเขียนบทละครโทรทัศน์ 2
(Television Drama Scriptwriting II)
FWD 331 การกำกับละครโทรทัศน์ 1
(Directing for Television Drama I)
FWD 332 การกำกับภาพยนตร์ 2
(Directing for Film II)
FWD 411 ธุรกิจบทภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์*
(Film Screenplay and Television Drama Script Business)
FWD 431 การกำกับละครโทรทัศน์ 2
(Directing for Television Drama II)
FWD 489 การฝึกงานวิชาชีพ*
(Internship)
FWD 492 ปริญญานิพนธ์*
(Senior Project)
หรือ
FWD 493 สหกิจศึกษา*
(Cooperative Education)
หมายเหตุ * รายวิชา FWD 131 การแสดงเพื่อภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ และรายวิชา FWD 411
ธุรกิจบทภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์ จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
* สำหรับผู้ที่เข้าโครงการสหกิจศึกษาไม่ต้องเรียนรายวิชา FWD 489 การฝึกงานวิชาชีพ
และรายวิชา FWD 492 ปริญญานิพนธ์ แต่เรียน รายวิชา FWD 493 สหกิจศึกษาแทน
วิชาชีพเลือกมีดังนี้:
FWD 421 การสัมมนาการเขียนบทภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์
(Seminar in Film Screenplay Writing and Television Drama Script Writing)
FWD 422 การวิเคราะห์บทภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์
(Film and Television Drama Script Analysis)
FWD 423 การเขียนบทเพื่องานแอนิเมชั่นและสื่อใหม่
(Writing for Animations and New Media)
FWD 424 การเขียนบทและกำกับเพื่อการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
(Script Writing and Directing for Advertising and Public Relations)
FWD 425 หัวข้อเฉพาะทางการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และละครโทรทัศน์
(Selected Topics in Screenwriting and Directing for Film and Television Drama)
FWD 432 การเขียนบทและการกำกับสารคดี
(Script Writing and Directing for Documentary)
คุณสมบัติ
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทุกแผนการเรียน ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่าและผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาตามระเบียบ การคัดเลือกของมหาวิทยาลัยรังสิต
แผนการเรียน
วิทย์ - คณิต
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
เทียบเท่า (อาชีวะ)
เทียบเท่า (กศน.)
สำเร็จการศึกษา ม.6
ค่าเทอม
โดยประมาณการ 35,000 บาทต่อภาคการศึกษา
อาชีพ
ผู้กำกับภาพยนตร์
ผู้กำกับละครโทรทัศน์
นักเขียนบทภาพยนตร์
นักเขียนบทละครโทรทัศน์
นักเขียนบทให้กับสื่อแอนิเมชั่นและ New Media
ทำงานในวงการภาพยนตร์ โทรทัศน์ โฆษณา และสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับและการเขียนบท
เส้นทางอาชีพและความก้าวหน้า
สาขาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ ถือว่าเป็นการเปิดสาขาเน้นศาสตร์นี้เป็นสาขาแรกในประเทศไทย ด้วยแนวคิดที่จะผลิตบุคลากรที่สามารถทำงานเขียนบทและงานกำกับได้จริงในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด
มีความน่าสนใจดังนี้
1. เน้นที่กลไกการผลิตภาพยนตร์ขนาดสั้นและยาว และซีรี่ย์ที่ฉายทางโทรทัศน์หรือสื่อออนไลน์ ในแง่ของการเขียนบทและการกำกับ
2. เน้นการกำกับ การทำงานกับนักแสดง การทำงานในฐานะผู้กำกับ โดยสามารถใช้การเล่าเรื่องได้อย่างมีผลต่อคนดูมากที่สุด
3. เน้นการเขียนบทภาพยนตร์สั้นและยาว บทซีรี่ย์ทั้งแบบสั้นและยาว การทำละครโทรทัศน์
4. เน้นการทำงานตามหลักสากล มีแบบแผนที่เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศได้
เรียนต่อ
การต่อปริญญาโทในประเทศไทย มีปริญญาโทในสาขานิเทศศาสตร์ (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต) หรือศึกษาต่อปริญญาโทในต่างประเทศได้หลายสาขาของ Communication Arts เช่น Screenwriting, Directing, Film and Television, Media, Mass Communication และ อื่นๆอีกมากมาย
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
เนื่องด้วยว่าวงการภาพยนตร์และโทรทัศน์มีสื่อหลากหลายทั้งเนื้อหา ประเภท และความยาว เงินเดือนหรือรายได้จึงแตกต่างกันไป ถ้าทำงานประจำในบริษัทผลิตสื่อตำแหน่งผู้เขียนบทหรือครีเอทีฟ โดยเฉลี่ยแล้ว เริ่มต้นจะอยู่ที่ 20,000-35,000 บาทต่อเดือน
ทั้งนี้ทั้งนั้น หลายๆคนสามารถทำหลายๆโปรเจคได้ในหนึ่งเดือน และสามารถทำรายได้เฉลี่ยที่ 40,000-80,000 บาทต่อเดือน รายได้ของการเขียนบทซี่รี่ย์นั้นมีตั้งแต่ได้ตอน (Episode) ละ 10,000 – 50,000 บาท ส่วนการเขียนบทภาพยนตร์ 1 เรื่อง จะเริ่มที่ 200,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับคุณภาพงาน และลักษณะประเภทของภาพยนตร์
งานกำกับนั้นก็มีหลากหลายเช่นเดียวกัน การกำกับภาพยนตร์ 1 เรื่อง จะมีรายได้ 300,000 บาทขึ้นไป (โดยผู้กำกับมากฝีมือ รายได้จะมากกว่านี้) การกำกับละครโทรทัศน์จะเริ่มต้นที่ 25,000 – 40,000 บาทต่อตอน ส่วนการกำกับรายการโทรทัศน์ทั่วไป (สารคดีและวาไรตี้ต่างๆ) จะเริ่มต้นที่ 25,000 บาทต่อตอน
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสาขานี้
1. รักและสนใจการเล่าเรื่องทุกประเภท
2. สนใจการทำงานในฐานะผู้กำกับ
3. สนใจการทำงานกับนักแสดง
4. สนใจในสื่อภาพยนตร์และซี่รี่ย์ทางโทรทัศน์หรือสื่อออนไลน์ทุกรูปแบบ เช่น webseries เป็นต้น
5. สนใจการผลิต การกำกับเรื่องเล่าและบท ออกมาเป็นภาพยนตร์และซีรี่ย์อย่างสื่อความหมายได้ดีที่สุด
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์
มหาวิทยาลัยรังสิต
รีวิววิทยาลัยนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ละครหรือภาพยนตร์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสื่อที่ทุกคนอยู่กับมันตลอดเวลา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าไม่มีใครไม่เคยดูหนังหรือละคร เพราะสิ่งเหล่านี้คือสื่อที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่ายมากๆ
นิเทศศาสตร์ถือเป็นอีกหนึ่งคณะในฝันของใครหลายๆคนที่รักในการถ่ายภาพ ดูหนัง ดูละคร หรืออยากเป็นผู้ประกาศข่าว นักข่าว นักเขียน พิธีกรรายการโทรทัศน์ ไปจนถึงผู้ที่ทำงานเบื้องหลังอย่างผู้กำกับ นักเขียนบท และโปรดิวเซอร์
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ถือว่าเป็นหลักสูตรนิเทศศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดระดับประเทศเลยก็ว่าได้ เพราะที่นี่ได้ผลิตบัณฑิตที่มีชื่อเสียงในวงการอย่างเช่น ชมพู่ อารยา , ณเดช คูคิมิยา , สายป่าน อภิญญา เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างนักศึกษาที่เรียนภาพยนตร์กับนักศึกษาที่เรียนในสาขาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์นั้นคือ ในขณะที่การเรียนภาพยนตร์จะทำให้มีความสามารถที่รอบด้านในการสร้างภาพยนตร์ แต่นักศึกษาที่เรียนในสาขาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์นั้นจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการเขียนบทและการกำกับโดยเฉพาะ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่รู้ตัวอยู่แล้วว่าชอบเล่าเรื่อง อยากเป็นผู้กำกับ อยากเป็นนักเขียนบท ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและต้องอินไปกับมัน
ในส่วนของการเรียนการสอนในสาขาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ในช่วงปี 1 นั้นจะเป็นการเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีทั้งหมด และในช่วงปี 2 จะเริ่มจากการเขียนบทภาพยนตร์สั้น แล้วเริ่มเอาข่าว หนังสือ มาเขียนเป็นบทดัดแปลง ไปจนถึงการเขียนบทภาพยนตร์แบบยาว และการทำไวรัลที่จะสอนว่าทำอย่างไรให้คนดู ในปี3 น้องๆก็ได้เรียนการวิจารณ์ภาพยนตร์ และเรียนวิชาที่ต่อมากจากปีที่2 รวมถึงการทำวิจัยทางการสื่อสารเพื่อเป็นตัวช่วยในการผลิตผลงาน อีกส่วนที่ทำให้สาขาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์น่าสนใจและโดดเด่นเอามากๆ คือ ที่นี่นั้นมีโรงภาพยนตร์สำหรับการเรียนในวิชาการวิจารณ์ภาพยนตร์ วิชาทฤษฎีเกี่ยวกับภาพยนตร์ ไปจนถึงการฉายภาพยนตร์ของนักศึกษาปีที่ 4 ที่ทำ Thesis ด้วย
ตั้งแต่มีการเริ่มใช้ทีวีดิจิตอลอย่างเป็นทางการในประเทศไทย วงการสื่อก็สามารถขยายใหญ่ขึ้นได้อย่างรวดเร็วมาก รวมไปถึงช่องทางที่เป็น Channel Online ด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตลาดงานที่จะรองรับนักศึกษาที่จบด้านนิเทศศาสตร์นั้นกว้างมากๆ
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- มีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ครบครันและทันสมัย
- มีอาจารย์พิเศษที่มากความสามารถอย่าง สายป่าน อภิญญา
- มีพันธมิตรกับช่อง 3 ที่มีความต้องการบุคลากรด้านนี้โดยเฉพาะ
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 ทุกแผนการเรียน , ปวช. , ปวส.
- สมัครด้วยตนเองที่ทางมหาวิทยาลัยรังสิต
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์
มหาวิทยาลัยรังสิต
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
โดยสอนให้เล่าเรื่องด้วยภาพ เล่าเรื่องโดยอาศัยทฤษฎีเล่าเรื่องต่างๆ (วิชาทฤษฎีเรื่องเล่า) แล้วค่อยๆเรียนในวิชาที่เริ่มสอนการเขียนบท ให้เรียนรู้วิธีการเล่าเรื่อง ตัวละครและภาพผ่านตัวอักษรก่อน (วิชาเขียนบท, วิชาเขียนบทดัดแปลง, วิชาหลักจิตวิทยาในการเขียนบท)
เมื่อเล่าเรื่องเป็นแล้วการเรียนจะเข้าสู่ศาสตร์ของการกำกับ (วิชากำกับภาพยนตร์, วิชากำกับละครโทรทัศน์) โดยนักศึกษาจะเรียนรู้การทำงานกับนักแสดง เพื่อใช้ศักยภาพของนักแสดงอย่างถึงที่สุด เรียนรู้วิธีการทำงานกับตำแหน่งอื่นๆในกองถ่าย เช่น การทำงานกับผู้กำกับภาพ การทำงานกับผู้กำกับศิลป์ การทำงานกับโปรดิวเซอร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานในตำแหน่งผู้กำกับอย่างเข้าใจ และเล่าเรื่องในแต่ละส่วนของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
สาขาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ ถือว่าเป็นการเปิดสาขาเน้นศาสตร์นี้เป็นสาขาแรกในประเทศไทย ด้วยแนวคิดที่จะผลิตบุคลากรที่สามารถทำงานเขียนบทและงานกำกับได้จริงในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด
มีความน่าสนใจดังนี้
1. เน้นที่กลไกการผลิตภาพยนตร์ขนาดสั้นและยาว และซีรี่ย์ที่ฉายทางโทรทัศน์หรือสื่อออนไลน์ ในแง่ของการเขียนบทและการกำกับ
2. เน้นการกำกับ การทำงานกับนักแสดง การทำงานในฐานะผู้กำกับ โดยสามารถใช้การเล่าเรื่องได้อย่างมีผลต่อคนดูมากที่สุด
3. เน้นการเขียนบทภาพยนตร์สั้นและยาว บทซีรี่ย์ทั้งแบบสั้นและยาว การทำละครโทรทัศน์
4. เน้นการทำงานตามหลักสากล มีแบบแผนที่เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศได้
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 135 หน่วยกิต
เมื่อเล่าเรื่องเป็นแล้วการเรียนจะเข้าสู่ศาสตร์ของการกำกับ (วิชากำกับภาพยนตร์, วิชากำกับละครโทรทัศน์) โดยนักศึกษาจะเรียนรู้การทำงานกับนักแสดง เพื่อใช้ศักยภาพของนักแสดงอย่างถึงที่สุด เรียนรู้วิธีการทำงานกับตำแหน่งอื่นๆในกองถ่าย เช่น การทำงานกับผู้กำกับภาพ การทำงานกับผู้กำกับศิลป์ การทำงานกับโปรดิวเซอร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานในตำแหน่งผู้กำกับอย่างเข้าใจ และเล่าเรื่องในแต่ละส่วนของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดแผนการเรียนจะเริ่มสร้างไอเดียความคิดใหม่ๆขึ้นมาก่อนและสนับสนุนให้นักศึกษาคิดแนวคิดใหม่ๆตลอด 4 ปีของการศึกษา ตามแนวคิดของสาขาที่อยากให้นักศึกษาคิดนอกกรอบ และสามารถเล่าเรื่องทุกประเภทได้สนุก น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ซีรี่ย์ หรือละครโทรทัศน์
โดยสอนให้เล่าเรื่องด้วยภาพ เล่าเรื่องโดยอาศัยทฤษฎีเล่าเรื่องต่างๆ (วิชาทฤษฎีเรื่องเล่า) แล้วค่อยๆเรียนในวิชาที่เริ่มสอนการเขียนบท ให้เรียนรู้วิธีการเล่าเรื่อง ตัวละครและภาพผ่านตัวอักษรก่อน (วิชาเขียนบท, วิชาเขียนบทดัดแปลง, วิชาหลักจิตวิทยาในการเขียนบท)
FWD 111 การภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เบื้องต้น
(Introduction to Film and Television Drama)
FWD 112 ทฤษฎีเรื่องเล่า
(Narrative Theories)
FWD 131 การแสดงเพื่อภาพยนตร์และละครโทรทัศน์*
(Acting for Film and Television Drama)
FWD 211 ทฤษฎีจิตวิทยาสำหรับการเขียนบท
(Psychology for Advanced Scriptwriting)
FWD 221 การเขียนบทภาพยนตร์ 1
(Film Screenwriting I)
FWD 222 การเขียนบทละครโทรทัศน์ 1
(Television Drama Scriptwriting I)
FWD 223 การเขียนบทดัดแปลงเพื่อภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ 1 (Writing Adapted Film Screenplay and Television Drama Script I)
FWD 231 การกำกับภาพยนตร์ 1
(Directing for Film I)
FWD 311 การวิจารณ์ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์
(Film and Television Drama Criticism)
FWD 321 การเขียนบทภาพยนตร์ 2
(Film Screenwriting II)
FWD 322 การเขียนบทดัดแปลงเพื่อภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ 2
(Writing Adapted Film Screenplay and Television Drama Script II)
FWD 323 การเขียนบทละครโทรทัศน์ 2
(Television Drama Scriptwriting II)
FWD 331 การกำกับละครโทรทัศน์ 1
(Directing for Television Drama I)
FWD 332 การกำกับภาพยนตร์ 2
(Directing for Film II)
FWD 411 ธุรกิจบทภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์*
(Film Screenplay and Television Drama Script Business)
FWD 431 การกำกับละครโทรทัศน์ 2
(Directing for Television Drama II)
FWD 489 การฝึกงานวิชาชีพ*
(Internship)
FWD 492 ปริญญานิพนธ์*
(Senior Project)
หรือ
FWD 493 สหกิจศึกษา*
(Cooperative Education)
หมายเหตุ * รายวิชา FWD 131 การแสดงเพื่อภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ และรายวิชา FWD 411
ธุรกิจบทภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์ จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
* สำหรับผู้ที่เข้าโครงการสหกิจศึกษาไม่ต้องเรียนรายวิชา FWD 489 การฝึกงานวิชาชีพ
และรายวิชา FWD 492 ปริญญานิพนธ์ แต่เรียน รายวิชา FWD 493 สหกิจศึกษาแทน
วิชาชีพเลือกมีดังนี้:
FWD 421 การสัมมนาการเขียนบทภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์
(Seminar in Film Screenplay Writing and Television Drama Script Writing)
FWD 422 การวิเคราะห์บทภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์
(Film and Television Drama Script Analysis)
FWD 423 การเขียนบทเพื่องานแอนิเมชั่นและสื่อใหม่
(Writing for Animations and New Media)
FWD 424 การเขียนบทและกำกับเพื่อการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
(Script Writing and Directing for Advertising and Public Relations)
FWD 425 หัวข้อเฉพาะทางการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และละครโทรทัศน์
(Selected Topics in Screenwriting and Directing for Film and Television Drama)
FWD 432 การเขียนบทและการกำกับสารคดี
(Script Writing and Directing for Documentary)
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
เทียบเท่า (อาชีวะ)
เทียบเท่า (กศน.)
สำเร็จการศึกษา ม.6
มติสภามหาวิทยาลัย
ผู้กำกับละครโทรทัศน์
นักเขียนบทภาพยนตร์
นักเขียนบทละครโทรทัศน์
นักเขียนบทให้กับสื่อแอนิเมชั่นและ New Media
ทำงานในวงการภาพยนตร์ โทรทัศน์ โฆษณา และสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับและการเขียนบท
มีความน่าสนใจดังนี้
1. เน้นที่กลไกการผลิตภาพยนตร์ขนาดสั้นและยาว และซีรี่ย์ที่ฉายทางโทรทัศน์หรือสื่อออนไลน์ ในแง่ของการเขียนบทและการกำกับ
2. เน้นการกำกับ การทำงานกับนักแสดง การทำงานในฐานะผู้กำกับ โดยสามารถใช้การเล่าเรื่องได้อย่างมีผลต่อคนดูมากที่สุด
3. เน้นการเขียนบทภาพยนตร์สั้นและยาว บทซีรี่ย์ทั้งแบบสั้นและยาว การทำละครโทรทัศน์
4. เน้นการทำงานตามหลักสากล มีแบบแผนที่เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศได้
ทั้งนี้ทั้งนั้น หลายๆคนสามารถทำหลายๆโปรเจคได้ในหนึ่งเดือน และสามารถทำรายได้เฉลี่ยที่ 40,000-80,000 บาทต่อเดือน รายได้ของการเขียนบทซี่รี่ย์นั้นมีตั้งแต่ได้ตอน (Episode) ละ 10,000 – 50,000 บาท ส่วนการเขียนบทภาพยนตร์ 1 เรื่อง จะเริ่มที่ 200,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับคุณภาพงาน และลักษณะประเภทของภาพยนตร์
งานกำกับนั้นก็มีหลากหลายเช่นเดียวกัน การกำกับภาพยนตร์ 1 เรื่อง จะมีรายได้ 300,000 บาทขึ้นไป (โดยผู้กำกับมากฝีมือ รายได้จะมากกว่านี้) การกำกับละครโทรทัศน์จะเริ่มต้นที่ 25,000 – 40,000 บาทต่อตอน ส่วนการกำกับรายการโทรทัศน์ทั่วไป (สารคดีและวาไรตี้ต่างๆ) จะเริ่มต้นที่ 25,000 บาทต่อตอน
2. สนใจการทำงานในฐานะผู้กำกับ
3. สนใจการทำงานกับนักแสดง
4. สนใจในสื่อภาพยนตร์และซี่รี่ย์ทางโทรทัศน์หรือสื่อออนไลน์ทุกรูปแบบ เช่น webseries เป็นต้น
5. สนใจการผลิต การกำกับเรื่องเล่าและบท ออกมาเป็นภาพยนตร์และซีรี่ย์อย่างสื่อความหมายได้ดีที่สุด
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยรังสิต ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ