สหเวชศาสตร์ สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวสหเวชศาสตร์ สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นคณะสหเวชศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย การถือกำเนิดของคณะสหเวชศาสตร์ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาการของหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิต ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จำเป็นต่อการทำงานของทีมแพทย์สู่สังคม ได้แก่ นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัด ปัจจุบันได้มีการขยายสาขาวิชา ครอบคลุมการผลิตนักกำหนดอาหารในระดับปริญญาตรีแห่งแรกของประเทศไทย
สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จะเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อาหารในเชิงของการแพทย์ คือการนำความรู้ด้านอาหาร มาประยุกต์ใช้ในการบำบัด รักษา ป้องกัน อาการเจ็บป่วยของคนไข้ ทำให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะเรียนครอบคลุมหลายๆเรื่อง ที่สำคัญ คือ เรียนเกี่ยวกับอาหาร โภชนาการ ในหลายๆ มุมมอง ทั้งมุมมองด้านชีวเคมี สรีรวิทยา พฤติกรรมมนุษย์ และเรียนเรื่องการกำหนดอาหาร ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ใช้ดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยพิเศษเฉพาะโรค
โดยที่สาขาโภชนาการและการกำหนดอาการ จะมีวิชาเรียนที่น่าสนใจอย่างเช่น วิชา Profession Orientation เป็นวิชาชิที่น้องๆ เข้าปีหนึ่งมาจะได้เรียนโดยจะได้ไปเยี่ยมชมฝ่ายโภชนาการในสถานที่ต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลรัฐ เอกชน ศูนย์การแพทย์ บริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ, วิชา Nutrition Assessment วิชานี้เป็นหลักของสาขาเลยก็ว่าได้ มีเฉพาะวิชาชีพนี้เท่านั้นที่จะได้เรียน โดยเราจะเรียนเกี่ยวกับการประเมินภาวะโภชนาการ ว่าคนไข้มีความผิดปกติทางโภชนาการหรือเปล่า เป็นอะไรมากน้อยแค่ไหนยังไง และวิชา Health Food and Supplements เรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพต่างๆ
อีกทั้งทางคณะฯ ยังเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนกลุ่มวิชาโทที่เปิดสอนในคณะสหเวชศาสตร์ หรือกลุ่มวิชาโทข้ามสาขาในต่างคณะตามความสามารถและความสนใจของนิสิตเองด้วย ซึ่งสาขานี้เป็นอีกสาขาหนึ่งที่น่าสนใจเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นสาขาวิชาชีพที่มีผู้เชี่ยวชาญน้อยมาก และยังเรียนสนุกอีกด้วย ได้ศึกษาเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพ เพื่อดูแลผู้อื่นและตัวเองอีกด้วย
จบมาทำงานอะไร
นักกำหนดอาหารในโรงพยาบาล, ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม, ทำงานที่สายการบิน, นักวิจัย, เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข, อาจารย์ ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (มีนาคม)
- กำลังศึกษาชั้นม.6
- มีผลการเรียนรวมเฉลี่ย GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75
- มีผลคะแนนการสอบวิชา GAT85 (ความถนัดทั่วไป)/PAT1 (คณิตศาสตร์)/PAT2(วิทยาศาสตร์)
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
168, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21, 000 บาท/เทอม
4 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 6.5 ปานกลาง
สหเวชศาสตร์ สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
สหเวชศาสตร์ สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวสหเวชศาสตร์ สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นคณะสหเวชศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย การถือกำเนิดของคณะสหเวชศาสตร์ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาการของหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิต ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จำเป็นต่อการทำงานของทีมแพทย์สู่สังคม ได้แก่ นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัด ปัจจุบันได้มีการขยายสาขาวิชา ครอบคลุมการผลิตนักกำหนดอาหารในระดับปริญญาตรีแห่งแรกของประเทศไทย
สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จะเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อาหารในเชิงของการแพทย์ คือการนำความรู้ด้านอาหาร มาประยุกต์ใช้ในการบำบัด รักษา ป้องกัน อาการเจ็บป่วยของคนไข้ ทำให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะเรียนครอบคลุมหลายๆเรื่อง ที่สำคัญ คือ เรียนเกี่ยวกับอาหาร โภชนาการ ในหลายๆ มุมมอง ทั้งมุมมองด้านชีวเคมี สรีรวิทยา พฤติกรรมมนุษย์ และเรียนเรื่องการกำหนดอาหาร ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ใช้ดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยพิเศษเฉพาะโรค
โดยที่สาขาโภชนาการและการกำหนดอาการ จะมีวิชาเรียนที่น่าสนใจอย่างเช่น วิชา Profession Orientation เป็นวิชาชิที่น้องๆ เข้าปีหนึ่งมาจะได้เรียนโดยจะได้ไปเยี่ยมชมฝ่ายโภชนาการในสถานที่ต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลรัฐ เอกชน ศูนย์การแพทย์ บริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ, วิชา Nutrition Assessment วิชานี้เป็นหลักของสาขาเลยก็ว่าได้ มีเฉพาะวิชาชีพนี้เท่านั้นที่จะได้เรียน โดยเราจะเรียนเกี่ยวกับการประเมินภาวะโภชนาการ ว่าคนไข้มีความผิดปกติทางโภชนาการหรือเปล่า เป็นอะไรมากน้อยแค่ไหนยังไง และวิชา Health Food and Supplements เรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพต่างๆ
อีกทั้งทางคณะฯ ยังเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนกลุ่มวิชาโทที่เปิดสอนในคณะสหเวชศาสตร์ หรือกลุ่มวิชาโทข้ามสาขาในต่างคณะตามความสามารถและความสนใจของนิสิตเองด้วย ซึ่งสาขานี้เป็นอีกสาขาหนึ่งที่น่าสนใจเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นสาขาวิชาชีพที่มีผู้เชี่ยวชาญน้อยมาก และยังเรียนสนุกอีกด้วย ได้ศึกษาเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพ เพื่อดูแลผู้อื่นและตัวเองอีกด้วย
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- กำลังศึกษาชั้นม.6
- มีผลการเรียนรวมเฉลี่ย GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75
- มีผลคะแนนการสอบวิชา GAT85 (ความถนัดทั่วไป)/PAT1 (คณิตศาสตร์)/PAT2(วิทยาศาสตร์)
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
สหเวชศาสตร์ สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
4 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 6.5 ปานกลาง
สหเวชศาสตร์ สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ