สหเวชศาสตร์ สาขารังสีเทคนิค
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวสหเวชศาสตร์ สาขารังสีเทคนิค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชารังสีเทคนิค ( Radiological Technology ) เกิดขึ้นพร้อมกับคณะสหเวชศาสตร์ ด้วยความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ ที่ต้องการจะแยกภาควิชาเทคนิคการแพทย์ออกจากการบริหารของคณะแพทยศาสตร์จัดตั้งเป็นคณะใหม่ เพื่อการผลิตบัณฑิตในหลักสูตรที่สนับสนุนการแพทย์ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้างกัน อันประกอบด้วย สาขาเทคนิคการแพทย์ สาขากายภาพบำบัด สาขารังสีเทคนิค และสาขาอื่นๆ
โดยทางภาควิขาได้มุ่งผลิตนักรังสีเทคนิคที่มีความสามารถในการใช้เครื่องมือเพื่อการตรวจวินิจฉัยจากการเห็นภาพ และใช้เครื่องมือทางรังสีเพื่อการรักษาโรคได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถทำงานเป็นทีมในงานทางรังสีวิทยาในโรงพยาบาลต่างๆ สามารถทำการวิจัย หรือมีส่วนร่วมในงานวิจัยในแขนงวิชาเหล่านั้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ได้
โดยการเรียนการสอนนั้นในปี1 น้องๆ จะได้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไปเหมือนตอนมัธยม อย่างเช่น เคมี, ฟิสิกส์, ชีววิทยา, แคลคูลัส รวมถึงวิชาปฏิบัติการฟิสิกส์การแพทย์, การแนะนำวิชาชีพทางรังสีเทคนิค, เทคโนโลยีสารสนเทศทางรังสีวิทยา และยังได้ศึกษาเครื่องมือทางรังสีวิทยา ตั้งแต่ในปี 1อีกด้วย ในปีที่ 2 จะได้เรียนพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ทางรังสีวิทยา, ฟิสิกส์รังสี, ชีวเคมีเพื่อวิทยาศาสตร์การแพทย์, ปฏิบัติการชีวเคมีวิทยาศาสตร์การแพทย์, สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ, กายวิภาคศาสตร์, พยาธิวิทยา, สรีรวิทยา ส่วนปี 3 และปี 4 นั้น จะได้เรียนเข้มข้นขึ้นในสาขาวิชาชีพ ในปี 3 มีรายวิชาการประมวลผลภาพดิจิทัลทางการแพทย์, การดูแลผู้ป่วยในงานรังสีวิทยา, การป้องกันอันตรายจากรังสี, การจัดท่าและรังสีกายวิภาคพื้นฐาน , การสร้างภาพทางรังสี, เทคนิคการให้ปริมาณรังสี, กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับนักรังสีเทคนิค, รังสีพยาธิวิทยา, รังสีชีววิทยา, เครื่องมือทางรังสีวิทยา, ภาพรังสีวินิจฉัยขั้นสูงทางซีทีและเอ็มอาร์ไอ, รังสีคณิตทางรังสีวินิจฉัย, การบริหารจัดการงานทางรังสีวิทยา, เทคนิครังสีวินิจฉัยพิเศษ, วิธีวิทยาการวิจัยทางรังสีเทคนิค จะเห็นได้ว่าปี 3 นั้นเป็นปีที่เรียนหนักมากๆ ถือว่าเป็นบททดสอบเลยว่าน้องๆ จะได้เป็นนักรังสีที่มีคุณภาพ และพอในปี 4 จะเริ่มเรียนน้อยลงซึ่งมีวิชารังสีคณิต, รังสีรักษาคลินิก, เทคนิครังสีรักษา, อุปกรณ์เวชศาสตร์นิวเคลียร์, เทคนิคเวชศาสตร์นิวเคลียร์ นอกจากจะได้เรียนวิชาเหล่านี้แล้วน้องๆ ก็ยังจะต้องฝึกงานและทำวิจัยทางรังสีเทคนิคอีกด้วย
วิชาชีพทางด้านรังสีเทคนิควิชามีความเจริญรุดหน้าไปอย่างมากและมีความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะเทคโนโลยีขั้นสูง มีการติดตั้งเครื่องมือด้านรังสีวิทยาที่ทันสมัยในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับการให้บริการระบบสาธารณสุขของประเทศอย่างเพียงพอ แต่ปัจจุบันยังขาดนักรังสีเทคนิคอยู่อีกจำนวนมาก เนื่องจากกำลังการผลิตนักรังสีเทคนิคในประเทศไทยต่อปีในปัจจุบันไม่สามารถผลิตได้เพียงพอตามความต้องการ ส่งผลกระทบด้านการบริการแก่ผู้ป่วย รวมถึงคุณภาพการให้บริการ อันเนื่องมาจาก การขาดแคลนบุคลากรที่สำคัญของทีมทางการแพทย์
จบมาทำงานอะไร
1. นักรังสีเทคนิค
2. นักวิชาการ
3. นักวิจัย
4. ผู้แทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์
5. ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (มีนาคม)
- กำลังศึกษาชั้นม.6
- มีผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.75
- มีผลคะแนนการสอบวิชา GAT85 (ความถนัดทั่วไป)/PAT1 (คณิตศาสตร์)/PAT2(วิทยาศาสตร์)
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
168, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21, 000 บาท/เทอม
2 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 4.0 แย่
สหเวชศาสตร์ สาขารังสีเทคนิค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
สหเวชศาสตร์ สาขารังสีเทคนิค
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวสหเวชศาสตร์ สาขารังสีเทคนิค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชารังสีเทคนิค ( Radiological Technology ) เกิดขึ้นพร้อมกับคณะสหเวชศาสตร์ ด้วยความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ ที่ต้องการจะแยกภาควิชาเทคนิคการแพทย์ออกจากการบริหารของคณะแพทยศาสตร์จัดตั้งเป็นคณะใหม่ เพื่อการผลิตบัณฑิตในหลักสูตรที่สนับสนุนการแพทย์ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้างกัน อันประกอบด้วย สาขาเทคนิคการแพทย์ สาขากายภาพบำบัด สาขารังสีเทคนิค และสาขาอื่นๆ
โดยทางภาควิขาได้มุ่งผลิตนักรังสีเทคนิคที่มีความสามารถในการใช้เครื่องมือเพื่อการตรวจวินิจฉัยจากการเห็นภาพ และใช้เครื่องมือทางรังสีเพื่อการรักษาโรคได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถทำงานเป็นทีมในงานทางรังสีวิทยาในโรงพยาบาลต่างๆ สามารถทำการวิจัย หรือมีส่วนร่วมในงานวิจัยในแขนงวิชาเหล่านั้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ได้
โดยการเรียนการสอนนั้นในปี1 น้องๆ จะได้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไปเหมือนตอนมัธยม อย่างเช่น เคมี, ฟิสิกส์, ชีววิทยา, แคลคูลัส รวมถึงวิชาปฏิบัติการฟิสิกส์การแพทย์, การแนะนำวิชาชีพทางรังสีเทคนิค, เทคโนโลยีสารสนเทศทางรังสีวิทยา และยังได้ศึกษาเครื่องมือทางรังสีวิทยา ตั้งแต่ในปี 1อีกด้วย ในปีที่ 2 จะได้เรียนพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ทางรังสีวิทยา, ฟิสิกส์รังสี, ชีวเคมีเพื่อวิทยาศาสตร์การแพทย์, ปฏิบัติการชีวเคมีวิทยาศาสตร์การแพทย์, สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ, กายวิภาคศาสตร์, พยาธิวิทยา, สรีรวิทยา ส่วนปี 3 และปี 4 นั้น จะได้เรียนเข้มข้นขึ้นในสาขาวิชาชีพ ในปี 3 มีรายวิชาการประมวลผลภาพดิจิทัลทางการแพทย์, การดูแลผู้ป่วยในงานรังสีวิทยา, การป้องกันอันตรายจากรังสี, การจัดท่าและรังสีกายวิภาคพื้นฐาน , การสร้างภาพทางรังสี, เทคนิคการให้ปริมาณรังสี, กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับนักรังสีเทคนิค, รังสีพยาธิวิทยา, รังสีชีววิทยา, เครื่องมือทางรังสีวิทยา, ภาพรังสีวินิจฉัยขั้นสูงทางซีทีและเอ็มอาร์ไอ, รังสีคณิตทางรังสีวินิจฉัย, การบริหารจัดการงานทางรังสีวิทยา, เทคนิครังสีวินิจฉัยพิเศษ, วิธีวิทยาการวิจัยทางรังสีเทคนิค จะเห็นได้ว่าปี 3 นั้นเป็นปีที่เรียนหนักมากๆ ถือว่าเป็นบททดสอบเลยว่าน้องๆ จะได้เป็นนักรังสีที่มีคุณภาพ และพอในปี 4 จะเริ่มเรียนน้อยลงซึ่งมีวิชารังสีคณิต, รังสีรักษาคลินิก, เทคนิครังสีรักษา, อุปกรณ์เวชศาสตร์นิวเคลียร์, เทคนิคเวชศาสตร์นิวเคลียร์ นอกจากจะได้เรียนวิชาเหล่านี้แล้วน้องๆ ก็ยังจะต้องฝึกงานและทำวิจัยทางรังสีเทคนิคอีกด้วย
วิชาชีพทางด้านรังสีเทคนิควิชามีความเจริญรุดหน้าไปอย่างมากและมีความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะเทคโนโลยีขั้นสูง มีการติดตั้งเครื่องมือด้านรังสีวิทยาที่ทันสมัยในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับการให้บริการระบบสาธารณสุขของประเทศอย่างเพียงพอ แต่ปัจจุบันยังขาดนักรังสีเทคนิคอยู่อีกจำนวนมาก เนื่องจากกำลังการผลิตนักรังสีเทคนิคในประเทศไทยต่อปีในปัจจุบันไม่สามารถผลิตได้เพียงพอตามความต้องการ ส่งผลกระทบด้านการบริการแก่ผู้ป่วย รวมถึงคุณภาพการให้บริการ อันเนื่องมาจาก การขาดแคลนบุคลากรที่สำคัญของทีมทางการแพทย์
จบมาทำงานอะไร
2. นักวิชาการ
3. นักวิจัย
4. ผู้แทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์
5. ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ
สมัครเรียนทำอย่างไร
- กำลังศึกษาชั้นม.6
- มีผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.75
- มีผลคะแนนการสอบวิชา GAT85 (ความถนัดทั่วไป)/PAT1 (คณิตศาสตร์)/PAT2(วิทยาศาสตร์)
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
สหเวชศาสตร์ สาขารังสีเทคนิค
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
2 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 4.0 แย่
สหเวชศาสตร์ สาขารังสีเทคนิค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ