สหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นคณะสหเวชศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย การถือกำเนิดของคณะสหเวชศาสตร์ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาการของหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิต ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จำเป็นต่อการทำงานของทีมแพทย์สู่สังคม ได้แก่ นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัด ปัจจุบันได้มีการขยายสาขาวิชา ครอบคลุมการผลิตนักกำหนดอาหารในระดับปริญญาตรีแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันคณะฯ จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 4 สาขา ได้แก่ สาขาเทคนิคการแพทย์, สาขากายภาพบำบัด, สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร และสาขารังสีเทคนิค
วันนี้พี่จะแนะนำให้น้องๆ รู้จักกับสาขาเทคนิคการแพทย์ ซึ่งสาขานี่เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจจำพวกสารคัดหลั่งต่างๆ ที่มาจากร่างกายของเรา เช่น เลือด ปัสสาวะ น้ำไขข้อ ไขสันหลัง เป็นต้น โดยมีวิชาเรียนหลักๆ ก็คือ เริ่มแรกก็จะเรียนในวิชาสายวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไป (ฟิสิกส์, เคมี และชีววิทยา) พอเริ่มปีสูงขึ้นน้องๆ ก็จะได้เรียนวิชาที่มันยากขึ้น อย่างพวกรายวิชา Hematology ที่เรียนเกี่ยวกับเลือด องค์ประกอบต่างๆ ของเลือด การเจาะเลือด ตรวจเลือด แปลผลเลือด โรคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือว่าเป็นวิชาที่สำคัญของสาขานี้เลยก็ว่าได้, วิชา Body Fluid Analysis เรียนเกี่ยวกับสารคัดหลั่งต่างๆ ที่ออกมาจากร่างกาย, วิชาClinical Chemistry วิชานี้คือวิชาเคมีคลินิก น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับการตรวจวัดสารต่างๆ ในร่างกายโดยใช้วิธีทางเคมี เช่น คอเลสเตอรอล น้ำตาลในเลือด ฯลฯ โดยที่น้องๆ จะต้องลงมือตรวจเอง และประมวลผลเอง, วิชา Immunology วิชานี้เรียนเกี่ยวกับสารภูมิต้านทานที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งถือว่าเป็นวิชานี้เป็นประโยชน์มากๆ สำหรับสาขานี้เพราะในปัจจุบันการวินิจฉัยโรคต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยหลักการพื้นฐานต่างๆ มาจากวิชานี้ทั้งสิ้น และวิชา Blood Bank วิชานี้จะเป็นวิชาที่เพิ่มพูนความรู้ทางด้านหมู่เลือดให้น้องๆ จะได้รู้ว่าหมู่เลือดของคนเราไม่ได้มีแค่ A B O และ RH เป็นต้นค่ะ
ทั้งหมดทั้งมวลข้างต้นก็เพื่อให้น้องๆ มีความรู้ที่หลากหลายนอกเหนือความรู้ในศาสตร์ของตนเอง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้หลากหลาย และตอบสนองต่อความต้องการของสังคมมากขึ้น อีกทั้งทางคณะฯ ยังเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนกลุ่มวิชาโทที่เปิดสอนในคณะสหเวชศาสตร์ หรือกลุ่มวิชาโทข้ามสาขาในต่างคณะตามความสามารถและความสนใจของนิสิตเองด้วบ
จบมาทำงานอะไร
1. นักเทคนิคการแพทย์
2. นักวิจัย
3. อาจารย์หรือนักวิชาการ
4. นักนิติวิทยาศาสตร์
5. นักธุรกิจประกอบการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เอกชน
6. พนักงานขายเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์
7. ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ (product specialist)
สมัครเรียนทำอย่างไร
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
168, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21, 000 บาท/เทอม
3 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 6.0 ปานกลาง
สหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
สหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นคณะสหเวชศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย การถือกำเนิดของคณะสหเวชศาสตร์ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาการของหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิต ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จำเป็นต่อการทำงานของทีมแพทย์สู่สังคม ได้แก่ นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัด ปัจจุบันได้มีการขยายสาขาวิชา ครอบคลุมการผลิตนักกำหนดอาหารในระดับปริญญาตรีแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันคณะฯ จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 4 สาขา ได้แก่ สาขาเทคนิคการแพทย์, สาขากายภาพบำบัด, สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร และสาขารังสีเทคนิค
วันนี้พี่จะแนะนำให้น้องๆ รู้จักกับสาขาเทคนิคการแพทย์ ซึ่งสาขานี่เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจจำพวกสารคัดหลั่งต่างๆ ที่มาจากร่างกายของเรา เช่น เลือด ปัสสาวะ น้ำไขข้อ ไขสันหลัง เป็นต้น โดยมีวิชาเรียนหลักๆ ก็คือ เริ่มแรกก็จะเรียนในวิชาสายวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไป (ฟิสิกส์, เคมี และชีววิทยา) พอเริ่มปีสูงขึ้นน้องๆ ก็จะได้เรียนวิชาที่มันยากขึ้น อย่างพวกรายวิชา Hematology ที่เรียนเกี่ยวกับเลือด องค์ประกอบต่างๆ ของเลือด การเจาะเลือด ตรวจเลือด แปลผลเลือด โรคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือว่าเป็นวิชาที่สำคัญของสาขานี้เลยก็ว่าได้, วิชา Body Fluid Analysis เรียนเกี่ยวกับสารคัดหลั่งต่างๆ ที่ออกมาจากร่างกาย, วิชาClinical Chemistry วิชานี้คือวิชาเคมีคลินิก น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับการตรวจวัดสารต่างๆ ในร่างกายโดยใช้วิธีทางเคมี เช่น คอเลสเตอรอล น้ำตาลในเลือด ฯลฯ โดยที่น้องๆ จะต้องลงมือตรวจเอง และประมวลผลเอง, วิชา Immunology วิชานี้เรียนเกี่ยวกับสารภูมิต้านทานที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งถือว่าเป็นวิชานี้เป็นประโยชน์มากๆ สำหรับสาขานี้เพราะในปัจจุบันการวินิจฉัยโรคต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยหลักการพื้นฐานต่างๆ มาจากวิชานี้ทั้งสิ้น และวิชา Blood Bank วิชานี้จะเป็นวิชาที่เพิ่มพูนความรู้ทางด้านหมู่เลือดให้น้องๆ จะได้รู้ว่าหมู่เลือดของคนเราไม่ได้มีแค่ A B O และ RH เป็นต้นค่ะ
ทั้งหมดทั้งมวลข้างต้นก็เพื่อให้น้องๆ มีความรู้ที่หลากหลายนอกเหนือความรู้ในศาสตร์ของตนเอง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้หลากหลาย และตอบสนองต่อความต้องการของสังคมมากขึ้น อีกทั้งทางคณะฯ ยังเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนกลุ่มวิชาโทที่เปิดสอนในคณะสหเวชศาสตร์ หรือกลุ่มวิชาโทข้ามสาขาในต่างคณะตามความสามารถและความสนใจของนิสิตเองด้วบ
จบมาทำงานอะไร
2. นักวิจัย
3. อาจารย์หรือนักวิชาการ
4. นักนิติวิทยาศาสตร์
5. นักธุรกิจประกอบการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เอกชน
6. พนักงานขายเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์
7. ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ (product specialist)
สมัครเรียนทำอย่างไร
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
สหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
3 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 6.0 ปานกลาง
สหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ