"เปิดหลังม่าน Internet of Things โลกที่ทุกอย่างเชื่อมต่อกัน" รีวิวสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
Internet of Thing (IoT) คือเทคโนโลยีที่จะช่วยให้สิ่งของต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้เอง ผ่านเครือข่ายมีสาย หรือเครือข่ายไร้สาย ทำให้การทำงานของสิ่งต่างๆ ชาญฉลาดขึ้น และอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น ถ้าเป็นก่อนหน้านี้เราอาจนึกไม่ออกว่าสิ่งเหล่านี้จะมีหน้าตาแบบไหน หรือจะมีของแบบนี้อยู่จริงๆ หรือเปล่า แต่ในวันนี้เราเห็นแล้วว่าสิ่งของที่ผลิตขึ้นมาเริ่มมีการใส่ระบบคอมพิวเตอร์ และการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเข้าไป จากนาฬิกา หรืออุปกรณ์ขนาดเล็ก (Wearables) เป็นบ้านทั้งหลัง (Smart home) จากระบบจัดการฟาร์ม (Smart farming) เป็นระบบจัดการเมืองทั้งเมือง (Smart City)
วันนี้เราจะพาไปเจอะลึกเบื้องหลังการเรียน เปิดหลังม่านการศึกษาเทคโนโลยี Internet of Thing ของสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่นี่ จะให้น้องๆ ศึกษาพื้นฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และระบบคอมพิวเตอร์ โดยเน้นการออกแบบระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System) ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์ (Hardware) และส่วนชุดคำสั่ง (Software) ที่มีอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหุ่นยนตร์ หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแทบทุกชนิดที่ผลิตขึ้นในปัจจุบันซึ่งมีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเป็นส่วนประกอบทั้งหมด จากนั้นจึงต่อยอดไปยังเทคโนโลยี Internet of Things
“Internet of Thing เป็นการต่อยอดจากคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และยังจำเป็นต้องมีระบบสมองกลฝังตัวอยู่ดี”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิโรจน์ จริตควร หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ตัวอย่างการนำเทคโนโลยี Internet of Thing หรือ IoT มาใช้ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดคือ การนำไปใช้ในอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อวัตถุดิบประกอบอาหารในตู้เย็นที่มีเทคโนโลยี IoT หมด มันก็จะแจ้งเตือนให้เราไปซื้อ หรือสามารถสั่งของจากซุปเปอร์มาเก็ตมาให้ได้เลย ในขณะที่ตู้เย็นธรรมดาไม่สามารถทำได้ หรือการสั่งเปิด ปิดไฟในบ้าน ผ่านสมาร์ทโฟน เป็นต้น
การเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่นี่มีจุดเด่นที่เป็นการเรียนต่อยอดองค์ความรู้เดิม โดยในสาขามีนวัตกรรมเป็นซอฟแวร์ชื่อว่า “เมอร์ลิน” ที่รวบรวมองค์ความรู้ของเดิมที่คณะมีอยู่ นักศึกษาจะสามารถดึงเอาองค์ความรู้ในนั้นไปต่อยอดได้เลย ทั้งที่เป็น Hardware และ Software ทำให้ที่นี้รับทั้งนักเรียนจากชั้นมัธยมศึกษา ปวช. และ ปวส. อีกทั้งยังมีความร่วมมือกับทั้งภาครัฐ และเอกชน เช่น สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) SIPA, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) National Innovation Agency (NIA) และภาคเอกชนที่มีความร่วมมือในการทำ Smart farming
สำหรับน้องๆ คนไหนที่สนใจอยากเรียนในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการเรียนตลอดระยะเวลา 4 ปี สิ่งแรกที่น้องๆ จะต้องเรียนรู้คือการสร้างไอเดีย แล้วค่อยเริ่มเรียนกระบวนการ และการทำงานของอุปกรณ์ การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงาน จนสามารถทำงานต้นแบบขึ้นมาได้
ด้วยการเรียนการสอนของที่นี่จะทำให้เห็นแล้วว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT คือความคิดสร้างสรรค์ และไอเดียใหม่ๆ ที่สามารถนำมาต่อยอดให้กลายเป็นองค์ความรู้ และผลิตชิ้นงานออกมาใช้งานได้จริง
อ่านและเขียนรีวิวเกี่ยวกับสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วันนี้เราจะพาไปเจอะลึกเบื้องหลังการเรียน เปิดหลังม่านการศึกษาเทคโนโลยี Internet of Thing ของสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่นี่ จะให้น้องๆ ศึกษาพื้นฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และระบบคอมพิวเตอร์ โดยเน้นการออกแบบระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System) ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์ (Hardware) และส่วนชุดคำสั่ง (Software) ที่มีอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหุ่นยนตร์ หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแทบทุกชนิดที่ผลิตขึ้นในปัจจุบันซึ่งมีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเป็นส่วนประกอบทั้งหมด จากนั้นจึงต่อยอดไปยังเทคโนโลยี Internet of Things
“Internet of Thing เป็นการต่อยอดจากคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และยังจำเป็นต้องมีระบบสมองกลฝังตัวอยู่ดี”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิโรจน์ จริตควร หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ตัวอย่างการนำเทคโนโลยี Internet of Thing หรือ IoT มาใช้ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดคือ การนำไปใช้ในอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อวัตถุดิบประกอบอาหารในตู้เย็นที่มีเทคโนโลยี IoT หมด มันก็จะแจ้งเตือนให้เราไปซื้อ หรือสามารถสั่งของจากซุปเปอร์มาเก็ตมาให้ได้เลย ในขณะที่ตู้เย็นธรรมดาไม่สามารถทำได้ หรือการสั่งเปิด ปิดไฟในบ้าน ผ่านสมาร์ทโฟน เป็นต้น
การเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่นี่มีจุดเด่นที่เป็นการเรียนต่อยอดองค์ความรู้เดิม โดยในสาขามีนวัตกรรมเป็นซอฟแวร์ชื่อว่า “เมอร์ลิน” ที่รวบรวมองค์ความรู้ของเดิมที่คณะมีอยู่ นักศึกษาจะสามารถดึงเอาองค์ความรู้ในนั้นไปต่อยอดได้เลย ทั้งที่เป็น Hardware และ Software ทำให้ที่นี้รับทั้งนักเรียนจากชั้นมัธยมศึกษา ปวช. และ ปวส. อีกทั้งยังมีความร่วมมือกับทั้งภาครัฐ และเอกชน เช่น สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) SIPA, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) National Innovation Agency (NIA) และภาคเอกชนที่มีความร่วมมือในการทำ Smart farming
สำหรับน้องๆ คนไหนที่สนใจอยากเรียนในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการเรียนตลอดระยะเวลา 4 ปี สิ่งแรกที่น้องๆ จะต้องเรียนรู้คือการสร้างไอเดีย แล้วค่อยเริ่มเรียนกระบวนการ และการทำงานของอุปกรณ์ การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงาน จนสามารถทำงานต้นแบบขึ้นมาได้
ด้วยการเรียนการสอนของที่นี่จะทำให้เห็นแล้วว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT คือความคิดสร้างสรรค์ และไอเดียใหม่ๆ ที่สามารถนำมาต่อยอดให้กลายเป็นองค์ความรู้ และผลิตชิ้นงานออกมาใช้งานได้จริง
อ่านและเขียนรีวิวเกี่ยวกับสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์