ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน อาชีพที่เปิดโอกาสให้เด็กสายศิลป์
อุตสาหกรรมการบินของโลกตอนนี้ปัจจุบันมีสายการบินโลว์คอสแอร์ไลน์เกิดขึ้นมาก สายการบินใหญ่ๆ ก็เพิ่มเครื่องบินขึ้นมาอีก เพราะฉะนั้นคนที่ดูแลเครื่องบินก็ต้องมีเพิ่มขึ้น ช่างซ่อมเครื่องบินตอนนี้จึงเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอย่างมาก โอกาสได้งานจึงสูง ถ้านับแค่ในระดับเอเชียก็มากมาย ยิ่งตอนนี้ Air Asia ที่มาเลเซีย ได้ขยายทั้งลานจอด เพิ่มเครื่องบิน ขยายอาคารผู้โดยสาร จึงทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นตามมา
ซ่อมบำรุงกับวิศวกรรมต่างกันอย่างไร ? หากพูดถึงวิศวกรคือคนที่ดูแลระบบในภาพรวมขนาดใหญ่ ส่วนช่างก็จะได้ดูในรายละเอียดปลีกย่อย ในแต่ละจุดภายใต้การดูแลของวิศวกรนั้นเอง หากใครมีความฝันที่จะเป็นวิศวกรเครื่องบินแต่ไม่ได้จบมาทางด้านวิทย์ คณิต มาสามารถเป็นช่างซ่อมบำรุงเครื่องบินได้เช่นกัน อย่างที่สาขาเทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยาน มหาวิทยาลัยรังสิต อาจเป็นทางเลือกที่ดี ให้กับน้องๆ ที่เรียนสายศิลป์ ปวช. และปวส. ถึงแม้ด้านวิชาการอาจจะไม่ได้แข็งแรงแต่ก็สามารถเข้ามาเรียนได้หลักสูตรนี้ได้
กระบวนการเรียน ปีหนึ่งจะเรียนพื้นฐานทั่วไปที่ยังใกล้เคียงกับ ม.6 เรียนด้านการซ่อมบำรุงซึ่งจะเน้นภาษาอังกฤษทั้งหมด ทั้งระบบ คู่มือ เอกสารเกี่ยวกับการบิน ปีสอง เริ่มฝึกฝีมือในการซ่อมชิ้นส่วนแต่ล่ะส่วนของเครื่องบิน เริ่มสำรวจ ตรวจสอบให้ได้ว่ามันอยู่ในสถานะที่ใช้งานได้หรือป่าว ปีสาม ลงมือปฏิบัติมากขึ้นมีการรื้อ ซ่อมโครงสร้างในปีก ถอดออกมา แต่ยังเป็นแค่เครื่องบินเจ็ทเครื่องลำเล็กๆ ยังไม่ได้ถึงขึ้นเครื่องบินโดยสาร จนขึ้นปีสี่ ได้ออกไปฝึกงานที่สนามบินจริงๆ เครื่องบินลำใหญ่ ไปพบประสบการณ์จริง
แล้วคนลักษณะแบบไหนล่ะที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ ? ดร. รพี อุชชิน หัวหน้าสาขาวิศวกรรมการซ่อมบำรุงอากาศยาน ได้ให้คำตอบว่า “อย่างแรกต้องดูว่าพร้อมที่จะเป็นช่างจริงๆ หรือป่าว และตอนเรียนส่วนมากจะใช้ภาษาอังกฤษทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน ต้องมีความตั้งใจมุ่งมั่น และเมื่อได้งานทำต้องเตรียมพร้อมรับกับสภาพอากาศ เพราะตอนกลางวันมันอยู่ในร่มก็จริงแต่มันก็อบอ้าว ตอนกลางคืนอากาศก็ค่อนข้างเย็น บางวันฝนตก เราต้องดูตัวเราว่าทนได้หรือไม่ แต่มันมีความสนุก เงินเดือนดี ”
ลักษณะงานที่จะได้ทำคือ เมื่อเครื่องบินลงจอดช่างซ่อมก็จะมีหน้าที่ไป รับเครื่อง/ส่งเครื่อง/ลากเครื่อง/ มาเช็คระบบ เช็คล้อหรือการ service เครื่องบินเช่น เติมน้ำมัน, น้ำดื่ม บางทีจะเป็นการตรวจเช็คเครื่องตามรอบของการซ่อมบำรุง พวก transit check, daily check, weeky check, A check ,c check ก่อนที่จะไปรับผู้โดยสารชุดใหม่ก่อนบินออกไป
การเข้าสู่งาน เมื่อถึงเวลาที่เราจะต้องออกไปสมัครโดยส่วนมากขั้นตอนการรับของแต่ละสายการบินก็จะคล้ายๆ กันในระดับหนึ่งคือ จะดูพื้นฐานการซ่อมก่อนรอบแรก หลังจากนั้นจะมีเรียกไปสัมภาษณ์ บางสายการบินอย่าง บางกอก แอร์เวย์ มาตรฐานจะสูงหน่อย จะมีสอบข้อเขียนด้วย แต่ค่าจ้างเริ่มต้นที่ สองหมื่นบาทขึ้นไป
ถือว่าเป็นสาขาที่เหมาะสำหรับเด็กศิลป์ที่อยากอยากเป็นวิศวกรเครื่องบิน แต่ตัวเองนั้นไม่ได้เรียนพวก ฟิสิกส์ ชีวะ เคมี มา สาขาเทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยานของรังสิต จึงเป็นอีกสาขาที่เปิดโอกาสให้ทุกคนที่รักงานซ่อม ได้ใกล้ชิดเครื่องบิน ถึงแม้ว่าบางทีมันจะดูเหนื่อยที่ต้องซ่อมระบบเครื่องขนาดใหญ่ แต่เชื่อว่ามันต้องเป็นงานที่น่าสนุกอีกอาชีพหนึ่งเลยก็ว่าได้ เราจะมีความภูมิใจอยู่ลึกๆ หากเราได้ซ่อมมันออกมาได้ดีและเห็นผู้โดยสารปลอดภัยในงานของเรา