"สร้างความได้เปรียบในการทำงาน กับการเรียนในหลักสูตรพหุวิทยาการ" รีวิวสาขาการสื่อสารเศรษฐกิจ : U-Review
ในขณะที่เศรษฐกิจดิจิตอล และปัจจัยภายนอกอย่าง AEC เข้ามามีบทบาทสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศเรามากขึ้นทุกวัน แต่ในหลังสูตรระดับมหาวิทยาลัยยังไม่มีที่ไหนจะรองรับการเติมโตที่กำลังเกิดขึ้นนี้แม้แต่ที่เดียว ทำให้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ขึ้นชื่อเรื่องการเรียนการสอนด้าวธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์ ได้กำหนดหลังสูตรใหม่ขึ้นมา ชนิดที่ว่าไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่ยังไม่เคยมีแม้ในต่างประเทศ นั้นคือหลักสูตร “การสื่อสารเศรษฐกิจ”
หลักสูตรการสื่อสารเศรษฐกิจเกิดขึ้นภายใต้แนวคิดที่ว่า จะดีกว่าไหมหากให้คนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางเศรษฐกิจ มาพูดเกี่ยวกับปัญหาทางเศรษฐกิจให้ฟัง ซึ่งแน่นอนว่าความเข้าใจของผู้ส่งสารที่มี จะทำให้ผู้รับสารเข้าใจได้มากกว่าแน่นอน รศ. ดร. เรณู สุขารมณ์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ พูดถึงหลักสูตรนี้เอาไว้ว่า “เป็นการรวมเอาศาสตร์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ มาผนวกรวมกับอีกศาสตร์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร คือนิเทศสาสตร์ ซึ่งเราเรียกการรวม 2 ศาสตร์ 2 สาขาเข้าด้วยกันนี้ว่า “พหุวิทยาการ” (Multidisciplinary)”
ในส่วนของการเรียนในหลักสูตรการสื่อสารเศรษฐกิจ น้องๆ จะได้เรียนในวิชาด้านเศรษฐศาสตร์ 1 ใน 3 เรียนวิชาด้านนิเทศศาสตร์อีก 1 ใน 3 และอีกส่วนที่เหลือจะเป็นการเรียนในวิชาพื้นฐานต่างๆ และวิชาเลือกเสรี โดยการเรียนในปีแรกน้องๆ จะได้เรียนในวิชาพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ ก่อนที่จะได้เรียนในวิชาเฉพาะทางทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ในปีถัดไป ส่วนในปีที่สามจะเป็นการเรียนเจาะลึกลงไปในวิชาเฉพาะทางต่อจากปี 2 หลังจากนั้นจึงจะเป็นการฝึกงานแบบสหกิจศึกษาเป็นเวลา 1 ปี เรียกได้ว่าเน้นปฏิบัติกันแบบเป็นจริงเป็นจังไปเลย
“เรามีความพร้อมสูงเนื่องจากเราอิงกับคณะนิเทศศาสตร์ซึ่งเป็นสานวิชาชีพ เวลาน้องจบหลักสูตรแล้ว เขาจะมีโอกาสไปสอบเป็นผู้ประกาศได้ โดยคณะนิเทศศาสตร์เป็นผู้บริการ” รศ. ดร. เรณู กล่าว และด้วยการรวมศาสตร์ทั้ง 2 อย่างเข้าด้วยกันทำให้นักศึกษาที่จบจากสาขาการสื่อสารเศรษฐกิจนี่สามารถทำงานได้กว้าง และหลากหลาย ทั้งเบื้องหน้า และเบื้องหลัง ดังนี้
งานเบื้องหน้า
เป็นผู้ประกาศข่าว พิธีกร ที่พูดได้ทั้งบันเทิง และวิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจได้อย่างที่พิธีกร และผู้ประกาศชื่อดังทั้งหลายทำ
งานเบื้องหลัง
กองบรรณาธิการ นักเขียนวิเคราะห์ข่าว ทั้งสายเศรษฐกิจ ตลาดเงิน ตลาดหุ่น หรือแม้แต่การเป็นผู้ประกอบการ และทำงานในตลาดหลักทรัพย์
สำหรับน้องๆ ที่เหมาะกับสาขานี้จะต้องเป็นคนที่มีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ เห็นตัวเลขแล้วเข้าจิสามารถตีความหมายได้ และที่สำคัญต้องมีความกล้าแสดงออก รศ. ดร. เรณู ยังกล่าวปิดท้ายไว้ได้อย่างน่าสนใจอีกด้วยว่า “ในโลกปัจจุบันเราไม่ควรรู้แค่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพียงเรื่องเดี๋ยว มันจะทำให้เราแคบ และปรับตัวอยาก พหุวิทยาการจึงตอบโจทย์ได้เป็นอย่างเดียว”
หลักสูตรการสื่อสารเศรษฐกิจเกิดขึ้นภายใต้แนวคิดที่ว่า จะดีกว่าไหมหากให้คนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางเศรษฐกิจ มาพูดเกี่ยวกับปัญหาทางเศรษฐกิจให้ฟัง ซึ่งแน่นอนว่าความเข้าใจของผู้ส่งสารที่มี จะทำให้ผู้รับสารเข้าใจได้มากกว่าแน่นอน รศ. ดร. เรณู สุขารมณ์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ พูดถึงหลักสูตรนี้เอาไว้ว่า “เป็นการรวมเอาศาสตร์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ มาผนวกรวมกับอีกศาสตร์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร คือนิเทศสาสตร์ ซึ่งเราเรียกการรวม 2 ศาสตร์ 2 สาขาเข้าด้วยกันนี้ว่า “พหุวิทยาการ” (Multidisciplinary)”
ในส่วนของการเรียนในหลักสูตรการสื่อสารเศรษฐกิจ น้องๆ จะได้เรียนในวิชาด้านเศรษฐศาสตร์ 1 ใน 3 เรียนวิชาด้านนิเทศศาสตร์อีก 1 ใน 3 และอีกส่วนที่เหลือจะเป็นการเรียนในวิชาพื้นฐานต่างๆ และวิชาเลือกเสรี โดยการเรียนในปีแรกน้องๆ จะได้เรียนในวิชาพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ ก่อนที่จะได้เรียนในวิชาเฉพาะทางทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ในปีถัดไป ส่วนในปีที่สามจะเป็นการเรียนเจาะลึกลงไปในวิชาเฉพาะทางต่อจากปี 2 หลังจากนั้นจึงจะเป็นการฝึกงานแบบสหกิจศึกษาเป็นเวลา 1 ปี เรียกได้ว่าเน้นปฏิบัติกันแบบเป็นจริงเป็นจังไปเลย
“เรามีความพร้อมสูงเนื่องจากเราอิงกับคณะนิเทศศาสตร์ซึ่งเป็นสานวิชาชีพ เวลาน้องจบหลักสูตรแล้ว เขาจะมีโอกาสไปสอบเป็นผู้ประกาศได้ โดยคณะนิเทศศาสตร์เป็นผู้บริการ” รศ. ดร. เรณู กล่าว และด้วยการรวมศาสตร์ทั้ง 2 อย่างเข้าด้วยกันทำให้นักศึกษาที่จบจากสาขาการสื่อสารเศรษฐกิจนี่สามารถทำงานได้กว้าง และหลากหลาย ทั้งเบื้องหน้า และเบื้องหลัง ดังนี้
งานเบื้องหน้า
เป็นผู้ประกาศข่าว พิธีกร ที่พูดได้ทั้งบันเทิง และวิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจได้อย่างที่พิธีกร และผู้ประกาศชื่อดังทั้งหลายทำ
งานเบื้องหลัง
กองบรรณาธิการ นักเขียนวิเคราะห์ข่าว ทั้งสายเศรษฐกิจ ตลาดเงิน ตลาดหุ่น หรือแม้แต่การเป็นผู้ประกอบการ และทำงานในตลาดหลักทรัพย์
สำหรับน้องๆ ที่เหมาะกับสาขานี้จะต้องเป็นคนที่มีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ เห็นตัวเลขแล้วเข้าจิสามารถตีความหมายได้ และที่สำคัญต้องมีความกล้าแสดงออก รศ. ดร. เรณู ยังกล่าวปิดท้ายไว้ได้อย่างน่าสนใจอีกด้วยว่า “ในโลกปัจจุบันเราไม่ควรรู้แค่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพียงเรื่องเดี๋ยว มันจะทำให้เราแคบ และปรับตัวอยาก พหุวิทยาการจึงตอบโจทย์ได้เป็นอย่างเดียว”