"จุดเริ่มต้นของอนาคตอยู่ที่ตรงไหน?" รีวิวสาขาเทคโนโลยีการอาหาร : U-Review
การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 มนุษย์พัฒนาความเป็นอยู่ สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนวิทยาการทางการแพทย์ กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดเครื่องจักรไอน้ำ เครื่องยนต์กลไก และเกิดคอมพิวเตอร์ขึ้นครั้งแรกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีขนาดใหญ่เท่าห้อง 1 ห้อง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมการพัฒนาวิทยาการ ความรู้ด้านการแพทย์ และทำให้อัตราการรอดชีวิต และอายุเฉลี่ยของมนุษย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งคอมพิวเตอร์มีขนาดเท่าฝ่ามือ และอายุไขเฉลี่ยของคนมากกว่าเดิมถึง 3 เท่าตัว จนโลกก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน แล้วจะปฏิเสธได้อย่างไรว่าการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นจุดเริ่มต้นของอนาคต
เราจะเห็นได้ว่าจุดมุ่งหมายของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของมนุษย์นั้นมุ่งไปที่สองจุดใหญ่ๆ คือเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวก และการดูแลรักษาสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยามจึงมีหลักสูตรที่เปิดสอนในสาขาวิทยาการการจัดการคอมพิวเตอร์ และสาขาเทคโนโลยีการอาหาร
สำหรับหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ผศ.ดร.กาญจนา มหัทธนทวี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวถึงการเรียนการสอนไว้ว่า “หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ของเราต้องเรียนทางด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และแอปพลิเคชันต่างๆ ที่จะมาใช้ในมือถือได้ สะดวก”
“เมื่อคอมพิวเตอร์พัฒนาจากเครื่องที่ตั้งอยู่ กลายเป็นโทรศัพท์ กลายเป็นนาฬิกาเครื่องเล็ก ซึ่งต่างก็เชื่อมต่อถึงกันและกัน และเมื่อสิ่งของเหล่านี้ เริ่มฉลาดขึ้นจะเกิดอะไรขึ้น นี่คือสิ่งที่นักศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์จะต้องรู้ ต้องเข้าใจ และทำให้ได้” อาจารย์ ปริวรรต องค์ศุลี หัวหน้าภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ในขณะที่หลักสูตรเทคโนโลยีการอาหารตั้งอยู่บนหลักความเชื่อที่ว่า “you are what you eat” และให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมเพื่อบริการสุขภาพ ผ่านอาหาร โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เมื่อประเทศของเรากำลังก้าวเข้าสู้สังคมผู้สูงอายุ “เราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ บทบาทของอาหารคือทำอย่างไร ให้ตอบสนองต่อกลุ่มผู้บริโภค เพราะฉะนั้นอาหารเพื่อสุขภาพต้องมีการปรับปรุง เช่น ลดไขมัน หรือลดปริมาณน้ำตาล เพื่อตอบสนองผู้ปริโภคที่มีปัญหาด้านสุขภาพ” ผศ.ดร.กาญจนา มหัทธนทวี อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร และคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าว
การเรียนในสาขาเทคโนโลยีการอาหาร จึงเป็นการเรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง หรือกลไกลของอาหาร ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือกายภาพของอาหาร และเทคโนโลยีทางด้านอาหารเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กระบวนการแปรรูปอาหาร กระบวนการแช่แข็ง กระบวนการอบแห้ง หรือแม้แต่การบรรจุกระป๋อง ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายควบคุมคุณภาพอาหาร “นอกจากจะเรียนทั้งส่วนของภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ มีการฝึกงานแบบสหกิจศึกษาในชั้นปีที่ 4 เป็นเวลา 4 เดือนอีกด้วย” ผศ.ดร. ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม
และมีอีกหนึ่งวิชาที่ได้รับการให้ความสำคัญมากๆ สอนโดยท่านคณบดีเองคือวิชา “เทคโนโลยีและเคมีของสารให้กลิ่นรส” ซึ่งเป็นที่เดียวที่สอนวิชานี้ในหลักสูตรปริญญาตรี
ในวันนี้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีพัฒนามาในระดับหนึ่งแล้ว และยังคงก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ผู้คนยังต้องการเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ยังต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ต้องการอาหารที่มีคุณภาพ สามารถตอบสนองความต้องการทั้งด้านกลิ่น รส และดีต่อสุขภาพ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาเทคโนโลยีการอาหาร จึงเป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผลสำหรับตอบสนองความต้องการของตลาดเหล่านี้ ผศ.ดร.กาญจนา มหัทธนทวี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ยังกล่าวปิดท้ายเกี่ยวกับการเลือกเรียนไว้อีกด้วยว่า “เราต้องค้นพบให้เจอว่าเราชอบอะไร ทุกสาขาวิชาดีหมดค่ะ เพียงแต่มันถูกใจเราไหม ถ้าถูกใจเราก็สามารถเรียนรู้ได้ดี”
เราจะเห็นได้ว่าจุดมุ่งหมายของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของมนุษย์นั้นมุ่งไปที่สองจุดใหญ่ๆ คือเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวก และการดูแลรักษาสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยามจึงมีหลักสูตรที่เปิดสอนในสาขาวิทยาการการจัดการคอมพิวเตอร์ และสาขาเทคโนโลยีการอาหาร
สำหรับหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ผศ.ดร.กาญจนา มหัทธนทวี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวถึงการเรียนการสอนไว้ว่า “หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ของเราต้องเรียนทางด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และแอปพลิเคชันต่างๆ ที่จะมาใช้ในมือถือได้ สะดวก”
“เมื่อคอมพิวเตอร์พัฒนาจากเครื่องที่ตั้งอยู่ กลายเป็นโทรศัพท์ กลายเป็นนาฬิกาเครื่องเล็ก ซึ่งต่างก็เชื่อมต่อถึงกันและกัน และเมื่อสิ่งของเหล่านี้ เริ่มฉลาดขึ้นจะเกิดอะไรขึ้น นี่คือสิ่งที่นักศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์จะต้องรู้ ต้องเข้าใจ และทำให้ได้” อาจารย์ ปริวรรต องค์ศุลี หัวหน้าภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ในขณะที่หลักสูตรเทคโนโลยีการอาหารตั้งอยู่บนหลักความเชื่อที่ว่า “you are what you eat” และให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมเพื่อบริการสุขภาพ ผ่านอาหาร โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เมื่อประเทศของเรากำลังก้าวเข้าสู้สังคมผู้สูงอายุ “เราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ บทบาทของอาหารคือทำอย่างไร ให้ตอบสนองต่อกลุ่มผู้บริโภค เพราะฉะนั้นอาหารเพื่อสุขภาพต้องมีการปรับปรุง เช่น ลดไขมัน หรือลดปริมาณน้ำตาล เพื่อตอบสนองผู้ปริโภคที่มีปัญหาด้านสุขภาพ” ผศ.ดร.กาญจนา มหัทธนทวี อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร และคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าว
การเรียนในสาขาเทคโนโลยีการอาหาร จึงเป็นการเรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง หรือกลไกลของอาหาร ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือกายภาพของอาหาร และเทคโนโลยีทางด้านอาหารเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กระบวนการแปรรูปอาหาร กระบวนการแช่แข็ง กระบวนการอบแห้ง หรือแม้แต่การบรรจุกระป๋อง ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายควบคุมคุณภาพอาหาร “นอกจากจะเรียนทั้งส่วนของภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ มีการฝึกงานแบบสหกิจศึกษาในชั้นปีที่ 4 เป็นเวลา 4 เดือนอีกด้วย” ผศ.ดร. ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม
และมีอีกหนึ่งวิชาที่ได้รับการให้ความสำคัญมากๆ สอนโดยท่านคณบดีเองคือวิชา “เทคโนโลยีและเคมีของสารให้กลิ่นรส” ซึ่งเป็นที่เดียวที่สอนวิชานี้ในหลักสูตรปริญญาตรี
“เรื่องของกลิ่นมีความสำคัญมากต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะกับผู้บริโภคที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ที่จะต้องลดความเค็ม ความหวาน แต่เราจะใช้เรื่องกลิ่นทำให้เขารู้สึกว่าอาหารนั้นอร่อย” ผศ.ดร.กาญจนา มหัทธนทวี
ในวันนี้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีพัฒนามาในระดับหนึ่งแล้ว และยังคงก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ผู้คนยังต้องการเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ยังต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ต้องการอาหารที่มีคุณภาพ สามารถตอบสนองความต้องการทั้งด้านกลิ่น รส และดีต่อสุขภาพ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาเทคโนโลยีการอาหาร จึงเป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผลสำหรับตอบสนองความต้องการของตลาดเหล่านี้ ผศ.ดร.กาญจนา มหัทธนทวี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ยังกล่าวปิดท้ายเกี่ยวกับการเลือกเรียนไว้อีกด้วยว่า “เราต้องค้นพบให้เจอว่าเราชอบอะไร ทุกสาขาวิชาดีหมดค่ะ เพียงแต่มันถูกใจเราไหม ถ้าถูกใจเราก็สามารถเรียนรู้ได้ดี”