หลักสูตรใหม่ "วิศวกรรมชีวการแพทย์" คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล
หลักสูตรใหม่ "วิศวกรรมชีวการแพทย์" คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแนวคิดสร้างหลักสูตรร่วมกันระหว่างแพทยศาสตร์บัณฑิตและวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภายใต้โครงการร่วม 2 หลักสูตร พ.บ. - วศ. ม. (วิศวกรรมชีวการแพทย์) เพื่อที่จะสร้างแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์กับการรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและให้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยปลูกฝังความเป็นนักวิจัยและนวัตกรให้แก่นักศึกษาแพทย์ทั้งในด้านของกระบวนการคิด ทักษะ และความสามารถทางการวิจัย
วิศวกรรมชีวการแพทย์ เรียนเกี่ยวกับอะไร
เป็นการผสมผสานระหว่าง 2 หลักสูตร เกิดจากความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เน้นสร้างแพทย์นวัตกร
มีความคิดสร้างสรรค์และมีศักยภาพที่จะพัฒนาในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์
ต่างกับหลักสูตรแพทยศาสตร์ปกติ อย่างไร ?
จะได้รับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางการแพทย์เช่นเดียวกับหลักสูตร MD. ปกติ
นอกจากนั้นน้องๆจะได้รับความรู้และทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม อีกทั้งได้รับประสบการณ์การพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์
รูปแบบการเรียนการสอน
การจัดการศึกษามีระยะเวลาการศึกษาทั้งหมด 7 ปี
มีการแบ่งช่วงปีการศึกษาในลักษณะ 3 + 1 + 3 ปี
ปีที่ 1 - 3 จัดให้มีการเรียนการสอนความรู้ด้านปรีคลินิก
ปีที่ 4 จัดให้มีการเรียนการสอนและการดำเนินงานวิจัยในหลักสูตรวิศวกรรมฯ สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์
ปีที่ 5 - 7 ให้มีการเรียนการสอนความรู้ทางด้านคลินิก และดำเนินงานวิจัยของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ หรือต่อยอดงานวิจัยในชั้นคลินิกอย่างต่อเนื่อง
จบแล้วได้ปริญญา 2 ใบ
1) ปริญญาตรี แพทยศาสตร์บัณฑิต (พบ.)
2) ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (วศ.ม. วิศวกรรมชีวการแพทย์)
จำนวนการรับ 20 คนต่อ ปีการศึกษา
รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน ของ ทปอ. และพิจารณาคัดเลือก
โดยดูจาก Portfolio และสัมภาษณ์แบบ Multiple Mini Interview (MMI)
งานวิจัย
นอกจากนี้การเข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิศวกรรมชีวการแพทย์ ส่งเสริมให้มีการทำงานวิจัย นวัตกรรม การตีพิมพ์ผลงาน ผ่านการทำวิทยานิพนธ์ ภายใต้การดูแลจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขหลักในการจบการศึกษาในหลักสูตร สำหรับแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ ผู้เรียนสามารถเลือกแนวทางการทำวิจัยในด้านต่างๆ ได้แก่
เรียนที่ไหน?
ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
ชั้นปี่ที่ 2 - 3 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
ชั้นปีที่ 5 - 6 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ และโรงพยาบาลรามาธิบดี
ชั้นปีที่ 7 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลสมทบ
หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ในต่างประเทศ
Duke University -> (https://bme.duke.edu/grad/masters/md-meng)
TEXAS A&M University -> (https://medicine.tamhsc.edu/enmed/index.html)
Stanford University -> (http://med.stanford.edu/education/dual-degree-programs.html)
Case Western Reserve University -> (https://case.edu/medicine/admissions-programs/md-programs/dual-degrees)
โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นที่แรก และที่เดียวที่เปิดสอนหลักสูตรนี้ในประเทศไทย
จบไปทำงานเกี่ยวกับอะไร?
1.แพทย์
2.แพทย์นักวิจัย : พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ๆ
3.ธุรกิจการแพทย์ : ต่อยอดผลงานในเชิงทางธุรกิจ (Startup) ระดมทุนจากกลุ่มธุรกิจและนักลงทุนทางด้านนวัตกรรม
4.การศึกษาต่อ : เรียนต่อเฉพาะทางหรือหลักสูตรอื่นทั้งในและต่างประเทศได้
โดยมีประสบการณ์ทำงานวิจัยและผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติเป็นพื้นฐาน