ที่มาของหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจึงมีแนวคิดสร้างหลักสูตรร่วมกันระหว่างแพทยศาสตร์บัณฑิตและวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภายใต้โครงการร่วม 2 หลักสูตร พ.บ. - วศ. ม. (วิศวกรรมชีวการแพทย์) เพื่อที่จะสร้างแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์กับการรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและให้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยปลูกฝังความเป็นนักวิจัยและนวัตกรให้แก่นักศึกษาแพทย์ทั้งในด้านของกระบวนการคิด ทักษะ และความสามารถทางการวิจัย
รูปแบบการเรียนการสอน
การจัดการศึกษามีระยะเวลาการศึกษาทั้งหมด 7 ปี มีการแบ่งช่วงปีการศึกษาในลักษณะ 3 + 1 + 3 ปี โดยในช่วงการศึกษาปีที่ 1 - 3 จัดให้มีการเรียนการสอนความรู้ด้านปรีคลินิก ในชั้นปีที่ 4 จัดให้มีการเรียนการสอนและการดำเนินงานวิจัยในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา และกลับเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในชั้นปีที่ 5 - 7 โดยจัดให้มีการเรียนการสอนความรู้ทางด้านคลินิก และยังคงดำเนินงานวิจัยของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ หรือต่อยอดงานวิจัยในชั้นคลินิกอย่างต่อเนื่อง เมื่อจบการศึกษาตลอดโครงการ ซึ่งประกอบไปด้วยหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต 6 ปี และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต 1 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตรทั้งสอง จะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต และวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ เรียนกี่ปี ?
ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 7 ปี โดยปีที่ 1 - 3 มีการเรียนการสอนทางด้านพรีคลินิกเช่นเดียวกับหลักสูตรแพทย์ปกติ ในชั้นปีที่ 4 จะเป็นช่วงของการพัฒนาทักษะด้านวิศวกรรมและลงมือพัฒนางานวิจัยหรือนวัตกรรม หลักจากนั้นในปีที่ 5 - 7 จึงกลับมาเรียนชั้นคลินิกเช่นเดียวกับหลักสูตรแพทย์ปกติ พร้อมทั้งทดลองและต่อยอดนวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นในช่วงเวลานี้ด้วยเช่นกัน
แนวทางงานวิจัย
การเรียนการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิศวกรรมชีวการแพทย์ ส่วนใหญ่มีลักษณะแบบ Problem Based Learning (PBL) โดยเน้นการทำ Class Project เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและการลงมือจริง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการทำงานวิจัย เกิดกระบวนการคิดการแก้ปัญหาร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และสามารถเผชิญกับปัญหาใหม่ๆ ได้อย่างดี
นอกจากนี้การเข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิศวกรรมชีวการแพทย์ ส่งเสริมให้มีการทำงานวิจัย นวัตกรรม การตีพิมพ์ผลงาน ผ่านการทำวิทยานิพนธ์ ภายใต้การดูแลจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขหลักในการจบการศึกษาในหลักสูตร สำหรับแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ ผู้เรียนสามารถเลือกแนวทางการทำวิจัยในด้านต่างๆ ได้แก่
Research Facilities
เครื่องมือและอุปกรณ์การทำงานวิจัยที่ทันสมัยพร้อมให้บริการแก่นักศึกษาในโครงการร่วม 2 หลักสูตร พ.บ. - วศ.ม. (วิศวกรรมชีวการแพทย์) ณ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในปี พ.ศ. 2565 ศูนย์วิจัยทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์จะแล้วเสร็จ พร้อมให้บริการแก่นักศึกษาในหลักสูตร พ.บ. - วศ.ม. ในการทำงานวิจัย
เรียนที่ไหนบ้าง ?
ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
ชั้นปี่ที่ 2 - 3 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
ชั้นปีที่ 5 - 6 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ และโรงพยาบาลรามาธิบดี
ชั้นปีที่ 7 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลสมทบ
นักศึกษาในโครงการ พ.บ. - วศ.ม. จะได้รับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางการแพทย์เช่นเดียวกับหลักสูตร MD. ปกติ นอกจากนั้นนักศึกษาจะได้รับความรู้และทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม อีกทั้งได้รับประสบการณ์การพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ และมีสังคมร่วมกับเพื่อน นักวิจัย และอาจารย์ ต่างคณะอีกด้วย
แพทย์: ที่เป็นได้มากกว่าแพทย์ มองเห็นปัญหาและโอกาสในการแก้ปัญหาด้วยหลักการทางวิศวกรรม
แพทย์นักวิจัย: พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ๆ
ธุรกิจการแพทย์: ต่อยอดผลงานในเชิงทางธุรกิจ (Startup) ระดมทุนจากกลุ่มธุรกิจและนักลงทุนทางด้านนวัตกรรม
การศึกษาต่อ: เรียนต่อเฉพาะทางหรือหลักสูตรอื่นทั้งในและต่างประเทศได้ โดยมีประสบการณ์ทำงานวิจัยและผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติเป็นพื้นฐาน
รับสมัครโดยวิธีรับตรงผ่านระบบ TCAS รอบ Portfolio ของ ทปอ. และพิจารณาคัดเลือกโดยดูจาก Portfolio และสัมภาษณ์แบบ Multiple Mini Interview (MMI)
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต - วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (พ.บ. - วศ. ม.)
มหาวิทยาลัยมหิดล
รีวิวหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต - วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (พ.บ. - วศ. ม.) มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาของหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์
รูปแบบการเรียนการสอน
การจัดการศึกษามีระยะเวลาการศึกษาทั้งหมด 7 ปี มีการแบ่งช่วงปีการศึกษาในลักษณะ 3 + 1 + 3 ปี โดยในช่วงการศึกษาปีที่ 1 - 3 จัดให้มีการเรียนการสอนความรู้ด้านปรีคลินิก ในชั้นปีที่ 4 จัดให้มีการเรียนการสอนและการดำเนินงานวิจัยในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา และกลับเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในชั้นปีที่ 5 - 7 โดยจัดให้มีการเรียนการสอนความรู้ทางด้านคลินิก และยังคงดำเนินงานวิจัยของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ หรือต่อยอดงานวิจัยในชั้นคลินิกอย่างต่อเนื่อง เมื่อจบการศึกษาตลอดโครงการ ซึ่งประกอบไปด้วยหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต 6 ปี และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต 1 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตรทั้งสอง จะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต และวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ เรียนกี่ปี ?
ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 7 ปี โดยปีที่ 1 - 3 มีการเรียนการสอนทางด้านพรีคลินิกเช่นเดียวกับหลักสูตรแพทย์ปกติ ในชั้นปีที่ 4 จะเป็นช่วงของการพัฒนาทักษะด้านวิศวกรรมและลงมือพัฒนางานวิจัยหรือนวัตกรรม หลักจากนั้นในปีที่ 5 - 7 จึงกลับมาเรียนชั้นคลินิกเช่นเดียวกับหลักสูตรแพทย์ปกติ พร้อมทั้งทดลองและต่อยอดนวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นในช่วงเวลานี้ด้วยเช่นกัน
แนวทางงานวิจัย
การเรียนการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิศวกรรมชีวการแพทย์ ส่วนใหญ่มีลักษณะแบบ Problem Based Learning (PBL) โดยเน้นการทำ Class Project เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและการลงมือจริง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการทำงานวิจัย เกิดกระบวนการคิดการแก้ปัญหาร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และสามารถเผชิญกับปัญหาใหม่ๆ ได้อย่างดี
นอกจากนี้การเข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิศวกรรมชีวการแพทย์ ส่งเสริมให้มีการทำงานวิจัย นวัตกรรม การตีพิมพ์ผลงาน ผ่านการทำวิทยานิพนธ์ ภายใต้การดูแลจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขหลักในการจบการศึกษาในหลักสูตร สำหรับแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ ผู้เรียนสามารถเลือกแนวทางการทำวิจัยในด้านต่างๆ ได้แก่
Research Facilities
เครื่องมือและอุปกรณ์การทำงานวิจัยที่ทันสมัยพร้อมให้บริการแก่นักศึกษาในโครงการร่วม 2 หลักสูตร พ.บ. - วศ.ม. (วิศวกรรมชีวการแพทย์) ณ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในปี พ.ศ. 2565 ศูนย์วิจัยทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์จะแล้วเสร็จ พร้อมให้บริการแก่นักศึกษาในหลักสูตร พ.บ. - วศ.ม. ในการทำงานวิจัย
เรียนที่ไหนบ้าง ?
ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
ชั้นปี่ที่ 2 - 3 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
ชั้นปีที่ 5 - 6 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ และโรงพยาบาลรามาธิบดี
ชั้นปีที่ 7 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลสมทบ
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
จบมาทำงานอะไร
แพทย์นักวิจัย: พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ๆ
ธุรกิจการแพทย์: ต่อยอดผลงานในเชิงทางธุรกิจ (Startup) ระดมทุนจากกลุ่มธุรกิจและนักลงทุนทางด้านนวัตกรรม
การศึกษาต่อ: เรียนต่อเฉพาะทางหรือหลักสูตรอื่นทั้งในและต่างประเทศได้ โดยมีประสบการณ์ทำงานวิจัยและผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติเป็นพื้นฐาน
สมัครเรียนทำอย่างไร
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต - วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (พ.บ. - วศ. ม.)
มหาวิทยาลัยมหิดล
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต - วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (พ.บ. - วศ. ม.) มหาวิทยาลัยมหิดล ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ