"เรียนคู่ขนานกับการทำงาน" อนาคตเจ้าของกิจการอยู่ไม่ไกล สาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ : U-Review
เชื่อไหมว่า7-ELEVEN นั้นนอกจากจะเป็นร้านสะดวกซื้อแล้ว บางครั้ง 7-ELEVEN ก็ทำหน้าที่เป็นห้องเรียนสำหรับการฝึกฝนเพื่อการก้าวสู่เส้นทางสายธุรกิจของคนที่มีความฝัน ความต้องการอยากจะเป็นนักธุรกิจ นักบริหารจัดการ เป็นสถานที่สำหรับการเรียนรู้ของคนที่ต้องการสร้างความมั่นคง และสร้างฐานะด้วยตนเองด้วย
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เป็นสาขาที่ต้องการสร้างนักจัดการทางด้านธุรกิจสมัยใหม่ ที่ปรับตัวไปตามยุคสมัยซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สามารถบริหารจัดการร้านค้าปลีก ค้าส่ง และร้านค้าแบบใหม่ที่อาศัยการขายผ่านระบบออนไลน์
การเรียนการสอนในสาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่นั้นเหมือนกับหลักสูตรธุรกิจทั่วไป คือ ในปีแรกนักศึกษาจะได้เรียนในวิชาการปรับบุคลิกภาพ เรียนรู้ภาษาเพิ่มเติม เสริมทักษะทางด้านไอที และสร้างนิสัยให้มีความรับผิดชอบ ปีที่ 2 เรียนรู้ด้านธุรกิจการค้าสมัยใหม่ ที่สอดคล้องกับงานที่นักศึกษาจะต้องทำเมื่อจบการศึกษาแล้ว เรียนรู้หลักการตลาด บัญชี การเงิน และการคำนวณต้นทุน ช่วงชั้นปีที่ 3 จะเข้าสู่ช่วงของการเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวทำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้เกี่ยวกับการขาย การจัดเรียงสินค้าเพื่อสนับสนุนการขาย และการเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบโปรโมชั่น จนกระทั้งในการเรียนในชั้นปีสุดท้ายที่จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการ
สิ่งที่ทำให้การเรียนในสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์แตกต่างจากที่อื่นๆ คือวิธีการ สิ่งที่เราจะได้เจอจากที่นี้คือ ในหนึ่งปีการศึกษาจะแบ่งออกเป็นการเรียน 2 ช่วง และการฝึกปฏิบัติงาน 2 ช่วง ตลอด 4 ปีการศึกษา คือเมื่อเข้ามาเป็นนักศึกษาในสถาบัน นักศึกษาจะได้เรียนก่อน 3 เดือน แล้วออกไปปฏิบัติงานจริงเลยอีก 3 เดือน สลับกันไป โดยจะมีการนำปัญหาที่นักศึกษาพบระหว่างการฝึกปฏิบัติงานมาปรับใช้กับการวางแผนการเรียนการสอนในภาคเรียนถัดไปด้วย นอกจากนี้หากคิดว่าในการเรียนภาคทฤษฎีจะเป็นการเรียนในห้องเรียนแล้วล่ะก็ เปลี่ยนความคิดได้เลย ที่นี้จะให้นักศึกษาได้เรียนจากสถานที่จริง เหมือนปณิธานของสถาบันที่ว่า "สร้างมืออาชีพด้วยมืออาชีพ" จะเห็นได้ได้ว่าในการเรียนการสอนจะเน้นให้นักศึกษาทำงานเป็น ดังที่อาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้กล่าวไว้ว่า “เราบอกนักเรียนและครูว่า เราไม่ได้เรียนเพื่อสอบ เราเรียนหนังสือไปทำงาน”
ในช่วงของการฝึกปฏิบัติงานจริงที่ร้าน 7-ELEVEN ปีแรกจะทำหน้าที่เป็นพนักงาน ดูแลแคชเชียร์ และจัดการสินค้า ปีที่ 2 - 3 ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้จัดการร้าน มีหน้าที่ความรับผิดชอบมากขึ้น และต้องตัดสินใจเรื่องการสั่งสินค้า พอช่วงปีสุดท้าย นักศึกษาจะได้ทำหน้าที่เสมือนว่าเป็นผู้จัดการร้าน ต้องสามารถวิเคราะห์แนวโน้มจากสถานการณ์ได้ และในช่วงฝึกงานนี้เองนักศึกษาจะได้รับค่าตอบแทนเหมือนพนักงานด้วย โดยเริ่มต้นที่ 40 บาทต่อชั่วโมง และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามชั้นปีที่ศึกษาอยู่
หลังจากการฝึกงาน อาจารย์ ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการจัดการงานวิชาการ และรักษาการคณบดีคณะบริหารธุรกิจ ยังบอกอีกว่า นักศึกษาจะต้องมีการนำเสนอนวัตกรรม ซึ่งมาจากการพยายามแก้ปัญหาที่พบเจอระหว่างการฝึกงาน “ต้องพบปัญหา ถึงจะสร้างนวัตกรรมได้” อาจารย์ ศรีไพร กล่าว
ในปัจจุบันเมื่อนักศึกษาจบการศึกษาจากสถาบันการจัดการปัญญาภิวฒน์แล้ว สามารถบันจุเป็นผู้ช่วยผู้จัดการร้าน 7 – ELEVEN ได้ทันที ถือเป็นก้าวแรกสู่เส้นทางของการเป็นนักธุรกิจ นักบริหารจัดการที่มั่นคง และเป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้หากจบแล้วทำงานในเครือบริษัท CP ครบ 3 ปี จะสามารถเป็นเจ้าของร้าน 7 – ELEVEN ได้ในราคาพนักงานอีกด้วย
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เป็นสาขาที่ต้องการสร้างนักจัดการทางด้านธุรกิจสมัยใหม่ ที่ปรับตัวไปตามยุคสมัยซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สามารถบริหารจัดการร้านค้าปลีก ค้าส่ง และร้านค้าแบบใหม่ที่อาศัยการขายผ่านระบบออนไลน์
การเรียนการสอนในสาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่นั้นเหมือนกับหลักสูตรธุรกิจทั่วไป คือ ในปีแรกนักศึกษาจะได้เรียนในวิชาการปรับบุคลิกภาพ เรียนรู้ภาษาเพิ่มเติม เสริมทักษะทางด้านไอที และสร้างนิสัยให้มีความรับผิดชอบ ปีที่ 2 เรียนรู้ด้านธุรกิจการค้าสมัยใหม่ ที่สอดคล้องกับงานที่นักศึกษาจะต้องทำเมื่อจบการศึกษาแล้ว เรียนรู้หลักการตลาด บัญชี การเงิน และการคำนวณต้นทุน ช่วงชั้นปีที่ 3 จะเข้าสู่ช่วงของการเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวทำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้เกี่ยวกับการขาย การจัดเรียงสินค้าเพื่อสนับสนุนการขาย และการเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบโปรโมชั่น จนกระทั้งในการเรียนในชั้นปีสุดท้ายที่จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการ
สิ่งที่ทำให้การเรียนในสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์แตกต่างจากที่อื่นๆ คือวิธีการ สิ่งที่เราจะได้เจอจากที่นี้คือ ในหนึ่งปีการศึกษาจะแบ่งออกเป็นการเรียน 2 ช่วง และการฝึกปฏิบัติงาน 2 ช่วง ตลอด 4 ปีการศึกษา คือเมื่อเข้ามาเป็นนักศึกษาในสถาบัน นักศึกษาจะได้เรียนก่อน 3 เดือน แล้วออกไปปฏิบัติงานจริงเลยอีก 3 เดือน สลับกันไป โดยจะมีการนำปัญหาที่นักศึกษาพบระหว่างการฝึกปฏิบัติงานมาปรับใช้กับการวางแผนการเรียนการสอนในภาคเรียนถัดไปด้วย นอกจากนี้หากคิดว่าในการเรียนภาคทฤษฎีจะเป็นการเรียนในห้องเรียนแล้วล่ะก็ เปลี่ยนความคิดได้เลย ที่นี้จะให้นักศึกษาได้เรียนจากสถานที่จริง เหมือนปณิธานของสถาบันที่ว่า "สร้างมืออาชีพด้วยมืออาชีพ" จะเห็นได้ได้ว่าในการเรียนการสอนจะเน้นให้นักศึกษาทำงานเป็น ดังที่อาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้กล่าวไว้ว่า “เราบอกนักเรียนและครูว่า เราไม่ได้เรียนเพื่อสอบ เราเรียนหนังสือไปทำงาน”
ในช่วงของการฝึกปฏิบัติงานจริงที่ร้าน 7-ELEVEN ปีแรกจะทำหน้าที่เป็นพนักงาน ดูแลแคชเชียร์ และจัดการสินค้า ปีที่ 2 - 3 ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้จัดการร้าน มีหน้าที่ความรับผิดชอบมากขึ้น และต้องตัดสินใจเรื่องการสั่งสินค้า พอช่วงปีสุดท้าย นักศึกษาจะได้ทำหน้าที่เสมือนว่าเป็นผู้จัดการร้าน ต้องสามารถวิเคราะห์แนวโน้มจากสถานการณ์ได้ และในช่วงฝึกงานนี้เองนักศึกษาจะได้รับค่าตอบแทนเหมือนพนักงานด้วย โดยเริ่มต้นที่ 40 บาทต่อชั่วโมง และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามชั้นปีที่ศึกษาอยู่
หลังจากการฝึกงาน อาจารย์ ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการจัดการงานวิชาการ และรักษาการคณบดีคณะบริหารธุรกิจ ยังบอกอีกว่า นักศึกษาจะต้องมีการนำเสนอนวัตกรรม ซึ่งมาจากการพยายามแก้ปัญหาที่พบเจอระหว่างการฝึกงาน “ต้องพบปัญหา ถึงจะสร้างนวัตกรรมได้” อาจารย์ ศรีไพร กล่าว
ในปัจจุบันเมื่อนักศึกษาจบการศึกษาจากสถาบันการจัดการปัญญาภิวฒน์แล้ว สามารถบันจุเป็นผู้ช่วยผู้จัดการร้าน 7 – ELEVEN ได้ทันที ถือเป็นก้าวแรกสู่เส้นทางของการเป็นนักธุรกิจ นักบริหารจัดการที่มั่นคง และเป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้หากจบแล้วทำงานในเครือบริษัท CP ครบ 3 ปี จะสามารถเป็นเจ้าของร้าน 7 – ELEVEN ได้ในราคาพนักงานอีกด้วย