“นักเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียง” รีวิวสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ : U-Review
วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อที่ใช้การสื่อสารผ่านภาพ และเสียงเป็นหลัก เรียกได้ว่าเป็นหัวใจของสาขานี้เลยก็ว่าได้ ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปแค่ไหน ศาสตร์ของการสื่อสารก็ยังคงอยู่ การเล่าเรื่องราวต่างๆ ก็เปรียบเหมือนการเปิดมุมมองใหม่ๆ สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราว ความเป็นจริงทั้งในแง่บวก และแง่ลบที่มีหลากหลายมิติ บทพิสูจน์ของการเป็นนักเล่าเรื่องต้องสามารถถ่ายทอดเรื่องราวที่ส่งผ่านสื่อจากภาพและเสียงสู่การรับฟังหรือรับชม เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมแทรกความขบขัน มีจุดสุดยอดที่ตื่นเต้นเร้าใจ และทำให้เกิดความเข้าใจใคร่ติดตาม
“เราเชื่อเรื่องการทำพรีโปรดักชั่นที่ดี เพราะการทำพรีโปรดักชั่นที่ดีจะการันตีผลงานที่ออกมาเป็นมืออาชีพ”
อาจารย์ มานินทร์ เจริญลาภ
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ และ ผู้อำนวยการศูนย์มีเดีย
เนื่องจากยุคสมัยที่สื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาหลักสูตรต้องมีการปรับให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงด้วยทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ เช่น สื่อคอมพิวเตอร์, มัลติมีเดีย และกราฟฟิก
การเรียนการสอนสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงเป็นหลักสูตรที่สอนนักศึกษาให้เป็นนักเล่าเรื่องที่ดีเริ่มต้นจากการสร้างนักศึกษาให้มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถเข้าใจแก่นหลักของการทำงานในอุตสาหกรรมสื่อ ทั้งการใช้เครื่องมือทางด้านอุตสาหกรรม และซอฟ์แวร์ต่างๆ ที่เป็นมาตราฐานอุตสาหกรรม ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับงานจริงเน้นให้เข้าใจ แพลตฟอร์ม (Platform) วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มากยิ่งขึ้น
“ครูเชื่อว่าการเรียนจริงๆ แล้วเด็กสามารถเรียนได้ด้วยตัวเองแต่จะยากตรงที่ว่าจะทำอย่างไรเพื่อผลักดันให้เด็กเกิดแรงบันดาลใจ”
ผศ. นับทอง ทองใบ
หัวหน้าสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุทรทัศน์
เริ่มต้นการเรียนปีที่ 1 น้องๆ หลายคนคงเบื่อกับวิชาเรียนไม่ตรงสายเช่น วิชาพละศึกษา พุทธศาสนาแน่นอนว่าเป็นวิชาที่นอกกรอบสำหรับสาขานี้ แต่สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จะให้น้องๆ เริ่มเรียนในส่วนพื้นฐานของสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เลยไม่ต้องรอ โดยการสอนผ่านการทดลองจับอุปกรณ์, การทำ MV แบบสั้นๆ หรือการเชิญวิทยากรจากแกรมมี่ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อให้เห็นภาพ และเกิดแรงบัลดาลใจในการสร้างผลงาน
กระบวนการเรียนในส่วนของชั้นปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะพาน้องๆ ลงลึกไปในหลักสูตรการเรียนมากยิ่งขึ้น โดยอาจารย์ผู้สอนจะคำนึงถึงโปรเจคจบของน้องๆ เป็นหลักซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับวิทยุและโทรทัศน์แน่นอนดังนั้นน้องๆ จะได้เรียนรู้กระบวนการทั้งหมดผ่านโปรเจคจบ เพราะฉะนั้นในชั้นปีที่ 2, 3, 4 สาขาจะผลักดันให้น้องๆ แตกยอดความคิด และหาช่องทางการผลิตผลงาน โดยจะมีห้องแล็บ และอุปกรณ์ให้น้องๆ เลือกใช้ตามความถนัดทั้ง ห้องตัดต่อ ห้องวิทยุชุมชน ห้องสตูลดิโอ และอีกหลายๆ ห้องที่น้องๆ สามารถใช้งานอุปกรณ์กันได้อย่างเต็มที่
ตลาดงานด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เป็นที่ยอมรับกันดีอยู่แล้วว่าการสื่อสารอยู่รอบตัวเราตลอดเวลาแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวันเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสื่อสาร เพราะระบบการสื่อสารในยุคปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานที่กว้างขว้าง ฉะนั้นน้องๆ ที่จบจากสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์สามารถมีตลาดแรงงานรองรับมากมายแน่นอน เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า “จริงๆแล้วหัวใจของสาขานี้คือ การแพร่ภาพและเสียงเพราะฉะนั้นไม่ว่าช่องทางการสื่อสารจะเปลี่ยนไปอย่างไรการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่และเราก็ควรรองรับตรงจุดนี้ให้ได้”
“เราเชื่อเรื่องการทำพรีโปรดักชั่นที่ดี เพราะการทำพรีโปรดักชั่นที่ดีจะการันตีผลงานที่ออกมาเป็นมืออาชีพ”
อาจารย์ มานินทร์ เจริญลาภ
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ และ ผู้อำนวยการศูนย์มีเดีย
เนื่องจากยุคสมัยที่สื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาหลักสูตรต้องมีการปรับให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงด้วยทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ เช่น สื่อคอมพิวเตอร์, มัลติมีเดีย และกราฟฟิก
การเรียนการสอนสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงเป็นหลักสูตรที่สอนนักศึกษาให้เป็นนักเล่าเรื่องที่ดีเริ่มต้นจากการสร้างนักศึกษาให้มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถเข้าใจแก่นหลักของการทำงานในอุตสาหกรรมสื่อ ทั้งการใช้เครื่องมือทางด้านอุตสาหกรรม และซอฟ์แวร์ต่างๆ ที่เป็นมาตราฐานอุตสาหกรรม ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับงานจริงเน้นให้เข้าใจ แพลตฟอร์ม (Platform) วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มากยิ่งขึ้น
“ครูเชื่อว่าการเรียนจริงๆ แล้วเด็กสามารถเรียนได้ด้วยตัวเองแต่จะยากตรงที่ว่าจะทำอย่างไรเพื่อผลักดันให้เด็กเกิดแรงบันดาลใจ”
ผศ. นับทอง ทองใบ
หัวหน้าสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุทรทัศน์
เริ่มต้นการเรียนปีที่ 1 น้องๆ หลายคนคงเบื่อกับวิชาเรียนไม่ตรงสายเช่น วิชาพละศึกษา พุทธศาสนาแน่นอนว่าเป็นวิชาที่นอกกรอบสำหรับสาขานี้ แต่สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จะให้น้องๆ เริ่มเรียนในส่วนพื้นฐานของสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เลยไม่ต้องรอ โดยการสอนผ่านการทดลองจับอุปกรณ์, การทำ MV แบบสั้นๆ หรือการเชิญวิทยากรจากแกรมมี่ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อให้เห็นภาพ และเกิดแรงบัลดาลใจในการสร้างผลงาน
กระบวนการเรียนในส่วนของชั้นปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะพาน้องๆ ลงลึกไปในหลักสูตรการเรียนมากยิ่งขึ้น โดยอาจารย์ผู้สอนจะคำนึงถึงโปรเจคจบของน้องๆ เป็นหลักซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับวิทยุและโทรทัศน์แน่นอนดังนั้นน้องๆ จะได้เรียนรู้กระบวนการทั้งหมดผ่านโปรเจคจบ เพราะฉะนั้นในชั้นปีที่ 2, 3, 4 สาขาจะผลักดันให้น้องๆ แตกยอดความคิด และหาช่องทางการผลิตผลงาน โดยจะมีห้องแล็บ และอุปกรณ์ให้น้องๆ เลือกใช้ตามความถนัดทั้ง ห้องตัดต่อ ห้องวิทยุชุมชน ห้องสตูลดิโอ และอีกหลายๆ ห้องที่น้องๆ สามารถใช้งานอุปกรณ์กันได้อย่างเต็มที่
ตลาดงานด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เป็นที่ยอมรับกันดีอยู่แล้วว่าการสื่อสารอยู่รอบตัวเราตลอดเวลาแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวันเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสื่อสาร เพราะระบบการสื่อสารในยุคปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานที่กว้างขว้าง ฉะนั้นน้องๆ ที่จบจากสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์สามารถมีตลาดแรงงานรองรับมากมายแน่นอน เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า “จริงๆแล้วหัวใจของสาขานี้คือ การแพร่ภาพและเสียงเพราะฉะนั้นไม่ว่าช่องทางการสื่อสารจะเปลี่ยนไปอย่างไรการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่และเราก็ควรรองรับตรงจุดนี้ให้ได้”