รีวิวจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จิตวิทยาเป็นพื้นฐานของทกคน เพราะสามารถนำเนื้อหาในจิตวิทยาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้แล้วยังช่วยเหลือคนอื่นได้อีก ไม่จำเป็นว่าเรียนมาแล้วประกอบอาชีพอะไร วันนี้เราจะพาน้องๆ ไปรู้จักคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกันค่ะ
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งในปี พ.ศ.2539 นับเป็นคณะที่ 18 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิชาจิตวิทยาได้เริ่มขึ้นในหลักสูตรครุศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2506 จึงได้มีการจัดแผนกวิชาจิตวิทยาขึ้น เพื่อรับผิดชอบการสอนในสาขาวิชาจิตวิทยาแขนงต่าง ๆ สำหรับนิสิต ปริญญาตรี นอกจากนั้นภาควิชาจิตวิทยายังรับผิดชอบการให้บริการการสอนวิชาจิตวิทยาในหมวดการศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาเลือกเสรี สำหรับนิสิตคณะต่าง ๆ ใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยหลักสูตรจิตวิทยา มี 4 สาขาด้วยกัน คือ จิตวิทยาสังคม, จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, จิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาการปรึกษา ถ้าหากน้องๆ คนไหนอยากจะเป็นนักจิตเวช ก็ให้เลือกเรียนจิตวิทยาการปรึกษา คือเรียนเกี่ยวกับ การให้คำปรึกษาและพูดคุยเป็นการบำบัด นักจิตเวชและนักจิตแพทย์มีขอแตกต่างกันคือนักจิตเวชไม่สามารถจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้ นักจิตวิทยาสังคมจะเรียนรู้เกี่ยวกับคน ไปรู้จักคน สามารถโน้มน้าวคนได้ จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การจะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของคน และพัฒนาศักยภาพคนในองค์กรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด สุดท้ายก็คือจิตวิทยาพัฒนาการ ส่วนใหญ่จะเป็นนักบำบัดหรือว่านักพัฒนาการเด็ก พัฒนาไอคิวอีคิวต่างๆ ให้เป็นไปตามวัยที่เหมาะสม
การเรียนสอนในปี 1 น้องๆ จะได้เรียนวิชาพื้นฐาน อย่างเช่น จิตวิทยาขั้นพื้นฐาน เคมี ชีววิทยา พอปี 2 ก็จะเรียนพื้นฐานของจิตวิทยาสังคม จิตวิทยาอุตสาหกรรม จิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาการปรึกษา ซึ่งเป็นพื้นฐานของแต่ละสาขา เพื่อให้น้องๆ ให้รู้ตัวเองว่าชอบอะไร เพื่อเป็นตัวเลือกทำให้น้องตัดสินใจเลือกวิชาเอกของตัวเองในปีที่ 3 และปี 4
การเรียนจิตวิทยาเน้นการสร้างนักวิชาการ ไม่ได้เน้นนักปฏิบัติ ดั้งนั้นการทำธีสิทในปี 4 จึงมีความสำคัญมาก โดยน้องๆ จะต้องค้นหาค้นคว้าข้อมูลดีๆ ที่ยังไม่มีใครได้คำตอบแล้วทำการพิสูจน์สมมติฐานของบุคคลที่เคยได้สร้างทฤษฎีต่างๆ ไว้มาพิสูจน์กับบุคลากรต่างๆ แล้วแต่เรา บางคนก็ไปศึกษากับผู้ป่วย บางคนก็ไปศึกษากับนิสิตด้วยกันเอง บางคนไปศึกษากับบุคคลวัยทำงาน เป็นการทดสอบสมมติฐานด้วย และสร้างสมมติฐานใหม่ๆ ขึ้นมา
จบมาทำงานอะไร
นักจิตวิทยาคลินิกในโรงพยาบาลจิตเวช, กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, มูลนิธิต่างๆ , เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรมนุษย์, อาจารย์มหาวิทยาลัยนักวิจัย, นักวางแผนในองค์กร, นักการสื่อสาร, ประชาสัมพันธ์ นักพูด, นักเขียน ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
แอดมิชชัน
รูปแบบที่1
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
รูปแบบที่2
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
รูปแบบที่3
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
168,000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21,000 บาท/เทอม
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งในปี พ.ศ.2539 นับเป็นคณะที่ 18 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิชาจิตวิทยาได้เริ่มขึ้นในหลักสูตรครุศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2506 จึงได้มีการจัดแผนกวิชาจิตวิทยาขึ้น เพื่อรับผิดชอบการสอนในสาขาวิชาจิตวิทยาแขนงต่าง ๆ สำหรับนิสิต ปริญญาตรี นอกจากนั้นภาควิชาจิตวิทยายังรับผิดชอบการให้บริการการสอนวิชาจิตวิทยาในหมวดการศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาเลือกเสรี สำหรับนิสิตคณะต่าง ๆ ใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยหลักสูตรจิตวิทยา มี 4 สาขาด้วยกัน คือ จิตวิทยาสังคม, จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, จิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาการปรึกษา ถ้าหากน้องๆ คนไหนอยากจะเป็นนักจิตเวช ก็ให้เลือกเรียนจิตวิทยาการปรึกษา คือเรียนเกี่ยวกับ การให้คำปรึกษาและพูดคุยเป็นการบำบัด นักจิตเวชและนักจิตแพทย์มีขอแตกต่างกันคือนักจิตเวชไม่สามารถจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้ นักจิตวิทยาสังคมจะเรียนรู้เกี่ยวกับคน ไปรู้จักคน สามารถโน้มน้าวคนได้ จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การจะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของคน และพัฒนาศักยภาพคนในองค์กรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด สุดท้ายก็คือจิตวิทยาพัฒนาการ ส่วนใหญ่จะเป็นนักบำบัดหรือว่านักพัฒนาการเด็ก พัฒนาไอคิวอีคิวต่างๆ ให้เป็นไปตามวัยที่เหมาะสม
การเรียนสอนในปี 1 น้องๆ จะได้เรียนวิชาพื้นฐาน อย่างเช่น จิตวิทยาขั้นพื้นฐาน เคมี ชีววิทยา พอปี 2 ก็จะเรียนพื้นฐานของจิตวิทยาสังคม จิตวิทยาอุตสาหกรรม จิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาการปรึกษา ซึ่งเป็นพื้นฐานของแต่ละสาขา เพื่อให้น้องๆ ให้รู้ตัวเองว่าชอบอะไร เพื่อเป็นตัวเลือกทำให้น้องตัดสินใจเลือกวิชาเอกของตัวเองในปีที่ 3 และปี 4
การเรียนจิตวิทยาเน้นการสร้างนักวิชาการ ไม่ได้เน้นนักปฏิบัติ ดั้งนั้นการทำธีสิทในปี 4 จึงมีความสำคัญมาก โดยน้องๆ จะต้องค้นหาค้นคว้าข้อมูลดีๆ ที่ยังไม่มีใครได้คำตอบแล้วทำการพิสูจน์สมมติฐานของบุคคลที่เคยได้สร้างทฤษฎีต่างๆ ไว้มาพิสูจน์กับบุคลากรต่างๆ แล้วแต่เรา บางคนก็ไปศึกษากับผู้ป่วย บางคนก็ไปศึกษากับนิสิตด้วยกันเอง บางคนไปศึกษากับบุคคลวัยทำงาน เป็นการทดสอบสมมติฐานด้วย และสร้างสมมติฐานใหม่ๆ ขึ้นมา
จบมาทำงานอะไร
นักจิตวิทยาคลินิกในโรงพยาบาลจิตเวช, กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, มูลนิธิต่างๆ , เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรมนุษย์, อาจารย์มหาวิทยาลัยนักวิจัย, นักวางแผนในองค์กร, นักการสื่อสาร, ประชาสัมพันธ์ นักพูด, นักเขียน ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
แอดมิชชัน
รูปแบบที่1
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
รูปแบบที่2
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
รูปแบบที่3
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
168,000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21,000 บาท/เทอม