ศิลปกรรมศาสตร์ สาขาดุริยางคศิลป์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวศิลปกรรมศาสตร์ สาขาดุริยางคศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะศิลปกรรมศาสตร์ เปิดทำการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีเป็นคณะที่ 15 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปีการศึกษา 2526 เป็นปีแรก โดยเปิดเพียง 2 ภาควิชาคือ ภาควิชาทัศนศิลป์ และดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ผลิตศิลปินบัณฑิตที่มีความรู้ ความชำนาญ ด้านทักษะและความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้ริเริ่ม บุกเบิก แสวงหา คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และเป็นผู้ที่มีความรู้คู่คุณธรรม ศิลปินบัณฑิตจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ สามารถประกอบอาชีพอิสระหรือทำงานในองค์กรเอกชน รัฐวิสาหกิจและราชการได้เป็นอย่างดี
สาขาดุริยางคศิลป์ แบ่งออกเป็น 2 วิชาเอก ก็คือ ดุริยางคศิลป์ไทย, ดุริยางคศิลป์ตะวันตก เป็นสาขาวิชาดนตรีเหมือนกัน แต่ก็มีเรียนการสอนที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งสาขาดุริยางคศิลป์ไทย จะมีวิชาเรียนในวิชาเอกที่น้องๆ จะต้องเรียน อย่างเช่น ประวัติดุริยางคศิลป์ไทย, ทักษะดุริยางคศิลป์ไทย, การสอดทำนองดุริยางคศิลป์ไทย, สังคีตลักษณ์วิเคราะห์เพลงไทย, เครื่องหนัง, หลักการประพันธ์เพลงไทย, ประวัติดนตรีพื้นเมืองไทย, หลักและวิธีบรรเลงเพลงราชพิธี, เครื่องสายปี่ชวา, ขับร้องละคร, เพลงสำหรับการแสดง, ทักษะเพลงพื้นเมืองไทย, ประวัติดุริยางคศิลป์ตะวันออก, การอำนายเพลงไทย, สัมมนาดุริยางคศิลป์ไทย, เพลงปีพาทย์, เพลงมโหรี, พากย์และขับเสภา, เพลงพื้นบ้าน นอกจากเรียนรู้การใช้งานแล้ว น้องๆก็จะได้เรียนการเก็บซ่อมและรักษาเครื่องดนตรีไทย รวมถึงการวิจัยดุริยางคศิลป์, งานโครงการดุริยางคศิลปะ และการฝึกวิชาชีพดุริยางคศิลป์ เพื่อจบการศึกษาอีกด้วย และต่อไปคือสาขาดุริยางคศิลป์ตะวันตกซึ่งมีวิชาเรียนเอกที่แตกต่างกันไป เช่นวิชาทักษะดนตรี, การประสานเสียง, ขับร้องประสานเสียง, ลีลาสัมพันธ์, ประวัติและวรรณคดีดนตรี, ทักษะดนตรี, สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์, การอำนวยเพลง, การเรียบเรียงสำหรับวงดนตรี นอกจากที่น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับดนตรีแล้วก็จะต้องเรียนวิชาภาษาต่างประเทศก็คือ ฝรั่งเศส, เยอรมัน และอิตาลี เพราะต้องใช้ในการเรียนเพื่อให้เข้าใจในความหมายของบทเพลงตะวันตก
การเรียนดนตรีนั้นเปิดกว้างมากในปัจจุบัน การเลือกนั้นก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่เกี่ยวกับศิลปะ รสนิยม และสุนทรียะ ส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นดนตรีไทยหรือดนตรีสากล น้องๆ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับทุกวิชาชีพและเป็นบุคลากรทางดนตรีที่มีคุณภาพในสังคม
จบมาทำงานอะไร
- นักดนตรี เล่นตามงาน event หรือเล่นตามร้านอาหาร
- นักดนตรี รับจ้างอัดเสียงในอัลบั้มต่างๆ
- สมัครเข้ารับราชการ พวกดุริยางค์ทหารเรือ ทหารบก ทหารอากาศ ตำรวจ หรือกรมศิลปากร
- นักแต่งเพลง ( แต่งเนื้อ แต่งทำนอง หรือเรียบเรียงดนตรี ) ทั้งรับจ้างแต่งเพลงลงอัลบั้มให้กับค่ายใหญ่ แต่งเพลงประกอบละคร เพลงประกอบหนัง หรือ score หนังก็ได้ หรืออาจเป็นศิลปินออกอัลบั้มเองก็ได้
- ซาวน์เอนจิเนียร์ในห้องอัด หรืองานคอนเสิร์ต
- อาจารย์สอนดนตรีตามรร.ดนตรี หรือ สมัครเป็นอาจารย์ประจำ หรืออาจารย์พิเศษ ในมหาวิทยาลัยรัฐ , เอกชน
- เปิดห้องซ้อมดนตรี หรือห้องอัดเสียง ให้เช่า
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรงโครงการพิเศษ (สิงหาคม)
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้นม.6
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.00
- มีความสามารถในสาขาวิชาที่สมัครเรียน
- ผ่านการทำสอบภาคทฤษฎีและทักษะของทางมหาวิทยาลัย
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
136, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
17, 000 บาท/เทอม
1 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 0.0 แย่มาก
ศิลปกรรมศาสตร์ สาขาดุริยางคศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
ศิลปกรรมศาสตร์ สาขาดุริยางคศิลป์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวศิลปกรรมศาสตร์ สาขาดุริยางคศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สาขาดุริยางคศิลป์ แบ่งออกเป็น 2 วิชาเอก ก็คือ ดุริยางคศิลป์ไทย, ดุริยางคศิลป์ตะวันตก เป็นสาขาวิชาดนตรีเหมือนกัน แต่ก็มีเรียนการสอนที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งสาขาดุริยางคศิลป์ไทย จะมีวิชาเรียนในวิชาเอกที่น้องๆ จะต้องเรียน อย่างเช่น ประวัติดุริยางคศิลป์ไทย, ทักษะดุริยางคศิลป์ไทย, การสอดทำนองดุริยางคศิลป์ไทย, สังคีตลักษณ์วิเคราะห์เพลงไทย, เครื่องหนัง, หลักการประพันธ์เพลงไทย, ประวัติดนตรีพื้นเมืองไทย, หลักและวิธีบรรเลงเพลงราชพิธี, เครื่องสายปี่ชวา, ขับร้องละคร, เพลงสำหรับการแสดง, ทักษะเพลงพื้นเมืองไทย, ประวัติดุริยางคศิลป์ตะวันออก, การอำนายเพลงไทย, สัมมนาดุริยางคศิลป์ไทย, เพลงปีพาทย์, เพลงมโหรี, พากย์และขับเสภา, เพลงพื้นบ้าน นอกจากเรียนรู้การใช้งานแล้ว น้องๆก็จะได้เรียนการเก็บซ่อมและรักษาเครื่องดนตรีไทย รวมถึงการวิจัยดุริยางคศิลป์, งานโครงการดุริยางคศิลปะ และการฝึกวิชาชีพดุริยางคศิลป์ เพื่อจบการศึกษาอีกด้วย และต่อไปคือสาขาดุริยางคศิลป์ตะวันตกซึ่งมีวิชาเรียนเอกที่แตกต่างกันไป เช่นวิชาทักษะดนตรี, การประสานเสียง, ขับร้องประสานเสียง, ลีลาสัมพันธ์, ประวัติและวรรณคดีดนตรี, ทักษะดนตรี, สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์, การอำนวยเพลง, การเรียบเรียงสำหรับวงดนตรี นอกจากที่น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับดนตรีแล้วก็จะต้องเรียนวิชาภาษาต่างประเทศก็คือ ฝรั่งเศส, เยอรมัน และอิตาลี เพราะต้องใช้ในการเรียนเพื่อให้เข้าใจในความหมายของบทเพลงตะวันตก
การเรียนดนตรีนั้นเปิดกว้างมากในปัจจุบัน การเลือกนั้นก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่เกี่ยวกับศิลปะ รสนิยม และสุนทรียะ ส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นดนตรีไทยหรือดนตรีสากล น้องๆ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับทุกวิชาชีพและเป็นบุคลากรทางดนตรีที่มีคุณภาพในสังคม
จบมาทำงานอะไร
- นักดนตรี รับจ้างอัดเสียงในอัลบั้มต่างๆ
- สมัครเข้ารับราชการ พวกดุริยางค์ทหารเรือ ทหารบก ทหารอากาศ ตำรวจ หรือกรมศิลปากร
- นักแต่งเพลง ( แต่งเนื้อ แต่งทำนอง หรือเรียบเรียงดนตรี ) ทั้งรับจ้างแต่งเพลงลงอัลบั้มให้กับค่ายใหญ่ แต่งเพลงประกอบละคร เพลงประกอบหนัง หรือ score หนังก็ได้ หรืออาจเป็นศิลปินออกอัลบั้มเองก็ได้
- ซาวน์เอนจิเนียร์ในห้องอัด หรืองานคอนเสิร์ต
- อาจารย์สอนดนตรีตามรร.ดนตรี หรือ สมัครเป็นอาจารย์ประจำ หรืออาจารย์พิเศษ ในมหาวิทยาลัยรัฐ , เอกชน
- เปิดห้องซ้อมดนตรี หรือห้องอัดเสียง ให้เช่า
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้นม.6
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.00
- มีความสามารถในสาขาวิชาที่สมัครเรียน
- ผ่านการทำสอบภาคทฤษฎีและทักษะของทางมหาวิทยาลัย
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
ศิลปกรรมศาสตร์ สาขาดุริยางคศิลป์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
1 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 0.0 แย่มาก
ศิลปกรรมศาสตร์ สาขาดุริยางคศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ