สถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาปนิก ไม่ใช่เพียงแต่เป็นอาชีพที่จะต้อง ออกแบบอาคารบ้านเรือน ตึกสวย แต่เคยลองคิดกลับกันว่าถ้าอาคารเหล่านี้ถูกสร้างอย่างไม่มีระเบียบ แต่ถ้าไปอยู่ผิดที่ผิดทาง ไม่มีการวางผังเมืองที่ดี ก็จะมีปัญาหาเรื่องภูมิทัศน์ตามมา ดังนั้นจึงต้องมีสถาปนิกที่ต้องคอยดูแลและออกแบบผังเมืองให้สวยงาม วันนี้พี่จะแนะนำอีกวิชาชีพ ในสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง เริ่มแรกนั้นเป็นเพียงแค่วิชาหนึ่งในการเรียนวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ และวิชาผังเมือง ให้แก่นิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ปีที่ 4 และปีที่ 5 ของคณะฯ โดยที่วิชาผังเมืองเป็นวิชาหนึ่งของหลักสูตรปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์ แล้วในปี 2514 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาที่ให้คือ Bachelor of Architecture (City Planning) หรือ สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต (ผังเมือง)
โดยที่นี่นั้นเป็นหลักสูตรUrban design หรือ ออกแบบชุมชนเมือง คือ การวางผังระดับโครงการ เช่นการวางผังกลุ่มอาคารขนาดใหญ่ ที่มีขนาดมากกว่า 30, 000 ตร.ม. ผังโครงการสถานบันศึกษา ผังพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ เป็นต้น ขึ้นชื่อว่าเรียนสถาปัตย์ ก็เรียนหนักด้วยกันทุกสาขา โดยสาขาสถาปัตยกรรมผังเมืองนั้น เรียนด้วยกันทั้งหมด 5 ปี โดยในปีที่ 1 นั้นจะเป็นวิชาเรียนพื้นฐานทางสถาปัตยกรรม อย่างวิชา การเขียนแบบและเขียนภาพสถาปัตยกรรม, หลักการออกแบบในงาน สถาปัตยกรรม, ปฏิบัติการออกแบบ, สถิติประยุกต์เพื่อการวางแผน โครงสร้างและวัสดุ, มรดกสถาปัตยกรรมไทย ส่วนในปีที่ 2 นั้นก็จะลงลึกมากยิ่งขึ้นอย่างเช่นวิชาหลักการออกแบบสิ่งแวดล้อม, ปฏิบัติการออกแบบสิ่งแวดล้อม, การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับสถาปัตยกรรมผังเมือง ในปีที่ 3 น้องๆ จะได้เรียนการพัฒนาฟื้นฟูเมือง, การวางผังโครงสร้างพื้นฐานเมืองสังคมวิทยาเมือง พอปีที่ 4 จะมีวิชาการฟื้นฟูบูรณะเมือง, การวางแผนและจัดการสิ่งแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์เมือง, การอนุรักษ์เมือง, การบริหารจัดการเมือง, การควบคุมการวางผังและออกแบบเมือง จะเห็นได้ว่าในปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 ส่วนมากนั้นจะเป็นการเรียนภาคปฏิบัติเป็นส่วนมาก และพอในปีที่ 5 ก็จะต้องทำวิทยานิพนธ์เพื่อจบการศึกษา น้องๆ จะเห็นว่าวิขาส่วนใหญ่นั้นจะเป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับการจัดการเมือง ทั้งออกแบบ, ฟื้นฟู และอนุรักษ์เมือง
สาขาสถาปัตยกรรมผังเมืองนั้น เหมาะสมกับน้องๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ เพราะการทำงานเกี่ยวกับผังเมืองนั้นจะต้องคำนึงถึงการออกแบบเพื่อจัดระเบียบภูมิทัศน์ของบ้านเมืองเรา อนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองเก่า นอกจากนี้แล้ว จะต้องวางแผนผังเมืองเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อภัยภิบัติต่างๆ อีกด้วย ดังนั้นการเรียนสาขานี้เมื่อน้องๆ จบออกไปจะต้องมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพเป็นอย่างมาก
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
1. กลุ่มอาจารย์ที่สอนอยู่ปัจจุบันแต่ละท่านจบมหาวิทยาลัยระดับโลกทั้งนั้น เช่น MIT, UofTokyo, UCL (London) และมหาลัยชั้นนำในเยอรมันและฝรั่งเศส
2. คอนเนคชั่นกับมหาวิทยาลัยต่างชาติ ได้ร่วมทำงานกับนิสิตนักศึกษาจากหลายประเทศ ทั้งในไทย และเดินทางไปต่างประเทศ ด้วยทุนสนับสนุนของภาควิชาและมหาวิทยาลัยต่างชาติ
จบมาทำงานอะไร
1.ทำงานในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ เช่น บริษัทในเครือ TCC land (เบียร์ช้าง) สยามภิวัฒน์ พฤกษาโนเบล land&house ฯลฯ
2. เข้าทำงานในบริษัทออกแบบและบริษัทที่ปรึกษา ทั้งในและต่างประเทศ เช่น A7, SHMA (landscape), โชติจินดา มูเซล, AECOM singapore, belt collins international (thailand) co. ltd ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (มีนาคม)
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาระดับชั้นม.6 ทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 3.00
- มีผลคะแนนสอบ GAT, PAT4 (สถาปัตยกรรมศาสตร์)
- มีผลสอบ 9 วิชาสามัญ (ในรายวิชาภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ มีคะแนนขั้นต่ำ 20%)
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ http://www.atc.chula.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT4 (สถาปัตยกรรมศาสตร์) 40%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
210, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21, 000 บาท/เทอม
สถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาปนิก ไม่ใช่เพียงแต่เป็นอาชีพที่จะต้อง ออกแบบอาคารบ้านเรือน ตึกสวย แต่เคยลองคิดกลับกันว่าถ้าอาคารเหล่านี้ถูกสร้างอย่างไม่มีระเบียบ แต่ถ้าไปอยู่ผิดที่ผิดทาง ไม่มีการวางผังเมืองที่ดี ก็จะมีปัญาหาเรื่องภูมิทัศน์ตามมา ดังนั้นจึงต้องมีสถาปนิกที่ต้องคอยดูแลและออกแบบผังเมืองให้สวยงาม วันนี้พี่จะแนะนำอีกวิชาชีพ ในสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง เริ่มแรกนั้นเป็นเพียงแค่วิชาหนึ่งในการเรียนวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ และวิชาผังเมือง ให้แก่นิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ปีที่ 4 และปีที่ 5 ของคณะฯ โดยที่วิชาผังเมืองเป็นวิชาหนึ่งของหลักสูตรปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์ แล้วในปี 2514 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาที่ให้คือ Bachelor of Architecture (City Planning) หรือ สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต (ผังเมือง)
โดยที่นี่นั้นเป็นหลักสูตรUrban design หรือ ออกแบบชุมชนเมือง คือ การวางผังระดับโครงการ เช่นการวางผังกลุ่มอาคารขนาดใหญ่ ที่มีขนาดมากกว่า 30, 000 ตร.ม. ผังโครงการสถานบันศึกษา ผังพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ เป็นต้น ขึ้นชื่อว่าเรียนสถาปัตย์ ก็เรียนหนักด้วยกันทุกสาขา โดยสาขาสถาปัตยกรรมผังเมืองนั้น เรียนด้วยกันทั้งหมด 5 ปี โดยในปีที่ 1 นั้นจะเป็นวิชาเรียนพื้นฐานทางสถาปัตยกรรม อย่างวิชา การเขียนแบบและเขียนภาพสถาปัตยกรรม, หลักการออกแบบในงาน สถาปัตยกรรม, ปฏิบัติการออกแบบ, สถิติประยุกต์เพื่อการวางแผน โครงสร้างและวัสดุ, มรดกสถาปัตยกรรมไทย ส่วนในปีที่ 2 นั้นก็จะลงลึกมากยิ่งขึ้นอย่างเช่นวิชาหลักการออกแบบสิ่งแวดล้อม, ปฏิบัติการออกแบบสิ่งแวดล้อม, การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับสถาปัตยกรรมผังเมือง ในปีที่ 3 น้องๆ จะได้เรียนการพัฒนาฟื้นฟูเมือง, การวางผังโครงสร้างพื้นฐานเมืองสังคมวิทยาเมือง พอปีที่ 4 จะมีวิชาการฟื้นฟูบูรณะเมือง, การวางแผนและจัดการสิ่งแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์เมือง, การอนุรักษ์เมือง, การบริหารจัดการเมือง, การควบคุมการวางผังและออกแบบเมือง จะเห็นได้ว่าในปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 ส่วนมากนั้นจะเป็นการเรียนภาคปฏิบัติเป็นส่วนมาก และพอในปีที่ 5 ก็จะต้องทำวิทยานิพนธ์เพื่อจบการศึกษา น้องๆ จะเห็นว่าวิขาส่วนใหญ่นั้นจะเป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับการจัดการเมือง ทั้งออกแบบ, ฟื้นฟู และอนุรักษ์เมือง
สาขาสถาปัตยกรรมผังเมืองนั้น เหมาะสมกับน้องๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ เพราะการทำงานเกี่ยวกับผังเมืองนั้นจะต้องคำนึงถึงการออกแบบเพื่อจัดระเบียบภูมิทัศน์ของบ้านเมืองเรา อนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองเก่า นอกจากนี้แล้ว จะต้องวางแผนผังเมืองเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อภัยภิบัติต่างๆ อีกด้วย ดังนั้นการเรียนสาขานี้เมื่อน้องๆ จบออกไปจะต้องมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพเป็นอย่างมาก
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
2. คอนเนคชั่นกับมหาวิทยาลัยต่างชาติ ได้ร่วมทำงานกับนิสิตนักศึกษาจากหลายประเทศ ทั้งในไทย และเดินทางไปต่างประเทศ ด้วยทุนสนับสนุนของภาควิชาและมหาวิทยาลัยต่างชาติ
จบมาทำงานอะไร
2. เข้าทำงานในบริษัทออกแบบและบริษัทที่ปรึกษา ทั้งในและต่างประเทศ เช่น A7, SHMA (landscape), โชติจินดา มูเซล, AECOM singapore, belt collins international (thailand) co. ltd ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาระดับชั้นม.6 ทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 3.00
- มีผลคะแนนสอบ GAT, PAT4 (สถาปัตยกรรมศาสตร์)
- มีผลสอบ 9 วิชาสามัญ (ในรายวิชาภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ มีคะแนนขั้นต่ำ 20%)
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ http://www.atc.chula.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT4 (สถาปัตยกรรมศาสตร์) 40%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
สถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
สถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ