สถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสี่คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมเริ่มขึ้นที่โรงเรียนเพาะช่างในปี พ.ศ. 2475 จึงโอนแผนกสถาปัตยกรรมของโรงเรียนเพาะช่างไปขึ้นกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขึ้นชื่อว่า สถาปัตย์ จุฬาฯ เชื่อว่าน้องๆ ที่อยากจะเป็นสถาปนิกต้องอยากเข้าเรียนที่นี่แน่นอน ภาควิชาสถาปัยกรรมศาสตร์ แบ่งออกเป็นสองสาขาวิชาก็คือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม, สาขาสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งเป็นหลักสูตร 5 ปี การเรียนการสอนนั้นก็จะคล้ายๆ แต่ที่ต่างกันก็คือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จะเรียนเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมทั่วไป ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาคาร สิ่งก่อสร้างประเภทต่างๆ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึง ปรัชญาในการออกแบบ ประโยชน์ใช้สอย ความสวยงาม พฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย การเลือกวัสดุก่อสร้าง และกรรมวิธีในการก่อสร้าง การอนุรักษ์สภาพแวดล้อม และพลังงาน ที่สำคัญจะต้องสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอีกด้วย ส่วนสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย นั้น จะเรียนเฉพาะทางในด้านสถาปัตยกรรมไทยโดยตรง มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติวิชาชีพ สนองความต้องการของสังคม โดยคำนึงถึงสภาวะแวดล้อม การใช้วัสดุพื้นถิ่น การประหยัดพลังงาน และวิธีการก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมไทย สาขาสถาปัตยกรรมไทยจะเน้นหนัก ไปทางการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ควบคู่ไปกับการออกแบบสถาปัตยกรรมทั่วไป เพื่อให้สามารถออกแบบงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ที่ยังคงเอกลักษณ์ไทย ในขณะเดียวกันก็ยังสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมของชาติ
แน่นอนอยู่แล้วว่าสถาปัตย์ทึกที่เรียนหนักแน่นอน ที่นี่ก็เช่นกัน โดยปีที่ 1 จะเป็นปีที่ปรับตัว โดยจะเรียนเกี่ยวกับพื้นฐานสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทั้งการออกแบบเบื้องต้น, การวาดเต้น เป็นต้น อาจมีการเข้าไปใน workshop เพื่อทำการเชื่อมเหล็ก ตัดไม้ สร้างแบบจำลองขนาดเท่าของจริงมาดูกัน ในเทอมที่สอง อาจจะเริ่มได้ออกแบบบ้านเล็กๆ เพื่อเรียนรู้การจัดเรียงฟังชั่นแบบง่ายๆ พอขึ้นปีที่ 2 จะเรียนลึกยิ่งชึ้นไป อย่างวิชาโครงสร้าง โครงสร้างเหล็ก, โครงสร้างไม้, เขียนแบบอาคารใหญ่ขึ้น, จะมีวิชาที่เป็นเทคนิควิธีให้ลง การตัดโมเดล, presentation อื่นๆอีกมากมาย ปีที่ 3 เริ่มเข้าสู่การผสานเอาแนวคิดกับตัวสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกัน วิชาออกแบบจะเป็นพิพิธภัณฑ์ต่างๆ, อาคารเรียน, รีสอร์ทอาคารที่มีลักษณะเป็นพื้นถิ่นไทยประยุกต์ต่างๆ เริ่มมีการเรียนวิชาผังบริเวณ, ออกแบบชุมชน, ผังเมืองวิชาบริหารงานก่อสร้าง, เขียนแบบอาคารขนาดใหญ่ขึ้นเช่น หอพัก, ประมาณราคา ปีที่ 4 ถือเป็นปีที่หนักที่สุดนอก จะมีเรียนวิชาเทคโนโลยีอาคาร, สถาปัตยกรรมภายใน, ภูมิสถาปัตยกรรม, สถาปัตยกรรมไทย นอกจากเรียนแล้ว น้องๆ ก็จะต้องเตรียมหัวข้อวิทยานิพนธ์ รวมถึงฝึกงานอีกด้วย และในปีที่ 5 ปีสุดท้ายน้องๆ จะต้องทำวิทยานิพนธ์เพื่อจบการศึกษา
ปัจจุบันการเรียนการสอนได้ขยายขอบเขตความรับผิดชอบออกไปสู่การผลิตนักออกแบบสาขาอื่นๆ รวมทั้งผลิตและส่งเสริมการสร้างสรรค์งานทางวิชาการและงานวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบแทบทุกสาขา รวมทั้งสถาปัตยกรรมและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง โดยมีจุดประสงค์หลักคือสร้างบัณฑิตที่มีความรู้และความสามารถที่จะปฏิบัติวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีจริยธรรม หรืออาจสามารถค้นคว้าและวิจัย เกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ในศาสตร์ว่าด้วยการออกแบบแทบทุกสาขา รวมทั้งสถาปัตยกรรมและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อสนองความต้องการของสังคมไทย
จบมาทำงานอะไร
- สถาปนิก
- นักวิชาการ / นักวิจัย
- เจ้าของกิจการ
- นักพัฒนาโครงการ / นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- ที่ปรึกษาโครงการ
- ผู้ประสานงานโครงการ
- นักออกแบบอิสระ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง โครงการพิเศษ สาขาสถาปัตยกรรมไทย (สิงหาคม)
- กำลังศึกษาระดับชั้นม.6
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.75
- มีผลคะแนนสอบ GAT 85(ความถนัดทั่วไป), PAT1(คณิตศาสตร์), PAT2(วิทยาศาสตร์)
- ผ่านการสอบความถนัดทางสถาปัตยกรรมไทย และ การสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ http://www.atc.chula.ac.th
ระบบรับตรง (มีนาคม)
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาระดับชั้นม.6 ทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 3.00
- มีผลคะแนนสอบ GAT, PAT4 (สถาปัตยกรรมศาสตร์)
- มีผลสอบ 9 วิชาสามัญ (ในรายวิชาภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ มีคะแนนขั้นต่ำ 20%)
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ http://www.atc.chula.ac.th
แอดมิชชัน (สาขาสถาปัตยกรรม)
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT4 (สถาปัตยกรรมศาสตร์) 40%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
210, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21, 000 บาท/เทอม
สถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขึ้นชื่อว่า สถาปัตย์ จุฬาฯ เชื่อว่าน้องๆ ที่อยากจะเป็นสถาปนิกต้องอยากเข้าเรียนที่นี่แน่นอน ภาควิชาสถาปัยกรรมศาสตร์ แบ่งออกเป็นสองสาขาวิชาก็คือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม, สาขาสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งเป็นหลักสูตร 5 ปี การเรียนการสอนนั้นก็จะคล้ายๆ แต่ที่ต่างกันก็คือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จะเรียนเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมทั่วไป ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาคาร สิ่งก่อสร้างประเภทต่างๆ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึง ปรัชญาในการออกแบบ ประโยชน์ใช้สอย ความสวยงาม พฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย การเลือกวัสดุก่อสร้าง และกรรมวิธีในการก่อสร้าง การอนุรักษ์สภาพแวดล้อม และพลังงาน ที่สำคัญจะต้องสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอีกด้วย ส่วนสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย นั้น จะเรียนเฉพาะทางในด้านสถาปัตยกรรมไทยโดยตรง มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติวิชาชีพ สนองความต้องการของสังคม โดยคำนึงถึงสภาวะแวดล้อม การใช้วัสดุพื้นถิ่น การประหยัดพลังงาน และวิธีการก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมไทย สาขาสถาปัตยกรรมไทยจะเน้นหนัก ไปทางการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ควบคู่ไปกับการออกแบบสถาปัตยกรรมทั่วไป เพื่อให้สามารถออกแบบงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ที่ยังคงเอกลักษณ์ไทย ในขณะเดียวกันก็ยังสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมของชาติ
แน่นอนอยู่แล้วว่าสถาปัตย์ทึกที่เรียนหนักแน่นอน ที่นี่ก็เช่นกัน โดยปีที่ 1 จะเป็นปีที่ปรับตัว โดยจะเรียนเกี่ยวกับพื้นฐานสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทั้งการออกแบบเบื้องต้น, การวาดเต้น เป็นต้น อาจมีการเข้าไปใน workshop เพื่อทำการเชื่อมเหล็ก ตัดไม้ สร้างแบบจำลองขนาดเท่าของจริงมาดูกัน ในเทอมที่สอง อาจจะเริ่มได้ออกแบบบ้านเล็กๆ เพื่อเรียนรู้การจัดเรียงฟังชั่นแบบง่ายๆ พอขึ้นปีที่ 2 จะเรียนลึกยิ่งชึ้นไป อย่างวิชาโครงสร้าง โครงสร้างเหล็ก, โครงสร้างไม้, เขียนแบบอาคารใหญ่ขึ้น, จะมีวิชาที่เป็นเทคนิควิธีให้ลง การตัดโมเดล, presentation อื่นๆอีกมากมาย ปีที่ 3 เริ่มเข้าสู่การผสานเอาแนวคิดกับตัวสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกัน วิชาออกแบบจะเป็นพิพิธภัณฑ์ต่างๆ, อาคารเรียน, รีสอร์ทอาคารที่มีลักษณะเป็นพื้นถิ่นไทยประยุกต์ต่างๆ เริ่มมีการเรียนวิชาผังบริเวณ, ออกแบบชุมชน, ผังเมืองวิชาบริหารงานก่อสร้าง, เขียนแบบอาคารขนาดใหญ่ขึ้นเช่น หอพัก, ประมาณราคา ปีที่ 4 ถือเป็นปีที่หนักที่สุดนอก จะมีเรียนวิชาเทคโนโลยีอาคาร, สถาปัตยกรรมภายใน, ภูมิสถาปัตยกรรม, สถาปัตยกรรมไทย นอกจากเรียนแล้ว น้องๆ ก็จะต้องเตรียมหัวข้อวิทยานิพนธ์ รวมถึงฝึกงานอีกด้วย และในปีที่ 5 ปีสุดท้ายน้องๆ จะต้องทำวิทยานิพนธ์เพื่อจบการศึกษา
ปัจจุบันการเรียนการสอนได้ขยายขอบเขตความรับผิดชอบออกไปสู่การผลิตนักออกแบบสาขาอื่นๆ รวมทั้งผลิตและส่งเสริมการสร้างสรรค์งานทางวิชาการและงานวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบแทบทุกสาขา รวมทั้งสถาปัตยกรรมและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง โดยมีจุดประสงค์หลักคือสร้างบัณฑิตที่มีความรู้และความสามารถที่จะปฏิบัติวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีจริยธรรม หรืออาจสามารถค้นคว้าและวิจัย เกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ในศาสตร์ว่าด้วยการออกแบบแทบทุกสาขา รวมทั้งสถาปัตยกรรมและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อสนองความต้องการของสังคมไทย
จบมาทำงานอะไร
- นักวิชาการ / นักวิจัย
- เจ้าของกิจการ
- นักพัฒนาโครงการ / นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- ที่ปรึกษาโครงการ
- ผู้ประสานงานโครงการ
- นักออกแบบอิสระ
สมัครเรียนทำอย่างไร
- กำลังศึกษาระดับชั้นม.6
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.75
- มีผลคะแนนสอบ GAT 85(ความถนัดทั่วไป), PAT1(คณิตศาสตร์), PAT2(วิทยาศาสตร์)
- ผ่านการสอบความถนัดทางสถาปัตยกรรมไทย และ การสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ http://www.atc.chula.ac.th
ระบบรับตรง (มีนาคม)
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาระดับชั้นม.6 ทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 3.00
- มีผลคะแนนสอบ GAT, PAT4 (สถาปัตยกรรมศาสตร์)
- มีผลสอบ 9 วิชาสามัญ (ในรายวิชาภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ มีคะแนนขั้นต่ำ 20%)
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ http://www.atc.chula.ac.th
แอดมิชชัน (สาขาสถาปัตยกรรม)
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT4 (สถาปัตยกรรมศาสตร์) 40%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
สถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
สถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ