views 289,362
ปริญญาตรี
ผู้ใหญ่กลัวว่าลูกเรียนสาขารังสีเทคนิคจะเสี่ยงได้รับอันตรายจากรังสี แต่มันก็ไม่ได้เสี่ยงขนาดนั้นนะ ผมว่าเค้าเรียนการใช้ก็ต้องเรียนการป้องกันด้วยแหละ ที่สำคัญสาขานี้ค่าตอบเเทนสูงและขาดแคลนมากนะครับ อยากให้น้องๆเรียนกันเยอะๆ ยังไงบ้านเราบุคลากรทางการแพทย์ขาดแคลนทุกสาขาแหละ
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ ...
ภาควิชารังสีเทคนิค ( Radiological Technology ) เกิดขึ้นพร้อมกับคณะสหเวชศาสตร์ ...
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคณะเทคนิคการแพทย์แห่งแรกของภาคเหนือและเป็นคณะที่สามของประเทศไทย ...
เทคนิคการแพทย์ สาขารังสีเทคนิค
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รีวิวเทคนิคการแพทย์ สาขารังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
"รังสีเทคนิค" ถือเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่สำคัญซึ่งจะขาดไม่ได้เลยในการตรวจโรคและวินิจฉัยด้านการแพทย์ สาขาวิชานี้จะสนับสนุนในด้านการให้บริการทางเทคนิคเพื่อตรวจวิเคราะห์ โดยครอบคลุมการทำงานใน 3 ส่วนด้วยกัน คือ 1. งานรังสีวินิจฉัย เช่น การถ่ายภาพเอกซ์เรย์ร่างกาย การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 2. งานรังสีรักษา หรือการใช้รังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง และ 3. งานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เช่น การควบคุมการทำงานเครื่องถ่ายภาพ บันทึกภาพการทำงานของอวัยวะภายในด้วยสารกัมมันตรังสี เป็นต้น โดยในระดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่เปิดสอนสาขารังสีเทคนิค มีอยู่เพียง 5 สถาบัน และหนึ่งในนั้น คือ ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ในส่วนของหลักสูตรการเรียนในปี 1 น้องๆ จะได้เรียนวิชาพื้นฐาน เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา แคลคูลัส ภาษาไทย อังกฤษ และวิชาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จากนั้นในชั้นปีที่ 2 จะได้เรียนเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น กายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน ชีวเคมีสำหรับรังสีเทคนิค ฟิสิกส์รังสีการแพทย์พื้นฐาน อุปกรณ์รังสีวินิจฉัย และการดูแลผู้ป่วยที่มารับการวินิจฉัยและรักษาด้วยรังสี และชั้นปีที่ 3 - 4 จะเรียนหลักวิธีวิจัยทางรังสีเทคนิค การป้องกันอันตรายจากรังสี เทคนิคการถ่ายภาพรังสี เทคนิคเวชศาสตร์นิวเคลียร์ รังสีรักษาประยุกต์ทางคลินิก เทคนิคการตรวจพิเศษทางรังสี เทคนิคขั้นสูงทางรังสีรักษา และออกไปฝึกงานที่คลินิก
เมื่อน้องๆ ได้รู้ขอบข่ายการเรียนและทำงานแล้ว หลายคนอาจจะกลัวว่าการเป็น “นักรังสีเทคนิค” ทั้งเสี่ยงและอันตรายต่อสุขภาพมากเพราะต้องทำงานกับรังสีอยู่ตลอด แต่ในการเรียนรังสีเทคนิคจริงๆ นั้น นอกจากนักศึกษาจะได้เรียนการใช้แล้ว ยังได้รู้วิธีการจัดการและการป้องกันที่เหมาสมด้วย เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลไปนะคะ น้องๆ จะเจอและสัมผัสกับรังสีน้อยมากเมื่อเทียบกับรังสียูวีจากแสงแดด หรือรังสีจากหน้าจอมือถือและคอมพิวเตอร์ที่น้องๆ ได้รับกันอยู่ทุกวัน เพราะฉะนั้น ถ้าสนใจเรียนก็สามารถเข้ามาเรียนได้เลย เนื่องจากสาขาวิชานี้มีเปิดสอนในระดับอุดมศึกษาอยู่เพียงไม่กี่แห่ง แต่ละแห่งก็ผลิตบัณฑิตได้ไม่เกินปีละ 40 คนเท่านั้น ซึ่งนั่นก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดการทำงานอย่างแน่นอน น้องๆ ที่จบสาขาวิชารังสีเทคนิค มั่นใจได้เลยว่าอนาคตการทำงานที่สดใสรอเราอยู่ และที่สำคัญนะคะ นักรังสีเทคนิคที่มีใบประกอบวิชาชีพนั้นมีอัตราเงินเดือนที่สูงมากๆ
จบมาทำงานอะไร
- นักขายอุปกรณ์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
- ครู อาจารย์ ในระดับมหาวิทยาลัย
สมัครเรียนทำอย่างไร
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาฯ ของคณะเทคนิคการแพทย์
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นม. 6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ (กลุ่มวิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ วิชาละไม่ต่ำกว่า 3.50 )
- มีผลลคะแนนการสอบวิชาสามัญของสทศ. จำนวน 7 วิชา
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ https://www3.reg.cmu.ac.th/ugradapply/
โควตา 17 จังหวัดในเขตภาคเหนือ และ โควตาเรียนดี
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นม.5 หรือ ม.6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ
- ผ่านการทดสอบของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ https://www.reg.cmu.ac.th/web2012/
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
เทคนิคการแพทย์ สาขารังสีเทคนิค
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
9 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 7.3 ดี
เทคนิคการแพทย์ สาขารังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดีไหม?
ผู้ใหญ่กลัวว่าลูกเรียนสาขารังสีเทคนิคจะเสี่ยงได้รับอันตรายจากรังสี แต่มันก็ไม่ได้เสี่ยงขนาดนั้นนะ ผมว่าเค้าเรียนการใช้ก็ต้องเรียนการป้องกันด้วยแหละ ที่สำคัญสาขานี้ค่าตอบเเทนสูงและขาดแคลนมากนะครับ อยากให้น้องๆเรียนกันเยอะๆ ยังไงบ้านเราบุคลากรทางการแพทย์ขาดแคลนทุกสาขาแหละ
ชยณัฐ สัณห์ฤทัย
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ