เกษตรศาสตร์ สาขาวิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รีวิวเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปัจจุบันนี้การเรียนสาขาวิชาด้านเกษตรในระดับอุดมศึกษา ใช่ว่าน้องๆ จะต้องได้เรียนแค่การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ให้ได้ผลผลิตที่ดีอย่างเดียว เพราะด้วยเทคโนโลยีและความก้าวหน้าด้านวิทยาการต่างๆ ทำให้การเรียนในศาสตร์นี้มีแขนงวิชาที่หลากหลายและสอดคล้องกับสภาพสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสื่อสาร จะเห็นได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ยังขาดแคลนบุคคลที่มีความรู้ในด้านการพัฒนา วิจัย และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ดังนั้นการจะทำเกษตรให้ประสบความสำเร็จและได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยการสื่อสาร แนะนำ และช่วยเหลือระหว่างผู้มีความรู้ความเข้าใจไปยังเกษตรกรผู้ผลิต
ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร ได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร พร้อมกับการจัดตั้งคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2511 เพื่อการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่ชุมชน และผลิตบัณฑิตที่มีทักษะความรู้ทางด้านเกษตร สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมไปสู่เกษตรกร เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเกษตรและชนบทโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในส่วนการเรียนในปี 1-2 น้องๆ จะได้เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป เช่น เคมี ชีววิทยา แคลคูลัส ฟิสิกส์ และวิชาพื้นฐานทางด้านเกษตรศาสตร์ การพัฒนาการเป็นผู้นำของเยาวชนในกลุ่มเกษตร การพัฒนาชุมชนและการพัฒนาการเกษตร หลักการวิจัยทางส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น จากนั้นในชั้นปีที่ 3 - 4 จะให้น้องๆ เลือกแผนการเรียนเฉพาะด้านอีก 2 แผน คือ 1. การจัดการงานส่งเสริมการเกษตร และ 2. เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตร จะได้เรียนวิชาเลือกที่ต่างกันไปแต่ยังเรียนวิชาหลักเหมือนกัน คือ วิชาพื้นฐานในกลุ่มพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อารักขาพืช คอมพิวเตอร์เบื้องต้น เทคโนโลยีสารสนเทศ การวางแผนบริหารและการจัดการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการเกษตร การส่งเสริมเกษตรที่สูง การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การวัดผลและการประเมินผล เทคโนโลยีการผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมการเกษตร และจะได้เลือกกลุ่มสหกิจศึกษาเพื่อส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท หรือ กลุ่มปัญหาพิเศษ คือการฝึกงานในสาขาวิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร เป็นต้น
จบมาทำงานอะไร
- นักวิจัยในบริษัทเอกชน ให้คำปรึกษาและให้บริการเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกร
- นักเกษตรประจำฟาร์ม นักเกษตรประจำสวน พนักงานในโรงคัดบรรจุพนักงานบริษัทส่งออกสินค้าเกษตร
- นักวิชาการ นักวิจัย นักวิชาการเกษตร รับราชการ ในหน่วยงานด้านการเกษตรและด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ครู อาจารย์ ผู้ช่วย ในสถาบันการศึกษาทางการเกษตร
- พนักงานบริษัทส่งออกสินค้าเกษตร พนักงานบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร
- ประกอบอาชีพส่วนตัว เจ้าของกิจการทางด้านธุรกิจเกษตรหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (กุมภาพันธ์ - มีนาคม)
โครงการอุดมศึกษาเพื่อทายาทเกษตรกร และ โครงการนักวิทยาศาสตร์เกษตร
- เป็นผู้ที่มีบิดาหรือมารดาหรือผู้อุปการะที่มีชีวิตอยู่มีอาชีพเป็นเกษตรกรเป็นอาชีพหลัก
- กำลังศึกษาในชั้นม. 5 เเผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสมทุกวิชา (GPAX) 4 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.00
- มีผลการเรียนเฉลี่ยในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (GPA) 4 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.00
- สมัครผ่านเว็บไซต์ http://www.agri.cmu.ac.th
โครงการนักวิทยาศาสตร์เกษตร
- กำลังศึกษาในชั้นม. 5 เเผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสมทุกวิชา (GPAX) 4 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.50
- มีผลการเรียนเฉลี่ยในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (GPA) 4 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.50
- สมัครผ่านเว็บไซต์ http://www.agri.cmu.ac.th
โควตา 17 จังหวัดในเขตภาคเหนือ
(เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย น่าน ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร และอุทัยธานี)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นม.5 หรือ 6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ
- ผ่านการทดสอบของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ https://www.reg.cmu.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 15%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
128, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
16, 000 บาท/เทอม
เกษตรศาสตร์ สาขาวิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รีวิวเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปัจจุบันนี้การเรียนสาขาวิชาด้านเกษตรในระดับอุดมศึกษา ใช่ว่าน้องๆ จะต้องได้เรียนแค่การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ให้ได้ผลผลิตที่ดีอย่างเดียว เพราะด้วยเทคโนโลยีและความก้าวหน้าด้านวิทยาการต่างๆ ทำให้การเรียนในศาสตร์นี้มีแขนงวิชาที่หลากหลายและสอดคล้องกับสภาพสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสื่อสาร จะเห็นได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ยังขาดแคลนบุคคลที่มีความรู้ในด้านการพัฒนา วิจัย และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ดังนั้นการจะทำเกษตรให้ประสบความสำเร็จและได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยการสื่อสาร แนะนำ และช่วยเหลือระหว่างผู้มีความรู้ความเข้าใจไปยังเกษตรกรผู้ผลิต
ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร ได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร พร้อมกับการจัดตั้งคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2511 เพื่อการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่ชุมชน และผลิตบัณฑิตที่มีทักษะความรู้ทางด้านเกษตร สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมไปสู่เกษตรกร เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเกษตรและชนบทโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในส่วนการเรียนในปี 1-2 น้องๆ จะได้เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป เช่น เคมี ชีววิทยา แคลคูลัส ฟิสิกส์ และวิชาพื้นฐานทางด้านเกษตรศาสตร์ การพัฒนาการเป็นผู้นำของเยาวชนในกลุ่มเกษตร การพัฒนาชุมชนและการพัฒนาการเกษตร หลักการวิจัยทางส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น จากนั้นในชั้นปีที่ 3 - 4 จะให้น้องๆ เลือกแผนการเรียนเฉพาะด้านอีก 2 แผน คือ 1. การจัดการงานส่งเสริมการเกษตร และ 2. เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตร จะได้เรียนวิชาเลือกที่ต่างกันไปแต่ยังเรียนวิชาหลักเหมือนกัน คือ วิชาพื้นฐานในกลุ่มพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อารักขาพืช คอมพิวเตอร์เบื้องต้น เทคโนโลยีสารสนเทศ การวางแผนบริหารและการจัดการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการเกษตร การส่งเสริมเกษตรที่สูง การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การวัดผลและการประเมินผล เทคโนโลยีการผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมการเกษตร และจะได้เลือกกลุ่มสหกิจศึกษาเพื่อส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท หรือ กลุ่มปัญหาพิเศษ คือการฝึกงานในสาขาวิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร เป็นต้น
จบมาทำงานอะไร
- นักเกษตรประจำฟาร์ม นักเกษตรประจำสวน พนักงานในโรงคัดบรรจุพนักงานบริษัทส่งออกสินค้าเกษตร
- นักวิชาการ นักวิจัย นักวิชาการเกษตร รับราชการ ในหน่วยงานด้านการเกษตรและด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ครู อาจารย์ ผู้ช่วย ในสถาบันการศึกษาทางการเกษตร
- พนักงานบริษัทส่งออกสินค้าเกษตร พนักงานบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร
- ประกอบอาชีพส่วนตัว เจ้าของกิจการทางด้านธุรกิจเกษตรหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร
สมัครเรียนทำอย่างไร
โครงการอุดมศึกษาเพื่อทายาทเกษตรกร และ โครงการนักวิทยาศาสตร์เกษตร
- เป็นผู้ที่มีบิดาหรือมารดาหรือผู้อุปการะที่มีชีวิตอยู่มีอาชีพเป็นเกษตรกรเป็นอาชีพหลัก
- กำลังศึกษาในชั้นม. 5 เเผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสมทุกวิชา (GPAX) 4 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.00
- มีผลการเรียนเฉลี่ยในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (GPA) 4 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.00
- สมัครผ่านเว็บไซต์ http://www.agri.cmu.ac.th
โครงการนักวิทยาศาสตร์เกษตร
- กำลังศึกษาในชั้นม. 5 เเผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสมทุกวิชา (GPAX) 4 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.50
- มีผลการเรียนเฉลี่ยในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (GPA) 4 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.50
- สมัครผ่านเว็บไซต์ http://www.agri.cmu.ac.th
โควตา 17 จังหวัดในเขตภาคเหนือ
(เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย น่าน ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร และอุทัยธานี)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นม.5 หรือ 6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ
- ผ่านการทดสอบของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ https://www.reg.cmu.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 15%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
เกษตรศาสตร์ สาขาวิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
เกษตรศาสตร์ สาขาวิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ