วนศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รีวิววนศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สาขาวิชาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ไม้และกระดาษ ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์ เน้นการเรียนการสอนทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากผลผลิตป่าไม้ และอุตสาหกรรมที่ใช้ไม้ และวัตถุดิบลิกโนเซลลูโลส ซึ่งเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต โดยมีเนื้อหาการเรียนการสอนครอบคลุมในเรื่อง คุณสมบัติของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต คุณภาพผลิตภัณฑ์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์
ทางภาควิชาได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรป่าไม้และความเจริญ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการใช้ประโยชน์จากไม้ ตลอดจนเพื่อสนองความต้องการบุคลากร ในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ไม้เป็นวัตถุดิบในประเทศไทย อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษของประเทศไทย มีการขยายตัวไม่แพ้อุตสาหกรรมชั้นนำอื่นๆ เนื่องจากความขาดแคลนบุคลากรที่จะไปปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมไม้ และอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ ทำให้บัณฑิตที่จบไปมีงานทำ 100% ทั้งนี้ยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรดังกล่าว เพื่อที่จะป้อนบัณฑิต ที่มีคุณภาพสู่อุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทย
การเรียนการสอนมีเนื้อหาและรายวิชามุ่งเน้นให้น้องเข้าใจหลักพื้นฐานคุณสมบัติของวัตถุดิบ หลักพื้นฐานในกระบวนการผลิต คุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยหลักสูตรเน้นการประยุกต์ใช้หลักพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต โดยน้องมีความรู้และเข้าใจในการทำปฏิบัติการ และมุ่งเน้นการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมการ
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- มีบริการในด้านการทดสอบคุณสมบัติของไม้ เยื่อและกระดาษและบอร์ดต่างๆ องค์ประกอบทางเคมีของไม้ การบริการทางด้านการแกะสลักด้วยแสงเลเซอร์การให้คำปรึกษาแนะนำกับประชาชนทั่วไปในด้านต่างๆ เช่น เยื่อและกระดาษ, การใช้ประโยชน์จากไม้, วัสดุทดแทน
- เป็นที่แรกของประเทศไทยที่เปิดสาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
- มีห้องปฏิบัติที่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย
จบมาทำงานอะไร
มีโอกาสเข้าทำงานที่กรมป่าไม้, กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช, กรมทรพยากรทางทะเลและชายฝั่งค่อนข้างสูง, องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ บริษัทไม้อัดไทย, บริษัทเอกชนที่เกี่ยวกับเยื่อและกระดาษ, บุคลากรด้านนิเวศป่าไม้ เช่น สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ, ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30% (เกณฑ์ขั้นต่ำวิชา03 (ภาษาอังกฤษ) = 16%)
- GAT 10%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
120, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
15, 000 บาท/เทอม
วนศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อุตสาหกรรมที่ใช้ไม้เป็นวัตถุดิบในประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุค ที่ต้องการบุคลากร ที่มีความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ผนวกกับความรู้ ด้านเทคโนโลยีทางการใช้ประโยชน์จากไม้ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากทรัพยากรป่าไม้ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อุตสาหกรรมไม้ดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้กรรมวิธีการแปรรูปเชิงกลที่ใช้ใน กระบวนการผลิต เช่น โรงงานไม้อัด โรงงานผลิตเครื่องเรือน โรงงานแผ่นใยไม้อัด โรงงานแผ่นชิ้นไม้อัด โรงงานผลิตชิ้นส่วนโครงสร้าง โรงงานผลิตไม้รองยกและกล่อง สำหรับการขนส่ง เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ไม้จากอุตสาหกรรมเหล่านี้ ทำรายได้ให้ประเทศ ปีละหลายหมื่นล้านบาท และยังช่วยสร้างงานให้กับประชาชนชาวไทยอีกจำนวนมาก
ในทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษของประเทศไทย มีการขยายตัวไม่แพ้อุตสาหกรรมชั้นนำอื่นๆ จากรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อ และกระดาษแห่งประเทศไทย และการประชุมเชิงปฏิบัติการของสำนักงานคณะกรรมการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่องกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ยืนยันว่า รายได้สุทธิรวมของอุตสาหกรรมเกษตร ที่เกี่ยวกับกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษ และการพิมพ์มีมูลค่าสูงกว่า 500,000 ล้านบาท หรือเป็นครึ่งหนึ่งของอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมด
เนื่องจากความขาดแคลนบุคลากรที่จะไปปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมไม้ และอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ ทำให้บัณฑิตที่จบจากทั้ง 2 สาขา มีงานทำ 100%โดยในปี 2549 บัณฑิตที่จบ เมื่อทำงานได้รับเงินเดือนขั้นต่ำเดือนละ 12,000 บาท ทั้งนี้ยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรดังกล่าว เพื่อที่จะป้อนบัณฑิต ที่มีคุณภาพสู่อุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะวนศาสตร์ (Faculty of Forestry)
ชื่อสาขา
วนผลิตภัณฑ์ (สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ) (Department of Forest Products)
รายละเอียด
ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นการเรียนการสอนทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากผลผลิตป่าไม้ และอุตสาหกรรมที่ใช้ไม้และLignocellulosic materialsเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต โดยมีี่เนื้อหาการเรียนการสอนครอบคลุมในเรื่อง คุณสมบัติของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต คุณภาพผลิตภัณฑ์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์
การเรียนการสอนมีเนื้อหาและรายวิชามุ่งเน้นให้นิสิตเข้าใจหลักพื้นฐานคุณสมบัติของวัตถุดิบ หลักพื้นฐานในกระบวนการผลิต คุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยหลักสูตรมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้หลักพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร ์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต โดยภาควิชามุ่งเน้นให้นิสิตมีความรู้และเข้าใจในการทำปฏิบัติการ และมุ่งเน้นการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆที่นำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต โดยบุคลากรที่จบการศึกษาสามารถประกอบอาชีพทางด้าน วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ พนักงาน เจ้าหน้าที่บริการทางเทคนิคเกี่ยวกับเครื่องจักร เจ้าหน้าที่บริการทางเทคนิคเกี่ยวกับสารเคมี และอื่นๆ
หลักสูตรการเรียนการสอนภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย สองสาขาวิชาได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้ และสาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
อาชีพ
มีโอกาสเข้าทำงานที่กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรพยากรทางทะเลและชายฝั่งค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังสามารถทำงานได้ที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ บริษัทไม้อัดไทย บริษัทเอกชนที่เกี่ยวกับเยื่อและกระดาษ ตลอดตนอุตสาหกรรมเกี่ยวกับไม้ รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องการบุคลากรด้านนิเวศป่าไม้ เช่น สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ตลอดจนเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ และอาชีพอิสระ เป็นต้น
1 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
วนศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดีไหม?
วนศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รีวิววนศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สาขาวิชาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ไม้และกระดาษ ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์ เน้นการเรียนการสอนทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากผลผลิตป่าไม้ และอุตสาหกรรมที่ใช้ไม้ และวัตถุดิบลิกโนเซลลูโลส ซึ่งเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต โดยมีเนื้อหาการเรียนการสอนครอบคลุมในเรื่อง คุณสมบัติของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต คุณภาพผลิตภัณฑ์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์
ทางภาควิชาได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรป่าไม้และความเจริญ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการใช้ประโยชน์จากไม้ ตลอดจนเพื่อสนองความต้องการบุคลากร ในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ไม้เป็นวัตถุดิบในประเทศไทย อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษของประเทศไทย มีการขยายตัวไม่แพ้อุตสาหกรรมชั้นนำอื่นๆ เนื่องจากความขาดแคลนบุคลากรที่จะไปปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมไม้ และอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ ทำให้บัณฑิตที่จบไปมีงานทำ 100% ทั้งนี้ยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรดังกล่าว เพื่อที่จะป้อนบัณฑิต ที่มีคุณภาพสู่อุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทย
การเรียนการสอนมีเนื้อหาและรายวิชามุ่งเน้นให้น้องเข้าใจหลักพื้นฐานคุณสมบัติของวัตถุดิบ หลักพื้นฐานในกระบวนการผลิต คุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยหลักสูตรเน้นการประยุกต์ใช้หลักพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต โดยน้องมีความรู้และเข้าใจในการทำปฏิบัติการ และมุ่งเน้นการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมการ
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นที่แรกของประเทศไทยที่เปิดสาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
- มีห้องปฏิบัติที่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- GPAX 20%
- O-NET 30% (เกณฑ์ขั้นต่ำวิชา03 (ภาษาอังกฤษ) = 16%)
- GAT 10%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วนศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษของประเทศไทย มีการขยายตัวไม่แพ้อุตสาหกรรมชั้นนำอื่นๆ จากรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อ และกระดาษแห่งประเทศไทย และการประชุมเชิงปฏิบัติการของสำนักงานคณะกรรมการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่องกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ยืนยันว่า รายได้สุทธิรวมของอุตสาหกรรมเกษตร ที่เกี่ยวกับกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษ และการพิมพ์มีมูลค่าสูงกว่า 500,000 ล้านบาท หรือเป็นครึ่งหนึ่งของอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมด
เนื่องจากความขาดแคลนบุคลากรที่จะไปปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมไม้ และอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ ทำให้บัณฑิตที่จบจากทั้ง 2 สาขา มีงานทำ 100%โดยในปี 2549 บัณฑิตที่จบ เมื่อทำงานได้รับเงินเดือนขั้นต่ำเดือนละ 12,000 บาท ทั้งนี้ยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรดังกล่าว เพื่อที่จะป้อนบัณฑิต ที่มีคุณภาพสู่อุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
มีโอกาสเข้าทำงานที่กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรพยากรทางทะเลและชายฝั่งค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังสามารถทำงานได้ที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ บริษัทไม้อัดไทย บริษัทเอกชนที่เกี่ยวกับเยื่อและกระดาษ ตลอดตนอุตสาหกรรมเกี่ยวกับไม้ รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องการบุคลากรด้านนิเวศป่าไม้ เช่น สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ตลอดจนเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ และอาชีพอิสระ เป็นต้น
1 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
วนศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ