รีวิวพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2481 ปัจจุบันได้เปิดสอนหลักสูตรมากมาย เพ่ือให้ครอบคลุมในทุกระดับการศึกษา รับรองการขยายตัวทางศึกษาของไทยในอนาคต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มุ่งเน้นให้่น้องๆ มีความรู้ความสามารถทางด้านบริหารธุรกิจไปพร้อมๆ กับความพัฒนาของประเทศอย่างยั่งยืน และสามารถเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ เข้ากับการวางแผน การวิเคราะห์ การตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มี 5 สาขาวิชา ได้แก่
1. สาขาวิชาการจัดการเพื่อเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ เป็นสาขาวิชาล่าสุดของหลักสูตรนี้ เน้นสร้างบัณฑิตให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในอนาคต ด้วยกระบวนการทางความคิดแบบผู้ประกอบการ แสวงหาผลกำไร เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจ โดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง อีกทั้งยังสามารถนำศาสตร์การจัดการควบคู่ไปกับศาสตร์การบริหารธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตลาด บัญชี การเงิน การผลิต และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากการผู้ประกอบการ จะต้องสามารถเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และประยุกต์ใช้ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้
2. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ เป็นสาขาวิชาที่เน้นถึงการนำเอาแนวคิดด้านการจัดการมาคิดมุมกลับปรับมุมมองใหม่ ให้เข้ากับระบบโซ่อุปทาน เริ่มตั้งแต่การจัดซื้อ, การขนส่งและเก็บรักษาสินค้า, รวมไปถึงขั้นตอนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ Product โดยใช้ต้นทุนให้ต่ำที่สุด เนื้อหาจะเน้นเรื่องของการกระจายสินค้าในระบบโซ่อุปทาน การจัดการขนส่งและเก็บรักษาสินค้า ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ รวมทั้งการจัดการความสัมพันธ์กับคู่ค้าในระบบโซ่อุปทาน เพื่อให้น้องๆ มีความรู้และเข้าใจในกระบวนการจัดการกระจายสินค้าของระบบโซ่อุปทานโลกได้อย่างเป็นระบบ
3. สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการจัดการ เป็นการศึกษาเรื่องของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมารวมเข้ากับกระบวนการทำงานขององค์กรต่างๆ เพื่อตอบสนองการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนจะเน้นไปที่ความรู้ในศาสตร์สารสนเทศควบคู่กับการบริหารธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตลาด บัญชี การเงิน การผลิต ฯลฯ
4. สาขาวิชาการธนาคารและการเงิน เน้นการผลิตบัณฑิตทางด้านสาขาการธนาคารและการเงินให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดงานด้านการเงินในปัจจุบัน รวมไปถึงการบริการสังคมทางด้านวิชาการให้แก่หน่วยงานรัฐและเอกชนในการพัฒนาความรู้ที่มีอยู่ให้ทันกับก้าวหน้าทางด้านตลาด การเงิน และการลงทุน
5. สาขาวิชาการตลาด จะสอนน้องๆ ให้มีความรู้ด้านการตลาดอย่างครบถ้วน น้องๆ สามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง ดังนั้นนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียนแล้ว ยังได้สนับสนุนนิสิตในการไปทัศนศึกษาเยี่ยมชมธุรกิจจริงๆ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้เพราะในหลายวิชาก็ได้มีการเชิญอาจารย์พิเศษหรือวิทยากรผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จในแวดวงการตลาด มาบรรยายให้กับน้องๆ อีกด้วย ตลอดจนยังได้มีการส่งนิสิตเข้าฝึกงานในแผนกการตลาดขององค์กรต่างๆ นอกจากนั้นทางคณะๆ ยังกระตุ้นให้นิสิตทุกคนเประกวดแข่งขันทางการตลาด ซึ่งนิสิตของภาควิชาการตลาดได้รับรางวัลจากการแข่งขันเหล่านี้มาโดยตลอด
ในการเรียนการสอนสำหรับหลักสูตรนี้ ในปี 1 น้องๆ จะได้เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป, สังคมศาสตร์ และพื้นฐานทางธุรกิจ ซึ่งก็จะมีบางวิชาทีต่อยอดจากช่วงเรียนม.ปลาย แต่บางวิชาที่เป็นเนื้อหาใหม่
วิชาเรียนในปี 1 ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จะมีวิชาที่น้องๆ สามารถนำไปตัดสินใจในการเลือกสาขาวิชาเอกของตัวเองได้ อาทิ
- Calculus for Business ซึ่งเป็นการต่อยอดพื้นฐานจาก ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะต้องนำไปประยุกต์กับทางธุรกิจ วิชานี้เป็นวิชาที่หนักที่สุดที่น้องๆ จะได้เจอตอนปี 1
- Experience English 1 - 2 วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน เป็นการเรียนปรับพื้นฐานวิชาภาษาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัย โดยจะเน้นใน 4 ทักษะ (ฟัง พูด อ่าน เขียน)
- Financial Accounting / Intermediate Accounting พื้นฐานบัญชี และหลักการทางบัญชีทั้งหมด เจาะลึกการบัญชีการเงินฝั่งสินทรัพย์
- Economics 1 - 2 เรียนตั้งแต่ Micro จนถึง Macro ของ Business Economics (เน้นการธนาคารและการเงิน และการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ)
- Management and Organization เป็นวิชาฟังก์ชั่นธุรกิจหลักตัวแรกที่น้องๆ จะได้เรียน ส่วนฟังก์ชั่นธุรกิจหลักตัวอื่น เช่น Marketing, Finance และ Operations จะได้เรียนในปีต่อๆ ไป
- General Education เป็นวิชาทั่วไปของทางมหาวิทยาลัยที่น้องๆ จะได้เรียนรวมกับเพื่อนต่างคณะ ซึ่งเป็นวิชาเลือกกึ่งบังคับคือน้องๆ สามารถเลือกเรียนวิชาอะไรก็ได้ภายใน 4 หมวดนี้ เก็บให้ครบภายใน 4 ปี (หมวดวิทยาศาสตร์, หมวดสังคมศาสตร์, หมวดมนุษยศาสตร์ และหมวดสหศาสตร์)
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นหลักสูตรที่เปิดมานานแล้วกว่า 70 ปี
จบมาทำงานอะไร
สาขาวิชาการจัดการเพื่อเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ : ผู้ประกอบการใหม่/ผู้ประกอบการในอนาคต, ผู้ประกอบการเพื่อสังคม, ผู้ประกอบการในองค์กร เช่น นักพัฒนาธุรกิจ, นักวิเคราะห์และวางแผน, ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ ฯลฯ
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ : เจ้าของกิจการ: ผู้รับจัดการขนส่งสินค้า, ตัวแทนออกของ, ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ , ผู้จัดการขนส่งสินค้าหลายรูปแบบ, ผู้จัดการในบริษัทสายการเดินเรือ บริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ, ผู้จัดการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน , ผู้จัดการคลังสินค้า ผู้จัดการงานขนส่งและการกระจายสินค้า, หน่วยงานภาครัฐ เช่น การท่าเรือ การท่าอากาศยาน และ การรถไฟ เป็นต้น ฯลฯ
สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการจัดการ : นักวิเคราะห์ระบบ, นักวิเคราะห์ข้อมูล, ที่ปรึกษาด้านระบบสารสนเทศ, ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศ, ที่ปรึกษาระบบจัดการทรัพยากรองค์กร, นักพัฒนาระบบ ฯลฯ
สาขาวิชาการธนาคารและการเงิน : งานBancassurance, งานบริการลูกค้าองค์กร, งานที่ปรึกษาการเงินลูกค้าองค์กร, งานวิเคราะห์สินเชื่อ งานอนุมัติสินเชื่อ, งานเร่งรัดหนี้สิน, งานเงินทุนหลักทรัพย์, งานบริการด้านการเงิน, งานบริหารกองทุน, งานลงทุน, งานสินเชื่อ, งานรับจำนอง, งาน Private Banking, งาน Retail Banking, งาน Treasury, งานธนาคารอื่นๆ ฯลฯ
สาขาวิชาการตลาด : ผู้ช่วยแบรนด์ธุรกิจอุตสาหกรรม, ผู้จัดการแบรนด์, ผู้ช่วยทางด้านการขายนธุรกิจทางด้านการตลาดและการกระจายสินค้า, ผู้จัดการฝ่ายขาย หรือผู้จัดการทางด้านการตลาด, ผู้ช่วยฝ่ายพัฒนาในสถานประกอบการทางด้านการค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า, ผู้จัดการเขตหรือผู้จัดการฝ่าย ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (มีนาคม)
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) ม.ปลาย รวม 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00
- เฉพาะสาขาบัญชี มีผลคะแนนสอบ GAT และ PAT1 (เกณฑ์ขั้นต่ำคะแนนรวมทุกวิชา 50%)
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30% (คะแนนวิชาภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, สังคมศึกษา, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 30%)
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
136, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
17, 000 บาท/เทอม
พาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2481 ปัจจุบันได้เปิดสอนหลักสูตรมากมาย เพ่ือให้ครอบคลุมในทุกระดับการศึกษา รับรองการขยายตัวทางศึกษาของไทยในอนาคต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มุ่งเน้นให้่น้องๆ มีความรู้ความสามารถทางด้านบริหารธุรกิจไปพร้อมๆ กับความพัฒนาของประเทศอย่างยั่งยืน และสามารถเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ เข้ากับการวางแผน การวิเคราะห์ การตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มี 5 สาขาวิชา ได้แก่
1. สาขาวิชาการจัดการเพื่อเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ เป็นสาขาวิชาล่าสุดของหลักสูตรนี้ เน้นสร้างบัณฑิตให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในอนาคต ด้วยกระบวนการทางความคิดแบบผู้ประกอบการ แสวงหาผลกำไร เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจ โดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง อีกทั้งยังสามารถนำศาสตร์การจัดการควบคู่ไปกับศาสตร์การบริหารธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตลาด บัญชี การเงิน การผลิต และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากการผู้ประกอบการ จะต้องสามารถเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และประยุกต์ใช้ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้
2. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ เป็นสาขาวิชาที่เน้นถึงการนำเอาแนวคิดด้านการจัดการมาคิดมุมกลับปรับมุมมองใหม่ ให้เข้ากับระบบโซ่อุปทาน เริ่มตั้งแต่การจัดซื้อ, การขนส่งและเก็บรักษาสินค้า, รวมไปถึงขั้นตอนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ Product โดยใช้ต้นทุนให้ต่ำที่สุด เนื้อหาจะเน้นเรื่องของการกระจายสินค้าในระบบโซ่อุปทาน การจัดการขนส่งและเก็บรักษาสินค้า ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ รวมทั้งการจัดการความสัมพันธ์กับคู่ค้าในระบบโซ่อุปทาน เพื่อให้น้องๆ มีความรู้และเข้าใจในกระบวนการจัดการกระจายสินค้าของระบบโซ่อุปทานโลกได้อย่างเป็นระบบ
3. สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการจัดการ เป็นการศึกษาเรื่องของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมารวมเข้ากับกระบวนการทำงานขององค์กรต่างๆ เพื่อตอบสนองการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนจะเน้นไปที่ความรู้ในศาสตร์สารสนเทศควบคู่กับการบริหารธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตลาด บัญชี การเงิน การผลิต ฯลฯ
4. สาขาวิชาการธนาคารและการเงิน เน้นการผลิตบัณฑิตทางด้านสาขาการธนาคารและการเงินให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดงานด้านการเงินในปัจจุบัน รวมไปถึงการบริการสังคมทางด้านวิชาการให้แก่หน่วยงานรัฐและเอกชนในการพัฒนาความรู้ที่มีอยู่ให้ทันกับก้าวหน้าทางด้านตลาด การเงิน และการลงทุน
5. สาขาวิชาการตลาด จะสอนน้องๆ ให้มีความรู้ด้านการตลาดอย่างครบถ้วน น้องๆ สามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง ดังนั้นนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียนแล้ว ยังได้สนับสนุนนิสิตในการไปทัศนศึกษาเยี่ยมชมธุรกิจจริงๆ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้เพราะในหลายวิชาก็ได้มีการเชิญอาจารย์พิเศษหรือวิทยากรผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จในแวดวงการตลาด มาบรรยายให้กับน้องๆ อีกด้วย ตลอดจนยังได้มีการส่งนิสิตเข้าฝึกงานในแผนกการตลาดขององค์กรต่างๆ นอกจากนั้นทางคณะๆ ยังกระตุ้นให้นิสิตทุกคนเประกวดแข่งขันทางการตลาด ซึ่งนิสิตของภาควิชาการตลาดได้รับรางวัลจากการแข่งขันเหล่านี้มาโดยตลอด
ในการเรียนการสอนสำหรับหลักสูตรนี้ ในปี 1 น้องๆ จะได้เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป, สังคมศาสตร์ และพื้นฐานทางธุรกิจ ซึ่งก็จะมีบางวิชาทีต่อยอดจากช่วงเรียนม.ปลาย แต่บางวิชาที่เป็นเนื้อหาใหม่
วิชาเรียนในปี 1 ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จะมีวิชาที่น้องๆ สามารถนำไปตัดสินใจในการเลือกสาขาวิชาเอกของตัวเองได้ อาทิ
- Calculus for Business ซึ่งเป็นการต่อยอดพื้นฐานจาก ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะต้องนำไปประยุกต์กับทางธุรกิจ วิชานี้เป็นวิชาที่หนักที่สุดที่น้องๆ จะได้เจอตอนปี 1
- Experience English 1 - 2 วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน เป็นการเรียนปรับพื้นฐานวิชาภาษาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัย โดยจะเน้นใน 4 ทักษะ (ฟัง พูด อ่าน เขียน)
- Financial Accounting / Intermediate Accounting พื้นฐานบัญชี และหลักการทางบัญชีทั้งหมด เจาะลึกการบัญชีการเงินฝั่งสินทรัพย์
- Economics 1 - 2 เรียนตั้งแต่ Micro จนถึง Macro ของ Business Economics (เน้นการธนาคารและการเงิน และการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ)
- Management and Organization เป็นวิชาฟังก์ชั่นธุรกิจหลักตัวแรกที่น้องๆ จะได้เรียน ส่วนฟังก์ชั่นธุรกิจหลักตัวอื่น เช่น Marketing, Finance และ Operations จะได้เรียนในปีต่อๆ ไป
- General Education เป็นวิชาทั่วไปของทางมหาวิทยาลัยที่น้องๆ จะได้เรียนรวมกับเพื่อนต่างคณะ ซึ่งเป็นวิชาเลือกกึ่งบังคับคือน้องๆ สามารถเลือกเรียนวิชาอะไรก็ได้ภายใน 4 หมวดนี้ เก็บให้ครบภายใน 4 ปี (หมวดวิทยาศาสตร์, หมวดสังคมศาสตร์, หมวดมนุษยศาสตร์ และหมวดสหศาสตร์)
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
จบมาทำงานอะไร
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ : เจ้าของกิจการ: ผู้รับจัดการขนส่งสินค้า, ตัวแทนออกของ, ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ , ผู้จัดการขนส่งสินค้าหลายรูปแบบ, ผู้จัดการในบริษัทสายการเดินเรือ บริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ, ผู้จัดการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน , ผู้จัดการคลังสินค้า ผู้จัดการงานขนส่งและการกระจายสินค้า, หน่วยงานภาครัฐ เช่น การท่าเรือ การท่าอากาศยาน และ การรถไฟ เป็นต้น ฯลฯ
สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการจัดการ : นักวิเคราะห์ระบบ, นักวิเคราะห์ข้อมูล, ที่ปรึกษาด้านระบบสารสนเทศ, ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศ, ที่ปรึกษาระบบจัดการทรัพยากรองค์กร, นักพัฒนาระบบ ฯลฯ
สาขาวิชาการธนาคารและการเงิน : งานBancassurance, งานบริการลูกค้าองค์กร, งานที่ปรึกษาการเงินลูกค้าองค์กร, งานวิเคราะห์สินเชื่อ งานอนุมัติสินเชื่อ, งานเร่งรัดหนี้สิน, งานเงินทุนหลักทรัพย์, งานบริการด้านการเงิน, งานบริหารกองทุน, งานลงทุน, งานสินเชื่อ, งานรับจำนอง, งาน Private Banking, งาน Retail Banking, งาน Treasury, งานธนาคารอื่นๆ ฯลฯ
สาขาวิชาการตลาด : ผู้ช่วยแบรนด์ธุรกิจอุตสาหกรรม, ผู้จัดการแบรนด์, ผู้ช่วยทางด้านการขายนธุรกิจทางด้านการตลาดและการกระจายสินค้า, ผู้จัดการฝ่ายขาย หรือผู้จัดการทางด้านการตลาด, ผู้ช่วยฝ่ายพัฒนาในสถานประกอบการทางด้านการค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า, ผู้จัดการเขตหรือผู้จัดการฝ่าย ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) ม.ปลาย รวม 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00
- เฉพาะสาขาบัญชี มีผลคะแนนสอบ GAT และ PAT1 (เกณฑ์ขั้นต่ำคะแนนรวมทุกวิชา 50%)
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30% (คะแนนวิชาภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, สังคมศึกษา, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 30%)
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
พาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
2 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 10.0 ดีเยี่ยม
พาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ