เภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
รีวิวเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในยุคที่ยังเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหิดล) ชื่อคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท เคยเป็นส่วหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาก่อน ต่อมาได้แยกตัวออกจากจุฬาฯ และจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ฯ เป็นของตัวเอง โดยตัดคำว่า พญาไท ออกจากชื่อคณะเดิม เป็นคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เหมือนในปัจจุบัน
หากน้องๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะฯ ในปีที่ 1 - 4 จะเน้นไปทางด้านความรู้พื้นฐานและทักษะในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรมที่จำเป็น และเมื่อขึ้นปีที่ 5 น้องๆ จะต้องเลือกสายของตัวเองว่าอยากจบไปชำนาญด้านไหน ซึ่งคณะฯ มีให้เลือก 2 สาย คือ เภสัชอุตสาหการ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผลิตยา ตรวจวิเคราะห์ การประกันคุณภาพของยา รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพร และอีกสายคือ การบริบาลทางเภสัชกรรม ที่เน้นในเรื่องการดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ร้านขายยา งานเกี่ยวกับคุ้มครองผู้บริโภคทั้งหมด ในส่วนของปีที่ 6 น้องๆ ว่าที่เภสัชฯ จะได้ฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชฯ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา, โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย (ศิริราช, รามาธิบดี) , โรงพยาบาลชั้นนำของประเทศ, ร้านยาต่างๆ ซึ่งก่อนจบน้องๆ จะต้องผ่านการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพไม่ต่ำกว่า 2, 000 ชั่วโมงตลอดทั้งหลักสูตร
จบมาทำงานอะไร
เภสัชกรประจำโรงพยาบาลของภาครัฐในระดับส่วนกลางและระดับท้องถิ่น, เภสัชกรประจำโรงพยาบาลเอกชน, เภสัชกรประจำโรงงานอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง, เภสัชกรประจำร้านขายยา, อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน, ผู้ประกอบการในธุรกิจทางด้านเภสัชกรรม ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
โควตาโครงการส่งเสริมความถนัดทางวิชาชีพ
- กำลังศึกษาในระดับชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 3.00
- ผ่านการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็บไซต์ www.mahidol.ac.th/directadmission
ระบบรับตรง กสพท.
- ผลคะแนนสอบวิชาสามัญ 10 % (วิทยาศาสตร์ 40% คณิตศาสตร์ 20% ภาษาอังกฤษ 20% ภาษาไทย 10% สังคมศึกษา 10%)
- ผลคะแนนสอบวิชาเฉพาะแพทย์ 30%
- O-NET ได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60%
- สมัครสอบที่เว็บไซต์ www9.si.mahidol.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 40%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
216, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
ประมาณ 18, 000 บาท/เทอม
เภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
เป็นหลักสูตรวิชาชีพได้รับการรับรอง มาตรฐานจากสภาเภสัชกรรม มีเป้าหมายในการผลิตเภสัชกรที่มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีงามในการ ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่มีความรู้ความสามารถและทักษะทางวิชาชีพชั้นสูง การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับ 21stcentury skill outcomes ในระดับสากล ชั้นปีที่ 1-4 เน้นความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรมขั้นพื้นฐาน ชั้นปีที่ 5 และ 6 สามารถเลือกเรียนด้านเภสัชอุตสาหการ (การผลิต ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอาง เป็นต้น ) และด้านบริบาลทางเภสัชกรรม (การดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ร้านขายยา งานคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น) นักศึกษาชั้นปีที่ 6 จะได้ฝึกทักษะการปฏิบัติงานวิชาชีพในแหล่งฝึกงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาระดับแนวหน้าของประเทศ โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลอีกหลายแห่งที่เป็นสถานพยาบาลชั้นนำของประเทศรวมถึงร้านยา คุณภาพ การสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2,000 ชั่วโมง
ผู้จบการศึกษาแล้วสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการในโรงพยาบาลทั่วไป ในองค์การเภสัชกรรม จะได้รับตำแหน่งและเลื่อนขั้นยศตามขั้นตอนของระบบราชการ การศึกษาต่อเพิ่มเติมจะช่วยให้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งได้รวดเร็วและสามารถเป็นถึงผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานได้ ส่วนในภาคเอกชนนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร ซึ่งสามารถเป็นผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการด้านคุณภาพหรือผู้จัดการ ฝ่ายขาย
เภสัชกรสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว คือ เป็นเจ้าของร้านขายยาสำหรับผู้ที่สามารถผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่สามารถบำบัดรักษาอาการ เจ็บป่วยหรือบำรุงรักษาสุขภาพได้โดยผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากองค์การเภสัชกรรมสามารถจดลิขสิทธ์การเป็นเจ้าของสูตรในการปรุงยา หรือผลิตภัณฑ์นั้น และผลิตเป็นสินค้าออกจำหน่ายในลักษณะอุตสาหกรรมได้เช่นกัน
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะเภสัชศาสตร์ (Faculty of Pharmacy)
ชื่อสาขา
เภสัชศาสตร์ (Doctor of Pharmacy (Pharm.D.))
เนื้อหาวิชา
เป้าหมายในการผลิตเภสัชกรที่มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีงามในการ ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่มีความรู้ความสามารถและทักษะทางวิชาชีพชั้นสูง การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับ 21stcentury skill outcomes ในระดับสากล ชั้นปีที่ 1-4 เน้นความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรมขั้นพื้นฐาน ชั้นปีที่ 5 และ 6 สามารถเลือกเรียนด้านเภสัชอุตสาหการ (การผลิต ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอาง เป็นต้น) และด้านบริบาลทางเภสัชกรรม (การดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ร้านขายยา งานคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น) นักศึกษาชั้นปีที่ 6 จะได้ฝึกทักษะการปฏิบัติงานวิชาชีพในแหล่งฝึกงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาระดับแนวหน้าของประเทศ โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลอีกหลายแห่งที่เป็นสถานพยาบาลชั้นนำของประเทศรวมถึงร้านยา คุณภาพ การสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2,000 ชั่วโมง และต้องมีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 225 หน่วยกิต
คุณสมบัติ
ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า มีคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะ ตามระเบียบการสอบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
และ/หรือ ระเบียบการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยมหิดลระบบรับตรง รวมทั้งตามระเบียบข้อบังคับอื่นๆ ของการรับผู้เข้าศึกษากรณีพิเศษที่ผ่านการอนุมัติของสภามหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว
- ผู้สมัครทุกโครงการ ต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- ผู้สมัครต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) 4 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 3.00 ยกเว้น ผู้สมัครโครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75
- ไม่มีตาบอดสีขั้นรุนแรง
- ไม่มีปัญหาสุขภาพร่างกายและสุขภาพทางจิตที่เป็นอุปสรรค ต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพ
คุณสมบัติเฉพาะโครงการ (เฉพาะรับตรง)
โครงการวิทยาเขต
เป็นนักเรียนที่ผ่านการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 และกำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนที่อยู่ในเขตจังหวัดหรือจังหวัดใกล้เคียงกับที่ตั้งของวิทยาเขตของ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งแบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีจังหวัดดังนี้
กลุ่มกาญจนบุรี ได้แก่ กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี และสุพรรณบุรี
กลุ่มนครสวรรค์ ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
กลุ่มอำนาจเจริญ ได้แก่ อำนาจเจริญ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์
โครงการส่งเสริมความถนัดทางวิชาชีพ
ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์
สอบความถนัดทางวิชาชีพ จัดสอบโดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันสอบสัมภาษณ์
ต้องมีแฟ้มสะสมงาน (Port Folio) และผลงานการปฏิบัติ โครงงานวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายฉบับเต็ม แสดงในวันสอบสัมภาษณ์
เขียนเรียงความ 1 หน้ากระดาษ A4 ด้วยตนเองโดยแสดงเหตุผลและแรงจูงใจ ที่ต้องการเรียนวิชาชีพเภสัชศาสตร์ แสดงในวันสอบสัมภาษณ์
โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น ด้านกีฬา
ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์
เฉพาะ 22 ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา ว่ายน้ำ บาสเกตบอล ฟุตบอล วอลเลย์บอล กอล์ฟ ซอฟท์บอล ตะกร้อ ดาบสากล เทควันโด เทนนิส เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน ยิงปืน ยูโด รักบี้ฟุตบอล เปตอง เรือพาย ลีลาศ บริดจ์ หมากกระดาน
และขี่ม้า ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2554 ถึงวันที่ยื่นใบสมัคร ทั้งนี้ โดยมีผลงานประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังนี้
เป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันกีฬาระดับชาติโดยได้รับการรับรองหรือ แต่งตั้งจากการกีฬาแห่งประเทศไทยให้เป็นนักกีฬาทีมชาติไทย ได้แก่ กีฬาชิง ชนะเลิศของโลก กีฬาโอลิมปิก กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ กีฬาชิงชนะเลิศเอเชีย กีฬา ซีเกมส์ หรือ
- เป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันกีฬาระดับเยาวชนนานาชาติโดยได้รับ การรับรองหรือแต่งตั้งจากการกีฬาแห่งประเทศไทยให้เป็นนักกีฬาเยาวชนทีมชาติไทย ได้แก่ กีฬาเยาวชนชิงแชมป์โลก กีฬาเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย หรือ
- เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 1 ถึงที่ 3 ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ หรือเป็นผู้แทนนักกีฬานักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน ชิงชนะเลิศแห่งเอเชี่ยนโดยได้รับการรับรองจากกรมพลศึกษา หรือ
- เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกโดยได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ก.ก.ม.ท.) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลขอสงวนสิทธิ์ในการรับพิจารณาผู้สมัครที่มีผลงานการแข่งขันกีฬาในชนิดกีฬาที่มหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบตามคุณสมบัติข้างต้น การตัดสินชี้ขาดของมหาวิทยาลัยมหิดลถือเป็นที่สิ้นสุด
โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น ด้านวิชาการ
ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์
ผู้สมัครต้องเป็นผู้สอบผ่านการคัดเลือกในลำดับที่ 1-30 ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันระดับประเทศของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและมาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาใน พระอุปถัมภ์สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (โครงการโอลิมปิกมูลนิธิ สอวน.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาเคมี สาขา คณิตศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ สาขาชีววิทยา สาขาคอมพิวเตอร์ หรือสาขา ดาราศาสตร์ หรือ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทย (โครงการโอลิมปิก สสวท.) ให้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันเคมี คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ชีววิทยา หรือคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
โครงการพัฒนาเภสัชกร
มีบิดา หรือมารดา เป็นผู้ได้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1)
ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์
ค่าเทอม
ค่าธรรมเนียมปีการศึกษาละประมาณ 19,000 - 36,000 บาท (ไม่รวมค่าหอพัก)
อาชีพ
สามารถประกอบอาชีพใน สาขาต่างๆ ทั้งในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน ดังนี้
- เภสัชกรโรงพยาบาลในสถานพยาบาลทุกระดับ ทั้งภาครัฐและเอกชน
- เภสัชกรชุมชน
- เภสัชกรประจำโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในด้านการผลิต ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
- เภสัชกรด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น เภสัชกรที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลมาตรฐานของโรงงานและผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
- เภสัชกรด้านการศึกษา เช่น อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์
- เภสัชกรด้านการวิจัยผลิตภัณฑ์ทางคลินิก
- เภสัชกรด้านการขึ้นทะเบียนยา
- เภสัชกรการตลาด
เส้นทางอาชีพและความก้าวหน้า
ปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการในโรงพยาบาลทั่วไป ในองค์การเภสัชกรรม จะได้รับตำแหน่งและเลื่อนขั้นยศตามขั้นตอนของระบบราชการ การศึกษาต่อเพิ่มเติมจะช่วยให้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งได้รวดเร็วและสามารถเป็นถึงผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานได้ ส่วนในภาคเอกชนนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร ซึ่งสามารถเป็นผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการด้านคุณภาพหรือผู้จัดการ ฝ่ายขาย
เภสัชกรสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว คือ เป็นเจ้าของร้านขายยาสำหรับผู้ที่สามารถผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่สามารถบำบัดรักษาอาการ เจ็บป่วยหรือบำรุงรักษาสุขภาพได้โดยผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากองค์การเภสัชกรรมสามารถจดลิขสิทธ์การเป็นเจ้าของสูตรในการปรุงยา หรือผลิตภัณฑ์นั้น และผลิตเป็นสินค้าออกจำหน่ายในลักษณะอุตสาหกรรมได้เช่นกัน
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสาขานี้
- ต้องมีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ เคมี ชีววิทยา และสามารถสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้
- ชอบการค้นคว้าทดลอง การใช้ปัญญาในการวิเคราะห์
- มีความละเอียดรอบคอบ ช่างสังเกต
- ผู้ที่สนใจประกอบอาชีพนี้ต้องชอบการท่องจำ เพราะจำเป็นต้องจำชนิดของยา ส่วนประกอบของยา ชื่อและประโยชน์ของต้นไม้ที่มีฤทธิ์ทางยารวมทั้งชื่อยาและชื่อสารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรค
4 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 7.5 ดี
เภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดีไหม?
เภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
รีวิวเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในยุคที่ยังเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหิดล) ชื่อคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท เคยเป็นส่วหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาก่อน ต่อมาได้แยกตัวออกจากจุฬาฯ และจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ฯ เป็นของตัวเอง โดยตัดคำว่า พญาไท ออกจากชื่อคณะเดิม เป็นคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เหมือนในปัจจุบัน
หากน้องๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะฯ ในปีที่ 1 - 4 จะเน้นไปทางด้านความรู้พื้นฐานและทักษะในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรมที่จำเป็น และเมื่อขึ้นปีที่ 5 น้องๆ จะต้องเลือกสายของตัวเองว่าอยากจบไปชำนาญด้านไหน ซึ่งคณะฯ มีให้เลือก 2 สาย คือ เภสัชอุตสาหการ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผลิตยา ตรวจวิเคราะห์ การประกันคุณภาพของยา รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพร และอีกสายคือ การบริบาลทางเภสัชกรรม ที่เน้นในเรื่องการดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ร้านขายยา งานเกี่ยวกับคุ้มครองผู้บริโภคทั้งหมด ในส่วนของปีที่ 6 น้องๆ ว่าที่เภสัชฯ จะได้ฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชฯ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา, โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย (ศิริราช, รามาธิบดี) , โรงพยาบาลชั้นนำของประเทศ, ร้านยาต่างๆ ซึ่งก่อนจบน้องๆ จะต้องผ่านการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพไม่ต่ำกว่า 2, 000 ชั่วโมงตลอดทั้งหลักสูตร
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- กำลังศึกษาในระดับชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 3.00
- ผ่านการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็บไซต์ www.mahidol.ac.th/directadmission
ระบบรับตรง กสพท.
- ผลคะแนนสอบวิชาสามัญ 10 % (วิทยาศาสตร์ 40% คณิตศาสตร์ 20% ภาษาอังกฤษ 20% ภาษาไทย 10% สังคมศึกษา 10%)
- ผลคะแนนสอบวิชาเฉพาะแพทย์ 30%
- O-NET ได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60%
- สมัครสอบที่เว็บไซต์ www9.si.mahidol.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 40%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
เภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้จบการศึกษาแล้วสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการในโรงพยาบาลทั่วไป ในองค์การเภสัชกรรม จะได้รับตำแหน่งและเลื่อนขั้นยศตามขั้นตอนของระบบราชการ การศึกษาต่อเพิ่มเติมจะช่วยให้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งได้รวดเร็วและสามารถเป็นถึงผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานได้ ส่วนในภาคเอกชนนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร ซึ่งสามารถเป็นผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการด้านคุณภาพหรือผู้จัดการ ฝ่ายขาย
เภสัชกรสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว คือ เป็นเจ้าของร้านขายยาสำหรับผู้ที่สามารถผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่สามารถบำบัดรักษาอาการ เจ็บป่วยหรือบำรุงรักษาสุขภาพได้โดยผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากองค์การเภสัชกรรมสามารถจดลิขสิทธ์การเป็นเจ้าของสูตรในการปรุงยา หรือผลิตภัณฑ์นั้น และผลิตเป็นสินค้าออกจำหน่ายในลักษณะอุตสาหกรรมได้เช่นกัน
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
เป้าหมายในการผลิตเภสัชกรที่มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีงามในการ ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่มีความรู้ความสามารถและทักษะทางวิชาชีพชั้นสูง การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับ 21stcentury skill outcomes ในระดับสากล ชั้นปีที่ 1-4 เน้นความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรมขั้นพื้นฐาน ชั้นปีที่ 5 และ 6 สามารถเลือกเรียนด้านเภสัชอุตสาหการ (การผลิต ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอาง เป็นต้น) และด้านบริบาลทางเภสัชกรรม (การดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ร้านขายยา งานคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น) นักศึกษาชั้นปีที่ 6 จะได้ฝึกทักษะการปฏิบัติงานวิชาชีพในแหล่งฝึกงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาระดับแนวหน้าของประเทศ โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลอีกหลายแห่งที่เป็นสถานพยาบาลชั้นนำของประเทศรวมถึงร้านยา คุณภาพ การสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2,000 ชั่วโมง และต้องมีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 225 หน่วยกิต
และ/หรือ ระเบียบการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยมหิดลระบบรับตรง รวมทั้งตามระเบียบข้อบังคับอื่นๆ ของการรับผู้เข้าศึกษากรณีพิเศษที่ผ่านการอนุมัติของสภามหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว
คุณสมบัติเฉพาะโครงการ (เฉพาะรับตรง)
โครงการวิทยาเขต
เป็นนักเรียนที่ผ่านการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 และกำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนที่อยู่ในเขตจังหวัดหรือจังหวัดใกล้เคียงกับที่ตั้งของวิทยาเขตของ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งแบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีจังหวัดดังนี้
กลุ่มกาญจนบุรี ได้แก่ กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี และสุพรรณบุรี
กลุ่มนครสวรรค์ ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
กลุ่มอำนาจเจริญ ได้แก่ อำนาจเจริญ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์
โครงการส่งเสริมความถนัดทางวิชาชีพ
ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์
สอบความถนัดทางวิชาชีพ จัดสอบโดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันสอบสัมภาษณ์
ต้องมีแฟ้มสะสมงาน (Port Folio) และผลงานการปฏิบัติ โครงงานวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายฉบับเต็ม แสดงในวันสอบสัมภาษณ์
เขียนเรียงความ 1 หน้ากระดาษ A4 ด้วยตนเองโดยแสดงเหตุผลและแรงจูงใจ ที่ต้องการเรียนวิชาชีพเภสัชศาสตร์ แสดงในวันสอบสัมภาษณ์
โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น ด้านกีฬา
ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์
เฉพาะ 22 ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา ว่ายน้ำ บาสเกตบอล ฟุตบอล วอลเลย์บอล กอล์ฟ ซอฟท์บอล ตะกร้อ ดาบสากล เทควันโด เทนนิส เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน ยิงปืน ยูโด รักบี้ฟุตบอล เปตอง เรือพาย ลีลาศ บริดจ์ หมากกระดาน
และขี่ม้า ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2554 ถึงวันที่ยื่นใบสมัคร ทั้งนี้ โดยมีผลงานประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังนี้
เป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันกีฬาระดับชาติโดยได้รับการรับรองหรือ แต่งตั้งจากการกีฬาแห่งประเทศไทยให้เป็นนักกีฬาทีมชาติไทย ได้แก่ กีฬาชิง ชนะเลิศของโลก กีฬาโอลิมปิก กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ กีฬาชิงชนะเลิศเอเชีย กีฬา ซีเกมส์ หรือ
- เป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันกีฬาระดับเยาวชนนานาชาติโดยได้รับ การรับรองหรือแต่งตั้งจากการกีฬาแห่งประเทศไทยให้เป็นนักกีฬาเยาวชนทีมชาติไทย ได้แก่ กีฬาเยาวชนชิงแชมป์โลก กีฬาเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย หรือ
- เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 1 ถึงที่ 3 ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ หรือเป็นผู้แทนนักกีฬานักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน ชิงชนะเลิศแห่งเอเชี่ยนโดยได้รับการรับรองจากกรมพลศึกษา หรือ
- เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกโดยได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ก.ก.ม.ท.) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลขอสงวนสิทธิ์ในการรับพิจารณาผู้สมัครที่มีผลงานการแข่งขันกีฬาในชนิดกีฬาที่มหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบตามคุณสมบัติข้างต้น การตัดสินชี้ขาดของมหาวิทยาลัยมหิดลถือเป็นที่สิ้นสุด
โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น ด้านวิชาการ
ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์
ผู้สมัครต้องเป็นผู้สอบผ่านการคัดเลือกในลำดับที่ 1-30 ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันระดับประเทศของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและมาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาใน พระอุปถัมภ์สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (โครงการโอลิมปิกมูลนิธิ สอวน.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาเคมี สาขา คณิตศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ สาขาชีววิทยา สาขาคอมพิวเตอร์ หรือสาขา ดาราศาสตร์ หรือ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทย (โครงการโอลิมปิก สสวท.) ให้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันเคมี คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ชีววิทยา หรือคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
โครงการพัฒนาเภสัชกร
มีบิดา หรือมารดา เป็นผู้ได้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1)
ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์
เภสัชกรสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว คือ เป็นเจ้าของร้านขายยาสำหรับผู้ที่สามารถผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่สามารถบำบัดรักษาอาการ เจ็บป่วยหรือบำรุงรักษาสุขภาพได้โดยผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากองค์การเภสัชกรรมสามารถจดลิขสิทธ์การเป็นเจ้าของสูตรในการปรุงยา หรือผลิตภัณฑ์นั้น และผลิตเป็นสินค้าออกจำหน่ายในลักษณะอุตสาหกรรมได้เช่นกัน
- ชอบการค้นคว้าทดลอง การใช้ปัญญาในการวิเคราะห์
- มีความละเอียดรอบคอบ ช่างสังเกต
- ผู้ที่สนใจประกอบอาชีพนี้ต้องชอบการท่องจำ เพราะจำเป็นต้องจำชนิดของยา ส่วนประกอบของยา ชื่อและประโยชน์ของต้นไม้ที่มีฤทธิ์ทางยารวมทั้งชื่อยาและชื่อสารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรค
4 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 7.5 ดี
เภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ