เภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รีวิวเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือได้ว่าเป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกของภาคเหนือ และเป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งที่สองของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2509 ในฐานะโรงเรียนเภสัชศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น 2 แผนการเรียน คือ แผนวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม และบริบาลเภสัชกรรม
แผนวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม เน้นให้น้องๆ เภสัชกรมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางเภสัชศาสตร์ เพื่อผลิตคิดค้น วิจัยและพัฒนาคุณภาพยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ โดยเน้นการใช้วัตถุดิบธรรมชาติหรือสมุนไพรมาใช้สกัดตัวยา และแผนบริบาลเภสัชกรรม เรียกว่าเป็น สายดูแล ที่จะเน้นให้น้องๆ เป็นเภสัชกรที่มีความรู้และทักษะในการให้คำแนะนำเรื่องยา สามารถถ่ายทอดความรู้ และประสานงานร่วมกับบุคคลากรในสาขาอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง เรียกว่าเป็นหน้าที่ที่ต่อเนื่องจากสายผลิต เพื่อให้การรักษาด้วยยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยนั่นเอง
เภสัชฯ ที่นี่จะเรียน 6 ปีด้วยกันค่ะ โดยในปี 1 น้องๆ จะได้เรียนวิชาฐานทางเภสัชกรรมที่คณะ และเรียนวิชาศึกษาทั่วไปรวมกับเพื่อนคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นในปีที่ 2-3 จะเรียนวิชาเฉพาะทางเภสัชศาสตร์ และจากนั้นจึงแยกเรียนแผนการเรียนเฉพาะที่นักศึกษาสนใจในปี 4-5 และปีที่ 6 จะได้ออกฝึกปฏิบัติงาน โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีร้านยาที่เปิดให้บริการสองร้าน คือ ศูนย์ปฏิบัติการเภสัชชุมชน หรือร้านยาคณะเภสัชฯ ที่เปิดทำการมากว่า 27 ปี และร้านยาสร้างเสริมสุขภาพ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากเป็นสถานที่เรียนรู้และฝึกปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์แล้วยังให้บริการวิชาการแก่บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และประชาชนทั่วไปด้วย
นอกจากการเรียนแล้ว ที่คณะเภสัชศาสตร์ยังเปิดโอกาสให้น้องๆ ได้เรียนรู้ประสบการณ์และทำความรู้จักกับเพื่อนๆ พี่ๆ ในคณะผ่านกิจกรรมมากมาย เช่น การรับน้องแรกพบของคณะ การรับน้องค่ายเขียวมะกอก การเข้าห้องเชียร์ กีฬาเฟรชชี่ และการรับน้องขึ้นดอย โดยในแต่ละกิจกรรมก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ทั้งสนุกสนานและสอดแทรกข้อคิดในการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งจะช่วยให้น้องๆ เห็นความสำคัญของการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง และนำประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
จบมาทำงานอะไร
1. เภสัชกรการอุตสาหกรรม (ยาและเวชภัณฑ์อื่นๆ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)
- เภสัชกรฝ่ายผลิต
- เภสัชกรฝ่ายควบคุมคุณภาพ
- เภสัชกรฝ่ายขึ้นทะเบียน
- เภสัชกรฝ่ายวิจัยและพัฒนา
2. เภสัชกรโรงพยาบาล
- เภสัชกรผู้รับผิดชอบในการจ่ายยา
- เภสัชกรผู้ให้ปรึกษาด้านยา
- เภสัชกรผู้ผลิตยาในโรงพยาบาล
3. เภสัชกรชุมชน (เภสัชกรร้านยา เภสัชกรประจำสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ)
4. เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
5. เภสัชกรการศึกษา
6. ผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก
7. เภสัชกรการตลาด
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง กสพท.
- ผลคะแนนสอบวิชาสามัญ 10 % (วิทยาศาสตร์ 40% คณิตศาสตร์ 20% ภาษาอังกฤษ 20% ภาษาไทย 10% สังคมศึกษา 10%)
- ผลคะแนนสอบวิชาเฉพาะแพทย์ 30%
- O-NET ได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60%
- สมัครสอบที่เว็บไซต์ www9.si.mahidol.ac.th
โควตา 17 จังหวัดในเขตภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย น่าน ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร และอุทัยธานี)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นม.5 หรือ 6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ
- ผ่านการทดสอบของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ https://www.reg.cmu.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 40%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
240, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
20, 000 บาท/เทอม
เภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เภสัชกรในสถานบริการสุขภาพ เภสัชกรชุมชน เภสัชกรการตลาด เภสัชกรการผลิตและประกัน คุณภาพ เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภค นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยต่างๆ ประกอบอาชีพในภาครัฐ และภาคเอกชนและทางด้านอุตสาหกรรมยา สมุนไพร เครื่องสำอาง อาหารเสริม และอื่นที่เกี่ยวข้องในด้านการวิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เส้นทางอาชีพและความก้าวหน้า ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการในโรงพยาบาลทั่วไป ในองค์การเภสัชกรรม จะได้รับตำแหน่งและเลื่อนขั้นยศตามขั้นตอนของระบบราชการ การศึกษาต่อเพิ่มเติมจะช่วยให้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งได้รวดเร็วและสามารถเป็นถึงผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานได้ ส่วนในภาคเอกชนนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร ซึ่งสามารถเป็นผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการด้านคุณภาพหรือผู้จัดการ ฝ่ายขาย เภสัชกรสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว คือ เป็นเจ้าของร้านขายยาสำหรับผู้ที่สามารถผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่สามารถบำบัดรักษาอาการ เจ็บป่วยหรือบำรุงรักษาสุขภาพได้โดยผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยา สามารถจดลิขสิทธ์การเป็นเจ้าของสูตรในการปรุงยา หรือผลิตภัณฑ์นั้น และผลิตเป็นสินค้าออกจำหน่ายในลักษณะอุตสาหกรรมได้เช่นกัน
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะเภสัชศาสตร์ (Faculty of Pharmacy)
ชื่อสาขา
เภสัชศาสตร์ (Doctor of Pharmacy Program)
อาชีพ
เภสัชกรในสถานบริการสุขภาพ เภสัชกรชุมชน เภสัชกรการตลาด เภสัชกรการผลิตและประกัน คุณภาพ เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภค นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยต่างๆ ประกอบอาชีพในภาครัฐ และภาคเอกชนและทางด้านอุตสาหกรรมยา สมุนไพร เครื่องสำอาง อาหารเสริม และอื่นที่เกี่ยวข้องในด้านการวิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เส้นทางอาชีพและความก้าวหน้า
ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการในโรงพยาบาลทั่วไป ในองค์การเภสัชกรรม จะได้รับตำแหน่งและเลื่อนขั้นยศตามขั้นตอนของระบบราชการ การศึกษาต่อเพิ่มเติมจะช่วยให้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งได้รวดเร็วและสามารถเป็นถึงผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานได้ ส่วนในภาคเอกชนนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร ซึ่งสามารถเป็นผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการด้านคุณภาพหรือผู้จัดการ ฝ่ายขาย
เภสัชกรสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว คือ เป็นเจ้าของร้านขายยาสำหรับผู้ที่สามารถผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่สามารถบำบัดรักษาอาการ เจ็บป่วยหรือบำรุงรักษาสุขภาพได้โดยผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยาสามารถจดลิขสิทธ์การเป็นเจ้าของสูตรในการปรุงยา หรือผลิตภัณฑ์นั้น และผลิตเป็นสินค้าออกจำหน่ายในลักษณะอุตสาหกรรมได้เช่นกัน
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
ประมาณ 19,000 - 23,000 บาท
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสาขานี้
- มีสุขภาพกายและจิตดี ไม่พิการ ไม่ตาบอดสี มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความเป็นผู้นำเพราะอาจทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะในงานการผลิต มีบุคลิกภาพดี
- รักในอาชีพ มีความรับผิดชอบสูง
- มีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์, เคมี และ ชีววิทยา และสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้
- ชอบค้นคว้า ทดลอง ใช้ปัญญาในการวิเคราะห์
ละเอียด รอบคอบ ช่างสังเกต
- มีความซื่อสัตย์
- ชอบการท่องจำ เพราะต้องจำชนิด ส่วนประกอบของยา ชื่อยาและชื่อสารเคมีในการรักษาโรค ชื่อและประโยชน์ของต้นไม้ที่มียา
7 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 4.2 แย่
เภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดีไหม?
เภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รีวิวเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือได้ว่าเป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกของภาคเหนือ และเป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งที่สองของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2509 ในฐานะโรงเรียนเภสัชศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น 2 แผนการเรียน คือ แผนวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม และบริบาลเภสัชกรรม
แผนวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม เน้นให้น้องๆ เภสัชกรมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางเภสัชศาสตร์ เพื่อผลิตคิดค้น วิจัยและพัฒนาคุณภาพยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ โดยเน้นการใช้วัตถุดิบธรรมชาติหรือสมุนไพรมาใช้สกัดตัวยา และแผนบริบาลเภสัชกรรม เรียกว่าเป็น สายดูแล ที่จะเน้นให้น้องๆ เป็นเภสัชกรที่มีความรู้และทักษะในการให้คำแนะนำเรื่องยา สามารถถ่ายทอดความรู้ และประสานงานร่วมกับบุคคลากรในสาขาอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง เรียกว่าเป็นหน้าที่ที่ต่อเนื่องจากสายผลิต เพื่อให้การรักษาด้วยยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยนั่นเอง
เภสัชฯ ที่นี่จะเรียน 6 ปีด้วยกันค่ะ โดยในปี 1 น้องๆ จะได้เรียนวิชาฐานทางเภสัชกรรมที่คณะ และเรียนวิชาศึกษาทั่วไปรวมกับเพื่อนคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นในปีที่ 2-3 จะเรียนวิชาเฉพาะทางเภสัชศาสตร์ และจากนั้นจึงแยกเรียนแผนการเรียนเฉพาะที่นักศึกษาสนใจในปี 4-5 และปีที่ 6 จะได้ออกฝึกปฏิบัติงาน โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีร้านยาที่เปิดให้บริการสองร้าน คือ ศูนย์ปฏิบัติการเภสัชชุมชน หรือร้านยาคณะเภสัชฯ ที่เปิดทำการมากว่า 27 ปี และร้านยาสร้างเสริมสุขภาพ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากเป็นสถานที่เรียนรู้และฝึกปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์แล้วยังให้บริการวิชาการแก่บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และประชาชนทั่วไปด้วย
นอกจากการเรียนแล้ว ที่คณะเภสัชศาสตร์ยังเปิดโอกาสให้น้องๆ ได้เรียนรู้ประสบการณ์และทำความรู้จักกับเพื่อนๆ พี่ๆ ในคณะผ่านกิจกรรมมากมาย เช่น การรับน้องแรกพบของคณะ การรับน้องค่ายเขียวมะกอก การเข้าห้องเชียร์ กีฬาเฟรชชี่ และการรับน้องขึ้นดอย โดยในแต่ละกิจกรรมก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ทั้งสนุกสนานและสอดแทรกข้อคิดในการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งจะช่วยให้น้องๆ เห็นความสำคัญของการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง และนำประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
จบมาทำงานอะไร
- เภสัชกรฝ่ายผลิต
- เภสัชกรฝ่ายควบคุมคุณภาพ
- เภสัชกรฝ่ายขึ้นทะเบียน
- เภสัชกรฝ่ายวิจัยและพัฒนา
2. เภสัชกรโรงพยาบาล
- เภสัชกรผู้รับผิดชอบในการจ่ายยา
- เภสัชกรผู้ให้ปรึกษาด้านยา
- เภสัชกรผู้ผลิตยาในโรงพยาบาล
3. เภสัชกรชุมชน (เภสัชกรร้านยา เภสัชกรประจำสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ)
4. เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
5. เภสัชกรการศึกษา
6. ผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก
7. เภสัชกรการตลาด
สมัครเรียนทำอย่างไร
- ผลคะแนนสอบวิชาสามัญ 10 % (วิทยาศาสตร์ 40% คณิตศาสตร์ 20% ภาษาอังกฤษ 20% ภาษาไทย 10% สังคมศึกษา 10%)
- ผลคะแนนสอบวิชาเฉพาะแพทย์ 30%
- O-NET ได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60%
- สมัครสอบที่เว็บไซต์ www9.si.mahidol.ac.th
โควตา 17 จังหวัดในเขตภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย น่าน ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร และอุทัยธานี)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นม.5 หรือ 6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ
- ผ่านการทดสอบของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ https://www.reg.cmu.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 40%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
เภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เส้นทางอาชีพและความก้าวหน้า ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการในโรงพยาบาลทั่วไป ในองค์การเภสัชกรรม จะได้รับตำแหน่งและเลื่อนขั้นยศตามขั้นตอนของระบบราชการ การศึกษาต่อเพิ่มเติมจะช่วยให้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งได้รวดเร็วและสามารถเป็นถึงผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานได้ ส่วนในภาคเอกชนนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร ซึ่งสามารถเป็นผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการด้านคุณภาพหรือผู้จัดการ ฝ่ายขาย เภสัชกรสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว คือ เป็นเจ้าของร้านขายยาสำหรับผู้ที่สามารถผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่สามารถบำบัดรักษาอาการ เจ็บป่วยหรือบำรุงรักษาสุขภาพได้โดยผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยา สามารถจดลิขสิทธ์การเป็นเจ้าของสูตรในการปรุงยา หรือผลิตภัณฑ์นั้น และผลิตเป็นสินค้าออกจำหน่ายในลักษณะอุตสาหกรรมได้เช่นกัน
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
เภสัชกรสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว คือ เป็นเจ้าของร้านขายยาสำหรับผู้ที่สามารถผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่สามารถบำบัดรักษาอาการ เจ็บป่วยหรือบำรุงรักษาสุขภาพได้โดยผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยาสามารถจดลิขสิทธ์การเป็นเจ้าของสูตรในการปรุงยา หรือผลิตภัณฑ์นั้น และผลิตเป็นสินค้าออกจำหน่ายในลักษณะอุตสาหกรรมได้เช่นกัน
- รักในอาชีพ มีความรับผิดชอบสูง
- มีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์, เคมี และ ชีววิทยา และสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้
- ชอบค้นคว้า ทดลอง ใช้ปัญญาในการวิเคราะห์
ละเอียด รอบคอบ ช่างสังเกต
- มีความซื่อสัตย์
- ชอบการท่องจำ เพราะต้องจำชนิด ส่วนประกอบของยา ชื่อยาและชื่อสารเคมีในการรักษาโรค ชื่อและประโยชน์ของต้นไม้ที่มียา
7 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 4.2 แย่
เภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ