บทบาทหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ นับว่าเป็นบุคลากรที่ขาดแคลน เนื่องจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน มีความต้องการบุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่ในห้องปฏิบัติการทั้งด้านการวิจัย การให้บริการ ด้านการเรียนการสอน ด้านคลินิก และด้านธุรกิจ เป็นต้น เนื่องจากศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ครอบคลุมเกือบทุกด้านของพื้นฐานวิชาทางการแพทย์ ได้แก่ เคมี ชีวเคมี ฟิสิกส์ จุลชีววิทยา กายวิภาคศาสตร์ ประสาทวิทยาศาสตร์ สรีรวิทยา ชีววิทยา อณูชีววิทยา ปรสิตวิทยา อิมมิวโนวิทยา พิษวิทยา เภสัชวิทยา หรือแขนงอื่นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของมนุษย์ สอดคล้องตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ก.พ.อ. กำหนดวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548) ที่เน้นการนำผลของศาสตร์ในเนื้อหาต่างๆ มาใช้ในการวินิจฉัย ค้นหาสาเหตุ วิเคราะห์ความรุนแรง ติดตามผลการรักษา การป้องกันและเฝ้าระวังโรค การส่งเสริมสุขภาพ การพิสูจน์หลักฐาน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านใดด้านหนึ่ง ตลอดจนกำหนดคุณลักษณะและควบคุมการใช้เครื่องมือ น้ำยา การผลิตน้ำยาและชีววัตถุ เป็นต้น จากลักษณะงานดังกล่าวจะเห็นว่าบทบาทหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศด้านการแพทย์เป็นอย่างสูง
จุดเด่น
เน้นสร้างความรู้ที่ครอบคลุมพื้นฐานวิชาทางการแพทย์และแขนงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ