เภสัชศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รีวิวเภสัชศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรเภสัชฯ 6 ปี มี 2 สาขา คือ สาขาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม และ สาขาบริบาลเภสัชกรรม เน้นเรียนเกี่ยวข้องกับการปรุงผสม ผลิต และจ่ายยา รวมถึงการเลือกสรรจัดหายาสำเร็จรูป เวชภัณฑ์ต่าง ๆ ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บริการ ให้คำแนะนำ ตรวจสอบทบทวนการใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย พร้อมทั้งติดตามดูแลการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังสอนศาสตร์ของการค้นคว้าประดิษฐ์ ผลิตยาในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมและสะดวกต่อการนำมาใช้บำบัดรักษาโรคในผู้ป่วย ตลอดจนควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐานตามกำหนด
ในปีแรกน้องๆ จะได้เรียนพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ สังคม คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เบื้องต้น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ วิชาชีพเภสัชกรรมและหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคม ในปี 2 จะขยับเข้ามาสู่วิทยาศาสตร์ขั้นสูงและความรู้ด้านเภสัชศาสตร์มากขึ้นอย่างการศึกษา จุลชีววิทยา กายวิภาค สรีรวิทยาของมนุษย์และพยาธิ พฤกษศาสตร์ เทคโนโลยีด้านเภสัชกรรม พื้นฐานโภชนศาสตร์ การเรียนรู้ภูมิคุ้มกัน และการควบคุมคุณภาพยา ส่วนในปี 3 - 4 จะเป็นการเรียนเรื่องของความรู้ด้านรายละเอียดของยา ผลจากยา การทำงาน การให้บริการภายในสถานพยาบาลต่างๆ รวมไปถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีกับศาตร์เภสัชกรรมให้เข้ากันด้วย เข้าสู่ปี 5 - 6 จะเป็นการเลือกสายทางเดินของน้องๆ แล้วว่าจะไปสายไหน แต่ทางด้านของสาขาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม จะเน้นไปในเรื่องของการดูแล ควบคุม การผลิตยา การขึ้นทะเบียนยา ตลอดจนการวิจัยในด้านเภสัชกรรมต่างๆ ด้วย
จบมาทำงานอะไร
เภสัชกรประจำโรงพยาบาลของภาครัฐในระดับส่วนกลางและระดับท้องถิ่น, เภสัชกรประจำโรงพยาบาลเอกชน, เภสัชกรประจำโรงงานอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง, เภสัชกรประจำร้านขายยา, อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน, ผู้ประกอบการในธุรกิจทางด้านเภสัชกรรม ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรงผ่าน กสพท.
- ต้องจบแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เท่านั้น
- สอบวิชาเฉพาะ 30%
- ต้องมีคะแนน O-NET รวม 5 กลุ่มสาระวิชา (วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, สังคม, ภาษาไทย) ไม่ต่ำกว่า 60%
- สอบ 9 วิชาสามัญ ใช้ 5 วิชา 70% (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ 40%, คณิตศาสตร์ 20%, ภาษาอังกฤษ 20%, สังคม 10%, ภาษาไทย 10%)
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 40%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
624, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
52, 000 บาท/เทอม
เภสัชศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รีวิวเภสัชศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรเภสัชฯ 6 ปี มี 2 สาขา คือ สาขาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม และ สาขาบริบาลเภสัชกรรม เน้นเรียนเกี่ยวข้องกับการปรุงผสม ผลิต และจ่ายยา รวมถึงการเลือกสรรจัดหายาสำเร็จรูป เวชภัณฑ์ต่าง ๆ ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บริการ ให้คำแนะนำ ตรวจสอบทบทวนการใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย พร้อมทั้งติดตามดูแลการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังสอนศาสตร์ของการค้นคว้าประดิษฐ์ ผลิตยาในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมและสะดวกต่อการนำมาใช้บำบัดรักษาโรคในผู้ป่วย ตลอดจนควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐานตามกำหนด
ในปีแรกน้องๆ จะได้เรียนพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ สังคม คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เบื้องต้น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ วิชาชีพเภสัชกรรมและหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคม ในปี 2 จะขยับเข้ามาสู่วิทยาศาสตร์ขั้นสูงและความรู้ด้านเภสัชศาสตร์มากขึ้นอย่างการศึกษา จุลชีววิทยา กายวิภาค สรีรวิทยาของมนุษย์และพยาธิ พฤกษศาสตร์ เทคโนโลยีด้านเภสัชกรรม พื้นฐานโภชนศาสตร์ การเรียนรู้ภูมิคุ้มกัน และการควบคุมคุณภาพยา ส่วนในปี 3 - 4 จะเป็นการเรียนเรื่องของความรู้ด้านรายละเอียดของยา ผลจากยา การทำงาน การให้บริการภายในสถานพยาบาลต่างๆ รวมไปถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีกับศาตร์เภสัชกรรมให้เข้ากันด้วย เข้าสู่ปี 5 - 6 จะเป็นการเลือกสายทางเดินของน้องๆ แล้วว่าจะไปสายไหน แต่ทางด้านของสาขาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม จะเน้นไปในเรื่องของการดูแล ควบคุม การผลิตยา การขึ้นทะเบียนยา ตลอดจนการวิจัยในด้านเภสัชกรรมต่างๆ ด้วย
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- ต้องจบแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เท่านั้น
- สอบวิชาเฉพาะ 30%
- ต้องมีคะแนน O-NET รวม 5 กลุ่มสาระวิชา (วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, สังคม, ภาษาไทย) ไม่ต่ำกว่า 60%
- สอบ 9 วิชาสามัญ ใช้ 5 วิชา 70% (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ 40%, คณิตศาสตร์ 20%, ภาษาอังกฤษ 20%, สังคม 10%, ภาษาไทย 10%)
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 40%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
เภสัชศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในประเทศที่พัฒนาแล้วการดูแลสุขภาพของประชาชนและการบริการด้านสาธารณสุข เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง สาขาเภสัชศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งที่นับว่ามีบทบาทและเป็นกลจักรสำคัญของงานด้านสาธารณสุขของประเทศ ในบริบทของระบบยา (pharmaceutical system) ซึ่งประกอบด้วย การคัดสรรและจัดหายา (drug selection and procurement) การผลิตยา (drug production) การกระจายยา (drug distribution) และการใช้ยา (drug utilization)
การพัฒนาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตได้ดำเนินการในการผลิตบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อออกไปบริการและการดูแลในเรื่องสุขภาพแก่ประชาชน การเข้าถึงและมีส่วนร่วมกับประชาชน ภายใต้บริบทของระบบยา คือ การคัดสรรและจัดหายา การผลิตยา การกระจายยา และการใช้ยา โดยใช้แนวการเรียนการสอน ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเรียนรู้ (problem - based learning)และรองรับความต้องการกำลังคนด้านเภสัชกรรมของสังคมไทย นอกจากนี้ ในระหว่างการศึกษา นักศึกษายังได้รับการปลูกฝังแนวคิด/แนวปฏิบัติที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม และจริยธรรมจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
จุดเด่นของคณะ ระบบการเรียนการสอนที่มุ่งสู่ความเป็นนานาชาติและเน้นผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง, การเรียนการสอนที่ใช้วิทยาการสมัยใหม่โดยเฉพาะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้, ผลิตนักศึกษาที่มีจิตอาสา และช่วยเหลือชุมชน
วิเคราะห์ข้อมูล U-Review Score
โดย AdmissionPremium.com
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
เพื่อให้บริการ และให้คำปรึกษาแนะนำที่เหมาะสม ตรวจสอบทบทวนการใช้ยา พร้อมทั้งติดตามดูแลการใช้ยาของผู้ป่วย
โดยภาพรวมคือ ระบบความรู้ที่ก่อให้เกิดความสามารถที่จะให้บริการด้านสุขภาพด้วยความเข้าใจในเรื่องยา และผลที่เกิดจากยา
เพื่อให้การบำบัดรักษาได้ผลดีที่สุด โดยรับผิดชอบร่วมกับบุคลากรสุขภาพอื่น ๆ ในอันที่จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับการค้นคว้าประดิษฐ์ ผลิตยาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมและสะดวกต่อการนำมาใช้บำบัดรักษาโรค
ในผู้ป่วย ตลอดจนควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐานตามกำหนด
2. เภสัชกรประจำโรงพยาบาลเอกชน
3. เภสัชกรประจำโรงงานอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง
4. เภสัชกรประจำร้านขายยา
5. อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน
6. ผู้ประกอบการในธุรกิจทางด้านเภสัชกรรม
เภสัชศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ