วิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิววิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในบรรดาวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ฟิสิกส์ถือเป็นวิชาที่ยากและโหดที่สุดสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับน้องๆ ที่สนใจด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์ ถนัดการคำนวณ มีความคิดสร้างสรรค์ และชอบจินตนาการ คงรู้สึกว่าฟิสิกส์นั้นเป็นวิชาที่ท้าทายความสามารถ และเป็นสิ่งที่สามารถพลิกโฉมเปลี่ยนแปลงทั้งโลกได้ ทำให้วิชาฟิสิกส์มีเสน่ห์ จนหลายคนหลงใหลและอยากจะเรียนด้านนี้ให้ลึกซึ้งเลยทีเดียว
สำหรับน้องๆ คนไหนที่สนใจจะเรียนด้านนี้ ขอแนะนำ ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนะคะ ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นภาควิชาฟิสิกส์แห่งแรกของประเทศไทย และมีอายุกว่า 80 ปี การเรียนที่คณะฟิสิกส์ มี 2 โปรแกรม คือ โปรแกรมปกติ และโปรแกรมเกียรตินิยม โดยโปรแกรมปกติ นิสิตต้องเรียนรวมตลอดหลักสูตร 137 หน่วยกิต สามารถเลือกเส้นทางได้อีก 2 แบบคือ แบบเอกเดี่ยวและแบบเอก-โท และโปรแกรมเกียรตินิยม น้องๆ ต้องเรียน 140 หน่วยกิต สามารถสมัครเข้าโปรแกรมนี้ได้ในปี 2 นะคะ โดยมีเงื่อนไขคือในปี 1 ต้องได้เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 รวมทั้งต้องทำวิจัยในเรื่องที่สนใจนอกเหนือจากในชั้นเรียน โดยน้องๆ จะได้รับทุนเรียนและทุนในการทำวิจัยตลอดการศึกษาค่ะ สำหรับหลักสูตรฟิสิกส์ของจุฬาฯ ในปี 1 จะเรียน ฟิสิกส์ทั่วไป ซึ่งเป็นเนื้อหาของฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ม.ปลาย ที่ลึกและกว้างขึ้น รวมถึงการเรียนภาคปฏิบัติการหรือ Lab ด้วย เมื่อขึ้นปี 2 - 4 จะได้เรียนวิชาเฉพาะที่ลึกลงไปทางด้านฟิสิกส์ เช่น กลศาสตร์นิวตัน ระบบควอนตัม ปรากฏการณ์เชิงไฟฟ้า ฟิสิกส์เชิงสถิติ สมการเชิงอนุพันธ์ การวิเคราะห์เวคเตอร์ สสาร ทฤษฎีคลื่น สเปคตรัมของอะตอม เป็นต้น จะเรียนสลับกับการทำ Lab ตลอดทุกชั้นปีค่ะ จากนั้นก่อนที่จะจบปี 4 นิสิตจะได้ทำสัมมนาหรือนำเสนอผลงานค่ะ
น้องๆ หลายคนที่รู้ตัวเองว่าชอบและมีความสนใจทางด้านนี้ แต่ยังสงสัยว่าอนาคตจบไปจะทำงานอะไร เพราะฟิสิกส์เป็นสายวิทยาศาสตร์ล้วนๆ หรือสายวิชาการ ไม่ใช่สายอาชีพโดยตรงอย่าง แพทย์ วิศวกร พยาบาล หรือสถาปนิก จะบอกว่าไม่ต้องกังวลไปค่ะ การเลือกเรียนในสิ่งที่ชอบและสอดคล้องกับตัวตนของเราจะช่วยให้เราพอใจและทำงานทุกอย่างได้ดีไม่แพ้กัน สำหรับบัณฑิตฟิสิกส์นั้น สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ในประเทศรวมถึงต่างประเทศและเงินเดือนอยู่ในขั้นที่เรียกว่าพอสมควร เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัย ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ด้าน QC QA ในโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ควบคุมอุปกรณ์ทางฟิสิกส์ อย่าง นักรังสีวิทยา คนควบคุมอุปกรณ์นิวเคลียร์ เป็นต้น
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นภาควิชาฟิสิกส์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ
- สามารถทำงานได้หลายสายงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
จบมาทำงานอะไร
นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัย ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ด้าน QC QA ในโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ควบคุมอุปกรณ์ทางฟิสิกส์ อย่าง นักรังสีวิทยา คนควบคุมอุปกรณ์นิวเคลียร์ เป็นต้น
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (แบบปกติ)
- ผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- ผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 5 หรือ 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00
- ผลการเรียนเฉลี่ยรายวิชา เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ รวม 5 หรือ 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.25
- เลือกสอบวิชาสามัญ หรือ วิชา CU Science ได้ผลคะแนน
GAT 20% คณิตศาสตร์ 20% ฟิสิกส์ 20% เคมี 20% ชีววิทยา 20%
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th
ระบบรับตรง (แบบพิเศษ)
1. โครงการ พสวท. เฉพาะนักเรียนในโครงการจากโรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า แผนวิทยาศาตร์-คณิตศาสตร์
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00
- ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00
2. โครงการโอลิมปิกวิชาการ
- เป็นนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย (สสวท.) หรือ เป็นนักเรียนที่ผ่านการอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการ สอวน.
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า แผนวิทยาศาตร์-คณิตศาสตร์
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.75
- ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ม.ปลาย รวม 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00
3. โครงการรับนักเรียนจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (สสวท. สพฐ. และ วมว.)
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่าในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (สสวท. สพฐ. และ วมว.)
- มีผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในอันดับ 1-10 ของโรงเรียน หรือมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ม.ปลาย 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50
- ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ม.ปลาย รวม 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.60
4. โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพเด็กและเยาวชน
- ได้รับคัดเลือกจาก สวทช. ให้เป็นนักเรียนในโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพเด็กและเยาวชน หรือ เป็นนักเรียนที่ผ่านการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับชาติ โดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขัน งาน International Physicists Tournament (IYPT) ของ สสวท.
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th
* ผู้ที่สมัครโครงการโดยวิธีรับตรง(แบบปกติ) จะต้องไม่เป็นผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาและรายงานตัวยืนยันสิทธิ์ต่อ
โครงการ/คณะ/สาขาวิชา ในการรับสมัครคัดโดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) และ ไม่สามารถสมัครโครงการรับตรง (แบบปกติ) อื่นๆของจุฬาฯได้อีก
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
672, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21, 000 บาท/เทอม
วิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาฟิสิกส์ เป็นภาควิชาฟิสิกส์แห่งแรกของประเทศไทย และกำลังก้าวสู่ปีที่ 80 จากวันที่ได้รับการสถาปนา ตลอดเวลาที่ผ่านมาภาควิชาฟิสิกส์ มุ่งพัฒนาสู่การเป็นแหล่งความรู้และแหล่งอ้างอิงทางทางฟิสิกส์ของแผ่นดิน เป็นสถาบันที่ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม มีความรู้กว้างและรู้ลึก มีความสามารถในศาสตร์ และทำประโยชน์ให้สังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง
วิชาฟิสิกส์ เป็นวิชาที่ จำเป็นที่ทุกคนควรให้ความสนใจ หลักการของวิชาฟิสิกส์ทำให้เราเข้าใจธรรมชาติ อย่างลึกซึ้ง มีเหตุมีผล การศึกษาวิชาฟิสิกส์ทำให้คนมีจินตนาการ มีตักกะ มีระบบในการคิด และสามารถแก้ไขปัญหาได้ ตลอดจนมีทักษะที่จะนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ การสรรสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ ต้องการสำหรับการเป็นบุคลากรยุคใหม่ที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาประเทศของเรา
ที่ผ่านมานอกเหนือกจากการผลิตบัณฑิตด้านฟิสิกส์แล้ว ภาควิชาฟิสิกส์มีพันธกิจในการให้บริการด้านการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ทั่วไปและวิชาฟิสิกส์การแพทย์แก่นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และนิสิตคณะอื่น ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งให้บริการแก่หน่วยงานและบุคคลภายนอกในรูปของการให้คำปรึกษาในด้านงานวิจัย การฝึกอบรม และการจัดประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ ฯลฯ ตลอดจนการพัฒนาครูฟิสิกส์ ตามความต้องการของประเทศ
ภาควิชาฟิสิกส์มุ่งเน้นความเป็นเลิศใน 8 สาขาวิจัย High Energy Physics, Condensed Matter Physics, Atmospheric, Astronomy and Astrophysics, Plasma and Nuclear Physics, Acoustics, Advanced Optics and Photonics, Advanced Materials Physics, Biological Physics และ Physics Education ทั้ง 8 สาขาวิจัยนี้มีผลงานวิจัยที่เป็นความรู้ใหม่ และได้รับการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องในแวดวงวิชาการ งานวิจัยบางส่วนยังได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมอีดด้วย
แม้เวลาจะล่วงเลยมากว่าแปดสิบปี ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังคงพัฒนาศักยภาพ อย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร บุคลากร และด้านกายภาพ ภาควิชาฟิสิกส์มีความตั้งใจที่จะผนึกกำลังร่วมกับศิษย์เก่า เพื่อสร้างชุมชนแห่งปัญญา พร้อมที่จะรับใช้ สังคมและประเทศชาติ และที่สำคัญในยามที่ประเทศชาติต้องเผชิญกับวิกฤติ ภาควิชาฟิสิกส์พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะเป็นเสาหลัก และเป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ให้สมเกียรติและศักดิ์ศรี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดังปณิธานที่ว่า “เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน”
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะวิทยาศาสตร์ (Faculty of Science)
ชื่อปริญญา
วท.บ. (ฟิสิกส์) (วิทยาศาสตร์บัณฑิต)
รายละเอียด
วิชาฟิสิกส์ เป็นวิชาที่ จำเป็นที่ทุกคนควรให้ความสนใจ หลักการของวิชาฟิสิกส์ทำให้เราเข้าใจธรรมชาติ อย่างลึกซึ้ง มีเหตุมีผล การศึกษาวิชาฟิสิกส์ทำให้คนมีจินตนาการ
มีตักกะ มีระบบในการคิด และสามารถแก้ไขปัญหาได้ ตลอดจนมีทักษะที่จะนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ การสรรสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ ต้องการสำหรับการเป็นบุคลากรยุคใหม่ที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาประเทศของเรา
การเรียนการสอน มี 2 โปรแกรม
- โปรแกรมปกติ
นิสิตต้องศึกษารวมตลอดหลักสูตร 137 หน่วยกิต โดยสามารถเลือกเส้นทางการศึกษาได้ 2 แบบ คือ แบบเอกเดี่ยวและแบบเอก-โท นิสิตที่เลือกเรียนแบบเอกเดี่ยวต้องเลือกเรียนรายวิชาในกลุ่มวิชาเลือกสาขาเฉพาะรายวิชาฟิสิกส์เท่านั้น ในขณะที่นิสิตที่เลือกเรียนแบบเอก-โทสามารถเลือกเรียนรายวิชาในสาขาโทอื่นจำนวน 15-21 หน่วยกิต
- โปรแกรมเกียรตินิยม
นิสิตต้องศึกษารวมตลอดหลักสูตร 140 หน่วยกิต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นิสิตในโปรแกรมนี้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและทำวิจัยในเรื่องที่ตนสนใจนอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียน นิสิตสามารถสมัครเข้าโปรแกรมนี้ได้ในชั้นปีที่ 2 โดยต้องผ่านการเรียนในชั้นปีที่ 1 ด้วยเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 นิสิตจะได้รับการสนับสนุนค่าเล่าเรียน พร้อมกับได้รับทุนเพื่อทำวิจัยโครงการวิจัยในชั้นปีที่ 4 และทุนการศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิตจากมหาลัย
ค่าเทอม
21,000 บาทต่อเทอม
5,250 บาท ภาคฤดูร้อน
ได้รับการรับรองจาก
สกอ. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
อาชีพ
- นักวิทยาศาสตร์
- งานวิจัย
- ครู อาจารย์
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสาขานี้
- สนใจด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์
- ถนัดการคำนวณ
- มีความคิดสร้างสรรค์
- ชอบคิดสิ่งใหม่ๆ
3 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 9.3 ดีเยี่ยม
วิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
วิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิววิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในบรรดาวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ฟิสิกส์ถือเป็นวิชาที่ยากและโหดที่สุดสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับน้องๆ ที่สนใจด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์ ถนัดการคำนวณ มีความคิดสร้างสรรค์ และชอบจินตนาการ คงรู้สึกว่าฟิสิกส์นั้นเป็นวิชาที่ท้าทายความสามารถ และเป็นสิ่งที่สามารถพลิกโฉมเปลี่ยนแปลงทั้งโลกได้ ทำให้วิชาฟิสิกส์มีเสน่ห์ จนหลายคนหลงใหลและอยากจะเรียนด้านนี้ให้ลึกซึ้งเลยทีเดียว
สำหรับน้องๆ คนไหนที่สนใจจะเรียนด้านนี้ ขอแนะนำ ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนะคะ ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นภาควิชาฟิสิกส์แห่งแรกของประเทศไทย และมีอายุกว่า 80 ปี การเรียนที่คณะฟิสิกส์ มี 2 โปรแกรม คือ โปรแกรมปกติ และโปรแกรมเกียรตินิยม โดยโปรแกรมปกติ นิสิตต้องเรียนรวมตลอดหลักสูตร 137 หน่วยกิต สามารถเลือกเส้นทางได้อีก 2 แบบคือ แบบเอกเดี่ยวและแบบเอก-โท และโปรแกรมเกียรตินิยม น้องๆ ต้องเรียน 140 หน่วยกิต สามารถสมัครเข้าโปรแกรมนี้ได้ในปี 2 นะคะ โดยมีเงื่อนไขคือในปี 1 ต้องได้เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 รวมทั้งต้องทำวิจัยในเรื่องที่สนใจนอกเหนือจากในชั้นเรียน โดยน้องๆ จะได้รับทุนเรียนและทุนในการทำวิจัยตลอดการศึกษาค่ะ สำหรับหลักสูตรฟิสิกส์ของจุฬาฯ ในปี 1 จะเรียน ฟิสิกส์ทั่วไป ซึ่งเป็นเนื้อหาของฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ม.ปลาย ที่ลึกและกว้างขึ้น รวมถึงการเรียนภาคปฏิบัติการหรือ Lab ด้วย เมื่อขึ้นปี 2 - 4 จะได้เรียนวิชาเฉพาะที่ลึกลงไปทางด้านฟิสิกส์ เช่น กลศาสตร์นิวตัน ระบบควอนตัม ปรากฏการณ์เชิงไฟฟ้า ฟิสิกส์เชิงสถิติ สมการเชิงอนุพันธ์ การวิเคราะห์เวคเตอร์ สสาร ทฤษฎีคลื่น สเปคตรัมของอะตอม เป็นต้น จะเรียนสลับกับการทำ Lab ตลอดทุกชั้นปีค่ะ จากนั้นก่อนที่จะจบปี 4 นิสิตจะได้ทำสัมมนาหรือนำเสนอผลงานค่ะ
น้องๆ หลายคนที่รู้ตัวเองว่าชอบและมีความสนใจทางด้านนี้ แต่ยังสงสัยว่าอนาคตจบไปจะทำงานอะไร เพราะฟิสิกส์เป็นสายวิทยาศาสตร์ล้วนๆ หรือสายวิชาการ ไม่ใช่สายอาชีพโดยตรงอย่าง แพทย์ วิศวกร พยาบาล หรือสถาปนิก จะบอกว่าไม่ต้องกังวลไปค่ะ การเลือกเรียนในสิ่งที่ชอบและสอดคล้องกับตัวตนของเราจะช่วยให้เราพอใจและทำงานทุกอย่างได้ดีไม่แพ้กัน สำหรับบัณฑิตฟิสิกส์นั้น สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ในประเทศรวมถึงต่างประเทศและเงินเดือนอยู่ในขั้นที่เรียกว่าพอสมควร เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัย ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ด้าน QC QA ในโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ควบคุมอุปกรณ์ทางฟิสิกส์ อย่าง นักรังสีวิทยา คนควบคุมอุปกรณ์นิวเคลียร์ เป็นต้น
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- สามารถทำงานได้หลายสายงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- ผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- ผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 5 หรือ 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00
- ผลการเรียนเฉลี่ยรายวิชา เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ รวม 5 หรือ 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.25
- เลือกสอบวิชาสามัญ หรือ วิชา CU Science ได้ผลคะแนน
GAT 20% คณิตศาสตร์ 20% ฟิสิกส์ 20% เคมี 20% ชีววิทยา 20%
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th
ระบบรับตรง (แบบพิเศษ)
1. โครงการ พสวท. เฉพาะนักเรียนในโครงการจากโรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า แผนวิทยาศาตร์-คณิตศาสตร์
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00
- ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00
2. โครงการโอลิมปิกวิชาการ
- เป็นนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย (สสวท.) หรือ เป็นนักเรียนที่ผ่านการอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการ สอวน.
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า แผนวิทยาศาตร์-คณิตศาสตร์
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.75
- ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ม.ปลาย รวม 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00
3. โครงการรับนักเรียนจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (สสวท. สพฐ. และ วมว.)
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่าในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (สสวท. สพฐ. และ วมว.)
- มีผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในอันดับ 1-10 ของโรงเรียน หรือมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ม.ปลาย 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50
- ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ม.ปลาย รวม 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.60
4. โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพเด็กและเยาวชน
- ได้รับคัดเลือกจาก สวทช. ให้เป็นนักเรียนในโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพเด็กและเยาวชน หรือ เป็นนักเรียนที่ผ่านการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับชาติ โดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขัน งาน International Physicists Tournament (IYPT) ของ สสวท.
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th
* ผู้ที่สมัครโครงการโดยวิธีรับตรง(แบบปกติ) จะต้องไม่เป็นผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาและรายงานตัวยืนยันสิทธิ์ต่อ
โครงการ/คณะ/สาขาวิชา ในการรับสมัครคัดโดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) และ ไม่สามารถสมัครโครงการรับตรง (แบบปกติ) อื่นๆของจุฬาฯได้อีก
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชาฟิสิกส์ เป็นวิชาที่ จำเป็นที่ทุกคนควรให้ความสนใจ หลักการของวิชาฟิสิกส์ทำให้เราเข้าใจธรรมชาติ อย่างลึกซึ้ง มีเหตุมีผล การศึกษาวิชาฟิสิกส์ทำให้คนมีจินตนาการ มีตักกะ มีระบบในการคิด และสามารถแก้ไขปัญหาได้ ตลอดจนมีทักษะที่จะนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ การสรรสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ ต้องการสำหรับการเป็นบุคลากรยุคใหม่ที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาประเทศของเรา
ที่ผ่านมานอกเหนือกจากการผลิตบัณฑิตด้านฟิสิกส์แล้ว ภาควิชาฟิสิกส์มีพันธกิจในการให้บริการด้านการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ทั่วไปและวิชาฟิสิกส์การแพทย์แก่นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และนิสิตคณะอื่น ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งให้บริการแก่หน่วยงานและบุคคลภายนอกในรูปของการให้คำปรึกษาในด้านงานวิจัย การฝึกอบรม และการจัดประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ ฯลฯ ตลอดจนการพัฒนาครูฟิสิกส์ ตามความต้องการของประเทศ
ภาควิชาฟิสิกส์มุ่งเน้นความเป็นเลิศใน 8 สาขาวิจัย High Energy Physics, Condensed Matter Physics, Atmospheric, Astronomy and Astrophysics, Plasma and Nuclear Physics, Acoustics, Advanced Optics and Photonics, Advanced Materials Physics, Biological Physics และ Physics Education ทั้ง 8 สาขาวิจัยนี้มีผลงานวิจัยที่เป็นความรู้ใหม่ และได้รับการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องในแวดวงวิชาการ งานวิจัยบางส่วนยังได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมอีดด้วย
แม้เวลาจะล่วงเลยมากว่าแปดสิบปี ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังคงพัฒนาศักยภาพ อย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร บุคลากร และด้านกายภาพ ภาควิชาฟิสิกส์มีความตั้งใจที่จะผนึกกำลังร่วมกับศิษย์เก่า เพื่อสร้างชุมชนแห่งปัญญา พร้อมที่จะรับใช้ สังคมและประเทศชาติ และที่สำคัญในยามที่ประเทศชาติต้องเผชิญกับวิกฤติ ภาควิชาฟิสิกส์พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะเป็นเสาหลัก และเป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ให้สมเกียรติและศักดิ์ศรี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดังปณิธานที่ว่า “เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน”
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
มีตักกะ มีระบบในการคิด และสามารถแก้ไขปัญหาได้ ตลอดจนมีทักษะที่จะนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ การสรรสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ ต้องการสำหรับการเป็นบุคลากรยุคใหม่ที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาประเทศของเรา
การเรียนการสอน มี 2 โปรแกรม
นิสิตต้องศึกษารวมตลอดหลักสูตร 137 หน่วยกิต โดยสามารถเลือกเส้นทางการศึกษาได้ 2 แบบ คือ แบบเอกเดี่ยวและแบบเอก-โท นิสิตที่เลือกเรียนแบบเอกเดี่ยวต้องเลือกเรียนรายวิชาในกลุ่มวิชาเลือกสาขาเฉพาะรายวิชาฟิสิกส์เท่านั้น ในขณะที่นิสิตที่เลือกเรียนแบบเอก-โทสามารถเลือกเรียนรายวิชาในสาขาโทอื่นจำนวน 15-21 หน่วยกิต
นิสิตต้องศึกษารวมตลอดหลักสูตร 140 หน่วยกิต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นิสิตในโปรแกรมนี้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและทำวิจัยในเรื่องที่ตนสนใจนอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียน นิสิตสามารถสมัครเข้าโปรแกรมนี้ได้ในชั้นปีที่ 2 โดยต้องผ่านการเรียนในชั้นปีที่ 1 ด้วยเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 นิสิตจะได้รับการสนับสนุนค่าเล่าเรียน พร้อมกับได้รับทุนเพื่อทำวิจัยโครงการวิจัยในชั้นปีที่ 4 และทุนการศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิตจากมหาลัย
- งานวิจัย
- ครู อาจารย์
- ถนัดการคำนวณ
- มีความคิดสร้างสรรค์
- ชอบคิดสิ่งใหม่ๆ
3 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 9.3 ดีเยี่ยม
วิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ