สุดเจ๋ง! "พระจอมเกล้าลาดกระบัง" ทดลองส่งดาวเทียม CubeSat ขึ้นชั้นบรรยากาศ
โลกออนไลน์มีการแชร์ภาพน่าประทับใจ โดยเป็นภาพอักษรย่อ "KMITL" ซึ่งเป็นอักษรย่อของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยผู้ใช้เฟสบุ๊ก "Mink Pirada" ได้โพสต์ข้อความระบุว่า "พระจอมเกล้าลาดกระบังเริ่มต้นโครงการอวกาศอย่างเป็นทางการแล้ว ยืนยันความสำเร็จด้วยการส่งชื่อสถาบันไปในอวกาศ และจะตามมาด้วยการทดสอบอีกหลายครั้งนับไม่ถ้วน การสร้างดาวเทียมด้วยคนไทยเองก็คงจะอยู่อีกไม่ไกล รอดูได้เลย" โดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้าไปกดไลค์ให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ น.ส.พิรดา เตชะวิจิตร์ นักวิจัยโครงการดาวเทียม Spacebox โดยไทยคม เปิดเผยว่า สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นโครงการวิจัยและทดลองดาวเทียม Engineering model ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นการทดลองเกี่ยวกับอวกาศ โดยจะผลิตดาวเทียมขนาดเล็กขนาดเท่ากล่องสี่เหลี่ยม ภายในจะติดตั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณ กล้อง จีพีเอสตามสัญญาน มีป้ายอักษรย่อติดไปด้วย โดยใช้บอลลูนซึ่งบรรจุก๊าซฮีเลียม ซึ่งเป็นก๊าซที่เบากว่าอากาศ ช่วยให้ลอยไปในชั้นบรรยากาศได้ ทั้งนี้ การทดลองดังกล่าวเป็นการส่งดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นไปเพื่อทดสอบความคงทนของอุปกรณ์และวัสดุต่างๆ เมื่อต้องอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งมีความสูงมากกว่า 25-30 กิโลเมตรขึ้นไป โดยเหตุการณ์ที่อยู่ในภาพที่มีการส่งอักษรย่อของสถาบันขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ จนเห็นเป็นภาพสีดำไปทั่วนั้น เกิดขึ้นในวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยคณะนักศึกษานำบอลลูนพร้อมดาวเทียมขนาดเล็กไปปล่อยในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ก่อนที่บอลลูนจะลอยขึ้นไปก่อนระเบิดสูงสุดประมาณ 25 กิโลเมตร และไปตกที่จังหวัดสุพรรณบุรี
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวชื่อว่าโครงการดาวเทียม Spacebox มีองค์กรร่วมมกันเรียนรู้ 4 องค์กร คือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ไทยคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และดรุณสิกขาลัย สนับสนุนงบประมาณโดยไทยคม ซึ่งครั้งนี้ เป็นผลงานการทดลองครั้งแรกของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ใช้เวลาในการผลิตดาวเทียมกว่า 2 เดือน งบประมาณ 2 หมื่นบาท เป้าหมายของการศึกษาคือการทดลองความคงทนของวัสดุในการผลิตดาวเทียม และการทดลองระบบการสื่อสาร ในสภาพชั้นบรรยากาศจริง ในอนาคตจะต้องมีการศึกษารูปแบบดังกล่าวอีกหลายครั้ง โดยอาจมีการศึกษาเพื่อผลิตดาวเทียมที่ใช้ในทางอุตุนิยมวิทยา หรือการสื่อสารเป็นต้น
น.ส.พิรดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยมีแนวคิดในการพัฒนาและผลิตดาวเทียมขึ้นมาเอง ซึ่งปัจจุบันเราต้องซื้อดาวเทียมจากต่างประเทศมูลค่าหลายพันล้าน หากเราสามารถคิดและประดิษฐ์ขึ้นเองจะใช้เงินเพียงหลักร้อยล้านบาทเท่านั้น
ทั้งนี้ น.ส.พิรดา เตชะวิจิตร์ นักวิจัยโครงการดาวเทียม Spacebox โดยไทยคม เปิดเผยว่า สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นโครงการวิจัยและทดลองดาวเทียม Engineering model ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นการทดลองเกี่ยวกับอวกาศ โดยจะผลิตดาวเทียมขนาดเล็กขนาดเท่ากล่องสี่เหลี่ยม ภายในจะติดตั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณ กล้อง จีพีเอสตามสัญญาน มีป้ายอักษรย่อติดไปด้วย โดยใช้บอลลูนซึ่งบรรจุก๊าซฮีเลียม ซึ่งเป็นก๊าซที่เบากว่าอากาศ ช่วยให้ลอยไปในชั้นบรรยากาศได้ ทั้งนี้ การทดลองดังกล่าวเป็นการส่งดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นไปเพื่อทดสอบความคงทนของอุปกรณ์และวัสดุต่างๆ เมื่อต้องอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งมีความสูงมากกว่า 25-30 กิโลเมตรขึ้นไป โดยเหตุการณ์ที่อยู่ในภาพที่มีการส่งอักษรย่อของสถาบันขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ จนเห็นเป็นภาพสีดำไปทั่วนั้น เกิดขึ้นในวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยคณะนักศึกษานำบอลลูนพร้อมดาวเทียมขนาดเล็กไปปล่อยในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ก่อนที่บอลลูนจะลอยขึ้นไปก่อนระเบิดสูงสุดประมาณ 25 กิโลเมตร และไปตกที่จังหวัดสุพรรณบุรี
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวชื่อว่าโครงการดาวเทียม Spacebox มีองค์กรร่วมมกันเรียนรู้ 4 องค์กร คือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ไทยคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และดรุณสิกขาลัย สนับสนุนงบประมาณโดยไทยคม ซึ่งครั้งนี้ เป็นผลงานการทดลองครั้งแรกของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ใช้เวลาในการผลิตดาวเทียมกว่า 2 เดือน งบประมาณ 2 หมื่นบาท เป้าหมายของการศึกษาคือการทดลองความคงทนของวัสดุในการผลิตดาวเทียม และการทดลองระบบการสื่อสาร ในสภาพชั้นบรรยากาศจริง ในอนาคตจะต้องมีการศึกษารูปแบบดังกล่าวอีกหลายครั้ง โดยอาจมีการศึกษาเพื่อผลิตดาวเทียมที่ใช้ในทางอุตุนิยมวิทยา หรือการสื่อสารเป็นต้น
น.ส.พิรดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยมีแนวคิดในการพัฒนาและผลิตดาวเทียมขึ้นมาเอง ซึ่งปัจจุบันเราต้องซื้อดาวเทียมจากต่างประเทศมูลค่าหลายพันล้าน หากเราสามารถคิดและประดิษฐ์ขึ้นเองจะใช้เงินเพียงหลักร้อยล้านบาทเท่านั้น