วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันและไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัย อาชีพ “วิศวกร” หรือ “นายช่าง” จะต้องเป็น 1 ใน 3 อันดับอาชีพในฝันของใครหลายคนอย่างแน่นอน โดยเฉพาะน้องๆ ม.ปลายกว่าครึ่งประเทศที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยตามฝันการเป็นวิศวกรของตัวเอง ต้องมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นตัวเลือกอันดับ 1 อย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลที่ว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นคณะที่เก่าแก่ที่สุด และมีชื่อเสียงเป็นอันดับ 1 ของประเทศนั่นเอง โดยคณะวิศวฯ ที่นี่มีหลายสาขาด้วยกัน และสาขาที่อยากจะแนะนำน้องๆ นั่นก็คือ สาขาวิศวกรรมโยธา ค่ะ
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา แบ่งย่อยเป็น 4 สาขา คือ ปฐพีวิทยา โครงสร้าง บริหารการก่อสร้าง และงานขนส่ง โดยน้องๆ จะต้องสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ในภาคทั่วไปก่อน จากนั้นเมื่อจบปี 1 น้องๆ จะได้เลือกภาควิชาเฉพาะก่อนขึ้นปี 2 โดยจะใช้เกรดตอนอยู่ปีหนึ่งเป็นตัวตัดสินค่ะ ในปี1 น้องๆ ทุกคนจะได้เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป เช่น แคลคูลัส ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษ และวิชาเลือกอื่นๆ เหมือนกัน เมื่อขึ้น ปี 2 จึงจะได้เลือกภาควิชาเฉพาะ และเริ่มเรียนพื้นฐานวิชาทางวิศวกรรมโยธา เช่น กำลังวัสดุ คณิตศาสตร์ การสำรวจ หัดใช้กล้อง ตรีโกณ และธรณีวิทยา จากนั้นในปี 3 น้องๆ จะเรียนวิชาเกี่ยวกับน้ำ การวิเคราะห์โครงสร้าง การออกแบบโครงสร้าง คอนกรีตเทคโนโลยี วิชาสำรวจ ออกค่ายภาคสนาม การวิเคราะห์ดิน โดยปีนี้จะได้เข้าห้องปฏิบัติการเยอะและเรียนกันหนักมาก เพราะเป็นปีสำคัญที่ต้องเรียนวิชาเฉพาะทางเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพวิศวกรโยธาค่ะ พอจบปี 3 ก็จะได้ออกไปฝึกงาน และปี4 ปีสำคัญก่อนออกไปเป็นวิศวกรจริง น้องๆ จะได้เรียนวิชาออกแบบโครงสร้างเหล็ก โครงสร้างไม้ ปฐพีกลศาสตร์ เสาเข็ม เขื่อนกันดิน งานฐานราก การป้องกันดินพัง งานเขื่อนชลประทาน และจะมีวิชาเฉพาะทางให้เลือกเรียน เช่น การออกแบบอาคารสูง การออกแบบสะพาน แหล่งน้ำ การจราจร การบริหารงานก่อสร้าง และที่สำคัญต้องทำ Project ก่อนจบด้วยค่ะ
วิศวกรโยธา นอกจากเป็นอาชีพที่มีรายได้สูงและสวัสดิการดีแล้ว สิ่งที่สำคัญที่น้องๆ จะได้รับจากการทำงานคือ เกียรติยศและความภาคภูมิใจในการได้สร้างสรรค์ผลงานผ่านสิ่งปลูกสร้างหรือนวัตกรรมต่างๆ โดยภาระหน้าที่ที่บรรดาวิศวกรต้องรับผิดชอบ ล้วนมีบทบาทสำคัญส่งผลต่อการกำหนดลักษณะชีวิตความเป็นอยู่และความเป็นไปของสังคมส่วนรวมอย่างมาก และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ผลิตวิศวกรซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศมากว่า 70 ปี ไม่ว่าจะเป็นภาคพลังงาน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน คมนาคม ธนาคารพาณิชย์ อสังหาริมทรัพย์ การสื่อสาร การเมือง การปกครอง การศึกษา ต่างอยู่ภายใต้การบริหารของบุคลากรที่เป็นศิษย์เก่าวิศวะจุฬาฯ กว่า 80% เพียงเท่านี้ น้องๆ ก็เชื่อมั่นได้ว่าเมื่อสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อนาคตที่รออยู่ย่อมสดใสไปกว่าครึ่งแน่นอนค่ะ
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ อายุกว่า 70 ปี
- เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์อันดับ 1 ของประเทศ
- วิศวกรรมโยธาสามารถต่อยอดงานได้หลากหลายสาขา
จบมาทำงานอะไร
วิศวกรออกแบบ วิศวกรสำรวจ วิศวกรด้านโครงสร้าง วิศวกรด้านควบคุมและออกแบบระบบจราจร วิศวกรภาคอุตสาหกรรม อาจารย์ด้านวิศวกรรมโยธา ผู้วางแผน จัดระบบงาน ควบคุมงานสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ สิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่างๆ วิศวกรผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร การติดตั้งการใช้ การบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิก ระบบสุขาภิบาล ทำการตรวจสอบ ทดสอบทำงานวิจัย และให้คำแนะนำทางเทคนิคต่างๆ เป็นต้น
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (แบบปกติ)
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ ผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 อันดับ
- มีผลคะแนนการทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา ที่สทศ. จัดสอบ รวมทุกวิชา 51% (ถ้ามี)
- ผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ชั้น ม.6
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) 5 หรือ 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.50
- ผลคะแนนสอบ GAT 20%
- ผลคะแนนสอบ PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
- ผลคะแนนสอบ PAT3 (วิศวกรรมศาสตร์) 60%
- สมัครทางอินเทอร์เนต www.atc.chula.ac.th
ระบบรับตรง (แบบพิเศษ)
1. โครงการโอลิมปิกวิชาการเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
- ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าค่ายฝึกอบรมโอลิมปิกวิชาการฯ (สอวน.) เพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งคณิตศาสตร์-วิทยาศาสาตร์ โอลิมปิกระหว่างประเทศ
- สมัครทางอินเทอร์เนต www.atc.chula.ac.th
2. โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ฯ เข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.50
- ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน ตามรายชื่อประกาศของ สวทช.
- สมัครทางอินเทอร์เนต www.atc.chula.ac.th และส่งเอกสารที่ ศูนย์สอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารจามจุรี 8 ชั้น 3 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
แอดมิชชัน
- ผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ชั้น ม.6
- GPAX 5 หรือ 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.50 (20%)
- GAT 15%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 15%
- PAT3 (วิศวกรรมศาสตร์) 20%
- O-NET 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
672, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21, 000 บาท/เทอม
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธานั้นนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนี่องจากการ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าสามารถเรียกได้ว่าเป็น การพัฒนาแบบก้าวกระโดดซึ่งมีผลโดยตรงกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธาเช่นกัน ดังนั้นสถาบันการศึกษาหลาย ๆ สถาบันจึงได้มีการปรับปรุงแผนการเรียนการสอนทาง ด้านวิศวกรรมโยธาให้มีความทันสมัยเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือที่เรียกกันว่า “วิศวกรโยธา” ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)
ชื่อสาขา
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
ชื่อปริญญา
วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา) (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา))
รายละเอียด
เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธานั้นนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนี่องจากการ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าสามารถเรียกได้ว่าเป็น การพัฒนาแบบก้าวกระโดดซึ่งมีผลโดยตรงกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธาเช่นกัน ดังนั้นสถาบันการศึกษาหลาย ๆ สถาบันจึงได้มีการปรับปรุงแผนการเรียนการสอนทาง ด้านวิศวกรรมโยธาให้มีความทันสมัยเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือที่เรียกกันว่า “วิศวกรโยธา” ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น
ค่าเทอม
21,000 บาทต่อเทอม 5,250 บาท (ภาคฤดูร้อน)
อาชีพ
การทำงานในภาครัฐ
กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมโยธาธิการและผังเมือง
การทำงานในภาคเอกชนหรืองานส่วนตัว
เป็นผู้ออกแบบอาคาร, consult ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบจราจร ระบบงานก่อสร้าง
งานรับเหมาก่อสร้าง, งานขายวัสดุก่อสร้าง
โอกาสงานในอาเซียน
เป็นหนึ่งในอาชีพเสรีในอาเซียน
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันและไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัย อาชีพ “วิศวกร” หรือ “นายช่าง” จะต้องเป็น 1 ใน 3 อันดับอาชีพในฝันของใครหลายคนอย่างแน่นอน โดยเฉพาะน้องๆ ม.ปลายกว่าครึ่งประเทศที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยตามฝันการเป็นวิศวกรของตัวเอง ต้องมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นตัวเลือกอันดับ 1 อย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลที่ว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นคณะที่เก่าแก่ที่สุด และมีชื่อเสียงเป็นอันดับ 1 ของประเทศนั่นเอง โดยคณะวิศวฯ ที่นี่มีหลายสาขาด้วยกัน และสาขาที่อยากจะแนะนำน้องๆ นั่นก็คือ สาขาวิศวกรรมโยธา ค่ะ
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา แบ่งย่อยเป็น 4 สาขา คือ ปฐพีวิทยา โครงสร้าง บริหารการก่อสร้าง และงานขนส่ง โดยน้องๆ จะต้องสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ในภาคทั่วไปก่อน จากนั้นเมื่อจบปี 1 น้องๆ จะได้เลือกภาควิชาเฉพาะก่อนขึ้นปี 2 โดยจะใช้เกรดตอนอยู่ปีหนึ่งเป็นตัวตัดสินค่ะ ในปี1 น้องๆ ทุกคนจะได้เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป เช่น แคลคูลัส ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษ และวิชาเลือกอื่นๆ เหมือนกัน เมื่อขึ้น ปี 2 จึงจะได้เลือกภาควิชาเฉพาะ และเริ่มเรียนพื้นฐานวิชาทางวิศวกรรมโยธา เช่น กำลังวัสดุ คณิตศาสตร์ การสำรวจ หัดใช้กล้อง ตรีโกณ และธรณีวิทยา จากนั้นในปี 3 น้องๆ จะเรียนวิชาเกี่ยวกับน้ำ การวิเคราะห์โครงสร้าง การออกแบบโครงสร้าง คอนกรีตเทคโนโลยี วิชาสำรวจ ออกค่ายภาคสนาม การวิเคราะห์ดิน โดยปีนี้จะได้เข้าห้องปฏิบัติการเยอะและเรียนกันหนักมาก เพราะเป็นปีสำคัญที่ต้องเรียนวิชาเฉพาะทางเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพวิศวกรโยธาค่ะ พอจบปี 3 ก็จะได้ออกไปฝึกงาน และปี4 ปีสำคัญก่อนออกไปเป็นวิศวกรจริง น้องๆ จะได้เรียนวิชาออกแบบโครงสร้างเหล็ก โครงสร้างไม้ ปฐพีกลศาสตร์ เสาเข็ม เขื่อนกันดิน งานฐานราก การป้องกันดินพัง งานเขื่อนชลประทาน และจะมีวิชาเฉพาะทางให้เลือกเรียน เช่น การออกแบบอาคารสูง การออกแบบสะพาน แหล่งน้ำ การจราจร การบริหารงานก่อสร้าง และที่สำคัญต้องทำ Project ก่อนจบด้วยค่ะ
วิศวกรโยธา นอกจากเป็นอาชีพที่มีรายได้สูงและสวัสดิการดีแล้ว สิ่งที่สำคัญที่น้องๆ จะได้รับจากการทำงานคือ เกียรติยศและความภาคภูมิใจในการได้สร้างสรรค์ผลงานผ่านสิ่งปลูกสร้างหรือนวัตกรรมต่างๆ โดยภาระหน้าที่ที่บรรดาวิศวกรต้องรับผิดชอบ ล้วนมีบทบาทสำคัญส่งผลต่อการกำหนดลักษณะชีวิตความเป็นอยู่และความเป็นไปของสังคมส่วนรวมอย่างมาก และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ผลิตวิศวกรซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศมากว่า 70 ปี ไม่ว่าจะเป็นภาคพลังงาน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน คมนาคม ธนาคารพาณิชย์ อสังหาริมทรัพย์ การสื่อสาร การเมือง การปกครอง การศึกษา ต่างอยู่ภายใต้การบริหารของบุคลากรที่เป็นศิษย์เก่าวิศวะจุฬาฯ กว่า 80% เพียงเท่านี้ น้องๆ ก็เชื่อมั่นได้ว่าเมื่อสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อนาคตที่รออยู่ย่อมสดใสไปกว่าครึ่งแน่นอนค่ะ
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์อันดับ 1 ของประเทศ
- วิศวกรรมโยธาสามารถต่อยอดงานได้หลากหลายสาขา
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ ผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 อันดับ
- มีผลคะแนนการทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา ที่สทศ. จัดสอบ รวมทุกวิชา 51% (ถ้ามี)
- ผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ชั้น ม.6
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) 5 หรือ 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.50
- ผลคะแนนสอบ GAT 20%
- ผลคะแนนสอบ PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
- ผลคะแนนสอบ PAT3 (วิศวกรรมศาสตร์) 60%
- สมัครทางอินเทอร์เนต www.atc.chula.ac.th
ระบบรับตรง (แบบพิเศษ)
1. โครงการโอลิมปิกวิชาการเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
- ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าค่ายฝึกอบรมโอลิมปิกวิชาการฯ (สอวน.) เพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งคณิตศาสตร์-วิทยาศาสาตร์ โอลิมปิกระหว่างประเทศ
- สมัครทางอินเทอร์เนต www.atc.chula.ac.th
2. โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ฯ เข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.50
- ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน ตามรายชื่อประกาศของ สวทช.
- สมัครทางอินเทอร์เนต www.atc.chula.ac.th และส่งเอกสารที่ ศูนย์สอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารจามจุรี 8 ชั้น 3 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
แอดมิชชัน
- ผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ชั้น ม.6
- GPAX 5 หรือ 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.50 (20%)
- GAT 15%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 15%
- PAT3 (วิศวกรรมศาสตร์) 20%
- O-NET 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธานั้นนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนี่องจากการ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าสามารถเรียกได้ว่าเป็น การพัฒนาแบบก้าวกระโดดซึ่งมีผลโดยตรงกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธาเช่นกัน ดังนั้นสถาบันการศึกษาหลาย ๆ สถาบันจึงได้มีการปรับปรุงแผนการเรียนการสอนทาง ด้านวิศวกรรมโยธาให้มีความทันสมัยเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือที่เรียกกันว่า “วิศวกรโยธา” ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
การศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธานั้นนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนี่องจากการ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าสามารถเรียกได้ว่าเป็น การพัฒนาแบบก้าวกระโดดซึ่งมีผลโดยตรงกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธาเช่นกัน ดังนั้นสถาบันการศึกษาหลาย ๆ สถาบันจึงได้มีการปรับปรุงแผนการเรียนการสอนทาง ด้านวิศวกรรมโยธาให้มีความทันสมัยเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือที่เรียกกันว่า “วิศวกรโยธา” ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น
การทำงานในภาครัฐ
กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมโยธาธิการและผังเมือง
การทำงานในภาคเอกชนหรืองานส่วนตัว
เป็นผู้ออกแบบอาคาร, consult ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบจราจร ระบบงานก่อสร้าง
งานรับเหมาก่อสร้าง, งานขายวัสดุก่อสร้าง
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ