วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนาโน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนาโน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อพูดถึงการเรียนวิศวฯ น้องๆ หลายคนต้องนึกถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับแรกๆ ซึ่งแน่นอนว่าวิศวฯ ที่นี่มีชื่อเสียงติดอันดับโลกจากการจัดอันดับของหลายองค์กร รวมไปถึงหลักสูตรวิศวะนานาชาติ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ นานาชาติ ไว้ทั้งหมด 4 สาขาและ 1 ในสาขาที่น่าสนใจและจะมาแนะนำให้กับน้องๆ คือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนาโน นานาชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่า วิศวะนาโน อินเตอร์ นั่นเองค่ะ
วิศวะนาโน อินเตอร์ ที่จุฬาฯ จะเน้นพื้นฐานด้านวัสดุศาสตร์ เครื่องกล เคมี ไฟฟ้า อีกที เรียกว่าเป็นวิศวะที่เรียนชีวะ โดยแบ่งออกเป็น 2 สาขาย่อย คือ วิศวกรรมนาโนที่เน้นทางด้านอิเล็กทรอนิกหรือวัสดุทางวิทยาศาสตร์ โดยศึกษาเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีเพื่อนำไปประยุกต์ พัฒนา และปรับปรุงคุณสมบัติวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น โลหะ พลาสติก เซรามิก เสื้อผ้า เป็นต้น และสาขาวิศวกรรมไบโอนาโนที่เน้นทางด้านชีวะการแพทย์ และแน่นอนว่าตลอดหลักสูตรการเรียนการสอนจะเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ โดยในปีหนึ่ง น้องๆ จะเรียนพื้นฐานวิศวะทั่วไป เช่น ดรออิ้ง แคลคูลัส ฟิสิกส์ เคมี และพื้นฐานที่จำเป็นทุกอย่าง ส่วนปี 2 จะเริ่มเรียนวิชาเฉพาะที่เกี่ยวกับนาโน ได้เรียนในห้องปฏิบัติการ หรือห้องแล็บ ในรายวิชาต่างๆ จากนั้นจะได้ฝึกงานตอนปี 3 และปี 4 ก็จะทำวิจัยและโปรเจคที่สนใจ
ทำไมต้องวิศวะอินเตอร์? น้องๆ หลายคนพอได้ยินคำว่า อินเตอร์ หรือหลักสูตรนานาชาติแล้วอาจจะกังวลถึงตัวเลขค่าใช้จ่ายในการเรียนที่สูง แต่สำหรับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนาโน นานาชาติ จุฬาฯ เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่เรียกได้ว่าแพงแต่คุ้มแน่นอน เพราะจากผลงานการวิจัยของหลายสถาบันที่มีผลออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่า การเรียนด้านวิศวะ คือ สาขาวิชาแห่งอนาคต เป็นที่ต้องการอย่างมากของตลาดแรงงานทั้งในประเทศและทั่วโลก และที่สำคัญ นาโนเทคโนโลยีกำลังจะกลายเป็นโครงการศึกษาและวิจัยในระดับชาติ หน่วยงานและบริษัทต่างชาติชั้นนำ ต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพ และที่สำคัญคือมีความรู้ด้านภาษาค่อนข้างสูง ยิ่งเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และวิศวกรเป็น 1 ในอาชีพเสรีที่สามารถไปทำงานในต่างประเทศได้ ตลาดงานยิ่งกว้างมากแน่นอน
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- วิศวกรรมนาโนเป็นสาขาที่ขาดแคลนมากในปัจจุบัน ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดงานในอุตสกรรมทุ กภาคส่วน
- สามารถทำงานได้หลายสาขา ทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยพัฒนาหรือผลิตอุปกรณ์ วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิตและตรวจสอบคุณภาพ วิศวกรอุตสาหการ นักวิชาการ อาจารย์ รวมถึงทำงานหรือเรียนต่อทางด้านการแพทย์ได้
จบมาทำงานอะไร
นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยพัฒนาหรือผลิตอุปกรณ์ วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิตและตรวจสอบคุณภาพ วิศวกรอุตสาหการ นักวิชาการ อาจารย์ เป็นต้น
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้นม. 6 หรือเทียบเท่า ในระบบการศึกษาของประเทศไทย และคุณสมบัติผ่าน 2 ใน 3 ข้อ ดังนี้
1. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) ตั้งแต่ชั้นม. 4-6 ไม่ต่ำกว่า 2.75
2. มีคะแนนสอบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (Paper-based) ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 550 หรือ
- TOEFL (Internet-based) ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 79 หรือ
- IELTS ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 6.0 หรือ
- CU-TEP ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 80
โดยสามารถใช้คะแนนผลการสอบย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร
3. มีคะแนนสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- SAT I (Math Level 2) ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 600 หรือ
- CU-AAT ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 480
4. มีคะแนนสอบวัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-ATS ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 800 หรือ
- SAT II (Physics and Chemistry) ผลคะแนนสอบแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 600
- สมัครผ่านระบบอินเตอร์เนต ที่เว็บไซต์ http://www.ise.eng.chula.ac.th/web/
- ยื่นเอกสารพร้อมชำระค่าสมัคร ที่ สำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ (ISE)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
728, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
182, 000 บาท/ปี
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนาโน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิศวกรรมนาโนเป็นภาควิศวกรรมที่ศึกษาลึกเข้าไปในโครงสร้างโมเลกุลของสารครับ อย่างในทุกวันนี้เขาพูดถึงเสื้อนาโน เสื้อนาโนคือเสื้อที่น้ำไม่เกาะ เคยเห็นใบบัวใช่ไหมครับ น้ำจะไม่เกาะใบบัว
ล้วทำอย่างไรให้สารที่มันอยู่บนใบบัวไปอยู่ในเนื้อผ้า การทำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยให้ไปอยู่ในเนื้อผ้านี่คือนวัตกรรมของวิศวกรรมนาโน นอกจากนี้ยังมีเรื่องยา อุปกรณ์การแพทย์
อย่างยาเราสามารถสร้างเซลล์ที่ผลิตอินซูลินรักษาโรคเบาหวานได้ ผลิตเซลล์ให้อยู่ในแคปซูลแล้วนำไปทิ้งไว้ในกระแสเลือด
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)
ชื่อสาขา
วิศวกรรมนาโน (นานาชาติ) (Nano-Engineering)
ชื่อปริญญา
วศ.บ. (วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต)
รายละเอียด
วิศวกรรมนาโนเป็นภาควิศวกรรมที่ศึกษาลึกเข้าไปในโครงสร้างโมเลกุลของสารครับ อย่างในทุกวันนี้เขาพูดถึงเสื้อนาโน เสื้อนาโนคือเสื้อที่น้ำไม่เกาะ เคยเห็นใบบัวใช่ไหมครับ น้ำจะไม่เกาะใบบัว
ล้วทำอย่างไรให้สารที่มันอยู่บนใบบัวไปอยู่ในเนื้อผ้า การทำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยให้ไปอยู่ในเนื้อผ้านี่คือนวัตกรรมของวิศวกรรมนาโน นอกจากนี้ยังมีเรื่องยา อุปกรณ์การแพทย์
อย่างยาเราสามารถสร้างเซลล์ที่ผลิตอินซูลินรักษาโรคเบาหวานได้ ผลิตเซลล์ให้อยู่ในแคปซูลแล้วนำไปทิ้งไว้ในกระแสเลือด
แผนการเรียน
วิทย์ - คณิต
เทียบเท่า (อาชีวะ)
ได้รับการรับรองจาก
สกอ. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
อาชีพ
- งานวิจัย
- อาจารย์
- อุตสาหกรรม นาโน
โอกาสงานในอาเซียน
เป็นหนึ่งในอาชีพเสรีในอาเซียน
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสาขานี้
- ควรชอบด้านวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา)
- ควรถนัดด้านการคำนวณ ทางคณิตศาสตร์
- ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนาโน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนาโน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อพูดถึงการเรียนวิศวฯ น้องๆ หลายคนต้องนึกถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับแรกๆ ซึ่งแน่นอนว่าวิศวฯ ที่นี่มีชื่อเสียงติดอันดับโลกจากการจัดอันดับของหลายองค์กร รวมไปถึงหลักสูตรวิศวะนานาชาติ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ นานาชาติ ไว้ทั้งหมด 4 สาขาและ 1 ในสาขาที่น่าสนใจและจะมาแนะนำให้กับน้องๆ คือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนาโน นานาชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่า วิศวะนาโน อินเตอร์ นั่นเองค่ะ
วิศวะนาโน อินเตอร์ ที่จุฬาฯ จะเน้นพื้นฐานด้านวัสดุศาสตร์ เครื่องกล เคมี ไฟฟ้า อีกที เรียกว่าเป็นวิศวะที่เรียนชีวะ โดยแบ่งออกเป็น 2 สาขาย่อย คือ วิศวกรรมนาโนที่เน้นทางด้านอิเล็กทรอนิกหรือวัสดุทางวิทยาศาสตร์ โดยศึกษาเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีเพื่อนำไปประยุกต์ พัฒนา และปรับปรุงคุณสมบัติวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น โลหะ พลาสติก เซรามิก เสื้อผ้า เป็นต้น และสาขาวิศวกรรมไบโอนาโนที่เน้นทางด้านชีวะการแพทย์ และแน่นอนว่าตลอดหลักสูตรการเรียนการสอนจะเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ โดยในปีหนึ่ง น้องๆ จะเรียนพื้นฐานวิศวะทั่วไป เช่น ดรออิ้ง แคลคูลัส ฟิสิกส์ เคมี และพื้นฐานที่จำเป็นทุกอย่าง ส่วนปี 2 จะเริ่มเรียนวิชาเฉพาะที่เกี่ยวกับนาโน ได้เรียนในห้องปฏิบัติการ หรือห้องแล็บ ในรายวิชาต่างๆ จากนั้นจะได้ฝึกงานตอนปี 3 และปี 4 ก็จะทำวิจัยและโปรเจคที่สนใจ
ทำไมต้องวิศวะอินเตอร์? น้องๆ หลายคนพอได้ยินคำว่า อินเตอร์ หรือหลักสูตรนานาชาติแล้วอาจจะกังวลถึงตัวเลขค่าใช้จ่ายในการเรียนที่สูง แต่สำหรับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนาโน นานาชาติ จุฬาฯ เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่เรียกได้ว่าแพงแต่คุ้มแน่นอน เพราะจากผลงานการวิจัยของหลายสถาบันที่มีผลออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่า การเรียนด้านวิศวะ คือ สาขาวิชาแห่งอนาคต เป็นที่ต้องการอย่างมากของตลาดแรงงานทั้งในประเทศและทั่วโลก และที่สำคัญ นาโนเทคโนโลยีกำลังจะกลายเป็นโครงการศึกษาและวิจัยในระดับชาติ หน่วยงานและบริษัทต่างชาติชั้นนำ ต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพ และที่สำคัญคือมีความรู้ด้านภาษาค่อนข้างสูง ยิ่งเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และวิศวกรเป็น 1 ในอาชีพเสรีที่สามารถไปทำงานในต่างประเทศได้ ตลาดงานยิ่งกว้างมากแน่นอน
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- สามารถทำงานได้หลายสาขา ทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยพัฒนาหรือผลิตอุปกรณ์ วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิตและตรวจสอบคุณภาพ วิศวกรอุตสาหการ นักวิชาการ อาจารย์ รวมถึงทำงานหรือเรียนต่อทางด้านการแพทย์ได้
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้นม. 6 หรือเทียบเท่า ในระบบการศึกษาของประเทศไทย และคุณสมบัติผ่าน 2 ใน 3 ข้อ ดังนี้
1. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) ตั้งแต่ชั้นม. 4-6 ไม่ต่ำกว่า 2.75
2. มีคะแนนสอบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (Paper-based) ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 550 หรือ
- TOEFL (Internet-based) ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 79 หรือ
- IELTS ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 6.0 หรือ
- CU-TEP ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 80
โดยสามารถใช้คะแนนผลการสอบย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร
3. มีคะแนนสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- SAT I (Math Level 2) ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 600 หรือ
- CU-AAT ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 480
4. มีคะแนนสอบวัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-ATS ผลคะแนนสอบไม่ต่ำกว่า 800 หรือ
- SAT II (Physics and Chemistry) ผลคะแนนสอบแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 600
- สมัครผ่านระบบอินเตอร์เนต ที่เว็บไซต์ http://www.ise.eng.chula.ac.th/web/
- ยื่นเอกสารพร้อมชำระค่าสมัคร ที่ สำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ (ISE)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนาโน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ล้วทำอย่างไรให้สารที่มันอยู่บนใบบัวไปอยู่ในเนื้อผ้า การทำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยให้ไปอยู่ในเนื้อผ้านี่คือนวัตกรรมของวิศวกรรมนาโน นอกจากนี้ยังมีเรื่องยา อุปกรณ์การแพทย์
อย่างยาเราสามารถสร้างเซลล์ที่ผลิตอินซูลินรักษาโรคเบาหวานได้ ผลิตเซลล์ให้อยู่ในแคปซูลแล้วนำไปทิ้งไว้ในกระแสเลือด
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ล้วทำอย่างไรให้สารที่มันอยู่บนใบบัวไปอยู่ในเนื้อผ้า การทำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยให้ไปอยู่ในเนื้อผ้านี่คือนวัตกรรมของวิศวกรรมนาโน นอกจากนี้ยังมีเรื่องยา อุปกรณ์การแพทย์
อย่างยาเราสามารถสร้างเซลล์ที่ผลิตอินซูลินรักษาโรคเบาหวานได้ ผลิตเซลล์ให้อยู่ในแคปซูลแล้วนำไปทิ้งไว้ในกระแสเลือด
เทียบเท่า (อาชีวะ)
- อาจารย์
- อุตสาหกรรม นาโน
- ควรถนัดด้านการคำนวณ ทางคณิตศาสตร์
- ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนาโน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ