กิจกรรมจะเพิ่มพูนประสบการณ์ในการเป็นนักแสดงที่ดี
สาขาศิลปะการแสดงประยุกต์ คณะศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ มุ่งเน้นในการสอนทักษะพื้นฐานการแสดงละครเวที รากฐานสำคัญของการแสดงทุกประเภทตามมาตรฐานสากล ครอบคลุมกลุ่มวิชาทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง เช่น กลุ่มวิชาการแสดง การใช้เสียง การกำกับเวที ฯลฯ ผู้เรียนสามารถนำสาระทักษะจากภาคทฤษฎีและการปฏิบัติไปปรับใช้กับวิชาชีพ ในแวดวงธุรกิจการแสดงและอุตสาหกรรมบันเทิงได้อย่างหลากหลาย
สาขานี้จบไปแล้วสามารถ เป็นได้ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง งานเบื้องหน้าคือภาควิชานี้จะเน้นไปที่ละครเวที เพราะฉะนั้นจะสามารถเป็นนักแสดงได้ นอกจากนั้นยังเป็นพิธีกร รวมถึงงาน event ที่ไปแสดงประกอบเพลง ส่วนงานเบื้องหลังคือผู้กำกับการแสดง ผู้ออกแบบแสง ฉาก เครื่องแต่งกาย รวมไปถึงเขียนบท
แต่จริงๆ แล้ว โอกาสที่จะได้งานทำ มันสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ที่น้องๆ เข้ามาเรียนที่นี่ตั้งแต่ปีหนึ่ง เพราะตลอดในช่วงระยะเวลา 4 ปี ทางสาขาจะคอยมีการประชาสัมพันธ์ให้ไปออดิชั่นในการแสดงต่างๆ ถือว่าไปเปิดประสบการณ์ข้างนอก เพราะเมื่อเราได้มีโอกาสทำงานร่วมกับบุคคลอื่นจะทำให้เราได้รับความคิดแปลกใหม่อันเนื่องมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และการเข้าร่วมกิจกรรมจะสอนให้เรารู้จักที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเอง
อย่างพี่เบียร์ (นายสิทธาธิป ยอดราช ปี 4 ) ซึ่งระหว่างที่เรียนอยู่ก็มีโอกาสไปออดิชั่นงานตลอด ตั้งแต่ปีหนึ่ง เริ่มต้นจากไปการออดิชั่นเป็นนักแสดงละครเวทีที่รัชดาลัยเธียเตอร์ เรื่องกินรีสีชมพู แล้วพัฒนาตัวเองจนมาเป็นแอคติ้งโค้ช (Acting coach) และในปัจจุบันก็เป็นผู้ออกแบบลีลาและท่าเต้น (Choreographer) ให้กับสาขา
สำหรับค่าตัวถ้าเป็นนักแสดง(ละครเวที)ธรรมดา หรือคอรัส ที่ไม่ใช่ตัวหลัก ตีเป็นชั่วโมงละ 300-450 บาท (เฉพาะค่าฝึกซ้อม) แต่ไม่ได้หมายความว่า 7 วันต้องซ้อมทุกวัน วันหนึ่งจะซ้อม 4-6 ชั่วโมง ทางผู้จัดการแสดงจะลงวันซ้อมให้เราเอง ส่วนวันเล่นจริง ถ้าเล่น 15 รอบ ก็ตกรอบละ 3,500 – 5,000 แต่ก็ขึ้นอยู่ที่ผู้ว่าจ้างด้วยแต่ส่วนมากค่าจ้างนักแสดงจะหลักพันขึ้นไปแน่นอนต่อหนึ่งชิ้นงาน
สาขานี้จบไปแล้วสามารถ เป็นได้ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง งานเบื้องหน้าคือภาควิชานี้จะเน้นไปที่ละครเวที เพราะฉะนั้นจะสามารถเป็นนักแสดงได้ นอกจากนั้นยังเป็นพิธีกร รวมถึงงาน event ที่ไปแสดงประกอบเพลง ส่วนงานเบื้องหลังคือผู้กำกับการแสดง ผู้ออกแบบแสง ฉาก เครื่องแต่งกาย รวมไปถึงเขียนบท
แต่จริงๆ แล้ว โอกาสที่จะได้งานทำ มันสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ที่น้องๆ เข้ามาเรียนที่นี่ตั้งแต่ปีหนึ่ง เพราะตลอดในช่วงระยะเวลา 4 ปี ทางสาขาจะคอยมีการประชาสัมพันธ์ให้ไปออดิชั่นในการแสดงต่างๆ ถือว่าไปเปิดประสบการณ์ข้างนอก เพราะเมื่อเราได้มีโอกาสทำงานร่วมกับบุคคลอื่นจะทำให้เราได้รับความคิดแปลกใหม่อันเนื่องมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และการเข้าร่วมกิจกรรมจะสอนให้เรารู้จักที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเอง
รู้จักการเป็นผู้ฟังที่ดี รู้จักทักษะสังคม รู้จักที่จะยอมรับความคิดเห็นของบุคคลอื่น แต่ไม่ใช่ว่าออกไปออดิชั่นทุกครั้งจะได้ดั่งใจหวังทุกครั้ง จงอย่าลืมว่าการแสดงมันขึ้นอยู่กับคาแร็คเตอร์ขึ้นอยู่กับตัวเราว่ามันเหมาะหรือไม่ ? วิธีการแสดงของเราเหมาะกับบทนั้นหรือไม่ ? ที่จะถูกคัดเลือกเข้าไป
อย่างพี่เบียร์ (นายสิทธาธิป ยอดราช ปี 4 ) ซึ่งระหว่างที่เรียนอยู่ก็มีโอกาสไปออดิชั่นงานตลอด ตั้งแต่ปีหนึ่ง เริ่มต้นจากไปการออดิชั่นเป็นนักแสดงละครเวทีที่รัชดาลัยเธียเตอร์ เรื่องกินรีสีชมพู แล้วพัฒนาตัวเองจนมาเป็นแอคติ้งโค้ช (Acting coach) และในปัจจุบันก็เป็นผู้ออกแบบลีลาและท่าเต้น (Choreographer) ให้กับสาขา