กายภาพบำบัด สาขาวิชากายภาพบำบัด
มหาวิทยาลัยมหิดล
รีวิวกายภาพบำบัด สาขาวิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ยกฐานะขึ้นมาจาก โรงเรียนกายภาพบำบัด ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เปิดสอนศาสตร์การกายภาพบัดมายาวนานกว่า 51 ปี อีกทั้งยังเป็นสถาบันวิจัยด้านกายภาพบำบัดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย
ในด้านเรียนการสอน สำหรับในปีที่ 1 เข้ามาแรกๆ จะเรียนเกี่ยวกับพื้นฐานทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ), ภาษาและการสื่อสาร, จิตวิทยาเบื้องต้น และกายวิภาคศาสตร์เบื้องต้น มาถึงปีที่ 2 น้องคนไหนที่ไม่ผ่านกายวิภาคฯ ในภาคทฤษฎี ตรงขอให้ข้ามไปได้เลย เพราะในปีนี้น้องๆ จะได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่ ลงมือผ่าท่านจริงๆ เพื่อศึกษาเรื่องกล้ามเนื้อในร่างกาย สรีระวิทยา และการเคลื่อนไหวการทำงานของร่างกาย เป็นต้น ในปีที่ 3 เป็นรายวิชาของทางคณะฯ อย่าง ศึกษาหัวใจและทรวงอก ระบบประสาท กระดูกและกล้ามเนื้อ การนวดเพื่อกายภาพบำบัด และเครื่องมือที่ใช้ในการกายภาพบำบัดต่างๆ รวมไปถึงการตรวจประเมินและการรักษาผู้ป่วยตามอาการ ในส่วนของปีสุดท้ายแล้วปีที่ 4 น้องๆ จะได้ลงฝึกงานเพื่อหาสาขาที่ตัวเองชื่นชอบ อย่างเช่น กายภาพบำบัดทางประสาท, กายภาพบำบัดกระดูกและกล้ามเนื้อ, กายภาพบำบัดระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และหลอดเลือด, กายภาพบำบัดทางเด็ก เป็นต้น อีกทั้งน้องๆ ยังมีโอกาสเดินทางไปแลกเปลี่ยนความรู้กับมหาวิทยาลัยที่เป็น MOU กับทางคณะฯ เป็นเวลา 4 - 12 สัปดาห์อีกด้วย
อีกทั้งทางคณะฯ ได้จัดตั้งคลินิกกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยนอก เพื่อให้บริการกายภาพบำบัดและเป็นสถานวิจัยด้านกายภาพบำบัด และนอกจากนี้ยังได้จัดการบริการกายภาพบำบัดให้กับชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้สะดวกในการมาที่โรงพยาบาล
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- ได้รับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศสวีเดน เดนมาร์ค และอังกฤษ ในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกงาน
- เป็นหลักสูตรกายภาพบำบัด (ป.ตรี) แห่งแรกของประเทศไทย
จบมาทำงานอะไร
นักกายภาพบำบัด (Physiotherapist) ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทางการแพทย์และการบำรุงรักษา เป็นงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูเพื่อช่วยแพทย์ในการรักษาสุขภาพอนามัยเฉพาะรายบุคคล รวมถึงการรักษาความผิดปกติด้วยวิธีกายภาพบำบัด โดยแพทย์จะเป็นผู้กำหนดวิธีการรักษาให้บริการนวดคนไข้เพื่อให้การหมุนเวียนของโลหิตดีขึ้น ระงับหรือกระตุ้นประสาท ขจัดของเสียสะดวกขึ้น ยืดหรือหย่อนเอ็นที่หดตัวในร่างกาย หรือช่วยให้คนไข้ได้ออกกำลังบริหารร่างกายในท่าที่ถูกต้องเพื่อฟื้นฟูสภาพของคนไข้ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
สามารถทำงานตามหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ โรงพยาบาลทั่วไป, โรงพยาบาลเฉพาะทาง, ศูนย์ฟื้นฟูสภาพผู้พิการ, สถาบันให้การดูแลหรือบำบัดรักษาผู้สูงอายุ, ทัณฑสถาน, ศูนย์รักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด, สถาบันรักษาฟื้นฟูผู้ป่ วยทางจิตสังคม, ศูนย์บริการทางสาธารณสุข, โรงเรียนรัฐบาล, โรงเรียนหรือคลินิกสำหรับเด็กพิเศษ, ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
โควตาโครงการส่งเสริมความถนัดทางวิชาชีพ (พฤศจิกายน)
- กำลังศึกษาในระดับชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 3.00
- ผ่านการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็บไซต์ www.mahidol.ac.th/directadmission
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET (01 ภาษาไทย - 05 วิทยาศาสตร์ = 30%) 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
120, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
15, 000 บาท/เทอม
กายภาพบำบัด สาขาวิชากายภาพบำบัด
มหาวิทยาลัยมหิดล
เกือบ 50 ปีที่คณะได้ก่อกำเนิดมาจากโรงเรียนกายภาพบำบัด ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล พวกเรามีความภาคภูมิใจในความเป็นสถาบันการศึกษาทางด้านกายภาพบำบัดแห่งแรกและมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่ผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัดระดับปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิตกายภาพบำบัดคลินิกสาขาการจัด ดัด ดึง และสาขาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปริญญาโท และปริญญาเอกหลักสูตรนานาชาติ นอกจากนั้น เรามีความภาคภูมิใจในศูนย์กายภาพบำบัดของเรา ซึ่งถือเป็นสถานบริการทางกายภาพบำบัดต้นแบบ ตอบสนองต่อความต้องการในการรักษาผู้ป่วยทางกายภาพบำบัดมากกว่า 300 รายต่อวัน ในด้านงานวิจัย เรามุ่งพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านของจำนวนงานวิจัยและอุปกรณ์การวิจัยต่างๆ เพื่อรองรับการฝึกอบรมและการทำวิจัยทางด้านกายภาพบำบัดขั้นสูง การวิเคราะห์และควบคุมการเคลื่อนไหวของมนุษย์ รวมทั้งพัฒนาการและการเรียนรู้การเคลื่อนไหว ไม่เพียงแต่หลักสูตรกายภาพบำบัดเท่านั้น คณะของเราเปิดสอนหลักสูตรกิจกรรมบำบัด ในระดับปริญญาตรีอีกด้วย
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด) เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ. 2508 เป็นหลักสูตรที่เรียนเต็มเวลา เป็นเวลา 4 ปี ในปีการศึกษาแรก นักศึกษาจะได้เรียนวิชาพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการต่อยอดสู่วิชาทางด้านกายภาพบำบัดต่อไป อีกทั้ง นักศึกษาจะได้เรียนวิชาบทนำวิชาชีพกายภาพบำบัด สำหรับปีการศึกษาที่ 2 นักศึกษาจะได้เรียนวิชาพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับกายภาพบำบัด ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และชีวกลศาสตร์ นอกจากนั้นนักศึกษายังได้รับประสบการณ์ในการศึกษางานทางคลีนิกกายภาพบำบัด
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะกายภาพบำบัด (Physical Therapy)
ชื่อสาขา
สาขาวิชากายภาพบำบัด (Bachelor of Science (Physical Therapy))
ชื่อปริญญา
วท.บ. (กายภาพบำบัด) (วิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด))
รายละเอียด
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด) เป็นหลักสูตรที่เรียนเต็มเวลา เป็นเวลา 4 ปี ในปีการศึกษาแรก นักศึกษาจะได้เรียนวิชาพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการต่อยอดสู่วิชาทางด้านกายภาพบำบัดต่อไป อีกทั้ง นักศึกษาจะได้เรียนวิชาบทนำวิชาชีพกายภาพบำบัด สำหรับปีการศึกษาที่ 2 นักศึกษาจะได้เรียนวิชาพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับกายภาพบำบัด ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และชีวกลศาสตร์ นอกจากนั้นนักศึกษายังได้รับประสบการณ์ในการศึกษางานทางคลีนิกกายภาพบำบัด
เนื้อหาวิชา
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 144 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 9
- กลุ่มวิชาภาษา 9
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 12
ข. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 108 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเฉพาะ 10
- กลุ่มวิชาวิชาชีพ 98
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คุณสมบัติ
ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า มีคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะ ตามระเบียบการสอบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
และ/หรือ ระเบียบการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยมหิดลระบบรับตรง รวมทั้งตามระเบียบข้อบังคับอื่นๆ ของการรับผู้เข้าศึกษากรณีพิเศษที่ผ่านการอนุมัติของสภามหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว
- ผู้สมัครทุกโครงการ ต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- ผู้สมัครต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) 4 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 3.00 ยกเว้น ผู้สมัครโครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75
- ไม่มีตาบอดสีขั้นรุนแรง
- ไม่มีปัญหาสุขภาพร่างกายและสุขภาพทางจิตที่เป็นอุปสรรค ต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพ
ทุนการศึกษา
กยศ. กรอ. ทุนรัฐบาล, ทุนมหาวิทยาลัยมหิดล
อาชีพ
ผู้ประกอบนักกายภาพบำบัด-Physiotherapist ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทางการแพทย์ และการบำรุงรักษา เป็นส่วนหนึ่งของงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อช่วยแพทย์ในการรักษาสุขภาพอนามัยเฉพาะรายบุคคล รวมถึงการรักษาความผิดปกติด้วยวิธีกายภาพบำบัด ซึ่งไม่ใช่การรักษาด้วยยาซึ่งโดยปกติแพทย์จะเป็นผู้กำหนดวิธีการรักษา ให้บริการนวดคนไข้เพื่อให้การหมุนเวียนของโลหิตดีขึ้น เพื่อระงับหรือกระตุ้นประสาท เพื่อให้การขจัดของเสียสะดวกขึ้น ยืดหรือหย่อนเอ็นที่หดตัวในร่างกาย หรือช่วยให้คนไข้ได้ออกกำลังบริหารร่างกายในท่าที่ถูกต้องเพื่อฟื้นฟูสภาพของคนไข้ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
สามารถกลับไปประกอบอาชีพการงานได้รวดเร็ว นักกายภาพบำบัดจะให้การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาดังต่อไปนี้
- ด้านพัฒนาการ (Development)
- ด้านอายุรกรรม (Medicine)
- ด้านศัลยกรรม (Surgery)
- ด้านระบบประสาท (Neurology)
- ด้านกระดูกและข้อ (Orthopedics)
- ด้านจิตเวช (Psychiatry)
- ด้านผู้สูงอายุ (Geriatric) หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับพื้นฐาน
นักกายภาพบำบัด มีหน้าที่บำบัดรักษาผู้อื่นตามคำสั่งแพทย์โดยการใช้เครื่องมือทางฟิสิกส์ การบริหารร่างกายเฉพาะท่า เช่นการดึง การนวด และเทคนิคอื่นๆ ทางกายภาพบำบัดผู้ป่วยทาง ออร์โธปิดิคส์ คือผู้ป่วยทางระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อซึ่งอาจเกิดจากโรคบางชนิดหรืออุบัติเหตุ มุ่งเน้นให้การช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันความพิการ บำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพในผู้ที่มีความเสื่อมสมรรถภาพ หรือความพิการทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม พัฒนาการการรับรู้ และความรู้ความเข้าใจด้วยวิธีการทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งได้แก่ การใช้กิจกรรมที่ได้วิเคราะห์โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การใช้เครื่องพยุงส่วนของร่างกาย หรือ อุปกรณ์ช่วยต่างๆ รวมทั้งการใช้เทคนิคพิเศษในการบำบัดรักษาเฉพาะทาง เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยอิสระ
นักกายภาพบำบัดจะรักษาอาการผิดปกติของร่างกาย เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด อัมพาต โรคหัวใจ หรือโรคประสาทด้วยวิธีกายภาพบำบัด หรือวิธีอื่นๆ ที่มิใช่การรักษาด้วยยา และโดยปกติเป็นการปฏิบัติงานตามคำสั่งของแพทย์ ชี้แจงผู้ป่วยให้ออกกำลังกาย เพื่อรักษาโรคกล้ามเนื้อไม่ปกติ และหย่อนประสิทธิภาพใช้มือนวดตามร่างกายของผู้ป่วยให้การรักษาด้วยการฉายแสงอาทิตย์เทียม แสงอัลตราไวโอเลต หรืออินฟราเรดและมุ่งเน้นช่วยตรวจสอบค้นหาข้อบกพร่องให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยอิสระ และจะต้องให้การช่วยเหลือด้านพัฒนาการร่างกาย ด้านจิตเวช
โดยมีขอบเขตความรับผิดชอบ ดังนี้
1. ช่วยตรวจสอบค้นหาข้อบกพร่อง รวมทั้งให้การบำบัดรักษาในเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ
2. ช่วยกระตุ้น ฟื้นฟู และส่งเสริมความสามารถในผู้ที่มีปัญหาด้านการรับรู้ และการเรียนรู้
3. สอน และฝึกหัดกิจวัตรประจำวัน เช่น การเคลื่อนย้ายตัว สุขอนามัยส่วนบุคคล การรับประทานอาหาร เป็นต้น
4. ให้การรักษาพิเศษ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถทางกาย ได้แก่ เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อเพิ่มความ ทนทานในงานสหสัมพันธ์ ในการทำงาน เป็นต้น
5. ดัดแปลงอุปกรณ์ช่วย อุปกรณ์เสริม และเทียมให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย รวมทั้งฝึกหัดการใช้และการดูแลรักษา
6. ดัดแปลงสภาพบ้าน และขจัดสิ่งกีดขวางทางสถาปัตยกรรม
7. ให้การรักษาพิเศษแก่ผู้ที่มีปัญหาด้านจิตใจ สังคม อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยโรค ช่วยลด หรือขจัดแรงขับทางอารมณ์ แก้ไข และปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีจัดการกับความเครียดหรือความวิตกกังวล
8. ประเมินสมรรถภาพทางร่างกาย และจิตใจ การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ความสนใจงานนิสัยในการทำงาน รวมทั้งปรับปรุงทักษะ และศักยภาพในการประกอบอาชีพ
9. แนะนำโครงการการใช้ชีวิต และการปรับตัวภายหลังการเกษียณให้ผู้สูงอายุ และผู้มีปัญหาทางร่างกายหรือพิการ
เส้นทางอาชีพและความก้าวหน้า
นักกายภาพบำบัดจะสามารถทำงานตามหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ดังต่อไปนี้
- โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลเฉพาะทาง
- ศูนย์ฟื้นฟูสภาพผู้พิการ
- สถาบันให้การดูแลหรือบำบัดรักษาผู้สูงอายุ
- ทัณฑสถาน
- ศูนย์รักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
- สถาบันรักษาฟื้นฟูผู้ป่ วยทางจิตสังคม
- ศูนย์บริการทางสาธารณสุข
- โรงเรียนรัฐบาล
- โรงเรียนหรือคลินิกสำหรับเด็กพิเศษ
- ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก
เทรนด์อาชีพในอนาคตตรงกับ
อาชีพมาแรงในตลาดโลก ปี 2015
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสาขานี้
ควรสนใจด้านวิชาวิทยาศาตร์ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
2 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 5.0 แย่
กายภาพบำบัด สาขาวิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ดีไหม?
“บรการดีค่ะเปนคนรับการรักษาเองค่ะ”
ได้รับการรักษาแล้วดีขึ้นค่ะทุกวันนี้อยู่กับความทรมาน
พัชรี
คนทำงาน
04 ก.ค. 62 16:46 น.
กายภาพบำบัด สาขาวิชากายภาพบำบัด
มหาวิทยาลัยมหิดล
รีวิวกายภาพบำบัด สาขาวิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ยกฐานะขึ้นมาจาก โรงเรียนกายภาพบำบัด ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เปิดสอนศาสตร์การกายภาพบัดมายาวนานกว่า 51 ปี อีกทั้งยังเป็นสถาบันวิจัยด้านกายภาพบำบัดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย
ในด้านเรียนการสอน สำหรับในปีที่ 1 เข้ามาแรกๆ จะเรียนเกี่ยวกับพื้นฐานทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ), ภาษาและการสื่อสาร, จิตวิทยาเบื้องต้น และกายวิภาคศาสตร์เบื้องต้น มาถึงปีที่ 2 น้องคนไหนที่ไม่ผ่านกายวิภาคฯ ในภาคทฤษฎี ตรงขอให้ข้ามไปได้เลย เพราะในปีนี้น้องๆ จะได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่ ลงมือผ่าท่านจริงๆ เพื่อศึกษาเรื่องกล้ามเนื้อในร่างกาย สรีระวิทยา และการเคลื่อนไหวการทำงานของร่างกาย เป็นต้น ในปีที่ 3 เป็นรายวิชาของทางคณะฯ อย่าง ศึกษาหัวใจและทรวงอก ระบบประสาท กระดูกและกล้ามเนื้อ การนวดเพื่อกายภาพบำบัด และเครื่องมือที่ใช้ในการกายภาพบำบัดต่างๆ รวมไปถึงการตรวจประเมินและการรักษาผู้ป่วยตามอาการ ในส่วนของปีสุดท้ายแล้วปีที่ 4 น้องๆ จะได้ลงฝึกงานเพื่อหาสาขาที่ตัวเองชื่นชอบ อย่างเช่น กายภาพบำบัดทางประสาท, กายภาพบำบัดกระดูกและกล้ามเนื้อ, กายภาพบำบัดระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และหลอดเลือด, กายภาพบำบัดทางเด็ก เป็นต้น อีกทั้งน้องๆ ยังมีโอกาสเดินทางไปแลกเปลี่ยนความรู้กับมหาวิทยาลัยที่เป็น MOU กับทางคณะฯ เป็นเวลา 4 - 12 สัปดาห์อีกด้วย
อีกทั้งทางคณะฯ ได้จัดตั้งคลินิกกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยนอก เพื่อให้บริการกายภาพบำบัดและเป็นสถานวิจัยด้านกายภาพบำบัด และนอกจากนี้ยังได้จัดการบริการกายภาพบำบัดให้กับชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้สะดวกในการมาที่โรงพยาบาล
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นหลักสูตรกายภาพบำบัด (ป.ตรี) แห่งแรกของประเทศไทย
จบมาทำงานอะไร
สามารถทำงานตามหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ โรงพยาบาลทั่วไป, โรงพยาบาลเฉพาะทาง, ศูนย์ฟื้นฟูสภาพผู้พิการ, สถาบันให้การดูแลหรือบำบัดรักษาผู้สูงอายุ, ทัณฑสถาน, ศูนย์รักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด, สถาบันรักษาฟื้นฟูผู้ป่ วยทางจิตสังคม, ศูนย์บริการทางสาธารณสุข, โรงเรียนรัฐบาล, โรงเรียนหรือคลินิกสำหรับเด็กพิเศษ, ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
- กำลังศึกษาในระดับชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 3.00
- ผ่านการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็บไซต์ www.mahidol.ac.th/directadmission
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET (01 ภาษาไทย - 05 วิทยาศาสตร์ = 30%) 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
กายภาพบำบัด สาขาวิชากายภาพบำบัด
มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด) เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ. 2508 เป็นหลักสูตรที่เรียนเต็มเวลา เป็นเวลา 4 ปี ในปีการศึกษาแรก นักศึกษาจะได้เรียนวิชาพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการต่อยอดสู่วิชาทางด้านกายภาพบำบัดต่อไป อีกทั้ง นักศึกษาจะได้เรียนวิชาบทนำวิชาชีพกายภาพบำบัด สำหรับปีการศึกษาที่ 2 นักศึกษาจะได้เรียนวิชาพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับกายภาพบำบัด ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และชีวกลศาสตร์ นอกจากนั้นนักศึกษายังได้รับประสบการณ์ในการศึกษางานทางคลีนิกกายภาพบำบัด
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 9
- กลุ่มวิชาภาษา 9
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 12
ข. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 108 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเฉพาะ 10
- กลุ่มวิชาวิชาชีพ 98
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
และ/หรือ ระเบียบการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยมหิดลระบบรับตรง รวมทั้งตามระเบียบข้อบังคับอื่นๆ ของการรับผู้เข้าศึกษากรณีพิเศษที่ผ่านการอนุมัติของสภามหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว
สามารถกลับไปประกอบอาชีพการงานได้รวดเร็ว นักกายภาพบำบัดจะให้การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาดังต่อไปนี้
- ด้านพัฒนาการ (Development)
- ด้านอายุรกรรม (Medicine)
- ด้านศัลยกรรม (Surgery)
- ด้านระบบประสาท (Neurology)
- ด้านกระดูกและข้อ (Orthopedics)
- ด้านจิตเวช (Psychiatry)
- ด้านผู้สูงอายุ (Geriatric) หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับพื้นฐาน
นักกายภาพบำบัด มีหน้าที่บำบัดรักษาผู้อื่นตามคำสั่งแพทย์โดยการใช้เครื่องมือทางฟิสิกส์ การบริหารร่างกายเฉพาะท่า เช่นการดึง การนวด และเทคนิคอื่นๆ ทางกายภาพบำบัดผู้ป่วยทาง ออร์โธปิดิคส์ คือผู้ป่วยทางระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อซึ่งอาจเกิดจากโรคบางชนิดหรืออุบัติเหตุ มุ่งเน้นให้การช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันความพิการ บำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพในผู้ที่มีความเสื่อมสมรรถภาพ หรือความพิการทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม พัฒนาการการรับรู้ และความรู้ความเข้าใจด้วยวิธีการทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งได้แก่ การใช้กิจกรรมที่ได้วิเคราะห์โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การใช้เครื่องพยุงส่วนของร่างกาย หรือ อุปกรณ์ช่วยต่างๆ รวมทั้งการใช้เทคนิคพิเศษในการบำบัดรักษาเฉพาะทาง เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยอิสระ
นักกายภาพบำบัดจะรักษาอาการผิดปกติของร่างกาย เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด อัมพาต โรคหัวใจ หรือโรคประสาทด้วยวิธีกายภาพบำบัด หรือวิธีอื่นๆ ที่มิใช่การรักษาด้วยยา และโดยปกติเป็นการปฏิบัติงานตามคำสั่งของแพทย์ ชี้แจงผู้ป่วยให้ออกกำลังกาย เพื่อรักษาโรคกล้ามเนื้อไม่ปกติ และหย่อนประสิทธิภาพใช้มือนวดตามร่างกายของผู้ป่วยให้การรักษาด้วยการฉายแสงอาทิตย์เทียม แสงอัลตราไวโอเลต หรืออินฟราเรดและมุ่งเน้นช่วยตรวจสอบค้นหาข้อบกพร่องให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยอิสระ และจะต้องให้การช่วยเหลือด้านพัฒนาการร่างกาย ด้านจิตเวช
โดยมีขอบเขตความรับผิดชอบ ดังนี้
1. ช่วยตรวจสอบค้นหาข้อบกพร่อง รวมทั้งให้การบำบัดรักษาในเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ
2. ช่วยกระตุ้น ฟื้นฟู และส่งเสริมความสามารถในผู้ที่มีปัญหาด้านการรับรู้ และการเรียนรู้
3. สอน และฝึกหัดกิจวัตรประจำวัน เช่น การเคลื่อนย้ายตัว สุขอนามัยส่วนบุคคล การรับประทานอาหาร เป็นต้น
4. ให้การรักษาพิเศษ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถทางกาย ได้แก่ เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อเพิ่มความ ทนทานในงานสหสัมพันธ์ ในการทำงาน เป็นต้น
5. ดัดแปลงอุปกรณ์ช่วย อุปกรณ์เสริม และเทียมให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย รวมทั้งฝึกหัดการใช้และการดูแลรักษา
6. ดัดแปลงสภาพบ้าน และขจัดสิ่งกีดขวางทางสถาปัตยกรรม
7. ให้การรักษาพิเศษแก่ผู้ที่มีปัญหาด้านจิตใจ สังคม อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยโรค ช่วยลด หรือขจัดแรงขับทางอารมณ์ แก้ไข และปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีจัดการกับความเครียดหรือความวิตกกังวล
8. ประเมินสมรรถภาพทางร่างกาย และจิตใจ การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ความสนใจงานนิสัยในการทำงาน รวมทั้งปรับปรุงทักษะ และศักยภาพในการประกอบอาชีพ
9. แนะนำโครงการการใช้ชีวิต และการปรับตัวภายหลังการเกษียณให้ผู้สูงอายุ และผู้มีปัญหาทางร่างกายหรือพิการ
- โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลเฉพาะทาง
- ศูนย์ฟื้นฟูสภาพผู้พิการ
- สถาบันให้การดูแลหรือบำบัดรักษาผู้สูงอายุ
- ทัณฑสถาน
- ศูนย์รักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
- สถาบันรักษาฟื้นฟูผู้ป่ วยทางจิตสังคม
- ศูนย์บริการทางสาธารณสุข
- โรงเรียนรัฐบาล
- โรงเรียนหรือคลินิกสำหรับเด็กพิเศษ
- ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก
2 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 5.0 แย่
กายภาพบำบัด สาขาวิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ดีไหม?
ได้รับการรักษาแล้วดีขึ้นค่ะทุกวันนี้อยู่กับความทรมาน
พัชรี
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ