U-Review

เปิดทักษะที่ต้องมีในยุค 4.0 จากรุ่นพี่วิศวกรรมไฟฟ้า : U-Showcase

ในโลกของยุคไทยแลนด์ 4.0 การพัฒนาต่างๆ ก้าวไปข้างหน้า ทุกๆอาชีพในประเทศต้องมีการปรับตัว เราจึงจำเป็นต้องศึกษาว่าควรมีทักษะใดบ้าง หรือต้องพัฒนาทักษะใดบ้างที่เรามี เพื่อเพิ่มโอกาสให้เราโดนเด่นเป็นที่สนใจขององค์กรต่างๆ และเพื่อให้เราอยู่รอดในยุค 4.0
 
5 ทักษะที่จำเป็นต่ออาชีพวิศวกรไฟฟ้ายุค 4.0
 
1.ทักษะด้านภาษา
 
แน่นอนว่าในปัจจุบันวิศวกรส่วนใหญ่ต้องทำงานกับบริษัทต่างชาติ หรือต้องติดต่อกับลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติมากขึ้น ดังนั้นภาษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากสื่อสารกันไม่ได้ก็จะทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้วิศวกรยุค 4.0 ต้องมีทักษะนี้
 
2.ความสามารถในการสื่อสาร
 
สาเหตุที่ทักษะด้านการสื่อสารจำเป็นต้องมี ก็เพราะการทำงานส่วนใหญ่ต้องทำงานเป็นทีม หากเราไม่สามารถสื่อสารให้มีเกิดความเข้าใจทั้งสองฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานอาจจะเกิดปัญหาและอุปสรรคได้ ดังนั้นจึงเราต้องทำให้เพื่อนร่วมงานของเราเข้าใจวิธีการทำงาน และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
 
3.ทักษะในการแก้ไขปัญหา
 
ทักษะการแก้ปัญหาเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้ทักษะข้ออื่นๆ เนื่องจากปัญหาหลักทางด้านวิศวกรรมคือการออกแบบ สร้าง และใช้งานสิ่งต่างๆ ภายใต้กรอบเงื่อนไขที่มีอยู่ ปัญหาเหล่านี้มักไม่มีคำตอบที่แน่ชัด เราต้องไล่เรียงให้ได้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร แล้วเราจะมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไรให้กับสิ่งๆ นี้
 
4.การทำงานเป็นทีม
 
สำนวนที่ว่า “คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย” ยังใช้ได้มาจนถึงยุคนี้ เพราะหลายอย่างในโลกนี้เราไม่สามารถทำได้โดยลำพัง การทำงานให้สำเร็จไปได้ด้วยดีนั้น เราจำเป็นต้องทำงานร่วมกับคนอื่นได้ด้วย ต้องรับรู้และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วยเช่นกัน และนั่นจะทำให้งานของเรามีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
 
5.การพัฒนาตนเอง
 
สิ่งสำคัญที่เราจะต้องเพิ่มและพัฒนาตัวเราในยุคนี้คือ เราต้องทักษะการทำงานที่หลากหลายหรือที่เรียกว่า Multi-skills สามารถทำงานได้หลายอย่าง ๆ เพราะทุกอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องเพิ่มทักษะการทำงาน โดยต้องมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพื่อจะได้เป็นวิศวกรที่มีคุณภาพ และเพื่อจะได้นำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้

 
     พี่ทีมงาน AdmissionPremium ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ พี่วศิน อภิชัยธนกุล นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า รุ่นพี่วิศวกรรมไฟฟ้าที่ได้รับรางวัลเหรียญพระราชทานจาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10) 


     เล่าถึงหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ สอนให้เป็นวิศวกรที่มีความรู้ ความสามารถ และวิชาชีพที่พร้อมจะประกอบอาชีพเป็นวิศวกร เพื่อพัฒนางานในด้านที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิผล
 
เหตุผลที่เลือกเรียน สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

     พี่เรียนมัธยมปลายสายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เป็นคนชอบวิชาคำนวณมาก และมีรุ่นพี่อยู่สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เขาแนะนำให้เราเรียนสาขานี้ พี่เลยไปศึกษาดู ทำให้สนใจเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าจึงได้ตัดสินใจเรียนสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า และที่เลือกมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์เพราะมุ่งมั่นให้ความรู้ฝึกฝนนักศึกษาให้เป็นวิศวกรที่มีความรู้ ความสามารถ และวิชาชีพที่พร้อมจะประกอบอาชีพเป็นวิศวกร เพื่อรองรับการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ในขณะเดียวกันบัณฑิตที่ผลิตออกไปจะต้องมีคุณธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ


เทคนิคการเรียนของเราเป็นอย่างไรบ้าง
 
ส่วนเทคนิคสำหรับการเรียนโดยส่วนใหญ่นะครับ เวลาเรียนในคาบเรียนถ้าเราไม่ใช่คนขยัน ซึ่งพี่ก็ไม่ได้เป็นคนขยันกลับบ้านก็เล่นเกมส์หาเงิน เราก็ควรไขว่คว้าความรู้ในคาบเรียนให้ได้มากที่สุด ไม่เข้าใจหรือสงสัยอะไรให้ถามอาจารย์ในคาบนั้นๆเลย และพี่เป็นคนที่ก่อนสอบจะติวหนังสือสอบกับเพื่อนด้วย เลยทำให้ได้เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น


 
คุณสมบัติของน้อง ๆ ที่อยากศึกษาต่อ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

มีขยัน ใฝ่เรียนรู้ ชอบค้นหา สามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้ดี ชอบการสื่อสารต่อหน้าสาธารณชน ไม่เขินอาย สนใจภาษาอื่นๆ ทั้งภาษาอังกฤษและ ภาษาในอาเซียน เพราะอาจได้พบแรงงานเพื่อนบ้าน
 
โอกาสทางวิชาชีพ

  - วิศวกรประจำโรงงานไฟฟ้า
  - วิศวกรออกแบบ อนุมัติแบบ ควบคุมงานการติดตั้งระบบไฟฟ้า 
  - วิศวกรควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้า 
  - วิศวกรปฏิบัติการทดสอบการผลิตไฟฟ้า และวิจัยผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า
  - วิศวกรวางแผนการใช้พลังงานประจำโรงงานอุตสาหกรรม
  - อาจารย์ นักวิชาการ และที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานรัฐและเอกชน
  - ประกอบอาชีพอิสระ เช่น รับออกแบบระบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า เป็นต้น

 
ข้อมูลเพิ่มเติม

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

พาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาวิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดมาตั้งแต่ปี ...

MBA บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เพื่อเป็นการเปิดกว้างทางวิชาการและเพิ่มพูนความรู้ทางด้านของการบริหารธุรกิจระดับมหาบัณฑิต ...

เทคนิคการแพทย์ สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

"หมอแลป" หรือชื่อที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า ...