“นักสื่อสารการเกษตร อาชีพที่เกษตรกรอยากบอกรัก” รีวิวสาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร : U-Review
สาขาวิขานิเทศศาสตร์เกษตร เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต โดยบูรณาการความรู้ของนิเทศศาสตร์ และการเกษตรเข้าด้วยกัน โดยหยิบยกเรื่องการสื่อสารมาใช้ในวงการการเกษตร จึงได้เรียนทั้งวิทยาศาสตร์การเกษตร การทำสื่อต่างๆ และการทำ VDO Content ทั้งระบบงาน เรียกได้ว่า แน่นทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเลยทีเดียว
หลักสูตรของวิชานิเทศศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นหลักสูตรเรียน 4 ปี เริ่มต้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 2 น้องๆ จะได้รับการปูพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร พืชและสัตว์ และพื้นฐานด้านนิเทศศาสตร์อย่าง ทฤษฎีการวิเคราะห์สื่อ การผลิตสื่อ เมื่อขึ้นปี 3 น้องๆ เลือกเรียนวิชาโทที่ชื่นชอบ เพื่อเข้าสู่การเรียนแบบเข้มข้นทั้งทฤษฎีและปฏิบัติจริง แบ่งเป็น 4 สายด้วยกัน คือ 1.การวิทยุโทรทัศน์ และภาพยนต์ 2.โฆษณาและประชาสัมพันธ์ 3.กราฟิก สิ่งพิมพ์ และมัลติมีเดีย และ 4.สื่อสารชุมชน
ในชั้นปีที่ 4 เรียนเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากนั้นน้องๆ จะได้เลือกไปสหกิจศึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือทำโปรเจคเพื่อจบการศึกษา
โอกาสการทำงานของสาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร สามารถทำงานเกี่ยวกับสื่อด้านการเกษตรในหน่วยงานต่างๆ ได้ทั้งภาครัฐ และเอกชน เนื่องจากสายนิเทศเป็นที่ต้องการของทุกหน่วยงานเพื่อทำการผลิตสื่อ การสื่อสารระหว่างองค์กร หรือกับภาคประชาชนเช่นเกษตรกร นอกจากนี้อาจประกอบอาชีพด้านนิเทศศาสตร์โดยตรง หรือประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านการผลิตสื่อเพื่อการเกษตร
การรับสมัครของสาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตรผ่านระบบ TCAS ทั้ง 5 รอบ โดยเปิดรับน้องๆ ที่จบสายวิทย์ และในสายศิลป์ก็รับเช่นกัน มีข้อแม้ว่าต้องมีผลการเรียนวิชาคณิตไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต ในรอบ Portfolio สิ่งที่อาจารย์อยากเห็นคือ Content ที่น้องๆ จัดทำขึ้นมามีมิติทางการเกษตรเพียงไร และจะน่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับน้องๆ รู้ตัวแล้วว่าอยากเรียนวิชาโทอะไร และทำ Portfolio ไปในแนวนั้นได้ ซึ่งแสดงถึงความสนใจ และความสามารถได้อย่างชัดเจน
หลักสูตรของวิชานิเทศศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นหลักสูตรเรียน 4 ปี เริ่มต้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 2 น้องๆ จะได้รับการปูพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร พืชและสัตว์ และพื้นฐานด้านนิเทศศาสตร์อย่าง ทฤษฎีการวิเคราะห์สื่อ การผลิตสื่อ เมื่อขึ้นปี 3 น้องๆ เลือกเรียนวิชาโทที่ชื่นชอบ เพื่อเข้าสู่การเรียนแบบเข้มข้นทั้งทฤษฎีและปฏิบัติจริง แบ่งเป็น 4 สายด้วยกัน คือ 1.การวิทยุโทรทัศน์ และภาพยนต์ 2.โฆษณาและประชาสัมพันธ์ 3.กราฟิก สิ่งพิมพ์ และมัลติมีเดีย และ 4.สื่อสารชุมชน
ในชั้นปีที่ 4 เรียนเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากนั้นน้องๆ จะได้เลือกไปสหกิจศึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือทำโปรเจคเพื่อจบการศึกษา
โอกาสการทำงานของสาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร สามารถทำงานเกี่ยวกับสื่อด้านการเกษตรในหน่วยงานต่างๆ ได้ทั้งภาครัฐ และเอกชน เนื่องจากสายนิเทศเป็นที่ต้องการของทุกหน่วยงานเพื่อทำการผลิตสื่อ การสื่อสารระหว่างองค์กร หรือกับภาคประชาชนเช่นเกษตรกร นอกจากนี้อาจประกอบอาชีพด้านนิเทศศาสตร์โดยตรง หรือประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านการผลิตสื่อเพื่อการเกษตร
การรับสมัครของสาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตรผ่านระบบ TCAS ทั้ง 5 รอบ โดยเปิดรับน้องๆ ที่จบสายวิทย์ และในสายศิลป์ก็รับเช่นกัน มีข้อแม้ว่าต้องมีผลการเรียนวิชาคณิตไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต ในรอบ Portfolio สิ่งที่อาจารย์อยากเห็นคือ Content ที่น้องๆ จัดทำขึ้นมามีมิติทางการเกษตรเพียงไร และจะน่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับน้องๆ รู้ตัวแล้วว่าอยากเรียนวิชาโทอะไร และทำ Portfolio ไปในแนวนั้นได้ ซึ่งแสดงถึงความสนใจ และความสามารถได้อย่างชัดเจน