U-Review

"นักพัฒนาเทคโนโลยียุคใหม่บนเส้นทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์" รีวิว สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ : U-Review

       เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวและเราตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น โดยคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าเป็นนักพัฒนาเทคโนโลยีโดยเน้นไปทางคอมพิวเตอร์เป็นหลัก

       น้องๆ คงสงสัยว่าแล้วระหว่างวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์แตกต่างกันอย่างไรหรือเรียนเหมือนกันหรือไม่? วันนี้เราพาอาจารย์ ณัฏฐ์ โอธนาทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมและเทคโนโลยีการศึกษาหัวหน้าสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ท่านเป็นบุคคลที่จะมาตอบคำถามให้แก่น้องๆ

UploadImage

       ก่อนอื่นเราจะพาน้องๆ ไปรู้จักกับความแตกต่าง เราต้องมาทำความเข้าใจหลักการเรียนระหว่างวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์กันก่อน ว่ามีแนวทางการเรียนอย่างไร

       เริ่มจากหลักการเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ถือว่าเป็นต้นทางของสายคอมพิวเตอร์ ริเริ่มจากนักคณิตศาสตร์ที่คิดด้านคอมพิวเตอร์ได้มีการอธิบายถึงเรื่องอัลกอรึทึม (Algorithm) เป็นแนวคิดในเรื่องของการคิดค้น ว่าทำอย่างไรให้คอมพิวเตอร์คิดได้เหมือนคน ดังนั้นทางสายวิทยาการคอมพิวเตอร์ก็จะเน้นในเรื่องของการทำงานของคอมพิวเตอร์ ว่าคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไรพูดง่ายๆจะเป็นเรื่องของซอฟ์แวร์ส่วนใหญ่ ทั้งโปรแกรมที่น้องใช้กันอยู่ หรือซอฟ์แวร์ใหม่ๆ ที่กำลังพัฒนา

       ส่วนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะมีเรียนเพิ่มเติมขึ้นมาในเชิงแอพพลายด์ มีเรื่องของฮารด์แวร์เข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นพวกอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ รวมถึงมือถือ โดยวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ก็จะพัฒนาต่อยอดโดยการเอาความรู้พื้นฐานความรู้ทางด้านซอฟ์แวร์ ไปพัฒนาเป็นฮาร์ดแวร์ออกมาด้วย ดังนั้นวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะเป็นการคิด ประดิษฐ์อุปกรณ์ใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความทันสมัยด้วย 

       สรุปง่ายๆ คือ วิทยาการคอมพิวเตอร์จะเป็นในเรื่องของการคิดซอฟ์แวร์ใหม่ๆ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะเป็นเรื่องของการคิดอุปกรณ์ใหม่ๆ โดยใช้หลักการฮาร์ดแวร์ หรือซอฟ์แวร์มาประกอบด้วย

UploadImage

       มีเทคโนโลยีอย่างหนึ่งกำลังรอการพัฒนาในปัจจุบัน เรียกได้ว่าเป็นเทรนด์ที่จะเปลี่ยนโลกนี้คือ ยุคอินเตอร์เน็ตออฟติง (Internet of Thing) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งที่อยู่เหนือความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป โดยระบบตัวนี้ถูกสร้างขึ้นมาจากการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของการกระทำของมนุษย์ และสภาพแวดล้อม ก่อนจะใส่คำสั่งต่างๆ เข้าไปในระบบซึ่งหมายความว่าในอนาคตข้างหน้านี้อินเตอร์เน็ตจะเชื่อมเข้ากับทุกเทคโนโลยี และโลกจะถูกขับเคลือนด้วยอินเตอร์เน็ตออฟติงภายใต้ความรู้วิศวกรรม เพราะฉะนั้นวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ก็จะมาตอบโจทย์ตรงที่หากเราจะไปถึงอินเตอร์เน็ตออฟติงได้เราจะต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องคอมพิวเตอร์, ฮารด์แวร์ และซอฟ์แวร์ เสียก่อน

UploadImage

       หลักสูตรการเรียนการสอนให้นักศึกษาเข้มแข็งในความรู้ของทางมหาวิทยาลัย โดยเบื้องต้นเนื่องจากหลักสูตรของทางมหาวิทยาลัยเป็นวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ แน่นอนต้องเรียนพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ก่อนเป็นเรื่องของการเขียนโปรแกรมการเขียนอันกอรริทึมในการคิดของคอมพิวเตอร์ต่างๆ เรื่องของฮาร์แวร์ซึ่งนักศึกษาปี1และปี 2 จะเริ่มเรียนเรื่องนี้ไปก่อน เป็นการปูพื้นฐานให้แน่นเมื่อขึ้นปี 3 และปี 4 จะมีหลักสูตรที่จะให้นักศึกษาเรียนเพิ่มเติมขึ้นไปอีกโดยเฉพาะปี 3 นักศึกษาแต่ล่ะคนจะมีการฝึกปฏิบัติงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งทางรัฐและเอกชน
      
       สำหรับโอกาสงานนั้นในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีงานรองรับให้น้องๆ มากมายด้วยประสบการณ์เรียนการสอนทั้งภาคปฎิบัติและทฤษฏีที่แน่นรวมถึงยังมีการให้ทดลองฝึกงานแก่นักศึกษาเพราะการฝึกปฏิบัติงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งทางรัฐและเอกชนเหตุผลที่ทางมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานรวดเร็วเป็นเพราะต้องการเพิ่มโอกาสให้แก่นักศึกษาได้ทันเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน และสามารถเป็นนักพัฒนาด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ดีในอนาคตข้างหน้าได้ทางมหาวิทยาลัยได้คาดหวัง และต้องการผลักดันให้เด็กไปทางสร้างนวัตกรรมหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไทยแลนด์ 4.0 สิ่งที่มหาวิทยาลัยทำให้แก่นักศึกษาทั้งหมดนี้เพื่อผลักดันให้เด็กทุกคนที่รักในการเรียนด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ไปถึงจุดมุ่งหมาย

      
        ท้ายที่สุดนี้สำหรับน้องๆ ที่สนใจในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นว่าต้องเรียนสายวิทย์มา สายคำนวณ สายศิลป์ภาษา หรือแม้กระทั่งจบ ปวช. ที่จบเทียบเท่าก็สามารถเรียนได้ เพียงแค่มีความพยายามแสวงหาความรู้ ทางมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ไม่ปิดกั้นโอกาสของนักศึกษา และพร้อมสนับสนุนนักศึกษาที่มีใจรักในสาขานี้แน่นอน
 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

การออกแบบเชิงโต้ตอบและการพัฒนาเกม (Interactive Design and Game Development) วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สาขาการออกแบบเชิงโต้ตอบและการพัฒนาเกมวิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ ...

THAMMASAT FRONTIER SCHOOL มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

THAMMASAT FRONTIER SCHOOL เป็นโครงการรับน้องๆ เข้าไปเรียนในระดับปริญญาตรีโดยไม่สังกัดหลักสูตร ...

หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

"สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน" มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ...