"นักกฏหมายจะไปในทิศทางไหน เมื่อโลกที่เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด" รีวิว7กลุ่มสาขาเฉพาะทาง :U-Review
เมื่อ AEC เริ่มเข้ามามีความสำคัญกับเรา การค้าขาย การพาณิชย์ต่างๆ จะเริ่มมีมากขึ้น อีกอาชีพที่จะมีบทบาทสำคัญในยุค AEC นั่นก็คือ นักกฏหมาย ซึ่งจะมาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศ และเทรนด์โลกที่เปลี่ยนไปหยุดนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นยุค Digital Marketing หรือ Single Market Digital (นโยบายตลาดร่วมดิจิตัล) นี้เอง การที่จะมีข้อพิพาท ข้อโต้แย้งในการใช้ IT จะมีมากขึ้น ซึ่งเป็นอะไรที่ใหม่มากสำหรับนักฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น การใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆ การบริโภคสื่อ TV ดิจิตอล Content Digital ต่างๆ รวมไปถึงกฏหมายพื้นฐานในชีวิตประจำวันที่ประชาชนยังขาดความรู้ นักกฎหมายจึงมีความสำคัญมากในการให้คำปรึกษา และคำแน่นำ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษี อสังหาริมทัพย์ การเงินทรัพย์สินต่างๆ เป็นต้น
โดย รศ. สุธรรม อยู่ในธรรม คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้มองเห็นถึงความสำคัญของโลกที่ไม่หยุดนิ่ง และเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการปรับการเรียนการสอนของคณะนิติศาสตร์ให้สอดคล้องกับเทรนด์โลกในอนาคต โดยได้แบ่งกลุ่มสาขาเรียนในคณะ นิติศาสตร์ออกเป็น 7 กลุ่มสาขาเฉพาะทาง ดังนี้
1. สาขาเทคโนโลยีและธุรกิจสร้างสรรค์
กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทย กฎหมายลิขสิทธิ์ยุคดิจิตอล รวมถึงการคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตร ประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอีกทั้งได้เรียนรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบันเทิง และการกีฬาด้วย
2. สาขาการค้าระหว่างประเทศ
เป็นกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ภายใต้การเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กรอบองค์การการค้าโลก (WTO) และกรอบข้อตกลงอื่นๆ ทั่วโลก ทั้งในด้านนำเข้า และส่งออกสินค้า การบริการ และการลงทุน ตลอดจนการระงับข้อพิพาททางการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ
3. สาขาตลาดทุน การเงิน และภาษี
ตลาดเงิน และตลาดทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ การเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายเกี่ยวกับองค์กรธุรกิจ ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเงินทุนขององค์กรธุรกิจจากสถาบันการเงิน และจากการระดมทุนจากประชาชน ตลอดจนการศึกษาทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติภาษีเงินได้ ภาษีทางอ้อม ภาษีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
4. สาขาวิทยุ โทรทัศน์ และการสื่อสาร
เป็นสร้างความเชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแล ซึ่งเป็นพื้นฐานของกฏหมายสมัยใหม่ เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะในกิจการ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของประเทศ
5. สาขาโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน
กฎหมาย หรือกฎระเบียบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางอากาศ และทางทะเลพาณิชย์นาวี ประกอบกับการจัดซื้อจัดหาสินค้าข้ามชาติการขนส่งทางบก และการกระจายสินค้า กฎหมายว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย สินค้าคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง โซ่อุปทาน และโลจิสติกส์ เช่น นโยบายของรัฐบาลเรื่องรถไฟฟ้ารางคู่
6. สาขาธุรกิจแฟรนไชส์
กฎหมายแฟรนไชส์จะสัมพันธ์กับกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างเข้มข้น หากไม่ได้ศึกษาโดยละเอียดจะไม่มีทางเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง และมีเพียงคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเท่านั้นที่เปิดสอนด้านนี้ บัณฑิตที่จบไปจึงเป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจที่ต้องการที่ปรึกษาด้านกฏหมาย
7. สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ประกันสังคม การขอ Work Permit การร่างสัญญาจ้างงาน และเอกสารที่เกี่ยวประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศอันเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์
ในส่วนของการจัดการเรียนการสอนของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เน้นสอนให้นักศึกษาได้เข้าใจศาสตร์แห่งกฏหมาย ไม่ใช่การท่องจำ การสอบนั้นนักศึกษาสามารถ open book ได้ตลอด เพราะต้องการสร้างความเข้าใจมากกว่าการท่องจำ คณาจารย์เองก็ดูแลนักศึกษาได้อย่างใกล้ชิด มีการจัดกิจกรรมกลุ่ม พาไปศึกษาดูงานในเครือสภาหอการค้าไทย ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 โดยแยกตามกลุ่มสาขาที่เรียน ให้นักศึกษาได้สัมผัสกับผู้มีประสปการณ์ตัวจริง และที่สำคัญนักศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มักจะได้รับข้อเสนอจากบริษัท หรือหน่วยงานโดยขอนักศึกษาได้เข้าไปทำงานกับองค์กรเขาทันทีหลังเรียนจบ
จากหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งได้แบ่งกฎมาย 7 ออกเป็นกลุ่มสาขาเฉพาะทางเพียงเเห่งเดียวของประเทศนั้น จะเห็นได้ว่าเป็นการจัดหลักสูตรที่รองรับเทรนด์ของโลกในอนาคตที่เปลี่ยนไป และเปิดมุมองของการเป็นนักกฎหมายในอนาคตได้อย่างแท้จริง
โดย รศ. สุธรรม อยู่ในธรรม คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้มองเห็นถึงความสำคัญของโลกที่ไม่หยุดนิ่ง และเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการปรับการเรียนการสอนของคณะนิติศาสตร์ให้สอดคล้องกับเทรนด์โลกในอนาคต โดยได้แบ่งกลุ่มสาขาเรียนในคณะ นิติศาสตร์ออกเป็น 7 กลุ่มสาขาเฉพาะทาง ดังนี้
1. สาขาเทคโนโลยีและธุรกิจสร้างสรรค์
กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทย กฎหมายลิขสิทธิ์ยุคดิจิตอล รวมถึงการคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตร ประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอีกทั้งได้เรียนรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบันเทิง และการกีฬาด้วย
2. สาขาการค้าระหว่างประเทศ
เป็นกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ภายใต้การเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กรอบองค์การการค้าโลก (WTO) และกรอบข้อตกลงอื่นๆ ทั่วโลก ทั้งในด้านนำเข้า และส่งออกสินค้า การบริการ และการลงทุน ตลอดจนการระงับข้อพิพาททางการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ
3. สาขาตลาดทุน การเงิน และภาษี
ตลาดเงิน และตลาดทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ การเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายเกี่ยวกับองค์กรธุรกิจ ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเงินทุนขององค์กรธุรกิจจากสถาบันการเงิน และจากการระดมทุนจากประชาชน ตลอดจนการศึกษาทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติภาษีเงินได้ ภาษีทางอ้อม ภาษีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
4. สาขาวิทยุ โทรทัศน์ และการสื่อสาร
เป็นสร้างความเชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแล ซึ่งเป็นพื้นฐานของกฏหมายสมัยใหม่ เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะในกิจการ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของประเทศ
5. สาขาโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน
กฎหมาย หรือกฎระเบียบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางอากาศ และทางทะเลพาณิชย์นาวี ประกอบกับการจัดซื้อจัดหาสินค้าข้ามชาติการขนส่งทางบก และการกระจายสินค้า กฎหมายว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย สินค้าคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง โซ่อุปทาน และโลจิสติกส์ เช่น นโยบายของรัฐบาลเรื่องรถไฟฟ้ารางคู่
6. สาขาธุรกิจแฟรนไชส์
กฎหมายแฟรนไชส์จะสัมพันธ์กับกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างเข้มข้น หากไม่ได้ศึกษาโดยละเอียดจะไม่มีทางเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง และมีเพียงคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเท่านั้นที่เปิดสอนด้านนี้ บัณฑิตที่จบไปจึงเป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจที่ต้องการที่ปรึกษาด้านกฏหมาย
7. สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ประกันสังคม การขอ Work Permit การร่างสัญญาจ้างงาน และเอกสารที่เกี่ยวประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศอันเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์
ในส่วนของการจัดการเรียนการสอนของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เน้นสอนให้นักศึกษาได้เข้าใจศาสตร์แห่งกฏหมาย ไม่ใช่การท่องจำ การสอบนั้นนักศึกษาสามารถ open book ได้ตลอด เพราะต้องการสร้างความเข้าใจมากกว่าการท่องจำ คณาจารย์เองก็ดูแลนักศึกษาได้อย่างใกล้ชิด มีการจัดกิจกรรมกลุ่ม พาไปศึกษาดูงานในเครือสภาหอการค้าไทย ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 โดยแยกตามกลุ่มสาขาที่เรียน ให้นักศึกษาได้สัมผัสกับผู้มีประสปการณ์ตัวจริง และที่สำคัญนักศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มักจะได้รับข้อเสนอจากบริษัท หรือหน่วยงานโดยขอนักศึกษาได้เข้าไปทำงานกับองค์กรเขาทันทีหลังเรียนจบ
จากหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งได้แบ่งกฎมาย 7 ออกเป็นกลุ่มสาขาเฉพาะทางเพียงเเห่งเดียวของประเทศนั้น จะเห็นได้ว่าเป็นการจัดหลักสูตรที่รองรับเทรนด์ของโลกในอนาคตที่เปลี่ยนไป และเปิดมุมองของการเป็นนักกฎหมายในอนาคตได้อย่างแท้จริง