“เชื่อมเส้นทางสู่นักบริหารมือทอง” รีวิวสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ : U-Review
หลายๆคนอาจจะใฝ่ฝันอยากทำงานเป็นข้าราชการ มีชีวิตนั่งแท่นบริหารในองค์กรของรัฐ หรือแม้แต่การบริหารองค์กรเอกชนต่างๆ ที่มีการจัดสรรงานอย่างเป็นระบบ พร้อมด้วยความมั่นคงต่อตนเองและครอบครัว ซึ่งสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ก็ถือเป็นอีกทางหนึ่ง ที่จะสามารถทำให้เราก้าวเดินไปถึงฝันได้
ที่ผ่านมา เรามักจะสับสนว่ารัฐศาสตร์กับรัฐประศาสนศาสตร์มันแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งจริงๆแล้ว รัฐศาสตร์จะเน้นเรียนเรื่องการเมืองการปกครอง ระบบการเลือกตั้ง พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ การเข้าสู่อำนาจ และทฤษฎีการเมืองเป็นหลัก แต่รัฐประศาสนศาสตร์จะเน้นไปที่เรื่องการบริหารงานภาครัฐ ที่เมื่อนักการเมืองขึ้นมามีอำนาจบริหารงาน ก็ต้องใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการบังคับใช้ในระบบราชการ โดยที่จะแบ่งเป็นระบบราชการส่วนกลาง (กระทรวง 20 กระทรวง และกรมมากกว่า 300 กรม) ระบบราชการส่วนภูมิภาค(จังหวัด 76 จังหวัด) และระบบราชการส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร พัทยา) ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนเป็นอย่างมาก
ขณะเดียวกัน ยังมีส่วนของอำนาจนิติบัญญัติในรัฐสภา ที่หากน้องๆ คนไหนที่สนใจเรื่องการเมืองเป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะสมัครรับการเลือกตั้งได้ หรือจะเป็นการทำงานเกี่ยวกับธุรการ บริหารงานทั่วไปประจำสำนักของวุฒิสภา สำนักงานสภาผู้แทนราษฎร รวมไปถึงการสมัครเข้าทำงานในฝ่ายอำนาจตุลาการ อย่างศาลต่างๆ ในฐานะนักบริหารงานทั่วไป นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ และนักประชาสัมพันธ์
ไม่เพียงเท่านี้ องค์กรอิสระ อย่างองค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ ก็สามารถสมัครงานได้ เพราะถือว่าอยู่ในขอบเขตของการบริหารงานทางภาครัฐทั้งหมด หรือพูดง่ายๆ ก็คือการบริหารประเทศนั่นเอง ซึ่งทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าตลาดงานของการเรียนสาขานี้มีการรองรับที่กว้างมากทีเดียว
“เมื่อเรียนแล้ว จะเข้าใจเลยว่าสิ่งที่เราทำอยู่นี้ ที่รัฐบาลมีนโยบายออกมา
แล้วต้องปฏิบัติตามเป็นกฎหมาย มันทำมาได้อย่างไร”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลัยพร รัตนเศรษฐ
คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์
สำหรับการเรียนในชั้นปีที่ 1 จะเป็นการปูพื้นฐานด้วยระบบสังคมทั่วไปที่เป็นความรู้ การปรับตัวในการใช้ชีวิตกับสังคมรอบตัว ที่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมค่อนข้างจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยน ทุกอย่างจะเปลี่ยนตามหมด จึงไม่มีกรอบตายตัวว่าเรื่องนี้มันจะเกิดขึ้นในอีก 4 ปีข้างหน้า ดังนั้น น้องๆ ที่เกิดมาในยุคของสังคมดิจิทัล ซึ่งมีความเก่งด้านเทคโนโลยีอยู่แล้ว ก็จะเป็นการเรียนที่จะนำสิ่งเหล่านี้มาทำอย่างไรให้ สามารถประกอบอาชีพได้ นั่นคือ การเรียนระบบสังคมดิจิทัลที่จะเป็นการปูพื้นฐานสร้างแรงบันดาลใจเป็นหลัก
ส่วนชั้นปีที่ 2 ก็จะเริ่มเข้าเนื้อหาที่ลึกมากขึ้น เน้นไปที่การเรียนนโยบายสาธารณะที่มีเฉพาะในการบริหารงานภาครัฐเท่านั้น รวมถึงการเรียนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การเงินการคลัง ที่เมื่อเรียนแล้ว น้องๆ จะเข้าใจเลยว่าสิ่งที่เราทำอยู่นี้ เป็นนโยบายของรัฐบาล แล้วต้องปฏิบัติตามเป็นกฎหมาย มันทำมาได้อย่างไร แล้ววันหนึ่งจะต้องเป็นหนึ่งของการขับเคลื่อนประเทศด้วย
ต่อเนื่องที่ชั้นปีที่ 3 ก็จะเป็นการเริ่มกำหนดโครงการ สามารถที่จะทำเป็นโปรเจคของตัวเองว่าจะทำอะไร ต้องสร้างความคิดของตัวเองขึ้นมาปฏิบัติจริงในชั้นปีที่ 4 ซึ่งการที่เป็นโปรเจคส่วนตัว ที่มีข้อดีตรงที่สิ่งที่ออกมาจะเป็นผลงานที่จะนำไปเสนอในการสมัครงาน เพื่อแสดงถึงความพร้อมที่จะทำงานต่อไป
เห็นอย่างนี้แล้ว การเรียนรัฐประศาสนศาสตร์กลายเป็นทางเลือกที่จะทำให้น้องๆ ก้าวสู่นักบริหารมือทองที่ประสบความสำเร็จอันมั่นคงในชีวิตได้อย่างแน่นอน ขอเพียงแค่เรากล้าที่จะเดิน มีใจที่มุ่งมั่นเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว
ที่ผ่านมา เรามักจะสับสนว่ารัฐศาสตร์กับรัฐประศาสนศาสตร์มันแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งจริงๆแล้ว รัฐศาสตร์จะเน้นเรียนเรื่องการเมืองการปกครอง ระบบการเลือกตั้ง พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ การเข้าสู่อำนาจ และทฤษฎีการเมืองเป็นหลัก แต่รัฐประศาสนศาสตร์จะเน้นไปที่เรื่องการบริหารงานภาครัฐ ที่เมื่อนักการเมืองขึ้นมามีอำนาจบริหารงาน ก็ต้องใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการบังคับใช้ในระบบราชการ โดยที่จะแบ่งเป็นระบบราชการส่วนกลาง (กระทรวง 20 กระทรวง และกรมมากกว่า 300 กรม) ระบบราชการส่วนภูมิภาค(จังหวัด 76 จังหวัด) และระบบราชการส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร พัทยา) ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนเป็นอย่างมาก
ขณะเดียวกัน ยังมีส่วนของอำนาจนิติบัญญัติในรัฐสภา ที่หากน้องๆ คนไหนที่สนใจเรื่องการเมืองเป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะสมัครรับการเลือกตั้งได้ หรือจะเป็นการทำงานเกี่ยวกับธุรการ บริหารงานทั่วไปประจำสำนักของวุฒิสภา สำนักงานสภาผู้แทนราษฎร รวมไปถึงการสมัครเข้าทำงานในฝ่ายอำนาจตุลาการ อย่างศาลต่างๆ ในฐานะนักบริหารงานทั่วไป นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ และนักประชาสัมพันธ์
ไม่เพียงเท่านี้ องค์กรอิสระ อย่างองค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ ก็สามารถสมัครงานได้ เพราะถือว่าอยู่ในขอบเขตของการบริหารงานทางภาครัฐทั้งหมด หรือพูดง่ายๆ ก็คือการบริหารประเทศนั่นเอง ซึ่งทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าตลาดงานของการเรียนสาขานี้มีการรองรับที่กว้างมากทีเดียว
“เมื่อเรียนแล้ว จะเข้าใจเลยว่าสิ่งที่เราทำอยู่นี้ ที่รัฐบาลมีนโยบายออกมา
แล้วต้องปฏิบัติตามเป็นกฎหมาย มันทำมาได้อย่างไร”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลัยพร รัตนเศรษฐ
คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์
สำหรับการเรียนในชั้นปีที่ 1 จะเป็นการปูพื้นฐานด้วยระบบสังคมทั่วไปที่เป็นความรู้ การปรับตัวในการใช้ชีวิตกับสังคมรอบตัว ที่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมค่อนข้างจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยน ทุกอย่างจะเปลี่ยนตามหมด จึงไม่มีกรอบตายตัวว่าเรื่องนี้มันจะเกิดขึ้นในอีก 4 ปีข้างหน้า ดังนั้น น้องๆ ที่เกิดมาในยุคของสังคมดิจิทัล ซึ่งมีความเก่งด้านเทคโนโลยีอยู่แล้ว ก็จะเป็นการเรียนที่จะนำสิ่งเหล่านี้มาทำอย่างไรให้ สามารถประกอบอาชีพได้ นั่นคือ การเรียนระบบสังคมดิจิทัลที่จะเป็นการปูพื้นฐานสร้างแรงบันดาลใจเป็นหลัก
ส่วนชั้นปีที่ 2 ก็จะเริ่มเข้าเนื้อหาที่ลึกมากขึ้น เน้นไปที่การเรียนนโยบายสาธารณะที่มีเฉพาะในการบริหารงานภาครัฐเท่านั้น รวมถึงการเรียนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การเงินการคลัง ที่เมื่อเรียนแล้ว น้องๆ จะเข้าใจเลยว่าสิ่งที่เราทำอยู่นี้ เป็นนโยบายของรัฐบาล แล้วต้องปฏิบัติตามเป็นกฎหมาย มันทำมาได้อย่างไร แล้ววันหนึ่งจะต้องเป็นหนึ่งของการขับเคลื่อนประเทศด้วย
ต่อเนื่องที่ชั้นปีที่ 3 ก็จะเป็นการเริ่มกำหนดโครงการ สามารถที่จะทำเป็นโปรเจคของตัวเองว่าจะทำอะไร ต้องสร้างความคิดของตัวเองขึ้นมาปฏิบัติจริงในชั้นปีที่ 4 ซึ่งการที่เป็นโปรเจคส่วนตัว ที่มีข้อดีตรงที่สิ่งที่ออกมาจะเป็นผลงานที่จะนำไปเสนอในการสมัครงาน เพื่อแสดงถึงความพร้อมที่จะทำงานต่อไป
เห็นอย่างนี้แล้ว การเรียนรัฐประศาสนศาสตร์กลายเป็นทางเลือกที่จะทำให้น้องๆ ก้าวสู่นักบริหารมือทองที่ประสบความสำเร็จอันมั่นคงในชีวิตได้อย่างแน่นอน ขอเพียงแค่เรากล้าที่จะเดิน มีใจที่มุ่งมั่นเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว