"Tech Startup เริ่ม Start ตั้งแต่เรียน" รีวิวสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน : U-Review
สมาร์ทโฟนเป็นเทคโนโลยีเดียวในปัจจุบันที่ยอดขายยังเพิ่มขึ้นทุกปี แซงหน้าเจ้าตลาดเก่าอย่างคอมพิวเตอร์ไปจนไม่เห็นฝุ่น ในปี 2015 ที่ผ่านมามีการเปิดเผยตัวเลขยอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลก จากเว็บไซต์ IDC (International Data Corporation) บริษัทที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการตลาด และการทำธุรกิจในแวดวงเทคโนโลยีระดับโลก รายงานดังกล่าวระบุว่า “ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2015 ที่ผ่านมา มียอดจำหน่ายสมาร์ทโฟนสูงถึง 1.43 พันล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นจากยอดรวมในปี 2014 ที่มียอดขาย 1.3 พันล้านเครื่อง คิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 10.1%”
ธุรกิจใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสมาร์ทโฟนจึงเติบโตมาด้วยกันตลอด เป็นโอกาสดีของ Tech Startup หรือผู้ประกอบการเกี่ยวกับธุรกิจเทคโนโลยีรายใหม่ๆ ในประเทศไทย ที่จะใช้โอกาสนี้สร้างรายได้จากนวัตกรรมที่คิดขึ้นมา วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จัก Tech Startup รายใหม่ 2 คน ที่มีสิ้นค้านวัตกรรมเป็นของตนเองตั้งแต่เรียนไม่จบ พร้อมคว้ารางวัลจากการประกวดในเวที dtac accelerate 2015 และเวที AIS The StartUP 2014
อานนท์ บุณยประเวศ
นักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ชนะเลิศโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี จาก สวทช. และชนะเลิศ dtac accelerate 2015 ด้วยการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมการเกษตร ภายใต้ชื่อว่า “LenNum (เล่นน้ำ)” อุปกรณ์ช่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำแบบ Real time สำหรับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง บ่อกุ้ง บ่อปลา และ “Len-Din (เล่นดิน)” อุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพดิน สำหรับการเพาะปลูก
เราจะสามารถแบ่งเวลาเรียน กับเวลาทำงานได้อย่างไร?
ผมทำตัวเล่นดินตั้งแต่ตอนปี 3 ผมใช้เวลาว่างหลังเลือกเรียน เพราะการเรียนในมหาวิทยาลัยเวลาว่างช่วงหลังเลิกเรียนจะเยอะ และข้อดีของการที่เราเป็นนักศึกษา คือเมื่อเราต้องติดต่องานกับหน่วยงานไหน มักจะได้ความร่วมมือเป็นพิเศษด้วยครับ แล้วนอกจากการเรียนในห้องเรียนผมไปเรียนวิชาเกษตร ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วย ผมพยายามเอาตัวเองออกจากมหาวิทยาลัยให้มากที่สุด เพราะผมเชื่อว่าการเรียนในห้องเป็นเพียงจุดหนึ่ง เป็นพื้นฐานความรู้หลัก แต่ในการใช้ชีวิตของคนคนหนึ่งยังต้องใช้องค์ความรู้อีกเยอะมาก
มีโอกาสจะขยายสินค้าไปขายในต่างประเทศไหม?
ในกระบวนการเรียนของผม เขาบอกว่า เวลาที่คิดอะไรก็ตามให้คิดในระดับโลกเอาไว้ก่อน แล้วค่อยเป็นระดับในประเทศ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ผมสร้างผมไม่ได้มองว่าประเทศไทยเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียว ผมมองว่าผมพัฒนาเพื่อโลกใบนี้ทั้งใบ
คิว โชติวัน วัฒลาภ
อีกหนึ่งนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เขาส่งผลงาน “Nugrean” แอพพลิเคชัน และผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลความปลอดภัยให้กับนักเรียนเขาประกวดในเวที AIS The StartUP 2014 และคว้ารางวัล Winner corporate solution มาได้สำเร็จ
เราจะสามารถแบ่งเวลาเรียน กับเวลาทำงานได้อย่างไร?
ผมใช้วิธีลงเรียนน้อยๆ ไว้ก่อน ไม่เน้นจบเร็ว แต่ว่าแบ่งเวลาให้สามารถไปคุยงานได้ เพราะลูกค้าเขาจะนัดเฉพาะในวันจันทร์ถึงวันศุกร์เท่านั้น เราไม่สามารถไปนัดเขาในวันเสาร์ หรือวันอาทิตย์ได้ เราอาจเลือกเรียนบ่าย แล้วตอนเช้าเราไปคุยงานข้างนอกแบบนี้ก็ได้ครับ
สามารถนำความรู้ที่เรียน ไปใช้ในการทำงานอย่างไร?
นอกจากการเรียนที่เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม และแอพพลิเคชัน เราต้องไปหาความรู้ข้างนอกด้วย เช่นการบริหารธุรกิจ ความรู้ในการสร้างธุรกิจ ที่คณะจะมีอาจารย์หลายคนคอยช่วย มีศูนย์ให้ความรู้ด้านธุรกิจในมหาวิทยาลัยเอง มีวิชาเลือกเสรีให้เลือกเรียนได้ เพื่อไปเรียนกับคณะอื่นได้ด้วยครับ พอเรามีความรู้การบริหาร เราเรียนไอที เมื่อเอามาบวกกันเราสามารถสร้างเป็น Tech Statup ขึ้นมาได้ ถ้าน้องอยากมาเรียนสิ่งหนึ่งที่น้องต้องมีคือความกล้า ต้องไม่คิดว่าตัวเองทำไม่ได้
อาจารย์มาลิวรรณ บุญพลอย
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เราจะมีทีมงานคอยดูแล มีการจัดตั้งอาจารย์ดูแลน้อง ทั้งด้านการเรียน การสอนเสริม การติวนอกเวลา และหากน้องๆ จะเข้าประกวดจะมีโค้ชคอยให้ความรู้ ในมุมมองของน้องๆ อาจคิดว่าการเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องที่ยาก นั้น เพราะเรายังไม่เคยสัมผัสกับมันเลยมองว่ายาก แต่ถ้าทุกๆ คนมีความพยายามก็สามารถฝ่าฟันอุปสรรคได้
การเรียนการสอนในสาขาจะเน้นให้น้องๆ มีความรู้ด้านการพัฒนาโปรแกรม การเขียนแอพพลิเคชัน ผสานกับความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เช่น การเขียนโปรแกรม และการวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นต้น สนับสนุนให้น้องๆ สามารถออกไปหาความรู้ ประสบการณ์จากนอกห้องเรียน เพื่อให้สามารถสร้างนักธุรกิจ Tech Startup ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับนวัตกรรมของตนเอง กลายเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ ดังจะเห็นได้จากพี่ๆ ที่เราพามาทำความรู้จักกันในวันนี้ หากน้องๆ เป็นคนหนึ่งที่มีความฝัน รักการเรียนรู้ ไม่ชอบหยุดอยู่กับที่ การก้าวเข้ามาเป็น Tech Startup สามารถทำได้แน่นอนครับ เพราะ Tech Startup เริ่ม Startได้ตั้งแต่เรียน
ธุรกิจใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสมาร์ทโฟนจึงเติบโตมาด้วยกันตลอด เป็นโอกาสดีของ Tech Startup หรือผู้ประกอบการเกี่ยวกับธุรกิจเทคโนโลยีรายใหม่ๆ ในประเทศไทย ที่จะใช้โอกาสนี้สร้างรายได้จากนวัตกรรมที่คิดขึ้นมา วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จัก Tech Startup รายใหม่ 2 คน ที่มีสิ้นค้านวัตกรรมเป็นของตนเองตั้งแต่เรียนไม่จบ พร้อมคว้ารางวัลจากการประกวดในเวที dtac accelerate 2015 และเวที AIS The StartUP 2014
อานนท์ บุณยประเวศ
นักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ชนะเลิศโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี จาก สวทช. และชนะเลิศ dtac accelerate 2015 ด้วยการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมการเกษตร ภายใต้ชื่อว่า “LenNum (เล่นน้ำ)” อุปกรณ์ช่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำแบบ Real time สำหรับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง บ่อกุ้ง บ่อปลา และ “Len-Din (เล่นดิน)” อุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพดิน สำหรับการเพาะปลูก
เราจะสามารถแบ่งเวลาเรียน กับเวลาทำงานได้อย่างไร?
ผมทำตัวเล่นดินตั้งแต่ตอนปี 3 ผมใช้เวลาว่างหลังเลือกเรียน เพราะการเรียนในมหาวิทยาลัยเวลาว่างช่วงหลังเลิกเรียนจะเยอะ และข้อดีของการที่เราเป็นนักศึกษา คือเมื่อเราต้องติดต่องานกับหน่วยงานไหน มักจะได้ความร่วมมือเป็นพิเศษด้วยครับ แล้วนอกจากการเรียนในห้องเรียนผมไปเรียนวิชาเกษตร ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วย ผมพยายามเอาตัวเองออกจากมหาวิทยาลัยให้มากที่สุด เพราะผมเชื่อว่าการเรียนในห้องเป็นเพียงจุดหนึ่ง เป็นพื้นฐานความรู้หลัก แต่ในการใช้ชีวิตของคนคนหนึ่งยังต้องใช้องค์ความรู้อีกเยอะมาก
มีโอกาสจะขยายสินค้าไปขายในต่างประเทศไหม?
ในกระบวนการเรียนของผม เขาบอกว่า เวลาที่คิดอะไรก็ตามให้คิดในระดับโลกเอาไว้ก่อน แล้วค่อยเป็นระดับในประเทศ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ผมสร้างผมไม่ได้มองว่าประเทศไทยเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียว ผมมองว่าผมพัฒนาเพื่อโลกใบนี้ทั้งใบ
คิว โชติวัน วัฒลาภ
อีกหนึ่งนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เขาส่งผลงาน “Nugrean” แอพพลิเคชัน และผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลความปลอดภัยให้กับนักเรียนเขาประกวดในเวที AIS The StartUP 2014 และคว้ารางวัล Winner corporate solution มาได้สำเร็จ
เราจะสามารถแบ่งเวลาเรียน กับเวลาทำงานได้อย่างไร?
ผมใช้วิธีลงเรียนน้อยๆ ไว้ก่อน ไม่เน้นจบเร็ว แต่ว่าแบ่งเวลาให้สามารถไปคุยงานได้ เพราะลูกค้าเขาจะนัดเฉพาะในวันจันทร์ถึงวันศุกร์เท่านั้น เราไม่สามารถไปนัดเขาในวันเสาร์ หรือวันอาทิตย์ได้ เราอาจเลือกเรียนบ่าย แล้วตอนเช้าเราไปคุยงานข้างนอกแบบนี้ก็ได้ครับ
สามารถนำความรู้ที่เรียน ไปใช้ในการทำงานอย่างไร?
นอกจากการเรียนที่เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม และแอพพลิเคชัน เราต้องไปหาความรู้ข้างนอกด้วย เช่นการบริหารธุรกิจ ความรู้ในการสร้างธุรกิจ ที่คณะจะมีอาจารย์หลายคนคอยช่วย มีศูนย์ให้ความรู้ด้านธุรกิจในมหาวิทยาลัยเอง มีวิชาเลือกเสรีให้เลือกเรียนได้ เพื่อไปเรียนกับคณะอื่นได้ด้วยครับ พอเรามีความรู้การบริหาร เราเรียนไอที เมื่อเอามาบวกกันเราสามารถสร้างเป็น Tech Statup ขึ้นมาได้ ถ้าน้องอยากมาเรียนสิ่งหนึ่งที่น้องต้องมีคือความกล้า ต้องไม่คิดว่าตัวเองทำไม่ได้
อาจารย์มาลิวรรณ บุญพลอย
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เราจะมีทีมงานคอยดูแล มีการจัดตั้งอาจารย์ดูแลน้อง ทั้งด้านการเรียน การสอนเสริม การติวนอกเวลา และหากน้องๆ จะเข้าประกวดจะมีโค้ชคอยให้ความรู้ ในมุมมองของน้องๆ อาจคิดว่าการเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องที่ยาก นั้น เพราะเรายังไม่เคยสัมผัสกับมันเลยมองว่ายาก แต่ถ้าทุกๆ คนมีความพยายามก็สามารถฝ่าฟันอุปสรรคได้
การเรียนการสอนในสาขาจะเน้นให้น้องๆ มีความรู้ด้านการพัฒนาโปรแกรม การเขียนแอพพลิเคชัน ผสานกับความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เช่น การเขียนโปรแกรม และการวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นต้น สนับสนุนให้น้องๆ สามารถออกไปหาความรู้ ประสบการณ์จากนอกห้องเรียน เพื่อให้สามารถสร้างนักธุรกิจ Tech Startup ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับนวัตกรรมของตนเอง กลายเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ ดังจะเห็นได้จากพี่ๆ ที่เราพามาทำความรู้จักกันในวันนี้ หากน้องๆ เป็นคนหนึ่งที่มีความฝัน รักการเรียนรู้ ไม่ชอบหยุดอยู่กับที่ การก้าวเข้ามาเป็น Tech Startup สามารถทำได้แน่นอนครับ เพราะ Tech Startup เริ่ม Startได้ตั้งแต่เรียน