U-Review

ล้วงเทคนิคพิชิตฝัน สู่สุดยอดนักออกแบบ จากรุ่นพี่สาขาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ : U-Showcase

“ความคิดที่แตกต่าง นำมาสู่ผลงานที่สร้างสรรค์” แน่นอนว่านี่คือสิ่งที่สำคัญ เพราะในปัจจุบันสายอาชีพนักออกแบบมีการแข่งขันกันสูง โอกาสที่จะเป็นนักออกแบบที่ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการก็ย่อมยากตาม การที่จะเป็นนักออกแบบที่ดีและประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่มันจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จนั้นอยู่ที่ตัวของเราเอง การเป็นนักออกแบบที่ดีจะต้องมีความสามารถ และมีลักษณะนิสัยที่ช่วยให้การออกแบบมีคุณภาพ และประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย

5 เทคนิคพิชิตฝัน สู่สุดยอดนักออกแบบ

1.ห้ามลอกเลียนแบบ หรือคัดลอกงาน
กฎข้อนี้ไม่ว่าอาชีพไหน ๆ ก็ไม่ควรทำ และเป็นกฎที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะงานด้านการออกแบบ เพราะนี่ถือเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว แน่นอนว่านักออกแบบต้องเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเสมอ หากเราคอยจ้องแต่จะลอกเลียนแบบผลงานของคนอื่น เราก็ไม่สามารถเรียกร้องให้คนอื่นมาเรียกเราว่า ‘นักออกแบบ’ ได้เลย

2.ตรงต่อเวลา
การตรงต่อเวลาถือว่าเป็นกฎข้อนี้ก็เป็นอีกข้อที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากเราส่งงานไม่ตรงเวลาที่กำหนด นั้นอาจจะทำให้เราเป็นคนไม่มีกลายเป็นบุคคลที่ไม่มีวินัยและไม่น่าเชื่อถือ อาจจะทำให้พลาดโอกาสในการทำงานชิ้นต่อไปได้

3.รับฟังคำวิพากษ์และวิจารณ์งาน
หากไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ เราจะไม่พยายามที่จะพัฒนา หรือปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นไป เพราะคิดว่าคำชมคือการบอกว่าทุกอย่างดีแล้ว ทั้งๆ ที่ความจริงมันอาจจะ “ดีกว่า” นั้นได้อีก การเปิดใจรับฟังการวิพากษ์วิจารณ์ อย่างน้อยเราจะแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาบางเรื่องได้ ซึ่งดีกว่าการที่เราไม่เคยรู้เลย
 
4.หมั่นฝึกฝนพัฒนาตัวเอง
การพัฒนาฝีมือของตนเองให้มีความสร้างสรรค์ทันสมัยอยู่เสมอ เสพงานเยอะๆ และอัพเดทผลงานของตัวเองให้เป็นที่รู้จักอย่างเป็นสม่ำเมอ เพียงเท่านี้คุณจะกลายเป็นนักออกแบบที่น่าเชื่อถือและมีฝีมือเยี่ยมแล้ว

5.อย่ายึดติดเทรนด์
การออกแบบก็ต้องตามเทรนด์บ้างในบางครั้ง แต่ไม่ควรยึดติดกับมันมาก เพราะเทรนด์สมัยนี้เดี๋ยวมาเดี๋ยวไป เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องสร้างสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเราเอง



 
พี่ทีมงาน
AdmissionPremium ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ พี่นิว คุณากร นงนุช รุ่นพี่สาขาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์  คณะนิเทศศาสตร์และการออกแบบ (หลักสูตรนานาชาติ) ที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
 หนึ่งใน 6 ผู้ชนะการประกวดออกแบบฉลากขวดโซดาสิงห์ภายใต้โครงการ SODA SINGHA THE NEW MIX LIMITED EDITION “แตกฟองไอเดียระบายความซ่า” กับผลงาน “ปากต่อปาก”

พี่นิวให้แนวความคิดในการออกแบบ โซดาสิงห์ คือ เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน เป็นส่วนหนึ่งในความสุขสนุกสนานของทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นงานปาร์ตี้ งานแต่งงาน งานวันเกิด และในหลาย ๆ โอกาส นี่คือแนวคิดในการออกแบบของคุณคุณากร ความซ่าของเราจึงถูกบอก “ปากต่อปาก” ด้วยสไตล์ศิลปะป๊อปอาร์ต ที่สนุกสนานซาบซ่า เต็มไปด้วยสีสัน โดยได้รับรางวัล และผลงานการออกแบบได้นำไปใช้ในการผลิตจริงเป็นฉลากบนขวด SODA SINGHA THE NEW MIX LIMITED EDITION ที่วางขายไปทั่วประเทศ



 
ประสบการณ์จริงจากรุ่นพี่ สาขาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์

พี่จบสายศิลป์-คำนวณ จากโรงเรียนไทยคริสเตียน เหตุผลที่เลือกเรียนต่อสาขาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดคือ ที่นี่มันตอบโจทย์สำหรับเรา ตอนนี้เราอยู่ในยุคดิจิทัล และที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด สอนทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อมัลติมีเดีย การผลิตวิดีโอ และงานสามมิติ เรียกได้ว่าครอบคลุมทุกสื่อ นอกจากนี้ยังสอนทั้ง web design และ media design เพื่อนำไปใช้ในการต่อยอดผลงานเราอีกด้วย ก็เลยทำให้ตัดสินใจมาเรียนที่นี่ ทำเรื่องขอทุนแล้วก็ได้ทุนที่นี่ด้วย
 
มากกว่า 1 ปริญญา 1 ประกาศนียบัตร คือ โอกาสที่ได้รับ

หลักสูตรการเรียนของที่นี่มีทั้งหลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตรสองภาษา ส่วนตัวพี่เรียนหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งหลักสูตรนี้ออกแบบหลักสูตร และสอนโดยความร่วมมือกับ Media Design School (MDS) สถาบันออกแบบที่ได้รับรางวัลด้านเทคโนโลยีดิจิตอล และความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดในประเทศนิวซีแลนด์ ดังนั้นเมื่อเรียนจบเราจะได้รับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด และรับประกาศนียบัตรจาก Media Design School (MDS) ในประเทศนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสร่วมทำโครงงานกับ MDS ประเทศนิวซีแลนด์ การทำ Workshop การเยี่ยมชม และฝึกงานกับบริษัทชั้นนำในประเทศไทย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรอีกด้วย
 
การันตีได้รับมากกว่าความรู้ในห้องเรียน

พี่คิดว่าอาจารย์ที่นี่เขาก็ให้คำปรึกษาได้ดี อาจารย์คอยผลักดันเวลามีงานประกวดอาจารย์ก็จะให้ลงประกวดดู แล้วถ้าเกิดมีข้อสงสัยอะไรก็ถามอาจารย์ได้ และที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดจะมีชาวต่างชาติเยอะด้วยก็จะทำให้เราได้ทั้งภาษา การสื่อสาร แล้วก็กลุ่มเพื่อน ๆ ชาวต่างชาติ รวมทั้งมีอุปกรณ์ที่พร้อมรองรับการทำงานด้วย ส่วนวิชาที่ชอบคือ Motion Graphic มันเหมือนภาพนิ่งขยับได้ มีพวกโปรแกรมillustrator เข้ามาใช้ มันทำให้งานเรามีความน่าสนใจมากขึ้น
 


 
แชร์ประสบการณ์หาแรงบันดาลใจในการออกแบบ

พี่เชื่อว่าทุก ๆ หนึ่งชั่วโมงเราใช้โทรศัพท์มากกว่า 1 ครั้งแน่นอน พี่อยากบอกว่าการหาแรงบันดาดาลใจในการออกแบบอยู่รอบตัวเรา พี่เองก็หาบแรงบันดาลใจจากเล่นเฟซบุ๊ก แล้วก็ไปดูผลงานศิลปะต่าง ๆ ตามนิทรรศการพวกที่เกี่ยวกับศิลปะ แล้วก็จะเก็บสะสมมาไว้เป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน

ฝากถึงน้อง ๆ ที่อยากศึกษาต่อ สาขาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์

สำหรับน้องที่อยากมาเรียน ต้องเป็นคนที่ชอบการออกแบบจริงๆ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานมากก็ได้ เพราะที่นี่ก็จะค่อย ๆ ปูพื้นฐานให้เราอยู่แล้ว แต่ว่าคนที่มาเรียนสายงานนี้ก็ต้องให้ความสนใจกับการใช้คอมพิวเตอร์เพราะว่างานส่วนใหญ่ต้องทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้อยากให้น้องๆรู้ว่าตัวเองชอบอะไร ถนัดอะไร แล้วก็มุ่งไปที่สายนั้น เพราะเมื่อเวลาเราทำงานเราจะได้มีความสุขกับมัน เราจะได้ไม่ต้องฝืนทำมัน  ทำตามที่ใจชอบดีกว่า เพราะบางคนอาจจะเลือกไปในสายที่ไม่ชอบ สุดท้ายก็ต้องย้อนกลับมามันทำให้เราเสียเวลาเพื่อเริ่มค้นหาตัวตนใหม่
 
โอกาสทางวิชาชีพ

- นักออกแบบเพื่อการผลิตโฆษณา และวิดีโอ (Production Houses)
- นักออกแบบบรรจุภัณฑ์
- นักออกแบบภาพกราฟฟิก (ตัวอักษร, Brand Identity, โลโก้, สิ่งพิมพ์)
- นักแบบเว็ปไซต์
- นักแบบเกมและแอนิเมชั่น
- งานด้านการผลิตภาพยนตร์และโทรทัศน์
- งานด้านการสรางแบบจำลอง 3 มิติ
- การสร้างภาพด้วยเทคนิคพิเศษ (Visual Effects)
 
 

 
ข้อมูลเพิ่มเติม

    
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
     - เว็บไซต์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอย่างมากในด้านการผลิตบัณฑิตสายอาชีพ ...

แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ...

MBA บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ...