วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร สาขานวัตกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยรังสิต
Summary
7.89
รีวิววิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร สาขานวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเทศไทยขึ้นชื่อในเรื่องของการทำเกษตรกรรม และหลายประเทศเพื่อนบ้านข้างเรา อย่าง เวียดนาม พม่า ลาว ตอนนี้ก็รุกหนักทางด้านเกษตรกรรมเช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าประเทศเราไม่ปรับตัว ไม่รู้จักนำเอานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสิ่งใหม่เข้ามาใช้ในเกษตร ประเทศเราก็น่าจะแข่งขันลำบาก
สาขานวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เปิดสาขานี้มาเพื่อแก้ปัญหา การเกษตรที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานหนัก เหนื่อย เงินตอบแทนก็น้อย กว่าจะได้มาก็ต้องไปต่อสู้กับลมฟ้าอากาศที่เราคาดการณ์ไม่ได้ ผลผลิตที่ได้มาก็ไม่รู้ว่าจะไปขายได้มากน้อยแค่ไหน
ที่นี่จะสอนให้ทำงานแบบอัฉริยะ สร้างทักษะการวางแผน ออกแบบ และบริหารจัดการฟาร์มอัจฉริยะ ทั้งในเชิงเทคนิคและเชิงเศรษฐศาสตร์อย่างเหมาะสม โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ในตอนปี1 จะได้เรียนวิชาพื้นฐานทางด้านเกษตร รวมทั้ง ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ปี2 ก็จะมีการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับรายวิชา เช่น เทคโนโลยีการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร, เทคโนโลยีโรงเรือนและสถานเพาะชำ พอปีที่3 จะได้เรียนเทคโนโลยรการปรับปรุงพันธุ์พืช, เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวรวมถึงวิชาโครงร่างงานวิจัยด้วย และวิชามาตรฐานและกฎหมายด้านการเกษตร ช่วงแรกจะได้อยู่ที่ห้องปฏิบัติการณ์ภายในมหาวิทยาลัย และ ปีสุดท้ายก็จะมีการฝึกงานทางนวัตกรรมเกษตร โดยทางมหาวิทยาลัยมีที่นากว่า200 ไร่ น้องๆจะได้ไปดำนาจริง ที่กาญจนบุรี
สำหรับน้องๆ คนไหน ที่ยังคิดว่าเรียนเกษตรแล้วจบมาทำนาเพียงอย่างเดียวหรือป่าว ขอตอบเลยว่าไม่ใช่ เรียนแล้วไม่มีตกงานแน่นอน เพราะนักศึกษาที่จบจากที่สาขานี้ไปสามารถที่จะเป็น สมาร์ทฟาร์มเมอร์(Smart Farmer) ที่ทันต่อเทคโนโลยี และสามารถสร้างนวัตกรรมที่คาดการณ์อากาศล่วงหน้าได้ หรือสามารถรู้จักต้นพืชที่เราปลูกได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะส่งผลผลิตออกมาขายได้ดี
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศที่เน้นด้านนวัตกรรมเกษตร โดยเฉพาะเรื่องการเกษตรแบบแม่นยำสูงหรือฟาร์มอัจฉริยะ
- มีแปลงปลูกและโรงเรือนที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัด ระบบสื่อสารและโครงข่ายข้อมูล ระบบสารสนเทศและประมวลผล ที่ทันสมัยครบวงจร ที่จำลองมาจากฟาร์มอัจฉริยะจริง เพื่อเรียนรู้และฝึกทักษะการทำเกษตรกรรมแบบแม่นยำสูง
- มีเรือนกระจก (greenhouse) เรือนเพาะชำ (nursery) โรงเรือนปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน และอาคารปลูกพืชในแนวตั้ง (vertical farming) เพื่อเรียนรู้การทำเกษตรกรรมในอนาคต
- เป็นศูนย์กลางบูรณาการนวัตกรรมด้านการเกษตรแห่งแรกของประเทศ โดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่คิดค้น พัฒนาและวิจัย เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อนำมาใช้งานในสภาพฟาร์มจริง เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหิดล เชียงใหม่ และลาดกระบัง
- เป็นต้นแบบฟาร์มอัจฉริยะให้เกษตรกรทั้งในประเทศและในภูมิภาคอาเซียน
จบมาทำงานอะไร
เกษตรกรอัจฉริยะ (smart farmer) ในธุรกิจฟาร์มเกษตร ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปลูกพืช โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่เป็นเครื่องมือ, ผู้จัดการฟาร์มอัจฉริยะ (smart farm manager) ในธุรกิจฟาร์มเกษตร ทำหน้าที่วางแผนและควบคุมดูแลการปลูกพืชและการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในฟาร์มเกษตรอัจฉริยะหรือฟาร์มเกษตรที่ทันสมัยแบบต่างๆ, นักวิชาการหรือที่ปรึกษาฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ (smart farm advisor) ในบริษัทธุรกิจเกษตรหรือธุรกิจฟาร์มเกษตร ทำหน้าที่ออกแบบ เลือกอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม และดำเนินการสร้างฟาร์มเกษตรอัจฉริยะและฟาร์มเกษตรที่ทันสมัยแบบต่างๆ, นักวิชาการด้านการจัดการผลิตผลเกษตร ในบริษัทธุรกิจเกษตร ทำหน้าที่วางแผนและควบคุมดูแล การบรรจุหีบห่อ เก็บรักษา ขนส่ง ซื้อขาย หรือนำเข้าส่งออก ผลิตผลเกษตร, ผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ในบริษัทธุรกิจการบริการทางการเกษตร, เจ้าของธุรกิจฟาร์มเกษตรหรือบริษัทธุรกิจเกษตรทุกประเภท, นักวิชาการในหน่วยราชการ, นักวิจัยในหน่วยวิจัย
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (ตุลาคม-พฤษภาคม)
- สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ทั้งสายวิทย์-คณิตฯ และสายศิลป์
- เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00
- สมัครด้วยตัวเองที่มหาวิทยาลัยรังสิต
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT1 (ความถนัดทางคณิตศาสตร์) 10%
- PAT2 (ความถนัดทางวิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
362, 050 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
44, 000 - 46, 000 บาท/เทอม
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร สาขานวัตกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยรังสิต
ผลงานของสาขา
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
8.00
ความพร้อมของห้องปฎิบัติการและอุปกรณ์การเรียน
8.00
ความร่วมมือกับองค์กรภายนอก
8.50
สภาพแวดล้อมของสถานที่เรียน
8.50
Summary
U-Review Score
7.89
หลักสูตรที่มุ่งหวังสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการนำเอาหลักของวิทยาการ และนวัตกรรมสมัยใหม่ มาใช้เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรได้อย่างมีคุณภาพ เช่น การใช้เครื่องมือเชื่อมต่อฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำ ในการบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและคลอบคลุมถึงภูมิศาสตร์ของการเกษตร เน้นการสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรม และการใช้นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนใหม่ที่เน้นการจับต้องได้ผสมผสานระหว่างทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
ไม่จำเป็นต้องเรียนลึกทุกด้านแบบนักวิชาการที่เน้นด้านทฤษฎี แต่เน้นการใช้กรณีศึกษาของจริงเป็นตัวอย่างรวมทั้งการสอนให้นักศึกษาได้รู้จักการค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวเองตลอดจนสามารถประพฤติและปฏิบัติตนบนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรมที่สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย มีจิตสำนึกต่อสังคม และผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมด้านเกษตรกรรมแบบครบวงจรเพื่อให้อาชีพเกษตรกรรมที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของประเทศแข็งแรง และก้าวต่อไปเป็นกระดูกสันหลังของโลกต่อไป
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะนวัตกรรมเกษตร (Faculty of Agricultural Innovation)
ชื่อสาขา
นวัตกรรมเกษตร (Agricultural Innovation)
ชื่อปริญญา
(ทล.บ.) (นวัตกรรมเกษตร) (เทคโนโลยีบัณฑิต (นวัตกรรมเกษตร))
รายละเอียด
นวัตกรรมเกษตร คือ การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยต่างๆ เข้ากับเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เพิ่มผลผลิต และเพิ่มคุณภาพของผลิตผล โดยใช้ข้อมูลของต้นพืช สภาพแวดล้อมของฟาร์ม และฐานข้อมูลด้านการเกษตร ที่เชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่าย มาประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยการตัดสินใจปรับปัจจัยการผลิตและการดูแลรักษาต้นพืชอย่างพอเหมาะ รวมถึงการจัดการผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อคงคุณภาพเอาไว้ให้นานที่สุด
หลักสูตรที่มุ่งหวังสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการนำเอาหลักของวิทยาการ และนวัตกรรมสมัยใหม่ มาใช้เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรได้อย่างมีคุณภาพ เช่น การใช้เครื่องมือเชื่อมต่อฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำ ในการบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและคลอบคลุมถึงภูมิศาสตร์ของการเกษตร เน้นการสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรม และการใช้นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนใหม่ที่เน้นการจับต้องได้ผสมผสานระหว่างทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่จำเป็นต้องเรียนลึกทุกด้านแบบนักวิชาการที่เน้นด้านทฤษฎี แต่เน้นการใช้กรณีศึกษาของจริงเป็นตัวอย่างรวมทั้งการสอนให้นักศึกษาได้รู้จักการค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวเองตลอดจนสามารถประพฤติและปฏิบัติตนบนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรมที่สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย มีจิตสำนึกต่อสังคม และผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมด้านเกษตรกรรมแบบครบวงจรเพื่อให้อาชีพเกษตรกรรมที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของประเทศแข็งแรง และก้าวต่อไปเป็นกระดูกสันหลังของโลกต่อไป
เนื้อหาวิชา
ภาคการศึกษา S
ENL 111 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1
RSU 101 ธรรมาธิปไตย
XXX --- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ชั้นปีที่1
ภาคการศึกษาที่ 1
AIT 111 หลักเกษตรกรรม
BIO 113 ชีววิทยาพื้นฐาน
BIO 114 ปฏิบัติการชีววิทยาพื้นฐาน
CHM 113 เคมีพื้นฐาน
CHM 114 ปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน
ESS --- กลุ่มวิชาสหวิทยาการและพลศึกษา
XXX --- วิชาเลือกเสรี
XXX --- กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาคการศึกษาที่ 2
PHY 115 ฟิสิกส์สำหรับเทคโนโลยีการเกษตร
MAT 116 คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีการเกษตร
AIT 121 หลักสรีรวิทยาพืชปลูก
AIT 122 หลักพันธุศาสตร์พืช
AIT 123 หลักผลิตพืช
AIT 131 หลักผลิตสัตว์เศรษฐกิจ
ENL 112 การฟังและการพูดภาษาอังกฤษ
THA 106 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
ชั้นปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 1
AIT 221 หลักวัสดุเครื่องปลูกพืช
AIT 222 หลักสุขภาพพืช
AIT 223 หลักขยายพันธุ์พืช
AIT 224 เทคโนโลยีการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร
AIT 225 เทคโนโลยีภูมิอากาศวิทยาและอุตุนิยมวิทยาการเกษตร
AIT 261 เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศการเกษตร
ENL 113 การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ
XXX --- กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาคการศึกษาที่ 2
AIT 226 เทคโนโลยีโรงเรือนและสถานเพาะชำ
AIT 227 เทคโนโลยีการผลิตพืชด้วยการเกษตรกรรมแม่นยำสูง 1
AIT 228 เทคโนโลยีการจัดการสุขภาพพืช
AIT 271 มาตรฐานและกฎหมายด้านการเกษตร
ENL 114 ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียน
XXX --- กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
XXX --- วิชาเลือกเสรี
ชั้นปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่ 1
AIT 321 เทคโนโลยีการผลิตพืชด้วยการเกษตรกรรมแม่นยำสูง 2
AIT 322 เทคโนโลยีนวัตกรรมวัสดุเครื่องปลูกพืช
AIT 323 เทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืช
AIT 324 เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืช
AIT 351 เทคโนโลยีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
AIT 371 เทคโนโลยีระบบฟาร์มและการจัดการฟาร์ม
AIT 372 เทคโนโลยีการจัดการเกษตรอย่างยั่งยืน
ภาคการศึกษาที่ 2
AIT 325 เทคโนโลยีเกษตรกรรมในเมือง
AIT 361 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการทางการเกษตร
AIT 391 ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติเพื่อการเกษตร
AIT 392 โครงร่างงานวิจัย
AIT 393 การคิดเชิงระบบและแผนผังความคิดสำหรับนวัตกรรมเกษตร
วิชาชีพเลือก
ชั้นปีที่ 4
มี 2 แผนการเรียน ได้แก่
1 แผนการศึกษาปกติ
ภาคการศึกษาที่ 1
AIT 491 การฝึกงานทางนวัตกรรมเกษตร
AIT 492 โครงการพิเศษ
AIT 494 ปฏิบัติการภาคสนาม
ภาคการศึกษาที่ 2
AIT 493 สัมมนาด้านนวัตกรรมเกษตร
วิชาชีพเลือก
2 แผนการศึกษาสำหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 1
AIT 495 โครงงานสหกิจศึกษาสำหรับนวัตกรรมเกษตร
AIT 496 สหกิจศึกษาสำหรับนวัตกรรมเกษตร
ภาคการศึกษาที่ 2
AIT 493 สัมมนาด้านนวัตกรรมเกษตร
วิชาชีพเลือก
คุณสมบัติ
1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งสายวิทย์-คณิต และศิลป์-คำนวณ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า และมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา หรือ
2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเกษตร หรือสาขาวิชาอื่นๆ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า โดยสามารถเทียบโอนผลการเรียนตามประกาศมหาวิทยาลัยรังสิต เรื่อง การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญา พ.ศ. 2546 และมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา
3. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ/หรือเป็นไปตามข้อบังคับ ประกาศเกี่ยวกับการคัดเลือกนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
แผนการเรียน
วิทย์ - คณิต
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
เทียบเท่า (กศน.)
สำเร็จการศึกษา ม.6
ค่าเทอม
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 362,050 บาท ประมาณ 40,000 ต่อ เทอม
ได้รับการรับรองจาก
สกอ. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
อาชีพ
- เกษตรกรอัจฉริยะ (Smart farmer) ในธุรกิจฟาร์มเกษตร ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปลูกพืชโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่เป็นเครื่องมือ
- ผู้จักการฟาร์มอัจฉริยะ (Smart farm manager) ในธุรกิจฟาร์มเกษตร ทำหน้าที่วางแผนและควบคุมดูแลการปลูกพืชและการใช้ทรัพยากรต่างๆในฟาร์มเกษตรอัจฉริยะหรือฟาร์มเกษตรที่ทันสมัยแบบต่างๆ
- นักวิชาการหรือที่ปรึกษาฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ (Smart farm advisor) ในบริษัทธุรกิจเกษตรหรือธุรกิจฟาร์มเกษตร ทำหน้าที่ออกแบบ เลือกอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม และดำเนินการสร้างฟาร์มเกษตรอัจฉริยะและฟาร์มเกษตรที่ทันสมัยแบบต่างๆ
- นักวิชาการด้านการจัดการผลผลิตเกษตร ในบริษัทธุรกิจการเกษตร ทำหน้าที่วางแผนและควบคุมดูแล การบรรจุหีบห่อ เก็บรักษา ขนส่ง ซื้อขาย หรือนำเข้าส่งออก ผลิตผลเกษตร
- เจ้าของธุรกิจฟาร์มเกษตรหรือบริษัทธุรกิจฟาร์มเกษตรทุกประเภท
- นักวิชาการในหน่วยงานราชการ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ฯลฯ
- นักวิจัยในหน่วยวิจัย เช่น วว. NECTEC ฯลฯ
เส้นทางอาชีพและความก้าวหน้า
บัณฑิตมีที่สำเร็จการศึกษาจะมีตำแหน่งงานรองรับ เนื่องจากภาคการเกษตรเป็นองค์ประกอบหลักของประเทศไทย ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเกี่ยวข้องกับการเกษตร รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนภาคการเกษตร ดังนั้นตลาดงานในอนาคตมีโอกาสเติบโต
เรียนต่อ
สามารถศึกษาต่อได้ทั้งสายเกษตร หรือ สายบริหารธุรกิจ
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
เริ่มต้น 15,000 ขึ้นไป และสามารถเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์และความสามารถ
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสาขานี้
มีความสนใจหรือมีใจรักทางด้านการเกษตร ต้องการเรียนที่เน้นการลงมือปฏิบัติมากกว่าเรียนภาคทฤษฎี
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร สาขานวัตกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยรังสิต
รีวิววิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร สาขานวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเทศไทยขึ้นชื่อในเรื่องของการทำเกษตรกรรม และหลายประเทศเพื่อนบ้านข้างเรา อย่าง เวียดนาม พม่า ลาว ตอนนี้ก็รุกหนักทางด้านเกษตรกรรมเช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าประเทศเราไม่ปรับตัว ไม่รู้จักนำเอานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสิ่งใหม่เข้ามาใช้ในเกษตร ประเทศเราก็น่าจะแข่งขันลำบาก
สาขานวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เปิดสาขานี้มาเพื่อแก้ปัญหา การเกษตรที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานหนัก เหนื่อย เงินตอบแทนก็น้อย กว่าจะได้มาก็ต้องไปต่อสู้กับลมฟ้าอากาศที่เราคาดการณ์ไม่ได้ ผลผลิตที่ได้มาก็ไม่รู้ว่าจะไปขายได้มากน้อยแค่ไหน
ที่นี่จะสอนให้ทำงานแบบอัฉริยะ สร้างทักษะการวางแผน ออกแบบ และบริหารจัดการฟาร์มอัจฉริยะ ทั้งในเชิงเทคนิคและเชิงเศรษฐศาสตร์อย่างเหมาะสม โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ในตอนปี1 จะได้เรียนวิชาพื้นฐานทางด้านเกษตร รวมทั้ง ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ปี2 ก็จะมีการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับรายวิชา เช่น เทคโนโลยีการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร, เทคโนโลยีโรงเรือนและสถานเพาะชำ พอปีที่3 จะได้เรียนเทคโนโลยรการปรับปรุงพันธุ์พืช, เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวรวมถึงวิชาโครงร่างงานวิจัยด้วย และวิชามาตรฐานและกฎหมายด้านการเกษตร ช่วงแรกจะได้อยู่ที่ห้องปฏิบัติการณ์ภายในมหาวิทยาลัย และ ปีสุดท้ายก็จะมีการฝึกงานทางนวัตกรรมเกษตร โดยทางมหาวิทยาลัยมีที่นากว่า200 ไร่ น้องๆจะได้ไปดำนาจริง ที่กาญจนบุรี
สำหรับน้องๆ คนไหน ที่ยังคิดว่าเรียนเกษตรแล้วจบมาทำนาเพียงอย่างเดียวหรือป่าว ขอตอบเลยว่าไม่ใช่ เรียนแล้วไม่มีตกงานแน่นอน เพราะนักศึกษาที่จบจากที่สาขานี้ไปสามารถที่จะเป็น สมาร์ทฟาร์มเมอร์(Smart Farmer) ที่ทันต่อเทคโนโลยี และสามารถสร้างนวัตกรรมที่คาดการณ์อากาศล่วงหน้าได้ หรือสามารถรู้จักต้นพืชที่เราปลูกได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะส่งผลผลิตออกมาขายได้ดี
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- มีแปลงปลูกและโรงเรือนที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัด ระบบสื่อสารและโครงข่ายข้อมูล ระบบสารสนเทศและประมวลผล ที่ทันสมัยครบวงจร ที่จำลองมาจากฟาร์มอัจฉริยะจริง เพื่อเรียนรู้และฝึกทักษะการทำเกษตรกรรมแบบแม่นยำสูง
- มีเรือนกระจก (greenhouse) เรือนเพาะชำ (nursery) โรงเรือนปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน และอาคารปลูกพืชในแนวตั้ง (vertical farming) เพื่อเรียนรู้การทำเกษตรกรรมในอนาคต
- เป็นศูนย์กลางบูรณาการนวัตกรรมด้านการเกษตรแห่งแรกของประเทศ โดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่คิดค้น พัฒนาและวิจัย เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อนำมาใช้งานในสภาพฟาร์มจริง เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหิดล เชียงใหม่ และลาดกระบัง
- เป็นต้นแบบฟาร์มอัจฉริยะให้เกษตรกรทั้งในประเทศและในภูมิภาคอาเซียน
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ทั้งสายวิทย์-คณิตฯ และสายศิลป์
- เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00
- สมัครด้วยตัวเองที่มหาวิทยาลัยรังสิต
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT1 (ความถนัดทางคณิตศาสตร์) 10%
- PAT2 (ความถนัดทางวิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร สาขานวัตกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยรังสิต
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
ไม่จำเป็นต้องเรียนลึกทุกด้านแบบนักวิชาการที่เน้นด้านทฤษฎี แต่เน้นการใช้กรณีศึกษาของจริงเป็นตัวอย่างรวมทั้งการสอนให้นักศึกษาได้รู้จักการค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวเองตลอดจนสามารถประพฤติและปฏิบัติตนบนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรมที่สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย มีจิตสำนึกต่อสังคม และผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมด้านเกษตรกรรมแบบครบวงจรเพื่อให้อาชีพเกษตรกรรมที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของประเทศแข็งแรง และก้าวต่อไปเป็นกระดูกสันหลังของโลกต่อไป
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
หลักสูตรที่มุ่งหวังสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการนำเอาหลักของวิทยาการ และนวัตกรรมสมัยใหม่ มาใช้เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรได้อย่างมีคุณภาพ เช่น การใช้เครื่องมือเชื่อมต่อฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำ ในการบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและคลอบคลุมถึงภูมิศาสตร์ของการเกษตร เน้นการสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรม และการใช้นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนใหม่ที่เน้นการจับต้องได้ผสมผสานระหว่างทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่จำเป็นต้องเรียนลึกทุกด้านแบบนักวิชาการที่เน้นด้านทฤษฎี แต่เน้นการใช้กรณีศึกษาของจริงเป็นตัวอย่างรวมทั้งการสอนให้นักศึกษาได้รู้จักการค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวเองตลอดจนสามารถประพฤติและปฏิบัติตนบนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรมที่สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย มีจิตสำนึกต่อสังคม และผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมด้านเกษตรกรรมแบบครบวงจรเพื่อให้อาชีพเกษตรกรรมที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของประเทศแข็งแรง และก้าวต่อไปเป็นกระดูกสันหลังของโลกต่อไป
ENL 111 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1
RSU 101 ธรรมาธิปไตย
XXX --- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ชั้นปีที่1
ภาคการศึกษาที่ 1
AIT 111 หลักเกษตรกรรม
BIO 113 ชีววิทยาพื้นฐาน
BIO 114 ปฏิบัติการชีววิทยาพื้นฐาน
CHM 113 เคมีพื้นฐาน
CHM 114 ปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน
ESS --- กลุ่มวิชาสหวิทยาการและพลศึกษา
XXX --- วิชาเลือกเสรี
XXX --- กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาคการศึกษาที่ 2
PHY 115 ฟิสิกส์สำหรับเทคโนโลยีการเกษตร
MAT 116 คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีการเกษตร
AIT 121 หลักสรีรวิทยาพืชปลูก
AIT 122 หลักพันธุศาสตร์พืช
AIT 123 หลักผลิตพืช
AIT 131 หลักผลิตสัตว์เศรษฐกิจ
ENL 112 การฟังและการพูดภาษาอังกฤษ
THA 106 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
ชั้นปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 1
AIT 221 หลักวัสดุเครื่องปลูกพืช
AIT 222 หลักสุขภาพพืช
AIT 223 หลักขยายพันธุ์พืช
AIT 224 เทคโนโลยีการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร
AIT 225 เทคโนโลยีภูมิอากาศวิทยาและอุตุนิยมวิทยาการเกษตร
AIT 261 เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศการเกษตร
ENL 113 การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ
XXX --- กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาคการศึกษาที่ 2
AIT 226 เทคโนโลยีโรงเรือนและสถานเพาะชำ
AIT 227 เทคโนโลยีการผลิตพืชด้วยการเกษตรกรรมแม่นยำสูง 1
AIT 228 เทคโนโลยีการจัดการสุขภาพพืช
AIT 271 มาตรฐานและกฎหมายด้านการเกษตร
ENL 114 ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียน
XXX --- กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
XXX --- วิชาเลือกเสรี
ชั้นปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่ 1
AIT 321 เทคโนโลยีการผลิตพืชด้วยการเกษตรกรรมแม่นยำสูง 2
AIT 322 เทคโนโลยีนวัตกรรมวัสดุเครื่องปลูกพืช
AIT 323 เทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืช
AIT 324 เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืช
AIT 351 เทคโนโลยีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
AIT 371 เทคโนโลยีระบบฟาร์มและการจัดการฟาร์ม
AIT 372 เทคโนโลยีการจัดการเกษตรอย่างยั่งยืน
ภาคการศึกษาที่ 2
AIT 325 เทคโนโลยีเกษตรกรรมในเมือง
AIT 361 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการทางการเกษตร
AIT 391 ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติเพื่อการเกษตร
AIT 392 โครงร่างงานวิจัย
AIT 393 การคิดเชิงระบบและแผนผังความคิดสำหรับนวัตกรรมเกษตร
วิชาชีพเลือก
ชั้นปีที่ 4
มี 2 แผนการเรียน ได้แก่
1 แผนการศึกษาปกติ
ภาคการศึกษาที่ 1
AIT 491 การฝึกงานทางนวัตกรรมเกษตร
AIT 492 โครงการพิเศษ
AIT 494 ปฏิบัติการภาคสนาม
ภาคการศึกษาที่ 2
AIT 493 สัมมนาด้านนวัตกรรมเกษตร
วิชาชีพเลือก
2 แผนการศึกษาสำหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 1
AIT 495 โครงงานสหกิจศึกษาสำหรับนวัตกรรมเกษตร
AIT 496 สหกิจศึกษาสำหรับนวัตกรรมเกษตร
ภาคการศึกษาที่ 2
AIT 493 สัมมนาด้านนวัตกรรมเกษตร
วิชาชีพเลือก
2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเกษตร หรือสาขาวิชาอื่นๆ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า โดยสามารถเทียบโอนผลการเรียนตามประกาศมหาวิทยาลัยรังสิต เรื่อง การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญา พ.ศ. 2546 และมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา
3. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ/หรือเป็นไปตามข้อบังคับ ประกาศเกี่ยวกับการคัดเลือกนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
เทียบเท่า (กศน.)
สำเร็จการศึกษา ม.6
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร สาขานวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยรังสิต ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ