วิทยาศาสตร์ สาขาวัสดุศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รีวิววิทยาศาสตร์ สาขาวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัสดุศาสตร์ คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร? หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับสาขาวิชานี้กันมาบ้าง อธิบายอย่างง่ายที่สุดนะคะ สาขานี้ศึกษาเกี่ยวกับวัสดุชนิดต่างๆ เช่น โลหะ เซรามิก แก้ว พอลิเมอร์ สิ่งทอ รวมไปถึงวัสดุประกอบหลากหลายประเภทนั่นเองค่ะ การพัฒนาทางด้านวัสดุศาสตร์เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอื่นๆ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่นักวิทยาศาสตร์ได้ยกให้ สาขาวัสดุศาสตร์ เป็น 1 ใน 5 สุดยอดเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตเลยทีเดียว ได้ยินแบบนี้น้องๆ หลายคนคงเริ่มสนใจจะเป็น “ นักวัสดุศาสตร์ ” กันบ้างแล้วแน่ๆ
ที่ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะช่วยให้น้องๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุศาสตร์ได้อย่างลึกซึ้งขึ้นแน่นอนค่ะ โดยภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2507 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 2 สาขาวิชา คือ สาขาฟิสิกส์และสาขาวัสดุศาสตร์ โดยตอนปี 1 น้องๆ จะเรียนรวมกันทั้ง 2 สาขา เมื่อขึ้นปี 2 จึงจะได้แยกเรียนตัวสาขากันค่ะ สาขาวัสดุศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะเน้นเรียนวิชาเคมีกับฟิสิกส์เป็นพื้นฐานสำคัญให้นักศึกษา เมื่อเข้ามาในชั้นปี 1 น้องๆ จะได้เรียนภาษาอังกฤษ แคลคูลัส ปฏิบัติการเคมีและฟิสิกส์ ต่อมาในปี 2 - 3 ก็จะเริ่มจะเรียนลึกในเรื่องโครงสร้างผลึก ไฟฟ้าและแม่เหล็ก ชีววิทยา ปฏิบัติการวัสดุศาสตร์ กระบวนการผลิตวัสดุ รวมทั้งคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดอย่างละเอียด เช่น โลหะ วัสดุผสม สารกึ่งตัวนำ เซรามิก โพลิเมอร์ วัสดุนาโน และในปีที่ 4 ก็จะเรียนเฉพาะเกี่ยวกับคุณสมบัติและการทำผลิตภัณฑ์ประยุกต์จากพอลิเมอร์ โดยในเทอม 2 น้องๆ จะได้เลือกแผนการเรียนระหว่างทำโปรเจคศึกษาอิสระ หรือสหกิจศึกษา
นักวัสดุศาสตร์อาจไม่ใช่สาขาอาชีพที่กำหนดไว้ตายตัว แต่น้องๆ ที่จบสาขานี้ก็สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในสายงานต่างๆ ที่หลากหลายได้ ทั้งการแก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ หรือแม้แต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยบัณฑิตที่จบสาขานี้ สามารถทำงานเป็น นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ที่ปรึกษาทางการวิจัยวัสดุ ผู้ดูแลการผลิต ผู้ควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ หรือวิศวกรในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนรถยนต์และจักรยานยนต์ โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก อุปกรณ์เครื่องมือ โรงงานทำแก้ว โรงเหล็ก โรงงานผลิตเส้นใยสังเคราะห์ โรงงานผลิตสีทาบ้าน ห้องวิจัยเอกชนและบริษัทต่างๆ หรือทำงานในส่วนราชการ เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ศูนย์วิจัยวัสดุและเทคโนโลยีแห่งชาติ (MTEC) กรมศุลกากร สถาบันวิจัยยาง โรงพิมพ์ เป็นต้น
จบมาทำงานอะไร
นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ที่ปรึกษาทางการวิจัยวัสดุ ผู้ดูแลการผลิต ผู้ควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ วิศวกรในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งราชการและหน่วยงานเอกชน
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและชุมชน (โครงการเรียนดี)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้น ม. 6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสมทุกวิชา (GPAX) 4 - 5 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3.00
- มีผลคะแนน GAT และ PAT1 (คณิตศาสตร์) , PAT2 (วิทยาศาสตร์)
- สมัครผ่านเว็บไซต์ www.reg.cmu.ac.th
โควตา 17 จังหวัดในเขตภาคเหนือ (สิงหาคม - ตุลาคม)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้น ม.5 หรือ ม.6
- ศึกษาในสถานศึกษา 17 จังหวัดในภาคเหนือ
- ผ่านการทดสอบของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ www.reg.cmu.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
128, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
16, 000 บาท/เทอม
วิทยาศาสตร์ สาขาวัสดุศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รีวิววิทยาศาสตร์ สาขาวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัสดุศาสตร์ คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร? หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับสาขาวิชานี้กันมาบ้าง อธิบายอย่างง่ายที่สุดนะคะ สาขานี้ศึกษาเกี่ยวกับวัสดุชนิดต่างๆ เช่น โลหะ เซรามิก แก้ว พอลิเมอร์ สิ่งทอ รวมไปถึงวัสดุประกอบหลากหลายประเภทนั่นเองค่ะ การพัฒนาทางด้านวัสดุศาสตร์เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอื่นๆ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่นักวิทยาศาสตร์ได้ยกให้ สาขาวัสดุศาสตร์ เป็น 1 ใน 5 สุดยอดเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตเลยทีเดียว ได้ยินแบบนี้น้องๆ หลายคนคงเริ่มสนใจจะเป็น “ นักวัสดุศาสตร์ ” กันบ้างแล้วแน่ๆ
ที่ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะช่วยให้น้องๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุศาสตร์ได้อย่างลึกซึ้งขึ้นแน่นอนค่ะ โดยภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2507 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 2 สาขาวิชา คือ สาขาฟิสิกส์และสาขาวัสดุศาสตร์ โดยตอนปี 1 น้องๆ จะเรียนรวมกันทั้ง 2 สาขา เมื่อขึ้นปี 2 จึงจะได้แยกเรียนตัวสาขากันค่ะ สาขาวัสดุศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะเน้นเรียนวิชาเคมีกับฟิสิกส์เป็นพื้นฐานสำคัญให้นักศึกษา เมื่อเข้ามาในชั้นปี 1 น้องๆ จะได้เรียนภาษาอังกฤษ แคลคูลัส ปฏิบัติการเคมีและฟิสิกส์ ต่อมาในปี 2 - 3 ก็จะเริ่มจะเรียนลึกในเรื่องโครงสร้างผลึก ไฟฟ้าและแม่เหล็ก ชีววิทยา ปฏิบัติการวัสดุศาสตร์ กระบวนการผลิตวัสดุ รวมทั้งคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดอย่างละเอียด เช่น โลหะ วัสดุผสม สารกึ่งตัวนำ เซรามิก โพลิเมอร์ วัสดุนาโน และในปีที่ 4 ก็จะเรียนเฉพาะเกี่ยวกับคุณสมบัติและการทำผลิตภัณฑ์ประยุกต์จากพอลิเมอร์ โดยในเทอม 2 น้องๆ จะได้เลือกแผนการเรียนระหว่างทำโปรเจคศึกษาอิสระ หรือสหกิจศึกษา
นักวัสดุศาสตร์อาจไม่ใช่สาขาอาชีพที่กำหนดไว้ตายตัว แต่น้องๆ ที่จบสาขานี้ก็สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในสายงานต่างๆ ที่หลากหลายได้ ทั้งการแก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ หรือแม้แต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยบัณฑิตที่จบสาขานี้ สามารถทำงานเป็น นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ที่ปรึกษาทางการวิจัยวัสดุ ผู้ดูแลการผลิต ผู้ควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ หรือวิศวกรในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนรถยนต์และจักรยานยนต์ โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก อุปกรณ์เครื่องมือ โรงงานทำแก้ว โรงเหล็ก โรงงานผลิตเส้นใยสังเคราะห์ โรงงานผลิตสีทาบ้าน ห้องวิจัยเอกชนและบริษัทต่างๆ หรือทำงานในส่วนราชการ เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ศูนย์วิจัยวัสดุและเทคโนโลยีแห่งชาติ (MTEC) กรมศุลกากร สถาบันวิจัยยาง โรงพิมพ์ เป็นต้น
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและชุมชน (โครงการเรียนดี)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้น ม. 6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสมทุกวิชา (GPAX) 4 - 5 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3.00
- มีผลคะแนน GAT และ PAT1 (คณิตศาสตร์) , PAT2 (วิทยาศาสตร์)
- สมัครผ่านเว็บไซต์ www.reg.cmu.ac.th
โควตา 17 จังหวัดในเขตภาคเหนือ (สิงหาคม - ตุลาคม)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้น ม.5 หรือ ม.6
- ศึกษาในสถานศึกษา 17 จังหวัดในภาคเหนือ
- ผ่านการทดสอบของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ www.reg.cmu.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิทยาศาสตร์ สาขาวัสดุศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
วิทยาศาสตร์ สาขาวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ